เมื่อวิกฤต Semiconductor ขาดแคลนสะเทือนถึงวงการแฟนคลับ K-pop

เมื่อวันที่ 8 ก.ย. ที่ผ่านมา HYBE Labels ต้นสังกัดของวงบอยแบนด์ระดับโลกอย่าง BTS ประกาศผ่านช่องทาง Twitter @HYBE_MERCH สำหรับการปรับขึ้นราคาแท่งไฟ (Official Light Stick) ศิลปินในเครือ ทั้ง Big Hit Music, Pledis Entertainment และ Belift Lab ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2564 เป็นต้นไป โดยสาเหตุของการปรับขึ้นราคาครั้งนี้เนื่องมาจาก “ภาวะขาดแคลน Semiconductor ทั่วโลก” ที่ส่งผลกระทบต่อกระบวนการผลิตเป็นวงกว้าง ไม่เว้นแม้แต่อุตสาหกรรม K-pop

รายชื่อสินค้าที่ได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นราคา

  • NU’EST Official Light Stick
  • BTS Official Light Stick MAP OF THE SOUL Special Edition
  • SEVENTEEN Official Light Stick Ver.2
  • TOMORROW X TOGETHER Official Light Stick
  • ENHYPEN Official Light Stick

ราคาปรับจากเดิมที่ 35,000 วอน (ประมาณ 980 บาท) เป็น 39,000 วอน (ประมาณ 1,092 บาท) เพิ่มขึ้น 4,000 วอน (ประมาณ 112 บาท) หรือหากคิดเป็นเปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงจะเท่ากับ 11.42857% อย่างไรก็ตาม HYBE Labels ประกาศเพิ่มเติมว่าแฟนคลับทั้ง 5 วงที่ได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นราคาแท่งไฟสามารถซื้อสินค้าได้ในราคาเดิมจนกว่าจะมีการปรับใช้ราคาใหม่ในวันที่ 1 ต.ค. 2564

** อัตราแลกเปลี่ยน 1 KRW = 0.028 THB

เมื่อวิกฤต Semiconductor ขาดแคลนสะเทือนถึงวงการแฟนคลับ K-pop

ความสำคัญของเซมิคอนดักเตอร์

เซมิคอนดักเตอร์ได้กลายมาเป็นส่วนประกอบสำคัญสำหรับอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เราใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน โดยคาดว่าในปี 2564 ส่วนประกอบเซมิคอนดักเตอร์ประมาณ 1.14 ล้านล้านตัวจะถูกส่งมอบ ซึ่งเป็นตัวเลขที่มากกว่าปี 2563 ถึง 13% การเติบโตแบบทวีคูณนี้ได้รับแรงหนุนจากการเพิ่มขึ้นของระบบคลาวด์, เทคโนโลยี 5G, Internet of Things (IoT), ยานยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ ฯลฯ

เซมิคอนดักเตอร์ยังมีความสำคัญเชิงกลยุทธ์กับเศรษฐกิจสหรัฐฯ และความมั่นคงของชาติ ภาคส่วนนวัตกรรมถูกคิดเป็น 44% ของการเติบโตของ GDP สหรัฐฯ โดย 30% มากจากอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์

ยอดขายเซมิคอนดักเตอร์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตามการรายงานของ Semiconductor Industry Association (SIA) เผยว่า ยอดขายเซมิคอนดักเตอร์ทั่วโลกอยู่ที่ 44.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในเดือน มิ.ย. 2564 เพิ่มขึ้น 29.2% (Year-to-Year) จากเดือน มิ.ย. 2563 ที่ 34.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และเพิ่มขึ้น 2.1% เมื่อเทียบกับเดือน พ.ค. 2564 ที่ทำยอดขายไปได้ 43.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ รายไตรมาส ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2564 ยอดขายเซมิคอนดักเตอร์อยู่ที่ 133.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 29.2% จากไตรมาสที่ 2 ของปี 2563 และเพิ่มขึ้น 8.3% เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกของปี 2564 

John Neuffer ประธานและ CEO ของ SIA กล่าวว่า “ยอดขายเซมิคอนดักเตอร์ในไตรมาสที่สองเพิ่มขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ของปีที่แล้ว โดยเพิ่มขึ้นทุกหมวดผลิตภัณฑ์หลัก และในตลาดระดับภูมิภาคที่สำคัญทุกแห่ง” พร้อมกล่าวเสริมว่า “ความต้องการเซมิคอนดักเตอร์คาดว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในระยะยาว เนื่องจากโลกยังคงใช้ชิปอย่างต่อเนื่องเพื่อให้นวัตกรรมมีประสิทธิภาพมากขึ้น และเชื่อมต่อกันได้ดียิ่งขึ้น”

