ในช่วงนี้นักลงทุนหลายๆท่านอาจเกิดความกังวลใจ ในช่วงที่ตลาดหุ้นรวมถึงสินทรัพย์หลายๆตัว ปรับตัวลงพร้อมๆกัน

แต่ทาง FINNOMENA พร้อมอยู่เคียงข้างนักลงทุนทุกคนเสมอครับ โดยในช่วงนี้เราจะมี Live สดออกมาเกาะติดสถานการณ์กันเรื่อยๆ อยู่เป็นเพื่อนคู่ใจนักลงทุนทุกท่าน ในยามที่ต้องการกำลังใจเช่นนี้กันไปเลย

โดยทางผม Mr.Serotonin ได้รับมอบหมาย มาสรุป Live ให้ทุกคนได้ดูกัน ซึ่งยังคงคอนเซ็ปต์เดิมคือ ให้เข้าใจได้ง่ายๆที่สุด

ถ้าพร้อมแล้วก็อ่านไปพร้อมๆกันได้เลยครับ

ก่อนอื่นเรามาอัพเดทสถานการณ์ตลาดและสินทรัพย์ในช่วงเช้าของวันนี้กันก่อนเลยครับ…

ตลาดหุ้นซาอุดิอาระเบีย ติดลบ 3%

ตลาดหุ้นญี่ปุ่น (Nikkei 225) ติดลบ 2.4%

ตลาดหุ้นออสเตรเลีย ติดลบ 9.7%

ตลาดหุ้นเอเชีย (ฮ่องกง, จีน, ไต้หวัน, อินโดเนเซีย, สิงคโปร์, อินเดีย, ไทย) ติดลบราวๆ 4.5%

ตลาดโภคภัณฑ์

ทองคำ

ปรับตัวลงมาที่ 1,510 จุดและปรับตัวขึ้นไปที่ 1,532 จุด

นํ้ามัน

ปรับตัวลงราวๆกว่า -1.5$ ลงมาที่ 30.56$ โดยระดับราคานํ้ามันที่ตํ่านี้ อาจส่งผลกระทบต่อประเทศผู้ผลิตนํ้ามัน เช่น ซาอุดิอาระเบีย มาเลเซีย รัสเซีย และหากลดลงน้อยกว่า 30$ หลายๆบริษัทอาจได้รับผลกระทบ

สรุปโดยรวม ตลาดโภคภัณฑ์ยังปรับตัวลง ยกเว้นสินทรัพย์ปลอดภัยอย่าง “ทอง”

สาเหตุที่ตลาดปรับตัวลงวันนี้

เนื่องมาจาก Fed ลดดอกเบี้ยลงอย่างรวดเร็ว จาก 1.00%-1.25% เป็น 0.00%-0.25% หรือลดลง 1.00% ถ้วนจากปกติที่ลดทีละ 0.25% โดยเป็นการลดแบบฉุกเฉินก่อนการประชุมในช่วงวันพุธถึงพฤหัส

Fed อาจทำ QE ครั้งที่ 5 ในประวัติศาสตร์ หรือจะเรียก 5.1 ก็ว่าได้เพราะ Fed แอบทำ QE อย่างลับๆผ่านตลาด REPO หรือการซื้อคืน U.S. treasuries เพื่ออัดฉีดเงินเข้าระบบมาแล้วก่อนหน้า

Fed จะไม่ส่งสัญญาณ dot plot (ตัวชี้วัดที่เอาไว้ส่งสัญญาณว่าใน 1-3 ปีข้างหน้าคิดว่าดอกเบี้ยจะเป็นเท่าไร) โดยเผยว่าอีกสองเดือนข้างหน้าจะไม่มีการประมาณการแนวโน้มดอกเบี้ย แสดงให้เห็นถึงความไม่แน่นอน ตลาดจึงตีความหมายเป็นลบและปรับตัวลง

ระยะยาวสภาพคล่อง (เงินในระบบ) อาจล้นตลาด จากการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเป็นจำนวนมาก แต่ในระยะสั้นอาจเกิด กับดักสภาพคล่องหรือสภาพคล่องล้นแต่ผู้คนยังไม่มั่นใจ (Liquidity trap) เนื่องจากสถานการณ์ของไวรัสโควิด 19 อาจทำให้ผู้คนไม่กล้าออกมาจับจ่ายใช้สอย ดังนั้นถึงแม้มีการลดดอกเบี้ยเพื่อสนับสนุนภาคธุรกิจให้กู้ยืมได้ในอัตราที่ถูก ผู้คนก็อาจจะยังไม่ออกมาขยับขยายมากนัก

และด้วยการทำเช่นนี้จึงทำให้เกิด circuit breaker ทันทีหลังตลาดฟิวเจอร์เปิดในช่วงเช้า

โดยรวมมีการคาดการณ์ว่าอาจมีทั้งนโยบายการคลังและมาตรการอื่นๆ ออกมาอีกยกใหญ่ เพื่อเรียกความมั่นใจของคน เพื่อดึงตลาดกลับมา

เปรียบเทียบการตอบสนองของตลาดในปัจจุบันกับช่วงวิกฤติซัพไพร์ม หลังการลดดอกเบี้ยของ Fed 

