บาทจะหยุดอ่อนได้หรือยัง
– เดือน ก.ค. บาทอ่อนค่ามากที่สุดเมื่อเทียบกับสกุลหลักอื่น ๆ ในเอเชีย
– ตั้งแต่ต้นปี บาทอ่อนไปแล้ว 10% ตอนนี้ อยู่ที่ 36.56 บาทต่อดอลลาร์ อ่อนค่ามากที่สุดในรอบ 17 ปี
– ประเมินการอ่อนค่าของเงินบาท ไม่ได้เกิดจากกระแสเงินไหลออกที่รุนแรง
– ตั้งแต่ต้นปีเงินจากต่างชาติเข้าหุ้น 1.12 แสนล้านบาท และเข้าตราสารหนี้ 1.08 แสนล้านบาท และดุลบัญชีทุนในไตรมาสที่ 1 ยังเป็นไหลเข้า 1.3 แสนล้านบาท
– แล้วบาทอ่อนแรงเพราะอะไร
– สาเหตุหลักมาจากผู้ส่งออกยังเก็บดอลลาร์ไว้กับตัว ยอดคงค้างเงินฝากในสกุลดอลลาร์ พ.ค. 1.15 หมื่นล้านเหรียญ เพิ่มขึ้นจากสิ้นปีที่แล้ว 6%
– ทำไมผู้ส่งออกต้องกั๊กเงินบาท
– เพราะเชื่อว่า บาทจะต้องอ่อนน่ะสิ จากทิศทางการแข็งค่าของดอลลาร์ การขาดดุลแฝดต่อเนื่องของไทย และส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย
– จุดเปลี่ยนจะอยู่ที่ตรงไหน
– อยู่ที่ตรงนี้แหละ
– เงินเฟ้อสหรัฐมาถึงจุดพีค มิ.ย. 9.1% ของเดือน ก.ค. คือแผ่วลงแน่นอนแทบไม่ต้องสืบ เพราะราคาโภคภัณฑ์และเกษตรเกือบทุกตัวลงหมด
– Fed เองก็รู้ว่าเงินเฟ้อพีคแล้ว ดังนั้นจะเห็นได้ว่าใน 2-3 วันที่ผ่านมา ทั้งเจมส์ บูลลาร์ด และคริสโตเฟอร์ วอลเลอร์ ถึงได้ออกมายืน นั่ง นอนยันว่า ก.ค. จะขึ้นดอกเบี้ยแค่ 0.75%
– ความน่าจะเป็นในการขึ้นดอกเบี้ยของ CME พลิกคว่ำรุนแรงภายในข้ามวัน จากที่เชื่อเกือบ 80% ว่าจะขึ้นดอกเบี้ย 1% กลายเป็นเหลือเพียง 20% และกลับไปเชื่อว่าจะขึ้นดอกเบี้ย 0.75% ด้วยความน่าจะเป็น 75%
– เงินเฟ้อ และ Fed กำลังจะผ่านไป
– ทีนี้ 21 ก.ค. นี้จะมี ECB Meeting งานนี้ ECB จะเร่งขึ้นดอกเบี้ย 0.5% และส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยรัว ๆ ออกมา
– สวนทางกับ Fed ที่ตลาดเริ่มรู้แล้วว่า ไม่มีส่งสัญญาณแรงไปกว่านี้แล้ว
– ยูโรจะเริ่มฟื้นจากฐานสำคัญ 1 ดอลลาร์ต่อยูโร และ US Dollar จะเริ่มถูก Take Profit
– ตอนนี้สถานะการถือ Long ใน Dollar มันสูงที่สุดในรอบ 3 ปี คนอยากขายมีเต็มไปหมด ขอแค่ให้มีเหตุ เขาจะขายทำกำไรกัน (อาจเป็นการขายแค่สั้น ๆ)
– กลับมาที่บาท หลังจากที่อ่อนมากในปีนี้ 10% เท่ากับว่า 19 เดือนที่ผ่านมาอ่อนไป 20%
– เชื่อว่า ธปท. จะเริ่มขึ้นดอกเบี้ยใน ส.ค. โดยจะเป็นไปในลักษณะขึ้นด้วยความเร็วระยะสั้นคือ ไตรมาส 3 ขึ้น 0.5% และไตรมาสสี่ 0.25% และขึ้นต่อเนื่องไปอีก 2 ครั้งในปีหน้า
– แรงบีบให้ ธปท. ต้องขึ้นดอกเบี้ยแรงกว่าข้างต้น จะมีน้อยลงเพราะเงินเฟ้อไทยกำลังมีแนวโน้มถึงจุดพีคในเดือน ก.ค. นี้ ดูได้จากราคาสินค้าและอาหารที่เริ่มทรงตัว
– ธปท. จะส่งสัญญาณการขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องออกมา (แต่จะขึ้นจริงหรือเปล่า คืออีกเรื่อง) เพื่อทำให้ตลาดเชื่อว่าจะมีการขึ้นดอกเบี้ยรัว ๆ และทำให้ตลาดลดการคาดการณ์เงินเฟ้อในอนาคต
– ผู้ส่งออกจะรู้ว่า บาทอ่อนมาถึงจุดที่ต้องแลกกลับแล้ว
– เหตุผลทั้งหมดจึงเชื่อว่า บาทได้มาถึงทางตันแล้ว (อาจเป็นแค่ระยะสั้น)
บาทจะหยุดอ่อนได้หรือยัง

ประกิต สิริวัฒนเกตุ

ที่มา: https://www.facebook.com/prakitsiriwattanaket/posts/pfbid02eJymDABd5SnFRkoPQSgcesMgwFApMJaz82i719aXLvKaWqfpVMtCYe1T1gNNRjcAl