รีวิวกองทุนอินเดีย ครบจบในที่เดียว!

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา “อินเดีย” ได้กลายเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจเร็วที่สุดในโลก มีกระแสเงินทุนไหลเข้าประเทศอย่างต่อเนื่อง และเป็นประเทศที่น่าจับตามองสำหรับนักลงทุนที่ต้องการหาโอกาสลงทุนในตลาดเกิดใหม่

บทความนี้จึงขอพาทุกคนมารู้จักกับ “กองทุนหุ้นอินเดีย” ทำไมอินเดียจึงเป็นอีกหนึ่งโอกาสการลงทุนที่นักลงทุนไม่ควรพลาด? และจะมีกองทุนไทยกองทุนใดบ้างที่ลงทุนในหุ้นอินเดีย? อ่านบทความนี้ได้เลย ครบจบในที่เดียว!

โปรโมชั่นพิเศษสำหรับลูกค้าใหม่ เปิดบัญชีลงทุนครั้งแรกกับ FINNOMENA รับหน่วยลงทุน PCASH มูลค่า 100 บาท ตั้งแต่วันที่ 16 มี.ค. – 31 พ.ค. 65 คลิก https://finno.me/havefund-promotion

สารบัญ

ทำไมอินเดียถึงน่าลงทุน?

รีวิวกองทุนอินเดีย ครบจบในที่เดียว!

หนึ่งในประเทศที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจเร็วที่สุดในโลก

IMF คาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจอินเดียในปี 2021 อยู่ที่ 8.5% และปี 2022 ที่ 9.5% ซึ่งถือเป็นประเทศที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่รวดเร็วที่สุดในโลก โดยคาดว่าในปี 2024 อินเดียจะกลายเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลก (รองจากสหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น และเยอรมัน) ด้วยมูลค่า GDP กว่า 4.9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรี Shri Narendra Modi ยังได้ประกาศแผนเศรษฐกิจพิเศษ โดยครอบคลุมมูลค่ากว่า 270 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือคิดเป็น 10% ของ GDP อินเดีย ภายใต้นโยบาย Atmanirbhar Bharat ซึ่งหมายถึง ‘อินเดียที่พึ่งพาตนเอง’

รีวิวกองทุนอินเดีย ครบจบในที่เดียว!

Top 5 Biggest Economies in 2024
ที่มา: Focus Economics

ฐานการผลิต และโครงสร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่ง

อินเดียจัดตั้งฐานการผลิตที่แข็งแกร่งสำหรับการผลิตผลิตภัณฑ์พื้นฐานและสินค้าทุนที่หลากหลาย เพื่อตอบสนองความต้องการของภาคส่วนต่าง ๆ ด้านโครงสร้างพื้นฐานได้กลายเป็นภาคส่วนที่รัฐบาลอินเดียให้ความสำคัญมากที่สุด เนื่องจากเป็นภาคส่วนที่ขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศโดยรวมของอินเดีย โดยอินเดียวางแผนที่จะอัดฉีดเงินจำนวน 1.4 ล้านล้านดอลลาร์สำหรับโครงสร้างพื้นฐานในช่วงปี 2019-2023 เพื่อให้มีการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน รัฐบาลได้เสนอการลงทุน 50 ล้านล้านรูปี (750 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) สำหรับโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟระหว่างปี 2018-2030

นอกจากนี้ รัฐบาลอินเดียยังใช้ระบบการร่วมทุนระหว่างภาครัฐกับเอกชนในแบบ Public Private Partnerships (PPP) โดยส่งเสริมให้ PPP เป็นเครื่องมือในการนำประสิทธิภาพของภาคเอกชนมาใช้สำหรับการสร้างสินทรัพย์ด้านโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคม เพื่อการส่งมอบบริการสาธารณะที่มีคุณภาพแก่ประชาชน ซึ่ง ณ เดือนกันยายน 2021 มีการเปิดตัวโครงการ PPP ไปแล้วกว่า 1,115 โครงการ คิดเป็นมูลค่าการลงทุนกว่า 278.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ขีดความสามารถในการแข่งขันระดับโลก

ศูนย์กลางการค้าทางทะเลจะย้ายจากมหาสมุทรแปซิฟิกไปยังภูมิภาคมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งส่งผลให้อินเดียและจีนจะเป็นศูนย์กลางการผลิตที่ใหญ่ที่สุดในโลกภายในปี 2030 

นอกจากนี้ อินเดียยังถูกจัดอันดับเป็นประเทศที่ 46 ของดัชนีนวัตกรรมโลก (Global Innovation Index: GII) ซึ่งจัดอันดับโดยองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO) เพิ่มขึ้นมาถึง 35 อันดับจากปี 2015 และยังเป็นอันดับที่ 48 ของประเทศที่มีความสามารถในการแข่งขันทั่วโลกในปี 2021

มีประชากรอายุน้อยจำนวนมาก

อินเดียเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับสองของโลกรองจากประเทศจีน ด้วยจำนวนประชากรกว่า 1.4 พันล้านคน และด้วยอายุเฉลี่ยของประชากรที่ 28.4 ปี ทำให้อินเดียกลายเป็นหนึ่งในประเทศที่มีประชากรอายุน้อยที่สุดในโลก ประชากรในช่วงวัยรุ่นของอินเดียคิดเป็น 1 ใน 5 ของโลก ประชากรวัยหนุ่มสาวเหล่านี้จะเป็นผู้เปลี่ยนแปลงพลวัตทางสังคมและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี รวมถึงเป็นกลุ่มผู้บริโภคขนาดใหญ่ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจอินเดีย โดยอินเดียจะมีประชากรวัยทำงานมากที่สุดในโลกที่ 578 ล้านคน ภายในปี 2100 

กองทุนไทยที่มีนโยบายลงทุนในอินเดีย

B-BHARATA

รีวิวกองทุนอินเดีย ครบจบในที่เดียว!