สรุป FINNOMENA Live มุมมองตลาดและสินทรัพย์โดยรวมในวันนี้

หากเทียบกับช่วงซัพไพรม์ถือว่าสอดคล้องกัน เพราะช่วงนั้นตอน Fed ลดดอกเบี้ยตลาดก็ยังปรับตัวลงอยู่เช่นกัน โดยปัจจุบันตลาดอาจจะยังปรับฐานลงต่อเนื่อง

โดยต้องจับตามองในเรื่องของ

1)สงครามราคานํ้ามัน

2)Covid-19 ซึ่งหากมีวัคซีนออกมาได้เร็ว อาจทำให้ผู้คนมั่นใจ และออกมาจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น แต่หาก สถานการณ์ยืดเยื้อ บริษัทอาจมีปัญหาเรื่องการชำระหนี้ได้

การคาดการณ์กำไรล่วงหน้า (Forward PE) ของตลาดหุ้นอเมริกา

สรุป FINNOMENA Live มุมมองตลาดและสินทรัพย์โดยรวมในวันนี้

อธิบายเพิ่มเติมซักนิด Forward PE คือตัวชี้วัดที่นำการคาดการณ์กำไรของบริษัทในอีก 4 ไตรมาสข้างหน้า มาหารกับดัชนีตลาดหุ้น โดยจะสังเกตุได้ว่าตอนนี้ค่า P/E ลดลงอย่างรวดเร็ว แต่ที่น่าเป็นห่วงก็คือไม่ได้มาจากกำไรที่เติบโต แต่เป็นเพราะราคาหุ้นที่ลดลงอย่างรวดเร็ว สะท้อนถึงศักยภาพทางธุรกิจที่ยังไม่แน่นอน ซึ่งตอนนี้อยู่ที่ 15 ดังภาพแต่หากเทียบกับช่วงวิกฤติซัพไพร์มแล้วค่า P/E ในช่วงนั้นลดลงมาถึง 12 เลยทีเดียว อาจจะลงได้ต่อ?

ทั่วโลกพร้อมใจอัดสภาพคล่องเข้าระบบ โดยซื้อคืน bond กันแบบชุดใหญ่

สรุป FINNOMENA Live มุมมองตลาดและสินทรัพย์โดยรวมในวันนี้

ตอนนี้ทั่วโลก Balance sheet มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นและทำ new high ไปเรียบร้อยแล้ว แต่รอบนี้ตลาดกลับไม่ฟื้น เพราะ ดูเหมือนผู้คนยังไม่ค่อยมั่นใจกับนโยบายกระตุ้น ณ ตอนนี้ว่าจะช่วยดึงตลาดกลับมาได้

การอัดฉีดสภาพคล่อง (เพิ่ม Balance sheet) กับ GDP สัมพันธ์กันหรือไม่?

สรุป FINNOMENA Live มุมมองตลาดและสินทรัพย์โดยรวมในวันนี้

จากภาพจะเห็นได้ว่ามีความสอดคล้องกันในระดับนึง โดยมีการเพิ่มสภาพคล่องในช่วงล่าสุด แต่อาจต้องรอความมั่นใจของภาคธุรกิจกลับมาก่อน GDP ถึงฟื้นตัวตาม

เงินทุนไหลเข้าตราสารหนี้ภาครัฐอย่างต่อเนื่อง กลับกันกับตราสารหนี้ภาคเอกชน 

สรุป FINNOMENA Live มุมมองตลาดและสินทรัพย์โดยรวมในวันนี้

โดยที่ผ่านมาอัตราผลตอบแทน (Yield) ปรับตัวลงรุนแรงมาก สังเกตได้จากเส้นสีเหลือง (สัปดาห์ที่แล้ว) โดยอัตราผลตอบแทน (yield) ตอบสนองตามการลดดอกเบี้ยของ Fed โดยขยับไปกลับมากถึง 30-50 basis points เลยทีเดียว

และหากสังเกต อัตราดอกเบี้ยระยะสั้น (ช่วง 1 เดือนถึง 3 เดือน) ก็มีการลดลงอย่างรุนแรงเช่นเดียวกัน ซึ่งหมายความว่าธนาคารจะสามารถปล่อยกู้ได้ในอัตราดอกเบี้ยที่ถูก แต่ก็ยังคงต้องจับตามอง เพราะ หากดอกเบี้ยน้อยเกินไป ผู้คนอาจถอนเงินฝากซึ่งเป็นเงินทุนในการปล่อยกู้ของธนาคารได้เช่นเดียวกัน

เงินไหลไปไหน? วัดกันจะๆผ่าน spread (ส่วนต่าง) ของตราสารหนี้ภาคเอกชนเทียบกับพันธบัตรรัฐบาล

สรุป FINNOMENA Live มุมมองตลาดและสินทรัพย์โดยรวมในวันนี้

จากภาพจะสังเกตุได้ว่าส่วนต่างของตราสารหนี้ภาครัฐและภาคเอกชนดีดตัวขึ้นอย่างรุนแรง ซึ่งอาจทำให้เงินทุนไหลเข้าไปในตราสารหนี้ภาครัฐมากขึ้น เนื่องมาจากผู้คนอาจจะไม่มั่นใจในตราสารหนี้ที่ออกโดย บริษัท เพราะอาจผิดนัดชำระหนี้ได้ในภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้

แล้วอัตราส่วนกำไรต่อหุ้น (EPS) เป็นยังไงบ้าง?

