Cybersecurity ถือเป็นอุตสาหกรรมทางเลือกในการลงทุนไปกับแนวโน้ม Megatrend ได้เป็นอย่างดี มีการเติบโตที่น่าสนใจ อีกทั้งยังมีหุ้นที่หนี้น้อยมาก และเติบโตดีอย่างเหลือเชื่อ อุตสาหกรรมนี้น่าสนใจขนาดไหน พิสูจน์ไปพร้อม ๆ กัน ผ่านสรุปไลฟ์จาก LH Fund ได้เลยครับ

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ Cybersecurity แท้จริงแล้วใกล้ตัวเรามากกว่าที่คิด

  • 80% ของบริษัทที่โดนแฮกระบบ มีการโดนซ้ำ ในขณะที่ 30% ขององค์กรทั่วโลก ผู้บริหารระดับสูง (C-level) เช่น ระดับ VP (Vice President) ต้องถูกไล่ออกจากการที่บริษัทโดนเเฮ็ก
  • อีกหนึ่งตัวอย่างที่น่าสนใจ น่านำมาเป็นกรณีศึกษาก็คือ บริษัท โรงกลั่นน้ำมันในไทย ที่ในช่วงนั้นสภาวะราคาน้ำมันเอื้ออำนวยและมีทิศทางค่าการกลั่นที่ดี เคยถูกแฮกเกอร์หลอกให้โอนเงิน 600 ล้านบาท ทำให้ผลประกอบการไตรมาสนั้นขาดทุนหลักพันล้าน
  • บริษัทชั้นนำระดับโลกยอมจ่ายเงินลงทุนใน Cybersecurity จำนวนมาก คิดเป็นเม็ดเงินจำนวน 600 ล้านเหรียญถึง 1 พันล้านเหรียญ โดยลงทุนในเครื่องมือ เน็ตเวิร์ก และซอฟต์แวร์ ที่มีเทคโนโลยี AI ในการดักจับการแฮก
  • รถ Automonous cars ในอนาคต สามารถโดนเเฮกระบบจากผู้ไม่หวังดี และอาจส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุ ดังนั้นอุตสาหกรรม Cybersecurity ต้องเข้ามามีเอี่ยวแน่ ๆ
  • อุปกรณ์ที่ใช้ผ่าน IoT (เครือข่ายเชื่อมโยงอุปกรณ์ทั้งหมด) มีจำนวนมากขึ้น รวมถึงระบบ Cloud ที่โอนถ่ายข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ตมีแนวโน้มเติบโต ทำให้ธุรกิจกลุ่ม Cybersecurity มีความสำคัญมากยิ่งขึ้น
  • มีการคาดการณ์ว่าในปี 2025 จะมีอุปกรณ์ที่เกี่ยวเนื่องกับ IoT ถึง 8 พันล้านเครื่อง และมีการโตเฉลี่ยถึง 39.70% ต่อปี
  • จำนวนอุปกรณ์ IoT ต่อบุคคล น่าจะมีกันโดยเฉลี่ยประมาณ 4 ชิ้นต่อคนในอนาคต
  • 98% ของอุปกรณ์เหล่านี้ ไม่ได้ถูก Encrypt หรือใส่รหัสเอาไว้ จึงทำให้มีความเสี่ยงทางด้านความปลอดภัย โดยอุปกรณ์ที่โดนแฮ็กมากที่สุด ณ ปัจจุบัน คือ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค โทรศัพท์มือถือ แทปเลต รวมถึงวิดิโอสตรีมมิ่ง
  • อุปกรณ์ดังกล่าว บางส่วนยังไม่สามารถดาวน์โหลดโปรแกรมแอนตี้ไวรัสได้ เนื่องจากมีความจุไม่มากพอ ดังนั้น Cybersecurity ถือเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่เติบโตไปพร้อมกันกับ IoT และระบบ Cloud

สรุปกองทุน LHCYBER: เจาะลึกกองทุน "LHCYBER" กับธุรกิจ "Cybersecurity"