กองทุน B-BHARATA หรือ Bualuang Bharata Fund จากบลจ.บัวหลวง (BBLAM) มีนโยบายลงทุนในกองทุน RAMS Equities Portfolio Fund – India Equities Portfolio Fund – Class I (USD) เป็นกองทุนหลัก (Master Fund) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ โดยกองทุน B-BHARATA จัดเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงระดับ 6

กองทุนหลักมุ่งหาผลตอบแทนจากการ เพิ่มมูลค่าของเงินลงทุนในระยะยาวผ่านการลงทุนในหุ้นและสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับหุ้นของบริษัทที่จัดตั้งหรือดำเนินธุรกิจในอินเดีย

กลยุทธ์ในการบริหารจัดการลงทุน: มุ่งหวังให้ผลประกอบการสูงกว่าดัชนีชี้วัด (Active Management)

รีวิวกองทุนอินเดีย ครบจบในที่เดียว!

Sector Breakdown ของ B-BHARATA (ข้อมูล ณ เดือนกันยายน 2564)
ที่มา: India Equities Portfolio Fund Institutional Share Class Factsheet

รีวิวกองทุนอินเดีย ครบจบในที่เดียว!

Top 10 Holdings ของ B-BHARATA (ข้อมูล ณ เดือนกันยายน 2564)
ที่มา: India Equities Portfolio Fund Institutional Share Class Factsheet

ปัจจัยความเสี่ยงที่ควรทราบ: ความเสี่ยงจากการกระจุกตัวลงทุนในประเทศอินเดีย และหมวดอุตสาหกรรม Financials, ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน)

ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ของกองทุน B-BHARATA:

  • ค่าธรรมเนียมการจัดการ: 1.0700%
  • ค่าธรรมเนียมการขาย (Front-end Fee) และ Switching-in: ไม่เกิน 1.00%
  • ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายรวม: 1.1868%

เงินลงทุนขั้นต่ำในการลงทุน B-BHARATA:

  • มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรกและครั้งถัดไป:  500 บาท

ข้อมูลจาก B-BHARATA Fund Factsheet ณ วันที่ 30 มิ.ย. 2564

ซื้อกองทุน B-BHARATA คลิก

TISCOINA-A

รีวิวกองทุนอินเดีย ครบจบในที่เดียว!

กองทุน TISCOINA-A หรือ TISCO India Active Equity Fund จากบลจ.ทิสโก้ (TISCOAM) มีนโยบายลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตราสารทุนต่างประเทศ และ/หรือกองทุนรวม ETF ตราสารทุนต่างประเทศที่มีนโยบายการลงทุนในหุ้นของบริษัทที่จดทะเบียนจัดตั้งในประเทศอินเดีย หรือบริษัทที่มีการดำเนินธุรกิจในประเทศอินเดีย หรือบริษัทที่มีรายได้หลักจากการประกอบกิจการในประเทศอินเดีย โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ ในเบื้องต้นบริษัทจัดการจะลงทุนในกองทุนรวมต่างประเทศ 3 กองทุน ได้แก่ 

  1. Goldman Sachs India Equity Portfolio – Class I USD – มีนโยบายลงทุนในหุ้นของบริษัทที่จดทะเบียนจัดตั้งในประเทศอินเดีย หรือบริษัทที่มีรายได้หลักหรือกำไรส่วนใหญ่มาจากการประกอบกิจการในประเทศอินเดีย อย่างน้อย 2 ใน 3 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ทั้งนี้กองทุนจะลงทุนในกองทุนนี้ ในสัดส่วนประมาณ 1/3 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน
  2. FSSA Indian Subcontinent Fund – Class III USD – มีนโยบายการลงทุนในหุ้นของบริษัทที่จัดตั้งหรือดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับประเทศอินเดีย ปากีสถาน ศรีลังกา หรือบังคลาเทศ อย่างน้อยร้อยละ 70 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ทั้งนี้กองทุนจะลงทุนในกองทุนนี้ในสัดส่วนประมาณ 1/3 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน
  3. Nomura Funds Ireland plc India Equity Fund – Class I USD – มีนโยบายลงทุนในหุ้นที่จดทะเบียนหรือซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ในประเทศอินเดีย หรือกองทุนอาจลงทุนในตราสารทุนหรือหลักทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับตราสารทุนที่จดทะเบียนหรือซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์อื่นนอกประเทศอินเดีย แต่ผู้ออกหลักทรัพย์ดังกล่าวดำเนินธุรกิจในประเทศอินเดีย ทั้งนี้กองทุนจะลงทุนในกองทุนนี้ในสัดส่วนประมาณ 1/3 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน

รีวิวกองทุนอินเดีย ครบจบในที่เดียว!

