เงินเดือนออกแล้ว ให้เงินทำงานยังไงดี?
ทุกครั้งที่เงินเดือนออก น้ำจะ…
สิ่งที่น้ำอยากให้ทุกคนลองทำดู คือ หาวิธีการที่จะทำให้เรามีรายได้มากกว่า 1 ช่องทาง แล้วมันจะทำให้เรารู้สึกมั่นคงทางการเงินขึ้นมากๆ
ทุกครั้งที่มีรายได้เข้ามา ไม่ว่าจะเป็นเงินเดือน / เงินจากการถ่ายรายการ / เงินค่าบรรยาย ฯลฯ น้ำจะบันทึกทุกครั้ง เพื่อได้เห็นกระแสเงินสดรับของตัวเอง และประเมินคร่าวๆ ว่าเราควรใช้เงินและเก็บเงินเท่าไร? (อย่างน้อยควรเก็บให้ได้ 10% ของรายได้)
ทำยังไงให้กระแสเงินสดของเราเป็น + (คือมีเงินเหลือเก็บ)
ปัจจุบันนี้น้ำมีภาระในการผ่อนเงินดาวน์ค่ะ (ซึ่งใช้บัตรเครดิตตัดผ่อนได้)
สิ่งที่แรกที่จ่ายคือ จ่ายหนี้ ก่อนเลยค่ะ จ่ายหนี้บัตรเครดิต ซึ่งน้ำไม่เคยจ่ายขั้นต่ำเลยนะคะ จ่ายเงินเต็มงวดทั้งหมดทุกครั้ง (ไม่อยากถูกคิดดอกเบี้ยบัตรวนไปไม่รู้จบ)
ซึ่งเทคนิคเล็กๆ ในการใช้บัตรเครดิตของน้ำคือ น้ำใช้บัตรเครดิตเพื่อ..
ซึ่งจริงๆ น้ำมีบัตรเครดิตแค่ใบเดียวเองค่ะ (บางคนอาจจะมีเยอะกว่านี้นะคะ ไม่มีผิดไม่มีถูก แต่ควรมีบัตรเครดิตเท่าที่จำเป็น)
และสมมติว่า บัตรเรียกเก็บมาเท่าไร? น้ำจะจ่ายเงินเกิน ยอดเรียกเก็บไปด้วย เพราะเวลาที่เรารูดจ่ายบัตรเครดิต เราก็จะได้ใช้เงินส่วนของเราเองและเครดิตด้วยค่ะ
หรือบางคนก็มีแนวคิดว่า ทุกครั้งที่รูดบัตร ก็โอนเงินจ่ายบัตรเลย เป็นต้นค่ะ (ใช้บัตรเพื่อสะสมแต้มเท่านั้น)
น้ำจะลงทุน DCA คือ ลงทุนสม่ำเสมอทุกเดือน และลงทุนเพิ่มเติมบ้างตามโอกาสและจังหวะ น้ำจะมีพอร์ตการลงทุนตามเป้าหมายการเงิน เช่น…
โดยแต่ละพอร์ตการเงิน เราจะออกแบบพอร์ตและลงทุนในกองทุนรวมที่แตกต่างกัน ตามเป้าหมายการเงิน ถ้าเป็น
เป้าหมายการเงินระยะสั้น : ก็ลงทุนในกองทุนรวมตลาดเงิน หรือ ตราสารหนี้
เป้าหมายการเงินระยะกลาง-ยาว : เป็นพอร์ตผสม แบบ 50:50 แบบ Balanced port
หรือ เป้าหมายการเงินระยะยาวเพื่อการเกษียณ : ก็จะลงทุนในกองทุนรวมตราสารทุน ทั้งในประเทศ และ ต่างประเทศค่ะ หรือ จะลงตาม Theme อุตสาหกรรม เช่น กลุ่มโรงพยาบาล/ยา อสังหาฯ เทคโนโลยีค่ะ
โดยแต่ละอายุ / เป้าหมายทางการเงิน / ระยะเวลาลงทุน ฯลฯ จะทำให้สัดส่วนการลงทุนแต่ละเป้าหมายการเงิน และแต่ละคนไม่เหมือนกันค่ะ
การลงทุนมีความเสี่ยง และมีความผันผวนตามประเภทสินทรัพย์ เราต้องเรียนรู้ เข้าใจ และมั่นใจว่าเงินที่เราลงทุน เราจะเอาออกมาใช้ตามเวลาที่กำหนด และตามเป้าหมายการเงินแต่ละประเภทจริงๆ
หวังว่าจะเป็นประโยชน์นะคะ ลองสำรวจตัวเองกันดูค่ะ ว่าพฤติกรรมทางการเงินของเรา การเดินทางของเงินของเรา เดินทางไปที่ไหน? และเงินได้ทำงานให้เราอย่างไรบ้าง?
Namfinance
หากคุณคิดจะลงทุนเพิ่มในกองทุนรวม นี้คือสิ่งที่คุณไม่อยากพลาด! สมัครสมาชิกตอนนี้เพื่อรับโพยกองทุนเด็ดที่แนะนำ อัพเดททุกเดือนจาก FINNOMENA
กดที่นี่เพื่อรับโพยกองทุน