MFTECH จะเปิดขายผ่านแอปพลิเคชัน FINNOMENA หลัง IPO ในวันที่ 1 มี.ค. 2564 ตั้งแต่เวลา 10.00 น. เป็นต้นไป
เป็นที่ทราบกันดีว่าในปัจจุบันเทคโนโลยีถูกนำมาประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการที่มีความหลากหลาย และหนึ่งในอุตสาหกรรมที่นำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ก็คืออุตสาหกรรมการเงิน จากที่แต่ก่อนเราต้องเดินทางไปที่ธนาคารเพื่อทำธุรกรรมทางการเงิน แต่ปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่ออำนวยความสะดวกให้เราสามารถทำธุรกรรมต่าง ๆ ได้ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็ตามผ่านระบบดิจิทัล
ในบทความนี้เราจะพาไปทำความรู้จักกองทุนน้องใหม่แกะกล่องอย่าง MFTECH ที่จะมาสร้างความเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ให้กับอุตสาหกรรมการเงิน แต่ก่อนที่จะไปทำความรู้จักกับกองทุน MFTECH เรามาทำความรู้จักกับ “Fintech” กันสักหน่อยดีกว่าว่า “Fintech” คืออะไร
Fintech เป็นการผสมผสานระหว่างคำว่า Financial + Technology ที่แปลเป็นไทยได้ว่า “เทคโนโลยีทางการเงิน” โดยคำว่า Fintech หมายถึงการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพหรือทำให้บริการและกระบวนการทางการเงินเป็นไปโดยอัตโนมัติ หลัก ๆ แล้ว Fintech ถูกนำมาใช้เพื่อช่วยให้บริษัทต่าง ๆ รวมไปถึงผู้ประกอบการรายย่อย และผู้บริโภคสามารถจัดการการดำเนินกระบวนการและชีวิตทางการเงินของตนได้ดีขึ้นโดยใช้ซอฟต์แวร์และอัลกอริทึมเฉพาะทางที่ใช้กับคอมพิวเตอร์และสมาร์ทโฟน โดยคำว่า Fintech ยังรวมไปถึงการพัฒนาและการใช้สกุลเงินดิจิตอล เช่น Bitcoin อีกด้วย
Fintech ไม่ใช่อุตสาหกรรมใหม่แต่เป็นอุตสาหกรรมที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตและสมาร์ทโฟนที่เพิ่มขึ้นตลอดจนผลพวงของวิกฤตการณ์ทางการเงินในช่วงต้นศตวรรษที่ 21 ทำให้ผลิตภัณฑ์ทางการเงินจำนวนมากกลายเป็นดิจิทัล เทคโนโลยีเป็นส่วนหนึ่งของโลกการเงินมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นการเปิดตัวบัตรเครดิตในปี 1950 หรือตู้เอทีเอ็ม รวมไปถึงแอปการเงินส่วนบุคคล
นอกเหนือจากการที่ Fintech ทำให้การเข้าถึงบริการทางการเงินเป็นเรื่องง่ายแล้ว Fintech ยังได้พิสูจน์ตัวเองจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 โดยสามารถสร้างผลตอบแทนชนะตลาดได้ นอกจากนี้ Fintech ยังกลายเป็นส่วนที่สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เนื่องจากปัจจุบัน Fintech ได้รับความนิยมมากขึ้นดึงดูดนักลงทุนเข้าตลาดจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ ด้านการลงทุนในภาค Fintech เติบโตขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยมูลค่าการลงทุนในบริษัท Fintech มีมูลค่าประมาณ 112 พันล้านดอลลาร์ในปี 2018 ซึ่งสูงเป็นประวัติการณ์สำหรับอุตสาหกรรมนี้ โดยคาดว่าภาคอุตสาหกรรม Fintech จะมีมูลค่ากว่า 26.5 ล้านล้านเหรียญภายในปี 2022