EPS ของ S&P 500

สรุป FINNOMENA Live มุมมองตลาดและสินทรัพย์โดยรวมในวันนี้

ตัว EPS ที่ถูกคาดการณ์ในอนาคตมีแนวโน้มลดลงถึงแม้ที่ผ่านมาจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยอาจต้องจับตามอง เพราะ หากเปลี่ยนเป็นแนวโน้มขาลง อาจแสดงถึงความเป็นไปได้ที่ตลาดหุ้นจะปรับตัวลงเช่นกัน (รายได้บริษัทลดลง นักลงทุนขาดความเชื่อมั่น)

EPS ของ SET Index

สรุป FINNOMENA Live มุมมองตลาดและสินทรัพย์โดยรวมในวันนี้

มีการปรับตัวลงต่อเนื่องในส่วน EPS โดยช่วงล่าสุดได้ปรับตัวเป็นขั้นบันไดไหลลงมาแสดงถึงภาวะที่ยํ่าแย่เรียบร้อยแล้ว

EPS ของ CSI 300 (จีน)

สรุป FINNOMENA Live มุมมองตลาดและสินทรัพย์โดยรวมในวันนี้

ตัวรายได้ ยังทรงๆและยังถือว่าดูดีเลยทีเดียว หากเทียบกับประเทศอื่นๆข้างต้น

มุมมองทองคำ

สรุป FINNOMENA Live มุมมองตลาดและสินทรัพย์โดยรวมในวันนี้

จากสัปดาห์ที่ผ่านมามีการเทขายของทองคำโดยอาจเป็น เพียงแรงขายอย่างตื่นตระหนก (panic sell) เพราะ ผู้คนอาจต้องการเงินสดในยามวิกฤติเนื่องด้วยเป็นสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูง โดยรวมมองว่า “ทองคำ” ยังมีโอกาสถือได้ แต่ควรมีในสัดส่วนที่เหมาะสม และมีกระจายการลงทุน โดยในจุดนี้ถือว่าเป็นช่วงทยอยสะสม

มุมมองเชิงเทคนิคอล

ดัชนี S&P 500, DOW Jones และ NASDAQ

สรุป FINNOMENA Live มุมมองตลาดและสินทรัพย์โดยรวมในวันนี้

สรุป FINNOMENA Live มุมมองตลาดและสินทรัพย์โดยรวมในวันนี้

สรุป FINNOMENA Live มุมมองตลาดและสินทรัพย์โดยรวมในวันนี้

โดยรวมราคาได้หลุด Moving Average 200 ไปเรียบร้อยแล้วและหากเทียบกับวิกฤติก่อนหน้าระยะเวลาในการกลับมาได้จะเป็นดังนี้…

วิกฤติดอทคอม ใช้ระยะเวลาประมาณ 1 ปี ครึ่ง 

วิกฤติซัพไพร์มใช้เวลาราวๆ 1 ปีกับอีก 4-5 เดือน

ดัชนี DAX (เยอรมันนี)

สรุป FINNOMENA Live มุมมองตลาดและสินทรัพย์โดยรวมในวันนี้

เกิด Bearish Divergence หรือการที่เกิดแนวโน้มขาลงใน indicator สวนทางกับราคาที่เกิดแนวโน้มขาขึ้น (สัญญาณขัดแย้งกัน) โดยเกิดขึ้นติดกันสามรอบบน indicator อย่าง MACD ในช่วงปี 2017-2019 แสดงให้เห็นถึงการกลับตัวเป็นแนวโน้มขาลง

ดัชนี Shanghai Composite จีน

สรุป FINNOMENA Live มุมมองตลาดและสินทรัพย์โดยรวมในวันนี้

ทางด้านของจีนยังอยู่ในกรอบ sideway แต่มีโอกาสปรับตัวขึ้นได้จากปัจจัยพื้นฐานที่ดูมั่นคงกว่าประเทศอื่น

ดัชนี SET Index ไทย 

ในส่วนของ Fibonacci  Retracement ยังไม่หลุดระดับ 0.50 แต่อาจต้องถอยออกมาก่อน เพราะ เราอยู่ในช่วง corrective wave ที่ชัดเจน (สูญเสียแนวโน้มขาขึ้นไปเรียบร้อยแล้ว) โดยราคาอาจเด้งกลับมาได้ไม่แรง 

สุดท้ายนี้ขอให้นักลงทุนทุกคนสู้ๆนะครับ ทางเราพร้อมเป็นกำลังใจให้เสมอ และเราจะก้าวผ่านช่วงเวลานี้ไปด้วยกันครับ ส่วนตัวผมขอตัวไปพักก่อนละกัน… รักษาสุขภาพกันด้วย ขอให้ทุกคนโชคดีครับ


 

iran-israel-war