รายชื่อทรัพย์สินที่ลงทุนสูงสุด 5 อันดับแรก ของ TISCOINA-A (ข้อมูล ณ วันที่ 30 มิ.ย. 2564)
ที่มา: TISCOINA-A Fund Factsheet

กลยุทธ์ในการบริหารจัดการลงทุน: มุ่งหวังให้ผลประกอบการสูงกว่าดัชนีชี้วัด (Active Management)

ปัจจัยความเสี่ยงที่ควรทราบ: ความเสี่ยงจากการกระจุกตัวลงทุนในประเทศอินเดีย และหมวดอุตสาหกรรม Financials, ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (กองทุนไม่มีการป้องกันความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน)

ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ของกองทุน TISCOINA-A:

  • ค่าธรรมเนียมการจัดการ: 0.8025%
  • ค่าธรรมเนียมการขาย (Front-end Fee): 1.00%
  • ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายรวม: 1.9530%

เงินลงทุนขั้นต่ำในการลงทุน TISCOINA-A:

  • มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรกและครั้งถัดไป: 1,000 บาท

ข้อมูลจาก TISCOINA-A Fund Factsheet ณ วันที่ 30 มิ.ย. 2564

ซื้อกองทุน TISCOIN-A คลิก

KWI INDIA

▶︎ KWI INDIA-A, KWI INDIA-D

รีวิวกองทุนอินเดีย ครบจบในที่เดียว!

กองทุน KWI INDIA หรือ KWI India Equity FIF จากบลจ.คิง ไว (KWIAM) มีนโยบายลงทุนในกองทุน Manulife Global Fund – India Equity Fund (Class I2) เป็นกองทุนหลัก (Master Fund) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ โดยกองทุน KWI INDIA จัดเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงระดับ 6

กองทุนหลักมีนโยบายลงทุนในหุ้นและหลักทรัพย์ที่อ้างอิงกับหุ้นของบริษัทซึ่งครอบคลุมกลุ่มอุตสาหกรรม (sector) ต่าง ๆ ของเศรษฐกิจในประเทศอินเดีย 

กลยุทธ์ในการบริหารจัดการลงทุน: มุ่งหวังให้ผลประกอบการสูงกว่าดัชนีชี้วัด (Active Management)

รีวิวกองทุนอินเดีย ครบจบในที่เดียว!

Top 5 Holdings ของ KWI INDIA (ข้อมูล ณ เดือนสิงหาคม 2564)
ที่มา: Manulife Global Fund – India Equity Fund Factsheet

รีวิวกองทุนอินเดีย ครบจบในที่เดียว!

Sector Allocation ของ KWI INDIA (ข้อมูล ณ เดือนสิงหาคม 2564)
ที่มา: Manulife Global Fund – India Equity Fund Factsheet

ปัจจัยความเสี่ยงที่ควรทราบ: ความเสี่ยงจากการกระจุกตัวลงทุนในประเทศอินเดีย และหมวดอุตสาหกรรม Financials, ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน)

ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ของกองทุน KWI INDIA:

  • ค่าธรรมเนียมการจัดการ: 1.8678%
  • ค่าธรรมเนียมการขาย (Front-end Fee): 1.50%
  • ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายรวม: 3.2321%

เงินลงทุนขั้นต่ำในการลงทุน KWI INDIA:

  • มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรก: 10,000 บาท
  • มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งถัดไป: 1 บาท

ข้อมูลจาก KWI INDIA Fund Factsheet ณ วันที่ 30 มิ.ย. 2564

ซื้อกองทุน KWI INDIA-A, KWI INDIA-D คลิก

TMBINDAE

รีวิวกองทุนอินเดีย ครบจบในที่เดียว!

กองทุน TMBINDAE หรือ TMB India Active Equity Fund จากบลจ.ทีเอ็มบี (TMBAM) มีนโยบายลงทุนในกองทุน Goldman Sachs India Equity Portfolio – Class I Shares (Acc.) เป็นกองทุนหลัก (Master Fund) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ โดยกองทุน TMBINDAE จัดเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงระดับ 6

กองทุนหลักมีวัตถุประสงค์ในการลงทุนเพื่อเพิ่มมูลค่าเงินลงทุน โดยกองทุนจะลงทุนอย่างน้อย 2 ใน 3 ของมูลค่าทรัพย์สินในหุ้น และ/หรือตราสารที่มีความเกี่ยวข้องกับหุ้น (equity related transferable securities) และกองทุน ซึ่งมีการลงทุนในบริษัทที่มีภูมิลำเนา หรือมีกำไร/รายได้หลักอยู่ในประเทศอินเดีย

กลยุทธ์ในการบริหารจัดการลงทุน: มุ่งหวังให้ผลประกอบการสูงกว่าดัชนีชี้วัด (Active Management)

รีวิวกองทุนอินเดีย ครบจบในที่เดียว!

Sector Allocation ของ TMBINDAE (ข้อมูล ณ เดือนสิงหาคม 2564)
ที่มา: Goldman Sachs India Equity Portfolio – Monthly Fund Update

รีวิวกองทุนอินเดีย ครบจบในที่เดียว!

Top 10 Holdings ของ TMBINDAE (ข้อมูล ณ เดือนสิงหาคม 2564)
ที่มา: Goldman Sachs India Equity Portfolio – Monthly Fund Update

ปัจจัยความเสี่ยงที่ควรทราบ: ความเสี่ยงจากการกระจุกตัวลงทุนในประเทศอินเดีย และหมวดเงินทุนและหลักทรัพย์ (FIN), ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน)

ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ของกองทุน TMBINDAE:

  • ค่าธรรมเนียมการจัดการ: 1.6050%
  • ค่าธรรมเนียมการขาย (Front-end Fee) และ Switching-in: 1.50%
  • ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายรวม: 1.7881%

เงินลงทุนขั้นต่ำในการลงทุน TMBINDAE:

  • มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรก: 1 บาท
  • มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งถัดไป: 1 บาท

ข้อมูลจาก TMBINDAE Fund Factsheet ณ วันที่ 30 มิ.ย. 2564

ซื้อกองทุน TMBINDAE คลิก

TISCOIN

รีวิวกองทุนอินเดีย ครบจบในที่เดียว!