สร้างแผนและเปิดบัญชีกองทุนรวมกับ FINNOMENA สะดวก รวดเร็ว เปิดออนไลน์ ไม่ต้องส่งเอกสารให้ยุ่งยาก พร้อมเลือกซื้อกองทุนกว่า 1,000 กอง จาก 19 บลจ. สร้างแผนและเปิดบัญชี คลิก: https://finno.me/open-plan
กองทุน MFTECH หรือกองทุน MFC Fintech Innovation Fund จากบลจ.เอ็มเอฟซี (MFC) มี นโยบายลงทุนในบริษัทที่เกี่ยวข้องหรือได้รับประโยชน์จากนวัตกรรมการให้บริการทางการเงิน (Financial Services) หรือเทคโนโลยีทางการเงิน (Fintech) รวมถึงบริษัทที่สร้างรายได้หรือประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการวิจัย การพัฒนา การผลิต และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในอุตสาหกรรมการบริการด้านการเงิน โดยเฉลี่ยในรอบบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน
กองทุน MFTECH จะลงทุนในหลักทรัพย์ ดังต่อไปนี้
โดยจะเน้นการลงทุนส่วนใหญ่ประมาณ 70-100% ใน ARK FINTECH INNOVATION ETF (ARKF) และส่วนที่เหลืออีกประมาณ 0-30% ลงทุนใน AXA WF Framlington FinTech และ/หรือ Amplify Transformational Data Sharing ETF (BLOK) และ/หรือ หุ้นต่างประเทศของบริษัทด้านการเงิน หรือ เทคโนโลยีด้านการเงิน ซึ่งกองทุน MFTECH ถือเป็นกองทุนแรกในประเทศไทยที่มีนโยบายลงทุนใน ARKF
การวิเคราะห์การลงทุนของ ARK จะใช้ทั้งแบบ Top-down และ Bottom-up ในการตรวจหานวัตกรรม โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อระบุหานวัตกรรมตั้งแต่ต้นน้ำ รวมถึงใช้ประโยชน์จากโอกาสเพื่อให้คุณค่าการลงทุนในระยะยาวแก่นักลงทุน
รูปที่ 1 ขั้นตอนการลงทุนของ ARK
ที่มา: ark-invest.com
เริ่มจากการวิเคราะห์แบบ Top-down ในการตรวจสอบว่าโลกกำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรและกำลังมุ่งหน้าไปในที่ใดเพื่อทำความเข้าใจกับนวัตกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โดย ARK จะใช้ Open Research Ecosystem เพื่อทำการรวมรวบข้อมูล รวมถึงช่วยในการกำหนดและปรับแต่งกระบวนการวิจัยต่าง ๆ พร้อมปรับขนาด “โอกาส” หาจุดที่ดีที่สุดที่จะได้รับประโยชน์จากการลงทุน
รูปที่ 2 Open Research Ecosystem ของ ARK
ที่มา: ark-invest.com
ส่วนการวิเคราะห์แบบ Bottom-up จะเริ่มจากปรับแต่งกลุ่มการลงทุนที่มีศักยภาพ โดย ARK จะประเมินการลงทุนที่มีศักยภาพตามเมตริกหลักเพื่อค้นหาบริษัทสำหรับการลงทุนในบริบทของ “โอกาส” ซึ่งรวมไปถึงการสร้างรูปแบบการประเมินมูลค่าและรายได้ของแต่ละบริษัทในช่วงอีก 5 ปีข้างหน้า เพื่อจัดพอร์ตการลงทุนและบริหารความเสี่ยงพอร์ตการลงทุน
รูปที่ 3 Investment Focus ของ ARKF
ที่มา: ark-invest.com