Cybersecurity ในแง่กฎหมาย

  • หน่วยงาน GDPR ของยุโรป มีกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่เข้มข้น โดยมีโทษปรับสูงสุดถึง 20 ล้านยูโร และคิดจาก 4% ของรายได้รวมทั่วโลกของบริษัท
  • กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล 66% ถูกบัญญัติเป็นกฎหมายเรียบร้อย ในขณะที่อีก 10% อยู่ในขั้นตอนร่างกฎหมาย
  • ในประเทศไทย กฎหมายดังกล่าวจะเริ่มบังคับใช้ประมาณกลางปีหน้า โดยระบุถึงการที่ผู้ควบคุมข้อมูลต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลก่อน เช่น พฤติกรรมการบริโภคสินค้า หรือข้อมูลส่วนบุคคลอื่น ๆ

สรุปกองทุน LHCYBER: เจาะลึกกองทุน "LHCYBER" กับธุรกิจ "Cybersecurity"

การเติบโตและความสำคัญของ Cybersecurity ในเชิงภาพรวม

  • Credit Suisse มีการคาดการณ์ว่าในปี 2019 ขนาดตลาดอยู่ที่ 1.6 แสนล้านเหรียญ และจะเติบโตแบบ CAGR ที่ 16% และจะมีขนาดถึง 4 แสนกว่าล้านเหรียญ ในปี 2026
  • International Data Corporation ได้มีการประมาณการว่า งบประมาณเกี่ยวกับความปลอดภัยทางไซเบอร์จะเพิ่มขึ้น เพื่อเป็นการป้องกันเรื่องชื่อเสียง และความเสี่ยงทางธุรกิจ ซึ่งการจัดสรรงบเหล่านี้ไม่สามารถเลื่อนออกไปได้เนื่องจากมีความสำคัญ
  • งบประมาณทางด้าน IT เติบโตประมาณ 6-7% ในขณะที่งบในส่วนของ Cybersecurity จะมีสัดส่วนถึง 5-6% จากงบ IT
  • ในเดือนมีนาคม 2021 ประธานาธิบดี โจ ไบเดน ได้จัดสรรงบประมาณในส่วนของ Cybersecurity ไว้อย่างน้อย 1.65 พันล้านเหรียญ ให้หน่วยงานและกองทุนของรัฐ แต่หลังจากโดนการจู่โจมทางไซเบอร์ใน Colonial Pipeline (การแฮกท่อส่งน้ำมัน) ทาง โจ ไบเดน เลยไม่รอช้า เพิ่มงบประมาณในส่วนนี้อีกหลายพันล้านเหรียญ (อยู่ในระหว่างการพิจารณา) เพื่อปรับปรุงระบบ Cybersecurity ตอกย้ำให้เห็นถึงการให้ความสำคัญที่เพิ่มขึ้น

สรุปกองทุน LHCYBER: เจาะลึกกองทุน "LHCYBER" กับธุรกิจ "Cybersecurity"

ประเภทธุรกิจของกลุ่ม Cybersecurity

Network Security

  • เป็นตัวจับภัยคุกคามทาง Cyber เช่น Firewall ซึ่งติดตั้งอยู่ใน Data Center ทั้งภายในและภายนอก
  • เป็นโมเดลธุรกิจแบบดั้งเดิม ซึ่งใช้การติดตั้ง (ซื้อขาด) และอัปเดต (On Premise)
  • มีสัดส่วนรายได้คิดเป็น 40% จากรายได้ทั้งหมดของอุตสาหกรรม Cybersecurity
  • ธุรกิจอาศัยการเก็บค่าบริการผ่านซอฟต์แวร์ในสัดส่วน 15%-20% ของเงินที่ซื้อซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์
  • มีธุรกิจตัวอย่าง เช่น Paloalto, Fortinet และ Zscaler ซึ่งให้บริการความปลอดภัยผ่านระบบ Cloud ในรูปแบบ Subscription
  • ปัจจุบันธุรกิจในหมวดนี้มียอดขายหลักผ่านฮาร์ดแวร์คิดเป็นสัดส่วนที่ 80% ซอฟต์แวร์ 15% และ Cloud อีก 6%
  • จากข้อมูลข้างต้น Cloud ถือได้ว่ามีพื้นที่เติบโตอีกมาก