กองทุน TISCOIN หรือ TISCO India Equity Fund จากบลจ.ทิสโก้ (TISCOAM) มีนโยบายลงทุนในกองทุน iShares MSCI India ETF ป็นกองทุนหลัก (Master Fund) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ โดยกองทุน TISCOIN จัดเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงระดับ 6

กองทุนหลักมีวัตถุประสงค์ในการลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนของกองทุน (ก่อนหัก ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายทั้งหมดของกองทุน) ให้ใกล้เคียงกับผลตอบแทนของดัชนี MSCI India Total Return

กลยุทธ์ในการบริหารจัดการลงทุน: มุ่งหวังให้ผลประกอบการเคลื่อนไหวตามกองทุนหลัก (Passive Management)

รีวิวกองทุนอินเดีย ครบจบในที่เดียว!

Sector Breakdown ของ TISCOIN (ข้อมูล ณ วันที่ 17 ก.ย. 2564)
ที่มา: https://www.ishares.com/us/products/239659/ishares-msci-india-etf 

รีวิวกองทุนอินเดีย ครบจบในที่เดียว!

Top 10 Holdings ของ TISCOIN (ข้อมูล ณ วันที่ 17 ก.ย. 2564)
ที่มา: https://www.ishares.com/us/products/239659/ishares-msci-india-etf 

ปัจจัยความเสี่ยงที่ควรทราบ: ความเสี่ยงจากการกระจุกตัวลงทุนในประเทศอินเดีย และหมวดอุตสาหกรรม Financials, ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (กองทุนไม่มีการป้องกันความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน)

ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ของกองทุน TISCOIN:

  • ค่าธรรมเนียมการจัดการ: 0.1605%
  • ค่าธรรมเนียมการขาย (Front-end Fee): 1.00%
  • ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายรวม: 1.4400%

เงินลงทุนขั้นต่ำในการลงทุน TISCOIN:

  • มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรกและครั้งถัดไป: 1,000 บาท

ข้อมูลจาก TISCOIN Fund Factsheet ณ วันที่ 30 มิ.ย. 2564

ซื้อกองทุน TISCOIN คลิก

ABIG

รีวิวกองทุนอินเดีย ครบจบในที่เดียว!

กองทุน ABIG หรือ Aberdeen Standard India Growth Fund จากบลจ.อเบอร์ดีน (Aberdeen) มีนโยบายลงทุนในกองทุน Aberdeen Standard SICAV I – Indian Equity Fund เป็นกองทุนหลัก (Master Fund) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ โดยกองทุน ABIG จัดเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงระดับ 6

กองทุนหลักจะลงทุนอย่างน้อยสองในสามของพอร์ตการลงทุนในหุ้นหรือที่เกี่ยวข้องกับหุ้นของบริษัทที่จดทะเบียนจัดตั้ง หรือประกอบกิจการในประเทศอินเดีย หรือบริษัทโฮลดิ้งที่ถือหุ้นในบริษัทดังกล่าว

กลยุทธ์ในการบริหารจัดการลงทุน: มุ่งหวังให้ผลประกอบการสูงกว่าดัชนีชี้วัด (Active Management)

รีวิวกองทุนอินเดีย ครบจบในที่เดียว!

Top 10 Holdings และ Sector Breakdown ของ ABIG (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ส.ค. 2564)
ที่มา: Aberdeen Standard SICAV I – Indian Equity Fund Monthly Factsheet 

ปัจจัยความเสี่ยงที่ควรทราบ: ความเสี่ยงจากการกระจุกตัวลงทุนในประเทศอินเดีย และหมวดอุตสาหกรรม Financials, ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน)

ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ของกองทุน ABIG:

  • ค่าธรรมเนียมการจัดการ: 1.8725%
  • ค่าธรรมเนียมการขาย (Front-end Fee): 1.50%
  • ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายรวม: 2.0602%

เงินลงทุนขั้นต่ำในการลงทุน ABIG:

  • มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรกและครั้งถัดไป: 1,000 บาท

ข้อมูลจาก ABIG Fund Factsheet ณ วันที่ 14 ส.ค. 2564

ซื้อกองทุน ABIG คลิก

ASP-INDIA

รีวิวกองทุนอินเดีย ครบจบในที่เดียว!

กองทุน ASP-INDIA หรือ Asset Plus India Dynamic Equity Fund จากบลจ.แอสเซท พลัส (ASSETFUND) มีนโยบายลงทุนในกองทุน UTI India Dynamic Equity Fund – Institutional Class (USD) เป็นกองทุนหลัก (Master Fund) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ โดยกองทุน ASP-INDIA จัดเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงระดับ 6

นโยบายกองทุนหลัก

มีเป้าหมายการเติบโตระยะกลางถึงระยะยาวผ่านการลงทุนหลักในหุ้นอินเดียที่มุ่งเน้นการเติบโตซึ่งจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ มุมไบ (Mumbai Stock Exchange) และในตลาดหลักทรัพย์แห่งชาติ (National Stock Exchange) ในประเทศอินเดีย กองทุนมีวัตถุประสงค์การลงทุนในตราสารทุนและหลักทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับตราสารทุนของบริษัท ดังนี้

  1. บริษัทขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดย่อม ซึ่งจดทะเบียนธุรกิจในประเทศอินเดียและจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่ได้รับการยอมรับต่างๆ ทั่วโลก
  2. บริษัทขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดย่อม ซึ่งประกอบกิจกรรมทางธุรกิจหลักในประเทศอินเดียและจดทะเบียนในตลาด หลักทรัพย์ที่ได้รับการยอมรับต่างๆ ทั่วโลก
  3. บริษัทขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดย่อม ซึ่งตราสารทุนและหลักทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับตราสารทุนที่จดทะเบียนซื้อขายใน ตลาดหลักทรัพย์อินเดีย

