ในช่วงวันแดงเดือดของตลาดแบบนี้ การที่เราจะหาการลงทุนแบบมีเบาะรองรับหรือยังพอมี “สีเขียว” ให้เห็นในพอร์ตคงเป็นเรื่องได้ยาก และอาจทำให้เราคิดว่าโอาสการลงทุนที่ดีไม่อยู่แล้ว

แต่ท่ามกลางความไม่แน่นอนย่อมมี “โอกาส” อยู่เสมอ ในวันนี้เราจึงขอพาทุกคนมาสำรวจ 2 พอร์ตคู่หู ฝ่าฟันวันมามากของตลาดกัน

ทำไมถึงต้อง All Weather Strategy และ All Balance?

  • ทั้ง 2 พอร์ตมีการกระจายการลงทุนในหลากสินทรัพย์ ช่วยลดการขาดทุนอันหนักหน่วงในช่วงตลาดพักฐานรุนแรง (เช่นช่วงเวลานี้)
  • ทั้ง 2 พอร์ตได้ประโยชน์จากการลงทุนในหลากสินทรัพย์ ส่งผลให้ในช่วงที่ตลาดปรับตัวขึ้นอย่างรวดเร็วจนเหนือความคาดหมายพอร์ตการลงทุนยังสามารถสร้างผลตอบแทนได้
  • วิเคราะห์ด้วยโมเดลวิเคราะห์การลงทุนที่มีคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์ทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ

เปรียบเทียบ All Weather Strategy vs All Balance เหมือนหรือต่างกันอย่างไร?

ความเหมือน

  • ใช้หลักการลงทุนแบบ Asset Allocation ในการจัดการเพื่อสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว
  • กระจายการลงทุนในสินทรัพย์หลากประเภท เช่น หุ้น ตราสารหนี้ และตราสารทางเลือกต่าง ๆ เพื่อลดความผันผวนและช่วยไม่ให้พลาดโอกาสในการสร้างผลตอบแทน
  • ใช้โมเดลการวิเคราะห์ที่ผสานทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพทั้งคู่
  • ใช้เงินลงทุนเริ่มต้น 500,000 บาทเท่ากัน

ความต่าง

  • พอร์ต All Weather Strategy ใช้โมเดลวิเคราะห์ FVMR ที่รังสรรด้วยคุณ Andrew Stotz นักวิเคราะห์ชื่อดังของเมืองไทย ในขณะที่พอร์ต All Balance ใช้โมเดลการวิเคราะห์อย่าง Black Litterman Model ที่ผสานการวิเคราะห์ทั้งเชิงคุณภาพและปริมาณด้วยกันอย่างเข้มข้น
  • พอร์ต All Weather Strategy เน้นเลือกสรรกองทุนที่มีค่าธรรมเนียมต่ำเพื่อผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว ในขณะที่พอร์ต All Balance มุ่งเน้นไปที่การเฟ้นหากองทุน Active ผลงานโดดเด่น เพื่อสร้างผลตอบแทนที่ดี
  • พอร์ต All Weather Strategy เน้นกระจายการลงทุนไปในทุกสินทรัพย์ (ไม่ต่ำกว่า 5% ในแต่ละประเภท) เพื่อให้ได้ประโยชน์ในทุกช่วงภาวะตลาดและลดการผิดพลาด ในขณะที่พอร์ต All Balance เน้นสัดส่วนแบบสมดุล (หุ้น 45-55% และเป็นตราสารทางเลือกหรือตราสารหนี้ในส่วนที่เหลือ) โดยมีการคัดสรรสินทรัพย์ข้างในอีกทีตามความเหมาะสม
  • พอร์ต All Weather Strategy เน้นไปที่การปรับพอร์ตตามสถานการณ์ตามสมควร ในขณะที่พอร์ต All Balance ปักหลักการปรับพอร์ตปีละ 2 ครั้ง

เทียบสัดส่วนพอร์ตปัจจุบันเหมือน ต่าง โดดเด่นอย่างไร?

ตลาดแดงลงทุนยังไงให้รอด? รู้จัก All Weather Strategy และ All Balance พอร์ตคู่หูฝ่าฟัน วันมามากของตลาด

ภาพแสดงสัดส่วนสินทรัพย์พอร์ต Akk Weather Strategy ที่มา: รายงานพอร์ต All Weather Strategy ประจำเดือน มีนาคม 2022

ตลาดแดงลงทุนยังไงให้รอด? รู้จัก All Weather Strategy และ All Balance พอร์ตคู่หูฝ่าฟัน วันมามากของตลาด

ภาพแสดงสัดส่วนกองทุนและสินทรัพย์พอร์ต All Balance ที่มา: All Balance pitchdeck รายละเอียดสัดส่วน ณ เดือน กุมภาพันธ์ 2022

ความเหมือน

  • ทั้ง 2 พอร์ตมีสัดส่วนการลงทุนในหุ้นเป็นหลักคล้าย ๆ กัน
  • มีการกระจายการลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทางเลือกคล้ายกัน

ความเเตกต่าง

  • พอร์ต All Weather Strategy มีการลงทุนในกลุ่มโภคภัณฑ์ ในสัดส่วนที่มีนัยพอสมควรและอาจได้ประโยชน์จากการปรับตัวขึ้นของราคาน้ำมันและโภคภัณฑ์ในช่วงที่ผ่านมา

สำรวจผลตอบแทนย้อนหลังทั้ง 2 พอร์ต

ตลาดแดงลงทุนยังไงให้รอด? รู้จัก All Weather Strategy และ All Balance พอร์ตคู่หูฝ่าฟัน วันมามากของตลาด

ตลาดแดงลงทุนยังไงให้รอด? รู้จัก All Weather Strategy และ All Balance พอร์ตคู่หูฝ่าฟัน วันมามากของตลาด

  • พอร์ต All Weather Strategy มีการปรับตัวน้อยกว่าดัชนีหุ้นโลก และมีผลงานโดดเด่นในช่วงล่าสุด
  • พอร์ต All Balance เองยังทำผลงานได้โดดเด่นกว่าดัชนีชี้วัดเฉพาะตัว

สรุปโดยรวมแล้วพอร์ตการลงทุน All Weather Strategy และพอร์ตการลงทุน All Balance ถือว่ามีความโดดเด่นในแง่ของการฟันฝ่าความผันผวนทั้งคู่ แต่ในขณะเดียวกันทั้ง 2 พอร์ตการลงทุนยังมีจุดเด่นอย่างการไม่พลาดโอกาสสร้างผลตอบแทน ในช่วงที่ตลาดปรับตัวขึ้นอย่างรวดเร็วเหนือความคาดหมายด้วยเช่นกัน

หากคุณพร้อมลงทุน 2 พอร์ตคู่หูฝ่าความผันผวนข้างต้น คุณอาจได้รับสิทธิพิเศษที่มากกว่านั้น! เพราะ เรามีบริการที่ปรึกษาการลงทุนให้กับคุณแบบฟรี ๆ หากคุณลงทุนเริ่มที่ 500,000 บาท!!

รับบริการที่ปรึกษาการลงทุนส่วนตัวจาก FINNOMENA ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ใช้เงินลงทุนเริ่มต้นเพียง 500,000 บาทเท่านั้น
👉 ลงทะเบียน คลิก >>> https://finno.me/finno-x-aws-all-balance-web

References

https://www.finnomena.com/planet46/all-balance-vs-aws/

คำเตือน

ผู้ลงทุนควรศึกษาทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และสามารถขอข้อมูลกองทุนจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน I สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”