Endpoint Security

  • เป็นที่ให้บริการความปลอดภัยเกี่ยวกับภัยคุกคามที่เข้ามายังอุปกรณ์ที่เราใช้งานทั่วไป เช่น โน้ตบุ๊ค โทรศัพท์มือถือ ระบบรถยนต์
  • ธุรกิจนี้ส่วนใหญ่เน้นการขายซอฟต์แวร์เป็นหลัก
  • มีบริษัทตัวอย่างเช่น Crowdstrike ซึ่งเป็นผู้ให้บริการ Cybersecurity ผ่านระบบ Cloud ซึ่งเป็นโมเดลรักษาความปลอดภัยแบบใหม่ จากเดิมที่เป็น Signature base หรือ ระบบที่ระบุสกุลไวรัสต่าง ๆ แบบชัดเจน และต้องรอการอัปเดต ในขณะที่ตัว Behaviour base จะดักจับภัยคุกคามผ่านพฤติกรรมที่ผิดปกติ เช่น Fund Manager ดึงข้อมูลจากภาคส่วนที่ไม่จำเป็นออกไปภายนอก ส่งผลให้การบริการในรูปแบบ Cloud มีความยืดหยุ่นและได้เปรียบมากกว่า

Security Analytic

  • มีสัดส่วนรายได้คิดเป็น 20% ของอุตสาหกรรม และมีความสำคัญเช่นเดียวกัน
  • ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดอาจเป็นในกลุ่มของสถาบันการเงิน ที่ใช้ Machine learning, AI, และ Big Data ซึ่งบางทีอาจมีมัลแวร์แทรกตัวเข้ามาในระบบโดยที่ไม่รู้ตัว
  • ระบบความปลอดภัยในส่วนนี้จะใช้ดูว่ามีความผิดปกติทางพฤติกรรมหรือไม่

Identity Security

  • มีสัดส่วนรายได้คิดเป็นเป็น 17% ของอุตสาหกรรม
  • เป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัว ตัวอย่างง่าย ๆ จำพวก ระบบการใช้พาสเวิร์ด การยืนยันตัวตนแบบ 2 ชั้น หรือการกำหนดสิทธิ์ว่าเข้าถึงข้อมูลใดได้บ้าง
  • อาจพูดง่าย ๆ ได้ว่าเป็นระบบที่ใช้ระบุและยืนยันตัวตน
  • ธุรกิจใน Segment นี้ส่วนใหญ่จะให้บริการในรูปแบบซอฟต์แวร์และ Cloud

สรุปกองทุน LHCYBER: เจาะลึกกองทุน "LHCYBER" กับธุรกิจ "Cybersecurity"

รูปแบบรายได้และสัดส่วนของ Cybersecurity

สามารถแบ่งเป็น 3 รูปแบบ คือ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และ Cloud

  • ฮาร์ดแวร์ – เป็นการขายขาด พบในธุรกิจ Network Security เท่านั้น
  • ซอฟต์แวร์ – ขาย Software License (On Premise) เช่น การซื้อโปรแกรมสแกนไวรัส หรือเป็นผู้ให้บริการ มีรูปแบบเช่น การขายขาด และมีการเก็บค่า maintenace เพิ่ม หรือจะเป็นลักษณะ Subscription ก็ได้เช่นเดียวกัน
  • Cloud – ผู้ให้บริการสามารถอัปเดตโปรแกรมได้ตลอดเวลา ผ่านการจ่ายค่าสมาชิก และมีค่าบริการที่ถูกกว่า และสามารถจัดการได้ผ่านการควบคุมแบบ remote ระยะไกล

Cloud ยังมีพื้นที่ให้เติบโตอีกมาก

สรุปกองทุน LHCYBER: เจาะลึกกองทุน "LHCYBER" กับธุรกิจ "Cybersecurity"

หากสังเกตจากภาพข้างต้นที่มีการแบ่งมูลค่าของทั้ง 4 segment ในหมวด Cybersecurity จะเห็นได้ว่าจุดสีชมพู ที่เป็นส่วนของ Cloud นั้นยังมีพื้นที่ให้เติบโตได้อีกมากเช่น Cloud มีส่วนใน Endpoint Security เพียง 10% ในขณะที่ IoT ในอนาคตจะมีการเติบโตอีกมาก ผ่านอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ถูกพัฒนาขึ้น