เป็นระบบที่ใช้ซอฟต์แวร์จัดเก็บข้อมูลการชำระเงินและรหัสผ่านของผู้ใช้อย่างปลอดภัย ด้วยการใช้กระเป๋าเงินดิจิทัล ผู้ใช้สามารถดำเนินการชำระค่าสินค้าหรือบริการได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว กระเป๋าเงินดิจิทัลสามารถใช้ร่วมกับระบบชำระเงินผ่านมือถือ (Mobile Payment) ซึ่งช่วยให้ลูกค้าสามารถชำระเงินสำหรับการซื้อสินค้าด้วยสมาร์ทโฟนของตนเองได้ พร้อมสร้างรหัสผ่านที่รัดกุมขึ้นได้โดยไม่ต้องกังวลว่าจะจำได้ในภายหลังหรือไม่ด้วยระบบ Face ID หรือ Touch ID นอกจากนี้ยังสามารถใช้กระเป๋าเงินดิจิทัลเพื่อเก็บข้อมูลบัตรสะสมคะแนนและคูปองดิจิทัล โดยในปัจจุบันกระเป๋าเงินดิจิทัลมีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายทั่วโลก ซึ่งสถาบันการเงินต่าง ๆ ก็ได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีนี้อย่างต่อเนื่องเพื่อตอบสนองกับความต้องการของผู้ใช้บริการและตอบรับกับโลกสังคมไร้เงินสดในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
รูปที่ 4 มูลค่าการชำระเงินผ่านมือถือในจีน เปรียบเทียบกับ GDP จีน
ที่มา: ARK Research
ปริมาณการทำธุรกรรมชำระเงินผ่านมือถือในจีนเพิ่มขึ้นมากกว่า 15 เท่าในเวลาเพียง 5 ปีจากประมาณ 2 ล้านล้านดอลลาร์ในปี 2015 เป็นประมาณ 36 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า GDP ของจีนในปี 2020 เกือบ 3 เท่า
รูปที่ 5 ค่าใช้จ่ายในการได้มาซึ่งลูกค้าหนึ่งราย (CAC) ของผลิตภัณฑ์ทางการเงิน
ที่มา: ARK Research
การเติบโตอย่างรวดเร็วของกระเป๋าเงินดิจิทัลมีแรงขับเคลื่อนหลักมาจากการลดลงของค่าใช้จ่ายในการได้มาซึ่งลูกค้าหนึ่งราย (CAC) จากการวิจัยของ ARK พบว่าสถาบันการเงินแบบดั้งเดิมต้องใช้ต้นทุนกว่า $1,000 เพื่อให้ได้มาซึ่งลูกค้าหนึ่งราย ในขณะที่กระเป๋าเงินดิจิทัลใช้ต้นทุนเพียง $20 เท่านั้น
ในสหรัฐฯ ผู้ใช้กระเป๋าเงินดิจิทัลมีจำนวนมากกว่าผู้ถือบัญชีเงินฝากในสถาบันการเงินที่ใหญ่ที่สุด โดย ณ สิ้นปี 2020 จำนวนผู้ถือบัญชีเงินฝาก J.P. Morgan Chase มีทั้งหมดประมาณ 60 ล้าน ในขณะที่ Annual Active Users (AAUs) ของ Cash App และ Venmo อยู่ที่ 59 ล้านและ 69 ล้านตามลำดับ ในขณะที่ธนาคารแบบดั้งเดิมกำลังเผชิญกับความเสี่ยงต่าง ๆ เนื่องจากกระเป๋าเงินดิจิทัลกำลังเข้าสู่ตลาดการให้กู้ยืมที่ไม่มีหลักประกัน ซึ่งบ่งชี้ว่าการให้กู้ยืมของธนาคารแบบเดิมไม่น่าจะฟื้นตัวถึงจุดสูงสุดในปี 2019 ตามประมาณการของ ARK คาดว่ารายได้ดอกเบี้ยของธนาคารจากบัตรเครดิตลดลงมากกว่า 10% หรือประมาณ 16,000 ล้านดอลลาร์ในปี 2020 และมีแนวโน้มที่จะลดลงมากกว่า 25% จาก 130 พันล้านดอลลาร์ในปี 2019 เป็น 95 พันล้านดอลลาร์ภายในปี 2025 โดยผู้ให้กู้ดิจิทัลเช่น Square, PayPal, Affirm, Klarna และ LendingClub มีแนวโน้มที่จะได้รับส่วนแบ่งการตลาดจากธนาคารแบบดั้งเดิม
รูปที่ 6 กราฟแสดงการเพิ่มขึ้นของผู้ใช้ Digital Wallet ในสหรัฐฯ (รูปซ้าย)
รูปที่ 7 กราฟแสดงการประเมินมูลค่าที่เป็นไปได้ต่อผู้ใช้งาน Digital Wallet (รูปขวา)
