นับวันเทรนด์คนรักสุขภาพก็มาแรงขึ้นเรื่อย ๆ เห็นได้จากงานอีเว้นท์วิ่งต่าง ๆ ในวันอาทิตย์ที่ต้องปิดถนนสักเลนหนึ่งเพื่อให้คนที่ชื่นชอบในการวิ่งได้วิ่งกันยาว ๆ
นอกจากหุ้นโรงพยาบาล หุ้นวิตามินและอาหารเสริม ยังมีหุ้นน้ำผลไม้ที่อยู่ในเทรนด์นี้เช่นกัน ถึงน้ำผลไม้จะมีน้ำตาลสูงมากแต่คนก็ยังคิดว่า อย่างไรเสียการดื่มน้ำผลไม้ย่อมดีกว่าดื่มน้ำอัดลมแน่นอน
วันนี้ผมจะมาขอแชร์เกี่ยวกับบริษัทไทยที่เราต้องรู้จักกันดีเมื่อนึกถึงน้ำผลไม้และผลไม้กระป๋อง นั่นก็คือ บริษัท มาลีกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) โดยใช้ชื่อย่อว่า MALEE ในการจดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ธุรกิจของ MALEE คือการเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายผลไม้กระป๋องกับน้ำผลไม้ โดยใช้ยี่ห้อว่า MALEE ที่มีการส่งออกไปยังต่างประเทศอีกด้วย
กลุ่มสินค้าของ MALEE (ที่มา: SET Opp Day)
1) ยี่ห้อในประเทศ คือสินค้ายี่ห้อ MALEE ที่ถูกผลิตและขายในประเทศไทย
2) ยี่ห้อส่งออก คือสินค้ายี่ห้อ MALEE ที่ผลิตในประเทศแต่ส่งออกไปขายยังต่างประเทศ
3) Contract Manufacturing Domestic คือสินค้า OEM ที่ MALEE รับจ้างผลิตให้คนอื่นซึ่งเป็นลูกค้าที่อยู่ในประเทศไทย
4) Contract Manufacturing Export คือสินค้า OEM ที่ MALEE รับจ้างผลิตให้ลูกค้าซึ่งส่งออกไปยังต่างประเทศ
ปี พ.ศ.2559 | ปี พ.ศ.2560 | |
ในประเทศ | 61% | 64% |
ส่งออก | 39% | 36% |
ปี พ.ศ.2559 | ปี พ.ศ.2560 | |
ยี่ห้อตัวเอง | 45% | 46% |
OEM | 55% | 54% |
ปี พ.ศ. | รายได้ (ล้านบาท) | กำไร (ล้านบาท) |
2558 | 5,512 | 331 |
2559 | 6,579 | 530 |
2560 | 5,988 | 286 |
หากดูรายได้รวม ก็ถือว่า MALEE โตมากในปี 2559 แต่รายได้ก็ลดลงมาในปี 2560 ที่ผ่านมา
ยิ่งถ้าดูกำไรของ MALEE แล้ว จะเห็นว่ากำไรรูดลงหนักจากปี 2559
สาเหตุที่เป็นแบบนี้ก็เพราะในปี 2559 มีกระแสฮิตน้ำมะพร้าวกันทั่วโลก ถ้าเราสังเกตดูดี ๆ เมื่อปี 2559 ก็มีแต่น้ำมะพร้าวเข้ามาเล่นในตลาดน้ำผลไม้กันทั้งนั้น ซึ่งก็ต้องยอมรับว่าความฮิตของน้ำมะพร้าวนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้นแต่เป็นกระแสไปทั่วโลก
ก็ขนาดที่ว่า The Coca-Cola Company ผู้ผลิตเครื่องดื่มโค้ก (Coke) ยังลงมาเล่นในตลาดนี้เลย อีกทั้งยังเป็นลูกค้าของ MALEE อีกด้วย โดยโค้กนั้นให้ MALEE ผลิตน้ำมะพร้าวให้โดยใช้ยี่ห้อว่า ZICO
เพราะกระแสนี้เองที่ทำให้ MALEE ได้รับอานิสงค์ครั้งนี้ไปด้วย เนื่องจาก MALEE เองก็รับจ้างผลิตให้กับลูกค้าเช่นกัน ไม่ได้ผลิตขายแต่ยี่ห้อตัวเอง ตอนที่เกิดกระแสฮิตของน้ำมะพร้าว ลูกค้าทั้งในและนอกประเทศพากันมาจ้าง MALEE ให้ผลิตน้ำมะพร้าวให้เพื่อที่จะได้นำไปขาย เพราะเหตุนี้เองที่ทำให้ MALEE มีรายได้และกำไรที่โตสูงมากในปี 2559 ที่ผ่านมา
จริงอยู่ที่น้ำมะพร้าวเป็นเครื่องดื่มสุขภาพ แต่การเติบโตที่สูงเกินไปไม่ได้หมายความว่าการเติบโตครั้งนั้นจะยืนยาวได้
ในปี 2560 ยอดขายส่งออกของ MALEE ที่เคยผลิต OEM ให้ลูกค้าต่างประเทศกลับลดลงแบบหน้ามือเป็นหลังมือ
ถ้าเทียบเฉพาะไตรมาส 4 ปี 2559 การส่งออกของ MALEE มียอดขายที่ 796 ล้านบาท แต่มาไตรมาส 4 ปี 2560 ยอดส่งออกลดลงเหลือ 450 ล้านบาท
หากคุณคิดจะลงทุนเพิ่มในกองทุนรวม นี้คือสิ่งที่คุณไม่อยากพลาด! สมัครสมาชิกตอนนี้เพื่อรับโพยกองทุนเด็ดที่แนะนำ อัพเดททุกเดือนจาก FINNOMENA
กดที่นี่เพื่อรับโพยกองทุนในปี 2559 มีกระแสน้ำมะพร้าวเข้ามาทำให้ยอดขายโตดีมาก แต่ไม่ได้โตในระยะเวลาที่นานอย่างต่อเนื่อง
ถึงอย่างนั้น ก็ไม่ได้หมายความว่า MALEE เป็นหุ้นที่ไม่ดี เพราะข้อมูลจาก Oppday ทางผู้บริหารมีการตั้งเป้าเติบโตค่อนข้างสูง รวมทั้งยังมีการทำข้อตกลงและร่วมบริษัทกับกลุ่มประเทศในอาเซียน จึงยังถือว่าเป็นหุ้นน่าติดตามอีกตัวหนึ่ง
อย่างไรก็ตาม นักลงทุนควรศึกษาปัจจัยอื่น ๆ ควบคู่กันไปด้วย เพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุนครับ
ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
https://www.finnomena.com/stock/MALEE
http://setlive.thailivestream.com/data-file/events/pdf/280218095552-Oppday-MALEE.pdf
https://www.set.or.th/set/companyhighlight.do?symbol=MALEE&ssoPageId=5&language=th&country=TH
คำเตือน
ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน
ผู้เขียนบทความนี้มิได้รับค่าตอบแทนหรือมีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัทที่กล่าวถึงในบทความนี้แต่อย่างใด
ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้
หากคุณคิดจะลงทุนเพิ่มในกองทุนรวม นี้คือสิ่งที่คุณไม่อยากพลาด! สมัครสมาชิกตอนนี้เพื่อรับโพยกองทุนเด็ดที่แนะนำ อัพเดททุกเดือนจาก FINNOMENA
กดที่นี่เพื่อรับโพยกองทุน