ผู้จัดการกองทุนจะวิเคราะห์การลงทุนจากล่างขึ้นบน (Bottom-up approach) โดยเน้นไปในส่วนของบริษัทมีพื้นฐานแข็งแกร่งและมี เสถียรภาพ (Blue Chip Companies) ซึ่งมีศักยภาพในการเติบโตของรายได้ที่สูงเนื่องจากมีโอกาสทางธุรกิจในอนาคต กองทุนจะมีสัดส่วนการลงทุนที่สูงขึ้นในภาคอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มการเติบโตที่มั่นคงและความสามารถในการสร้างกระแสเงินสด จากการดำเนินงาน กองทุนจะการกระจายการลงทุนโดยที่จะไม่มุ่งเน้นการลงทุนในหมวดอุตสาหกรรมใดหรือธุรกิจใดธุรกิจใดธรุกิจหนึ่ง อย่างไรก็ตาม กองทุนจะลงทุนในหลายหมวดอุตสาหกรรม ซึ่งได้แก่ การเงินและธนาคาร เทคโนโลยีสารสนเทศ สินค้าอุปโภคบริโภค กลุ่มบริการสุขภาพ ยานยนต์ อุตสาหกรรม ซีเมนต์ พลังงาน และ บริการโทรคมนาคม

กลยุทธ์ในการบริหารจัดการลงทุน: มุ่งหวังให้ผลประกอบการสูงกว่าดัชนีชี้วัด (Active Management)

รีวิวกองทุนอินเดีย ครบจบในที่เดียว!

Portfolio Information และ Market Capitalization ของ ASP-INDIA (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ส.ค. 2021)
ที่มา: UTI India Dynamic Equity Fund – Institutional Class (USD) Monthly Factsheet

รีวิวกองทุนอินเดีย ครบจบในที่เดียว!

Top 10 Holdings ของ ASP-INDIA (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ส.ค. 2564)
ที่มา: UTI India Dynamic Equity Fund – Institutional Class (USD) Monthly Factsheet

ปัจจัยความเสี่ยงที่ควรทราบ: ความเสี่ยงจากการกระจุกตัวลงทุนในประเทศอินเดีย และหมวดอุตสาหกรรม Financials, ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเกือบทั้งหมด โดยไม่น้อยกว่า 90% ของเงินลงทุนต่างประเทศ)

ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ของกองทุน ASP-INDIA:

  • ค่าธรรมเนียมการจัดการ: 1.6100%
  • ค่าธรรมเนียมการขาย (Front-end Fee) และ Switching-in: 1.25%
  • ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายรวม: 3.6721%

เงินลงทุนขั้นต่ำในการลงทุน ASP-INDIA:

  • มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรกและครั้งถัดไป: 5,000 บาท

ข้อมูลจาก ASP-INDIA Fund Factsheet ณ วันที่ 30 มิ.ย. 2564

ซื้อกองทุน ASP-INDIA คลิก

LHINDIAE

▶︎ LHINDIAE-A, LHINDIAE-D, LHINDIAE-E

รีวิวกองทุนอินเดีย ครบจบในที่เดียว!

กองทุน LHINDIAE หรือ LH INDIA-E Fund จากบลจ.แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ (LHFUND) มีนโยบาลลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนต่างประเทศ และ/หรือกองทุนรวม ETF ต่างประเทศทั่วโลกที่มีนโยบายเน้นลงทุนในหุ้นที่จดทะเบียนในประเทศอินเดีย โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ทั้งนี้บริษัทจัดการจะลงทุนในกองทุนรวมต่างประเทศ และ/หรือกองทุนรวม ETF ต่างประเทศอย่างน้อย 2 กองทุน ในสัดส่วนกองทุนละไม่เกินร้อยละ 79 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน โดยกองทุน LHINDIAE จัดเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงระดับ 6

กลยุทธ์ในการบริหารจัดการลงทุน: มุ่งหวังให้ผลประกอบการสูงกว่าดัชนีชี้วัด (Active Management)

รีวิวกองทุนอินเดีย ครบจบในที่เดียว!

รายชื่อทรัพย์สินที่ลงทุนสูงสุดของ LHINDIAE (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ส.ค. 2564)
ที่มา: LHINDIAE Fund Factsheet

ปัจจัยความเสี่ยงที่ควรทราบ: ความเสี่ยงจากการกระจุกตัวลงทุนในประเทศอินเดีย และหมวดอุตสาหกรรม Financials (31.18%), ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน)

ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ของกองทุน LHINDIAE:

  • ค่าธรรมเนียมการจัดการ: 1.33750%
  • ค่าธรรมเนียมการขาย (Front-end Fee) และ Switching-in: 1.00% (ยกเว้นสำหรับ LHINDIAE-E)
  • ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายรวม: 1.79317%

เงินลงทุนขั้นต่ำในการลงทุน LHINDIAE:

LHINDIAE-A, LHINDIAE-D

  • มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรกและครั้งถัดไป: 1,000 บาท

LHINDIAE-E

  • มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรกและครั้งถัดไป: 500 บาท

ข้อมูลจาก LHINDIAE Fund Factsheet ณ วันที่ 31 ส.ค. 2564

ซื้อกองทุน LHINDIAE-A, LHINDIAE-D คลิก

KT-INDIA

▶︎ KT-INDIA-A, KT-INDIA-D

รีวิวกองทุนอินเดีย ครบจบในที่เดียว!