ที่มา: ARK Research
จากการวิจัยของ ARK พบว่าหากผู้ใช้กระเป๋าเงินดิจิทัลในปี 2025 มีประมาณ 230 ล้านคนในสหรัฐฯ มูลค่าประมาณ $19,900 ต่อคน โอกาสที่กระเป๋าเงินดิจิทัลของสหรัฐฯ จะมีมูลค่าถึง 4.6 ล้านล้านดอลลาร์
ธุรกรรมสินเชื่อระหว่างบุคคลกับบุคคลโดยจะมีแพลตฟอร์มทำหน้าที่เป็นตัวกลางสนับสนุนให้เกิดการกู้ยืมระหว่างผู้กู้และผู้ให้กู้ โดยจับคู่ระหว่างผู้ที่ต้องการกู้เงินและผู้ที่ต้องการให้กู้ รวมถึงอำนวยความสะดวกในการทำสัญญาสินเชื่อ การนำส่งเงินกู้และจ่ายคืนเงินกู้ หรือติดตามหนี้ ซึ่งเป็นอีกทางเลือกที่ช่วยให้สามารถเข้าถึงสินเชื่อได้สะดวกยิ่งขึ้นโดยไม่ต้องให้สถาบันการเงินเป็นคนกลาง ซึ่งแต่ละแพลตฟอร์มผู้ให้บริการกู้ยืมแบบ P2P จะมีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยในการกู้ยืมที่หลากหลายขึ้นอยู่กับความน่าเชื่อถือของผู้สมัคร ซึ่งการกู้ยืมแบบ P2P นี้ถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางใหม่ในการระดมทุน
รูปที่ 8 กระบวนการกู้ยืมแบบ Peer-to-Peer
ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย
ตามรายงานที่เผยแพร่โดย Allied Market Research กล่าวว่าตลาดการให้กู้ยืมแบบ P2P ทั่วโลกสร้างรายได้ 67.9 พันล้านดอลลาร์ในปี 2019 และคาดว่าจะสูงถึง 558.9 พันล้านดอลลาร์ภายในปี 2027 พร้อมคาดว่าจะมีอัตราการเติบโตต่อปี (CAGR) อยู่ที่ 29.7% สำหรับปี 2020-2027
อีคอมเมิร์ซ หรือ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือกิจกรรมการซื้อหรือขายผลิตภัณฑ์ทางอิเล็กทรอนิกส์บนบริการออนไลน์หรือทางอินเทอร์เน็ต อีคอมเมิร์ซจะพึ่งพาเทคโนโลยีต่าง ๆ ในการดำเนินงาน เช่น การค้าบนมือถือ การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ การจัดการห่วงโซ่อุปทานการตลาดทางอินเทอร์เน็ต การประมวลผลธุรกรรมออนไลน์ การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (EDI) ระบบการจัดการสินค้าคงคลัง และระบบรวบรวมข้อมูลอัตโนมัติ อีคอมเมิร์ซถูกขับเคลื่อนโดยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์และเป็นภาคส่วนที่ใหญ่ที่สุดในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
ในปี 2021 รายได้ในตลาดอีคอมเมิร์ซคาดว่าจะสูงถึง 2,723,991 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีอัตราการเติบโตต่อปี (CAGR) สำหรับปี 2021-2025 อยู่ที่ 6.3% ส่งผลให้การคาดการณ์ปริมาณตลาดอยู่ที่ 3,477,296 ล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2025 โดยกลุ่มที่ใหญ่ที่สุดในตลาดคือกลุ่มแฟชั่น มีปริมาณตลาดที่คาดการณ์ไว้ที่ 759,466 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2021
รูปที่ 9 สัดส่วนเทคโนโลยี ARKF ลงทุน (ข้อมูล ณ เดือนธันวาคม 2020)
ที่มา: ARKF Fund Factsheet