ด้าน World Semiconductor Trade Statistics (WSTS) คาดการณ์ว่าตลาดเซมิคอนดักเตอร์จะเติบโตที่ 19.7% ในปี 2564 และเติบโตต่อเนื่อง 8.8% ในปี 2565 แม้ว่าความสามารถของซัพพลายเออร์จะถูกจำกัดก็ตาม

ผู้นำในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์

  • TMSC (Taiwan) – มูลค่าตลาด 638.35 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
  • NVIDIA (USA) – มูลค่าตลาด 554.27 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
  • ASML (Netherlands) – มูลค่าตลาด 367.06 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
  • Intel (USA) – มูลค่าตลาด 221.18 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
  • Broadcom (USA) – มูลค่าตลาด 206.57 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

หมายเหตุ: ข้อมูลมูลค่าตลาดจาก companiesmarketcap.com ณ วันที่ 15 ก.ย. 2654

กองทุนที่ลงทุนใน Semiconductor

WE-EVOSEMI

กองทุน WE-EVOSEMI หรือ WE EVOLUTION OF SEMICONDUCTOR FUND จากบลจ.วี (WeAsset) มีนโยบายลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมหุ้นต่างประเทศ และ/หรือกองทุนรวม ETF หุ้นต่างประเทศ ที่มีนโยบายการลงทุนในหุ้นของบริษัทที่ดำเนินธุรกิจหรือได้รับประโยชน์จากการเติบโตของความเชื่อมโยงเครือข่ายทางธุรกิจของอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ (Semiconductors Business Ecosystem) อาทิ การออกแบบ การผลิต การประกอบ การจัดจำหน่าย การทำการตลาด การจัดหาเงินทุน วัสดุอุปกรณ์ของผลิตภัณฑ์และบริการในแต่ละกลุ่มธุรกิจของอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ รวมถึง ธุรกิจอื่นใดที่เกี่ยวข้องหรือได้ประโยชน์จากระบบนิเวศทางธุรกิจ (Ecosystem) ดังกล่าว เช่น ธุรกิจในกลุ่มนวัตกรรม เทคโนโลยี เป็นต้น ซึ่งกระจายการลงทุนในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน

ทั้งนี้ บริษัทจัดการจะลงทุนในกองทุนรวมต่างประเทศ และ/หรือกองทุนรวมอีทีเอฟต่างประเทศที่มีนโยบายการลงทุนข้างต้นตั้งแต่ 2 กองทุนขึ้นไป โดยมีสัดส่วนการลงทุนในแต่ละกองทุนโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีกองทุนละไม่เกินร้อยละ 79 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน โดยกองทุน WE-EVOSEMI จัดเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงระดับ 7

กลยุทธ์ในการบริหารจัดการลงทุน: มุ่งหวังให้ผลประกอบการสูงกว่าดัชนีชี้วัด (Active Management)

เมื่อวิกฤต Semiconductor ขาดแคลนสะเทือนถึงวงการแฟนคลับ K-pop

ชื่อทรัพย์สินที่ลงทุนสูงสุด 5 อันดับแรกของกองทุน WE-EVOSEMI (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ส.ค. 2564)
ที่มา: WE-EVOSEMI Fund Factsheet

ปัจจัยความเสี่ยงที่ควรทราบ: ความเสี่ยงจากการกระจุกตัวลงทุนในประเทศสหรัฐฯ และหมวดอุตสาหกรรม Semiconductor, ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน โดยป้องกันความเสี่ยงคิดเป็น 80.75% ของเงินลงทุนต่างประเทศ)

ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ของกองทุน WE-EVOSEMI:

  • ค่าธรรมเนียมการจัดการ: 1.070%
  • ค่าธรรมเนียมการขาย (Front-end Fee) และ Switching-in: 1.3375%
  • ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายรวม: 1.41775%

เงินลงทุนขั้นต่ำในการลงทุน WE-EVOSEMI: 1 บาท

ข้อมูลจาก WE-EVOSEMI Fund Factsheet ณ วันที่ 31 ส.ค. 2564

SCBSEMI

กองทุน SCBSEMI หรือ SCB Semiconductor Fund จากบลจ.ไทยพาณิชย์ (SCBAM) มีนโยบายลงทุนในกองทุน VanEck Vectors Semiconductor UCITS ETF เป็นกองทุนหลัก (Master Fund) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ โดยกองทุน SCBSEMI จัดเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงระดับ 7