กองทุน KT-INDIA หรือ KTAM India Equity Fund จากบลจ.กรุงไทย (KTAM) มีนโยบายลงทุนในกองทุน Invesco India Equity Fund – Class A เป็นกองทุนหลัก (Master Fund) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ โดยกองทุน KT-INDIA จัดเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงระดับ 6

กองทุนหลักลงทุนส่วนใหญ่ในหุ้นหรือตราสารที่คล้ายคลึงกันของบริษัทอินเดีย

กลยุทธ์ในการบริหารจัดการลงทุน: มุ่งหวังให้ผลประกอบการสูงกว่าดัชนีชี้วัด (Active Management)

รีวิวกองทุนอินเดีย ครบจบในที่เดียว!

Sector Weightings ของ KT-INDIA (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ส.ค. 2564)
ที่มา: Invesco India Equity Fund – Class A Monthly Factsheet

รีวิวกองทุนอินเดีย ครบจบในที่เดียว!

Top 10 Holdings ของ KT-INDIA (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ส.ค. 2564)
ที่มา: Invesco India Equity Fund – Class A Monthly Factsheet

ปัจจัยความเสี่ยงที่ควรทราบ: ความเสี่ยงจากการกระจุกตัวลงทุนในประเทศอินเดีย และหมวดอุตสาหกรรม Financials และ Information Technology, ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน ประมาณ 50-100% ของเงินลงทุนต่างประเทศ)

ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ของกองทุน KT-INDIA:

  • ค่าธรรมเนียมการจัดการ: 0.8025%
  • ค่าธรรมเนียมการขาย (Front-end Fee) และ Switching-in: 1.50%
  • ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายรวม: 1.1400%

เงินลงทุนขั้นต่ำในการลงทุน KT-INDIA:

  • มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรกและครั้งถัดไป: 1,000 บาท

ข้อมูลจาก KT-INDIA Fund Factsheet ณ วันที่ 30 มิ.ย. 2564

ซื้อกองทุน KT-INDIA-A, KT-INDIA-D คลิก

ONE-INDIAOPP

▶︎ ONE-INDIAOPP-RA, ONE-INDIAOPP-RD, ONE-INDIAOPP-IA, ONE-INDIAOPP-ID

รีวิวกองทุนอินเดีย ครบจบในที่เดียว!

กองทุน ONE-INDIAOPP หรือ ONE India Opportunity Fund จากบลจ.วรรณ (ONEAM) มีนโยบายลงทุนในกองทุน PineBridge India Equity Fund – Class Y (USD) เป็นกองทุนหลัก (Master Fund) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ โดยกองทุน ONE-INDIAOPP จัดเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงระดับ 6

กองทุนหลักมีวัตถุประสงค์ในการลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนให้แก่เงินลงทุนในระยะยาว เน้นลงทุนในหุ้นของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในประเทศอินเดียหรือมีแนวโน้มเติบโตตามเศรษฐกิจของประเทศอินเดีย โดยมีกลยุทธ์การลงทุนและคัดเลือกหุ้นในลักษณะ Bottom up โดยเน้นลงทุนในบริษัทที่มีความสามารถในการแข่งขันและเติบโตในระยะยาวรวมถึงมีผลการดำเนินงานที่ดี

กลยุทธ์ในการบริหารจัดการลงทุน: มุ่งหวังให้ผลประกอบการสูงกว่าดัชนีชี้วัด (Active Management)

รีวิวกองทุนอินเดีย ครบจบในที่เดียว!

Sector Breakdown และ Top 10 Holdings ของ ONE-INDIAOPP (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ส.ค. 2564)
ที่มา: PineBridge India Equity Fund – Class Y (USD) Monthly Factsheet

ปัจจัยความเสี่ยงที่ควรทราบ: ความเสี่ยงจากการกระจุกตัวลงทุนในประเทศอินเดีย, ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน)

ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ของกองทุน ONE-INDIAOPP:

  • ค่าธรรมเนียมการจัดการ: 1.070%
  • ค่าธรรมเนียมการขาย (Front-end Fee) และ Switching-in: 1.605%
  • ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายรวม: 1.2091%

เงินลงทุนขั้นต่ำในการลงทุน ONE-INDIAOPP:

  • มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรก: 5,000 บาท
  • มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งถัดไป: 1,000 บาท

หมายเหตุ: ข้อมูลค่าธรรมเนียมและเงินลงทุนขั้นต่ำเฉพาะชนิด RA และ RD เท่านั้น

ข้อมูลจาก ONE-INDIAOPP Fund Factsheet ณ วันที่ 31 ส.ค. 2564

ซื้อกองทุน ONE-INDIAOPP-RA, ONE-INDIAOPP-RD คลิก

K-INDIA

รีวิวกองทุนอินเดีย ครบจบในที่เดียว!

กองทุน K-INDIA หรือ K India Equity Fund จากบลจ.กสิกรไทย (KAsset) มีนโยบายลงทุนในกองทุน BlackRock Global Funds – India Fund D2 (USD) เป็นกองทุนหลัก (Master Fund) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ โดยกองทุน K-INDIA จัดเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงระดับ 6

กองทุนหลักจะลงทุนในหุ้นของบริษัทในประเทศอินเดียไม่น้อยกว่า 70% ของมูลค่าทรัพย์สินทั้งหมดของกองทุน

กลยุทธ์ในการบริหารจัดการลงทุน: มุ่งหวังให้ผลประกอบการสูงกว่าดัชนีชี้วัด (Active Management)

รีวิวกองทุนอินเดีย ครบจบในที่เดียว!

Sector Breakdown ของ K-INDIA (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ส.ค. 2564)
ที่มา: BlackRock Global Funds – India Fund D2 (USD) Monthly Factsheet

รีวิวกองทุนอินเดีย ครบจบในที่เดียว!