รูปที่ 10 สัดส่วนการลงทุนแบ่งตามภาคอุตสาหกรรมของ ARKF (ข้อมูล ณ เดือนธันวาคม 2020)
ที่มา: ARKF Fund Factsheet
รูปที่ 11 Top 10 Holdings ของ ARKF (ข้อมูล ณ วันที่ 05/02/2021)
ที่มา: ark-funds.com
รูปที่ 12 Square Reader for magstripe
ที่มา: amazon.com/
นอกจากผลิตภัณฑ์ POS แล้ว Square ยังให้บริการแอปพลิเคชันสำหรับส่งและรับเงินที่มีชื่อว่า “Cash App” ที่ทำหน้าที่เป็นกระเป๋าเงินดิจิทัล ผู้ใช้สามารถสร้างบัญชีการใช้งานเพื่อส่งหรือรับเงินจากผู้ใช้รายอื่นภายในประเทศเดียวกันได้ทันทีด้วยการทำธุรกรรมผ่านสมาร์ทโฟน โดยผู้ใช้งานสามารถเติมเงินในบัญชี Cash App ได้โดยการใช้บัตรเดบิตที่เชื่อมโยงกับบัญชีธนาคารที่มีอยู่ในการทำธุรกรรมต่าง ๆ ซึ่งในปี 2018 ทาง Square ก็ได้ประกาศรองรับการให้บริการซื้อขาย Bitcoin ผ่าน Cash App ไปเป็นทื่เรียบร้อย พร้อมทั้งเปิดบริการรับเงินคืน (Cashback) เป็น Bitcoin เมื่อสิ้นปี 2020 ที่ผ่านมาเพื่อผลักดันการเข้าถึง Bitcoin ให้มากขึ้น
รูปที่ 13 กราฟเส้นเปรียบเทียบผู้ใช้งานรายเดือน (MAU) ของ Cash App และ Venmo
ที่มา: ark-invest.com
Cash App ของ Square จัดว่าเป็นกระเป๋าเงินดิจิทัลที่เติบโตเร็วที่สุดในสหรัฐอเมริกา ตามที่ Square เปิดเผยจำนวนผู้ใช้งาน Cash App รายเดือน (MAU) เพิ่มขึ้นกว่าสามเท่าในรอบสองปี จาก 7 ล้านคนในปลายปี 2017 เป็น 24 ล้านคนในปลายปี 2019
ตัวอย่างบริการของ Tencent ในประเทศไทย
รูปที่ 14 ธุรกิจที่ Tencent มีสัดส่วนเป็นเจ้าของ
ที่มา: PGM Capital
Tencent มีมูลค่าตลาดทะลุ 500 พันล้านเหรียญในปี 2018 ทำให้ Tencent กลายเป็นบริษัทเทคโนโลยีแห่งแรกในเอเชียที่มีมูลค่ามากกว่า 500 พันล้านเหรียญ นับตั้งแต่นั้นมา Tencent จึงกลายเป็นหนึ่งในบริษัทที่มีมูลค่ามากที่สุดในเอเชียและเป็นหนึ่งในบริษัท เทคโนโลยีชั้นนำของโลก และเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2021 Tencent มีมูลค่าตลาดอยู่ที่ 909.51 พันล้านเหรียญ ซึ่งทำให้ Tencent เป็นบริษัทที่มีมูลค่าสูงสุดอันดับ 6 ของโลก
รูปที่ 15 Top 10 Largest Companies by Market Cap (ข้อมูล ณ วันที่ 08/02/2021)
ที่มา: companiesmarketcap.com
รูปที่ 16 กราฟแท่งแสดงการเติบโต Total Payment Volume และ Net Revenues ของ Paypal
ที่มา: Paypal Third Quarter 2020 Results
ในช่วงไตรมาสที่สามของปี 2020 PayPal มีอัตราการเติบโตสูงสุดในฐานะบริษัทมหาชน โดยมีรายได้เพิ่มขึ้น 25% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งได้รับแรงหนุนจากบัญชีใหม่สุทธิที่ใช้งานอยู่ 15.2 ล้านบัญชีในช่วงเวลานั้น (รวมบัญชีทั้งหมด 361 ล้านบัญชี) และปริมาณการทำธุรกรรมชำระเงินรวมเพิ่มขึ้นถึง 36% โดยในเดือนมกราคม 2021 PayPal มี Market Cap มูลค่า 278.61 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ PayPal กลายเป็นบริษัทที่มีมูลค่าตลาดอันดับที่ 28 ของโลก