กองทุนหลักจะลงทุนในหุ้น และตราสาร Depository Receipts ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ ในอุตสาหกรรม Semiconductor โดยผู้จัดการลงทุนจะใช้กลยุทธ์การลงทุนแบบ Replication Strategy ซึ่งลงทุนในตราสารทุน American depository receipts (ADRs) และ Global depository receipts ที่เป็นส่วนประกอบในดัชนี MVIS US Listed Semiconductor 10% Capped Index ซึ่งเป็นดัชนีที่สะท้อนผลการดำเนินงานของบริษัทที่ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับอุตสาหกรรม Semiconductor เพื่อให้ผลการดำเนินงานของกองทุนก่อนหักค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายใกล้เคียงกับผลตอบแทนของดัชนีดังกล่าว

กลยุทธ์ในการบริหารจัดการลงทุน: มุ่งหวังให้ผลประกอบการเคลื่อนไหวตามดัชนีชี้วัด (Passive Management / Index Tracking)

เมื่อวิกฤต Semiconductor ขาดแคลนสะเทือนถึงวงการแฟนคลับ K-pop

Top 10 Holdings ของ VanEck Vectors Semiconductor UCITS ETF (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ส.ค. 2564)
ที่มา: https://www.vaneck.com/nl/en/smh/holdings/

ปัจจัยความเสี่ยงที่ควรทราบ: ความเสี่ยงจากการกระจุกตัวลงทุนในประเทศสหรัฐฯ และหมวดอุตสาหกรรม Technology, ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน โดยป้องกันความเสี่ยงคิดเป็น 41.59% ของเงินลงทุนต่างประเทศ)

ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ของกองทุน SCBSEMI(A):

  • ค่าธรรมเนียมการจัดการ: 1.070%
  • ค่าธรรมเนียมการขาย (Front-end Fee) และ Switching-in: 1.070%
  • ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายรวม: 1.200%

เงินลงทุนขั้นต่ำในการลงทุน SCBSEMI(A): 1,000 บาท

ข้อมูลจาก SCBSEMI(A) Fund Factsheet ณ วันที่ 30 มิ.ย. 2564

LHSEMICON

กองทุน LHSEMICON หรือ LH SEMICONDUCTOR FUND จากบลจ.แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ (LHFUND) มีนโยบายลงทุนใน iShares Semiconductor ETF เป็นกองทุนหลัก (Master Fund) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ โดยกองทุน LHSEMICON จัดเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงระดับ 7

กองทุนหลักจะลงทุนในบริษัทที่ดำเนินธุรกิจด้านการออกแบบ การจัดจำหน่าย การผลิต และการขายเซมิคอนดักเตอร์ เพื่อให้ผลตอบแทนด้านการลงทุนที่สอดคล้องกับราคาและผลการ ดําเนินงานก่อนหักค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายของดัชนี ICE Semiconductor Index ที่เป็นดัชนีอ้างอิง

กลยุทธ์ในการบริหารจัดการลงทุน: มุ่งหวังให้ผลประกอบการเคลื่อนไหวตามดัชนีชี้วัด (Passive Management / Index Tracking)

เมื่อวิกฤต Semiconductor ขาดแคลนสะเทือนถึงวงการแฟนคลับ K-pop

Top 10 Holdings ของ iShares Semiconductor ETF (ข้อมูล ณ วันที่ 9 ก.ย. 2564)
ที่มา: https://www.ishares.com/us/products/239705/ishares-phlx-semiconductor-etf 

ปัจจัยความเสี่ยงที่ควรทราบ: ความเสี่ยงจากการกระจุกตัวลงทุนในประเทศสหรัฐฯ และหมวดอุตสาหกรรม Semiconductor, ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน)

ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ของกองทุน LHSEMICON-A:

  • ค่าธรรมเนียมการจัดการ: 1.070%
  • ค่าธรรมเนียมการขาย (Front-end Fee) และ Switching-in: 1.25%
  • ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายรวม: 1.36318% (ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่น ๆ)

เงินลงทุนขั้นต่ำในการลงทุน LHSEMICON-A: 1,000 บาท (ครั้งแรก), 100 บาท (ครั้งถัดไป)

ข้อมูลจาก LHSEMICON-A Fund Factsheet ณ วันที่ 31 ส.ค. 2564

อ่านเพิ่มเติม รีวิวกองทุน SCBSEMI, WE-EVOSEMI, และ LHSEMICON: ลงทุนในแก่นแท้ของโลกยุคใหม่

— planet 46. 

อ้างอิง


คำเตือน

ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | กองทุนอาจลงทุนกระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรม  ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”