Top 10 Holdings ของ K-INDIA (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ส.ค. 2564)
ที่มา: https://www.blackrock.com/americas-offshore/en/products/229783/blackrock-india-fund-d2-usd-fund

ปัจจัยความเสี่ยงที่ควรทราบ: ความเสี่ยงจากการกระจุกตัวลงทุนในประเทศอินเดีย และหมวดอุตสาหกรรม Financials, ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน ไม่น้อยกว่า 75% ของเงินลงทุนต่างประเทศ)

ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ของกองทุน K-INDIA:

  • ค่าธรรมเนียมการจัดการ: 1.2840%
  • ค่าธรรมเนียมการขาย (Front-end Fee): 1.50%
  • ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายรวม: 1.4799%

เงินลงทุนขั้นต่ำในการลงทุน K-INDIA:

  • มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรกและ: 500 บาท

ข้อมูลจาก K-INDIA Fund Factsheet ณ วันที่ 30 ก.ค. 2564

ซื้อกองทุน K-INDIA คลิก

KF-INDIA

รีวิวกองทุนอินเดีย ครบจบในที่เดียว!

กองทุน KF-INDIA หรือ Krungsri India Equity Fund จากบลจ.กรุงศรี (KrungsriAsset) มีนโยบายลงทุนในกองทุน FSSA Indian Subcontinent Fund (Class III USD) เป็นกองทุนหลัก (Master Fund) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ โดยกองทุน KF-INDIA จัดเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงระดับ 6

กองทุนหลักมีนโยบายลงทุนในหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนหรือซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ที่อยู่ในอนุทวีปอินเดีย ได้แก่ ประเทศอินเดีย ปากีสถาน ศรีลังกา และบังคลาเทศ

กลยุทธ์ในการบริหารจัดการลงทุน: มุ่งหวังให้ผลประกอบการสูงกว่าดัชนีชี้วัด (Active Management)

รีวิวกองทุนอินเดีย ครบจบในที่เดียว!

Sector Breakdown ของ KF-INDIA (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ส.ค. 2564)
ที่มา: FSSA Indian Subcontinent Fund (Class III USD) Monthly Factsheet

รีวิวกองทุนอินเดีย ครบจบในที่เดียว!

Top 10 Holdings ของ KF-INDIA (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ส.ค. 2564)
ที่มา: FSSA Indian Subcontinent Fund (Class III USD) Monthly Factsheet

ปัจจัยความเสี่ยงที่ควรทราบ: ความเสี่ยงจากการกระจุกตัวลงทุนในประเทศอินเดีย และหมวดอุตสาหกรรม Consumer Staples และ Financials, ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน โดยคิดเป็น 90% ของเงินลงทุนต่างประเทศ)

ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ของกองทุน KF-INDIA:

  • ค่าธรรมเนียมการจัดการ: 0.8025%
  • ค่าธรรมเนียมการขาย (Front-end Fee) และ Switching-in: 1.50%
  • ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายรวม: 1.0058%

เงินลงทุนขั้นต่ำในการลงทุน KF-INDIA:

  • มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรกและครั้งถัดไป: 2,000 บาท

ข้อมูลจาก KF-INDIA Fund Factsheet ณ วันที่ 31 ส.ค. 2564

ซื้อกองทุน KF-INDIA คลิก

SCBINDIAA

▶︎ SCBINDIAA, SCBINDIA, SCBINDIAE, SCBINDIAP

รีวิวกองทุนอินเดีย ครบจบในที่เดียว!

กองทุน SCBINDIAA หรือ SCB INDIA EQUITY FUND จากบลจ.ไทยพาณิชย์ (SCBAM) มีนโยบายลงทุนในกองทุน iShares India 50 ETF เป็นกองทุนหลัก (Master Fund) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ โดยกองทุน SCBINDIA จัดเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงระดับ 6

กองทุนหลักมีนโยบายเน้นลงทุนในหุ้นที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์อินเดียเพื่อให้ได้ผลตอบแทนของกองทุนไปในทิศทางเดียวกับดัชนี Nifty 50 Index 

กลยุทธ์ในการบริหารจัดการลงทุน: มุ่งหวังให้ผลประกอบการเคลื่อนไหวตามกองทุนหลัก (Passive Management)

รีวิวกองทุนอินเดีย ครบจบในที่เดียว!

Top Sectors ของ SCBINDIAA (ข้อมูล ณ วันที่ 30 มิ.ย. 2564)
ที่มา: iShares India 50 ETF Factsheet

รีวิวกองทุนอินเดีย ครบจบในที่เดียว!

Top 10 Holdings ของ SCBINDIAA (ข้อมูล ณ วันที่ 17 ก.ย. 2564)
ที่มา: https://www.ishares.com/us/products/239758/ishares-india-50-etf 

ปัจจัยความเสี่ยงที่ควรทราบ: ความเสี่ยงจากการกระจุกตัวลงทุนในประเทศอินเดีย และหมวดอุตสาหกรรม Financials, ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมด)

ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ของกองทุน:

SCBINDIAA (ชนิดสะสมมูลค่า)

  • ค่าธรรมเนียมการจัดการ: 1.00%
  • ค่าธรรมเนียมการขาย (Front-end Fee) และ Switching-in: 0.50%
  • ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายรวม: 1.10% (ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่น)

SCBINDIA (ชนิดจ่ายเงินปันผล)

  • ค่าธรรมเนียมการจัดการ: 1.00%
  • ค่าธรรมเนียมการขาย (Front-end Fee) และ Switching-in: 0.50%
  • ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายรวม: 1.12%

เงินลงทุนขั้นต่ำในการลงทุน SCBINDIAA และ SCBINDIA:

  • มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรกและครั้งถัดไป: 1,000 บาท

ข้อมูลจาก SCBINDIAA และ SCBINDIA Fund Factsheet ณ วันที่ 30 มิ.ย. 2564

ซื้อกองทุน SCBINDIAA, SCBINDIA คลิก

K-INDX

รีวิวกองทุนอินเดีย ครบจบในที่เดียว!

