ตราสารหนี้เอกชน พร้อมแล้วหรือยัง?

ในช่วงหลายๆสัปดาห์ที่ผ่านมาผมเชื่อว่าหลายๆคนคงได้เห็นข่าวการเทขายตราสารหนี้เอกชนในที่ต่างๆกันมานับไม่ถ้วน รวมถึงอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลในอเมริกาที่ได้ไปแตะแดนลบอย่างที่ไม่เคยเป็นกันมาก่อน จนอาจทำให้หลายๆคนแคลงใจว่านี่เป็นจุดจบของตราสารหนี้แล้วหรือเปล่า?

แต่ถ้าผมบอกว่าไม่คุณจะเชื่อไหมครับ? ในช่วงที่ทุกคนตื่นตระหนกทุกอย่างมืดแปดด้านเราอาจจะตกหล่นหลงลืมคำว่า “ในวิกฤติมีโอกาสกัน” ไปบ้าง และผมเชื่อว่าช่วงเวลานี้ เป็นช่วงเวลาที่แท้จริงของตราสารหนี้ภาคเอกชน โดยผมจะพาทุกคนไปพิสูจน์กันผ่านข้อเท็จจริงดังต่อไปนี้…

ทำไมต้องตราสารหนี้ภาคเอกชนไม่ใช่พันธบัตรรัฐบาล?

โดยส่วนตัวผมมองว่าหลายๆประเทศในตอนนี้มีอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ในมือในระดับที่เรียกว่าตํ่าเตี้ยเรี่ยดินซะเหลือเกินไม่ว่าจะเป็นพี่ใหญ่บิ๊กเนมอย่าง Federal Reserve (Fed) ที่หั่นดอกเบี้ยเหมือนสับหมูในช่วงที่ผ่านมาจนแตะระดับ 0.00%-0.25% เป็นที่เรียบร้อย หรือจะเป็นทาง ECB เองที่ดอกเบี้ยนโยบายแตะแดนลบมาอย่างช้านาน ดังนั้นผมจึงขอสรุปไว้ว่าพันธบัตรรัฐบาล แทบไม่เหลือหรือเรียกได้ว่าไม่มีดอกเบี้ยให้ลดเพื่อดันราคาพันธบัตรรัฐบาลแล้วก็คงจะไม่ผิดนัก

แต่หากเราลองถอยออกมามองแบบห่างๆ เรายังมีสิ่งที่เรียกว่าตราสารหนี้ภาคเอกชนเหลืออยู่ และถ้าถามผมว่าทำไมผมจึงมองว่ามันไปได้ต่อ ผมขอใช้ตัว Yield Spread เป็นตัวชี้นำการอธิบายในครั้งนี้ โดยตัว Yield Spread นี้เป็นกับจับตัว Yield (อัตราผลตอบแทน) ของพันธบัตรรัฐบาล โดยให้ข้ออนุมานว่าไม่มีความเสี่ยง เทียบกับตัวตราหนี้ภาคเอกชนที่มีความเสี่ยงมากกว่า (ล้มละลายได้ง่ายกว่า)

ซึ่งหากทุกคนเข้าไปดูก็จะเห็นว่าอัตราผลตอบแทนเรียกได้ว่าอยู่ในระดับที่สูงเลยทีเดียว โดยในส่วนของตัวตราสารหนี้แบบเกรดลงทุน (Investment grade) นั้นมี yield อยู่ที่ 2.04% ในขณะที่ตัวตราสารหนี้แบบเกรดตํ่า (High yield) ก็สูงแบบลิบตาที่ราวๆ 8.64%

ตราสารหนี้ภาคเอกชน พร้อมแล้วหรือยัง?

ภาพแสดงผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลกับตราสารหนี้เอกชน (Yield Spread) โดยภาพด้านบนแสดงถึงอัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้เกรดตํ่า (High Yield) ในขณะที่ภาพด้านล่างแสดงถึงอัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้เกรดลงทุน (Investment Grade)

ภาวะไล่ล่า Yield สินทรัพย์ความเสี่ยงตํ่ากำลังคลืบคลานเข้ามา…

ส่วนตัวผมเชื่อว่าการไล่ล่าตราสารหนี้ภาคเอกชนกำลังเข้ามา ช่วงที่ผ่านมาผมได้ดูคลิปสัมภาษณ์ของคุณ Jeffrey Gonloch หรือเจ้าของฉายา “ราชาตราสารหนี้” (King of Bond) ที่ได้ให้มุมมองที่น่าสนใจเกี่ยวกับประธาน Fed คนปัจจุบันอย่าง Jerome Powell ไว้ว่า “ด้วยพื้นภูมิของ Jerome Powell ที่เป็นอดีตเขาเข้าใจความเสี่ยงในด้านของตราสารหนี้เป็นอย่างดีและเค้าดูจะให้ความสำคัญกับมัน” เมื่อเราได้ยินแบบนี้นั้นหมายความว่าอะไร? สำหรับผมมมันหมายถึงว่า Jerome Powell น่าจะไม่ยอมปล่อยให้ตราสารหนี้ล้มลงเป็นอย่างแน่ เพราะฉะนั้น ผมเชื่อว่านี่เป็นช่วงเวลาเก็บสะสมตราสารหนี้ภาคเอกชน