ในส่วนของ Network ที่มีส่วนแบ่งตลาดมากที่สุด สัดส่วนของ Cloud ใน Segment นี้มีเพียง 5% สื่อให้เห็นถึงโอกาสการเติบโตในอนาคตที่สูงเช่นกัน

ธุรกิจ Cloud มีแนวโน้มเติบโตถึงสองหลักในอนาคตโดยมีผลมาจากการที่ปัจจุบันคนมีการใช้ Public cloud มากขึ้น ในขณะที่โครงสร้างความปลอดภัยบน Cloud ต่างกันถึงสองเท่าจากปริมาณการใช้ ชี้ให้เห็นถึงพื้นที่การเติบโตของ Cybersecurity บน Cloud ในอนาคต

นำเสนอกองทุน LHCYBER ลงทุนผ่าน Global X Cybersecurity ETF (BUG ETF)

สรุปกองทุน LHCYBER: เจาะลึกกองทุน "LHCYBER" กับธุรกิจ "Cybersecurity"

  • กองทุน LHCYBER จะมีการลงทุนผ่าน 4 ธุรกิจที่ได้กล่าวไว้ก่อนหน้า และลงทุนในหุ้นเพียง 32 ตัวเน้น ๆ แบบ pure play
  • มีเงื่อนไขลงทุนในธุรกิจที่สัดส่วนรายได้มาจาก Cybersecurity มากกว่า 50%
  • มีสัดส่วนการลงทุนหลักเป็นหุ้นสหรัฐฯ ถึง 75% มีหุ้นผู้นำ อาทิ Zscaler ที่กำไรต่อหุ้นเติบโตถึงปีละ 60% เทียบกับอุตสาหกรรมที่โตปีละ 16%
  • มีการลงทุนใน Isarael ประเทศที่มีนวัตกรรมล้ำหน้าจนผู้จัดการกองทุนอย่าง Cathie Wood มี ETF แยกออกมาเป็น Isarael Innovation
  • หุ้น Isarael ต่าง ๆ เป็นหุ้นที่ถูกจดทะเบียนใน NASDAQ และหุ้น 80% ในกองดังกล่าวมี EPS เป็นบวก อีกทั้งยังเป็นหุ้นขนาดกลางที่ยังเติบโตได้

ผลตอบแทนย้อนหลัง

สรุปกองทุน LHCYBER: เจาะลึกกองทุน "LHCYBER" กับธุรกิจ "Cybersecurity"

  • ผลตอบแทนย้อนหลังมีความโดดเด่นเหนือดัชนี NASDAQ และดัชนี FTSE World โดยตั้งแต่ปี 2019 สร้างผลตอบแทนได้ราว ๆ 46% เทียบกับดัชนีหุ้นโลกที่ราว ๆ 22%
  • การเติบโตของกำไรต่อหุ้นใน 3 ปีข้างหน้าอาจอยู่ที่ 39%
  • มีค่าความผันผวนอยู่ที่ราว ๆ 37% ซึ่งค่อนข้างสูง และอาจต้องใช้การกระจายการลงทุนในพอร์ต เพื่อสร้างสมดุลและลดความผันผวน