กองทุน K-INDX หรือ K Indian Equity Index Fund จากบลจ.กสิกรไทย (KAsseti) มีนโยบายลงทุนในกองทุน iShares India 50 ETF เป็นกองทุนหลัก (Master Fund)  โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ โดยกองทุน K-INDX จัดเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงระดับ 6

กองทุนหลักมีนโยบายการลงทุนให้มีผลตอบแทนตามดัชนีหุ้นบริษัทอินเดียที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดมากที่สุด 50 บริษัทแรกหรือดัชนี Nifty 50

กลยุทธ์ในการบริหารจัดการลงทุน: มุ่งหวังให้ผลประกอบการเคลื่อนไหวตามกองทุนหลัก (Passive Management)

รีวิวกองทุนอินเดีย ครบจบในที่เดียว!

Top Sectors ของ K-INDX (ข้อมูล ณ วันที่ 30 มิ.ย. 2564)
ที่มา: iShares India 50 ETF Factsheet

รีวิวกองทุนอินเดีย ครบจบในที่เดียว!

Top 10 Holdings ของ K-INDX (ข้อมูล ณ วันที่ 17 ก.ย. 2564)
ที่มา: https://www.ishares.com/us/products/239758/ishares-india-50-etf 

ปัจจัยความเสี่ยงที่ควรทราบ: ความเสี่ยงจากการกระจุกตัวลงทุนในประเทศอินเดีย และหมวดอุตสาหกรรม Financials, ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนบางส่วน ไม่น้อยกว่า 75% ของเงินลงทุนต่างประเทศ)

ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ของกองทุน K-INDX:

  • ค่าธรรมเนียมการจัดการ: 0.5350%
  • ค่าธรรมเนียมการขาย (Front-end Fee): ยกเว้น
  • ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายรวม: 1.0874%

เงินลงทุนขั้นต่ำในการลงทุน K-INDX:

  • มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรกและครั้งถัดไป: 500 บาท

ข้อมูลจาก K-INDX Fund Factsheet ณ วันที่ 31 ส.ค. 2564

ซื้อกองทุน K-INDX คลิก

ประชันผลตอบแทนกองทุนหุ้นอินเดีย

มาดูในส่วนของ “ผลตอบแทน” กันบ้าง ในการซื้อกองทุนสักหนึ่งกอง นอกจากนโยบายและความเสี่ยงของกองทุนแล้ว สิ่งสำคัญอันดับต้น ๆ ที่ต้องดูประกอบกันไปก็คงจะหนีไม่พ้นผลตอบแทนอย่างแน่นอน ท่ามกลางกองทุนหุ้นอินเดียที่มากมายหลากหลายนี้ กองทุนใดจะสามารถสร้างผลตอบแทนได้โดดเด่นมากที่สุด มาดูกันเลย

รีวิวกองทุนอินเดีย ครบจบในที่เดียว!

เปรียบเทียบผลการดำเนินงานกองทุนอินเดียย้อนหลัง 1 ปี (ข้อมูล ณ วันที่ 22 ก.ย. 2564)
ที่มา: https://www.finnomena.com/fund/compare/ 

** ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต **

เนื่องด้วยกองทุนหุ้นอินเดียนั้นมีมากมายหลายกองทุนอย่างที่ทุกคนได้เห็นกันไป จึงขอหยิบกองทุนที่ทำผลการดำเนินงานได้โดดเด่นในรอบ 1 ปี 10 กองทุนมาประชันผลตอบแทนกัน (หากกองทุนซ้ำกันแต่ต่างชนิดจะนำข้อมูลชนิดที่ทำผลตอบแทนได้โดดเด่นกว่ามาเปรียบเทียบ)

กราฟเส้นสีน้ำเงินแสดงถึงผลการดำเนินงานย้อนหลัง 1 ปีของกองทุน B-BHARATA, สีส้ม ASP-INDIA, สีเทา KWI-INDIA-A, สีเหลือง TISCOINA-A, สีแดง K-INDIA, สีม่วง ABIG, สีกรม TMBINDAE, สีเขียวอ่อน KT-INDIA-D, สีเขียว TISCOIN, สีชมพู SCBINDIAE จากกราฟจะเห็นได้ว่ากองทุน ASP-INDIA และ B-BHARATA สามารถทำผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปีได้โดดเด่นที่สุดในบรรดากองทุนไทยที่มีนโยบายลงทุนในหุ้นอินเดีย โดยทำผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปี ไปได้ 65.07% และ 64.79% ตามลำดับ

ซึ่งหากใครอยากดูข้อมูลเปรียบเทียบของกองทุนหุ้นอินเดียแบบอัปเดตล่าสุดก็สามารถใช้ฟังก์ชัน Fund Compare และเลือกกองทุนที่ต้องการเปรียบเทียบได้เลย

โปรโมชั่นพิเศษสำหรับลูกค้าใหม่ เปิดบัญชีลงทุนครั้งแรกกับ FINNOMENA รับหน่วยลงทุน PCASH มูลค่า 100 บาท ตั้งแต่วันที่ 16 มี.ค. – 31 พ.ค. 65 คลิก https://finno.me/havefund-promotion

— planet 46. 

อ้างอิง


คำเตือน

ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | กองทุนอาจลงทุนกระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรมและประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”

iran-israel-war