Fed เข้าช่วยตราสารหนี้เอกชนเองกับมือ

บทสัมภาษณ์ของคุณ Jeffrey Gundlach ได้ให้สัมภาษณ์ไว้ก่อนหน้า (วันที่ 6 มีนาคม 2563) มาตรการเข้าช่วยตราสารหนี้ภาคเอกชนของ Fed ที่ 1.1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ จะออกมา (วันที่ 17 มีนาคม 2563) ดังนั้นสำหรับผมแล้วสมมติฐานที่ว่า Jerome Powell เอาใจใส่ดูแลตราสารหนี้มากเป็นพิเศษ ดูจะฟังขึ้นขึ้นมาเลยครับ จากเวทมนตร์ของคุณ Jeffrey Gundlach

เกรดลงทุน vs เกรดตํ่า ตัวไหนดี?

ผมมองว่าเราอาจจะเริ่มทยอยสะสมในตัวเกรดลงทุนได้ เพราะ ผมเชื่อมั่นมากว่าทางผู้ดำเนินนโยบายจะช่วยในส่วนนี้ก่อน และมองว่าในตัวตราสารหนี้เกรดตํ่ายังมีความเป็นไปได้ที่บางตัวอาจล้มลง (แต่ก็น่าสนใจหากกล้าเสี่ยงเนื่องจาก Yield รวมอยู่สูงกว่าแสดงให้เห็นถึงผลตอบแทนที่มากกว่า) แต่สำหรับผมอะไรที่เราไม่แน่ใจคือมันยังไม่ใช่ครับ เพราะฉะนั้น ผมแนะนำไปทยอยเก็บตัวเกรดลงทุนน่าจะดีกว่า

กองทุนตราสารหนี้ในใจผม?

ตราสารหนี้เอกชน พร้อมแล้วหรือยัง?

ภาพแสดงผลการดำเนินงานย้อนหลังกองทุน Jupiter Global Fund – Jupiter Dynamic Bond

เมื่อวันก่อนได้รับจ๊อบพิเศษเข้าไปแทรกแซงทีม Investment มาครับ และได้รับโอกาสจากพี่ๆในการให้มุมมองการลงทุนกองทุนตราสารหนี้กองหนึ่ง ซึ่งกองทุนนี้มีชื่อว่า UDB-A จาก UOB ลงทุนในกองทุน Jupiter Global Fund – Jupiter Dynamic Bond ซึ่งเป็นกองทุนระดับ 5 ดาวจัดอันดับโดย Morningstar ที่ลงทุนในตราสารหนี้ทั่วโลก รวมถึงมีการแบ่งสัดส่วนที่ยืดหยุ่นทั้งการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล ตราสารหนี้ภาคเอกชน เป็นหลัก ซึ่งหมายความว่าตัวกองสามารถปรับนํ้าหนักการลงทุนในตราสารหนี้เอกชนให้มากขึ้นได้ในช่วงนี้ ซึ่งที่ผ่านมาทางตัวกองเองก็เพิ่งมีการปรับนํ้าหนักในส่วนนี้เพิ่มเติม รวมถึงมีการใช้ อนุพันธ์ป้องกันความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้ (Credit default swaps หรือ CDS) ในบางส่วนเพื่อปกป้องผลตอบแทนในตลาดขาลง เรียกได้ว่าเป็นกองทุนตราสารหนี้ที่ยืดหยุ่นและสามารถปรับสัดส่วนการลงทุนให้เข้าได้กับทุกสถานการณ์

สนใจลงทุนในกองทุน UDB-A ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ลิ้งก์ด้านล่างเลยครับ

https://www.finnomena.com/fund/UDB-A/?ex_id=1124&utm_source=Website&utm_medium=Mr._Serotonin&utm_campaign=FINNOMENA_Fund&utm_content=Article&utm_term=Website_Article

หากคุณยังไม่ได้เปิดบัญชีกับ FINNOMENA สามารถทำได้ง่ายๆ แค่ 15 นาที โดยอ่านวิธีเปิดบัญชีได้ที่นี่

https://finnomena.force.com/s/article/oa

วันนี้มาแนวแปลกกว่าทุกครั้งสักนิด… เนื่องจากผมอยากลองฟังมุมมองการลงทุนดูบ้าง ยังไงก็ขอบคุณทุกคนนะครับที่ติดตาม Mr. Serotonin ตัวผมเองจะพยายามพัฒนาตนเองขึ้นไปเรื่อยๆ เพื่อให้มุมมองเชิงลึกแบบเข้าใจง่ายๆให้กับทุกคนอย่างแน่นอน และหวังว่าจะเป็นประโยชน์นะครับ

ขอให้ทุกคนโชคดีครับ

คำเตือน

ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน

ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้

ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต

References

FINNOMENA Investment Team

https://www.morningstar.co.uk/uk/funds/snapshot/snapshot.aspx?id=F00000P8R7

iran-israel-war