รีวิวหุ้นในพอร์ตของกองทุน LHCYBER

เจาะลึกกองทุน "LHCYBER" กับธุรกิจ "Cybersecurity" I สรุป LIVE Market Talk

  • Cloudstrike – ผู้ให้บริการระบบสแกนไวรัสแบบไม่ต้องลงซอฟต์แวร์ ใช้โมเดลจ่ายเงินแบบรายเดือน และมีการดูแลควบคุมผ่านระบบ Cloud โดยที่ระบบสามารถตัดสินใจได้ถึงนาทีละ 50 ล้านครั้ง ทั่วโลก เพื่อคาดการณ์การคุกคามใหม่ ๆ หรือเรียกได้ว่ามีการอัปเดตและการป้องกันที่ถี่มาก ๆ แตกต่างธุรกิจสแกนไวรัสดั้งเดิมแบบ On premise
  • Paloalto – เป็นผู้นำทางด้าน Network Security ด้านการป้องกันการคุกคามทาง Cyber มีการพัฒนา Next Generation Firewall ซึ่งเป็น Firewall รุ่นอัปเกรด ดักจับการคุกคามได้ล้ำหน้ามากยิ่งขึ้น สามารถดักจับแอปพลิเคชั่นที่สามารถพัฒนารูปแบบตนเองได้ อีกทั้งยังมีสตอรี่อย่างการพยายามพัฒนาปรับธุรกิจตนเองให้เป็น Cloud based มากขึ้น เพิ่มศักยภาพในการสร้างรายได้
  • Okta – บริษัทจัดการการยืนยันตัวตนและการเข้าถึง มีตัวอย่างง่าย ๆ ให้เห็นโดยทั่วไป เช่น ระบบยืนยันตัวตนแบบ 2 ชั้น หรือ การยืนยันตัวตนต่าง ๆ เช่น ม่านตา ใบหน้า ซึ่งธุรกิจธนาคาร อีคอมเมิร์ซ จำเป็นต้องใช้
  • NortonLifeLock – เป็นบริษัทที่เกิดจากการควบรวม โดย Norton ที่ใช้โมเดลธุรกิจดั้งเดิมแบบ (On premise) และ LifeLock ซึ่งเป็นบริษัทดูแลความปลอดภัยให้กับเครดิตบูโร มีสตอรี่ในอนาคตอย่างการเทคโอเวอร์ Avira โปรแกรมสแกนไวรัสสัญชาติเยอรมัน รวมถึงการเข้าเทคโอเวอร์ Avast อีกหนึ่งโปรแกรมสแกนไวรัส เพื่อการขยายฐานลูกค้าเพิ่มเติม มี product ออกใหม่ที่น่าสนใจอย่าง Norton Crypto ที่ช่วยเสริมความปลอดภัยให้กับนักขุดบิทคอยน์

สรุปโดยรวมแล้วกองทุน LHCYBER ถือเป็นกองทุนแนว Megatrend อีกหนึ่งกองทุน จากค่าย LH Fund นอกจากกองทุน LHSEMICON ที่ได้มีการรีวิวผ่าน สรุปไลฟ์ล่าสุด ไว้เช่นเดียวกัน

ตัวกองทุนลงทุนในหุ้นกลุ่มดังกล่าวแบบเน้น ๆ เหมาะสำหรับผู้คนที่ชื่นชอบและหลงใหลในหุ้นเติบโตเป็นอย่างยิ่ง

อย่างไรก็ตามการลงทุนนั้นมีความเสี่ยง อย่าลืมกระจายสัดส่วนให้เหมาะสม กับความเสี่ยงที่ตนเองรับได้กันด้วยครับ จะได้ไปถึงเป้าหมายการเงินกันได้อย่างอุ่นใจ

สำหรับนักลงทุนที่สนใจกองทุน LHCYBER

  • กองทุน LHCYBER เป็นกองทุนที่เหมาะสำหรับนักลงทุนที่เห็นโอกาสในอุตสาหกรรม Cybersecurity ที่กำลังเติบโต โดยกองทุน LHCYBER ได้ทำการ IPO ไปในวันที่ 29 ก.ค. – 5 ส.ค. 2021 ทั้งในรูปแบบสะสมมูลค่า LHCYBER-A และรูปแบบจ่ายปันผล LHCYBER-D หากต้องการซื้อสามารถติดต่อได้ที่ บลจ. LHFund โทร 02 286 3484 หรือติดต่อเข้ามาที่ FINNOMENA โทร 02 026 5100 (ซื้อผ่านแอป FINNOMENA ได้แล้ว เข้าไปที่หน้าพอร์ตกองทุน กดทำคำสั่งซื้อ และค้นหากองทุน)

​​คำเตือน

ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | กองทุนนี้ลงทุนกระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรม ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน |

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT” หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโดยตรงกับทาง LHFund โทร 02 286 3484  หรือ www.lhfund.co.th หรือ https://bit.ly/3gzFjrR