รูปที่ 17 Fund Performance ของ ARKF (ข้อมูล ณ เดือนธันวาคม 2020)
ที่มา: ARKF Fund Factsheet
** ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต **
เนื่องจากกองทุน MFTECH เป็นกองทุนน้องใหม่แกะกล่องจึงยังไม่มีข้อมูลผลตอบแทนย้อนหลังให้ได้ดูกัน แต่อย่างนั้นเราก็สามารถไปดูผลการดำเนินงานของกองทุนที่มีน้ำหนักลงทุนมากที่สุดในกองทุน MFTECH ได้ ซึ่งกองทุนนั้นคือ ARKF โดย ARKF สามารถสร้างผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปีไปได้ถึง 108.07% ในขณะที่ดัชนีหุ้นระดับโลกอย่าง S&P 500 Index และ MSCI World Index สามารถสร้างผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปีไปได้เพียง 18.40% และ 15.90% ตามลำดับ จากตัวเลขดังกล่าวก็ถือเป็นการพิสูจน์ได้ว่า ARKF สามารถสร้างผลตอบแทนที่มีการเติบโตได้อย่างโดดเด่น
รูปที่ 18 สมมติการเติบโตของเงิน $10,000 เมื่อลงทุนใน ARKF ตั้งแต่เริ่มจัดตั้ง (ข้อมูล ณ เดือนธันวาคม 2020)
ที่มา: ARKF Fund Factsheet
** ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต **
สงสัยกันไหมว่าถ้าเราลงทุนใน ARKF ตั้งแต่กองทุนเข้าจดทะเบียนเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2019 แล้ววันนี้เงินลงทุนนั้นจะงอกเงยไปได้เท่าไร? หากใครที่กำลังสงสัยอยู่ก็ไม่ต้องไปหาสูตรคำนวณที่ไหนไกลเพราะทาง ARK เขาก็ได้จำลองกราฟมาให้เราได้เห็นภาพชัดขึ้นแล้ว จากรูปสมมติให้เงินลงทุนเริ่มต้นเท่ากับ $10,000 จะเห็นได้ว่าหากเราเริ่มลงทุนใน ARKF ด้วยเงินลงทุนจำนวน $10,000 ตั้งแต่ที่กองทุนเข้าจดทะเบียน ถ้าเงินลงทุนนั้นสามารถงอกเงยไปได้ถึง $25,000 ในสิ้นปี 2020 ซึ่งคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ถือว่า ARKF สามารถสร้างผลตอบแทนไปได้กว่า 150% เลยทีเดียว
กองทุน MFTECH จัดเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงสูงระดับ 6 โดยมีปัจจัยความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
อย่างไรก็ตามผู้ลงทุนสามารถกระจายความเสี่ยงได้ด้วยการจัดพอร์ตการลงทุน โดยสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดพอร์ตการลงทุนจากฟินโนมีนาได้ที่ https://www.finnomena.com/port/
สร้างแผนและเปิดบัญชีกองทุนรวมกับ FINNOMENA สะดวก รวดเร็ว เปิดออนไลน์ ไม่ต้องส่งเอกสารให้ยุ่งยาก พร้อมเลือกซื้อกองทุนกว่า 1,000 กอง จาก 19 บลจ. สร้างแผนและเปิดบัญชี คลิก: https://finno.me/open-plan
อ้างอิง
คำเตือน
ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | กองทุนนี้ลงทุนกระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรม ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”
Advance, ARK, ARKF, Article, FINNOMENA FUND REVIEW, FINNOMENA REVIEW, Long Content, MFTECH, Product Info, Technology, กองทุนเทคโนโลยี