Midterm Election . . . ชี้ชะตา ทรัมป์ หรือ จีน ???

ทางอ่านข่าวนอกเคยเกริ่นเรื่อง Midterm Election ของสหรัฐฯมาแล้วก่อนหน้านี้

แต่เรื่องนี้เป็น โคตร Hot Issue ที่อยู่ในความสนใจของคนทั้งโลก ณ ตอนนี้

ยิ่งใกล้วันเลือกตั้ง คือวันที่ 6 พ.ย. นี้ เข้ามาเท่าไร ก็ยิ่งมีข่าว บทความ หรือแม้แต่โพลสำรวจความคิดเห็นประชาชนชาวสหรัฐฯออกมามากขึ้นเรื่อยๆ

แปลกแต่จริงที่ครั้งนี้กระแสคนทั้งโลกจับจ้องไปที่ผลการเลือกตั้งครั้งนี้มากเป็นพิเศษ

เพราะเอาจริงๆ แล้ว ในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา การเลือกตั้งครึ่งเทอมของสหรัฐฯ หรือ Midterm Election เนี่ย ไม่ค่อยได้รับความสนใจซักเท่าไร

แม้กระทั่งคน US ยังออกมาใช้สิทธิเลือกตั้ง Midterm แค่ 40% เท่านั้นเอง พูดง่ายๆ คือยังไม่ถึงครึ่งของประชากรทั้งหมดเลย (ในขณะที่การเลือกตั้งประธานาธิบดี คน US ออกมาใช้สิทธิมากว่า อยู่ที่ 60%)

แล้วทำไมครั้งนี้ กระแสถึงแรง?

เพราะ . . . ทรัมป์!! คำเดียวสั้นๆ เลย

ผลการเลือกตั้งครั้งนี้สามารถตัดสินอนาคตทรัมป์ และ ประเทศจีนทั้งประเทศได้เลย (รวมถึงประเทศอื่นๆ ด้วย 555)

Midterm Election ไม่ใช่เป็นการเลือกตั้งประธานาธิบดี แต่เป็นการเลือก ส.ส. ใหม่ทั้งหมด และ ส.ว. บางส่วน เพื่อเข้าไปนั่งในสภาคองเกรส

ซึ่งจำนวนที่นั่งของ ส.ส. และ ส.ว. จะส่งผลกับการบริหารงาน การออกกฏหมายของทรัมป์โดยตรง

ดังนั้นการออกกฎหมายจะทำได้ราบรื่นหรือติดขัด ก็ขึ้นอยู่กับการเลือกตั้งครั้งนี้แล้ว

นั่นหมายถึงการเดินเกมสงครามการค้า อาจไม่ดุดัน รุนแรง ดังเช่นก่อนหน้านี้

นอกจากนี้ ถ้า พรรครีพับลิกัน ของทรัมป์แพ้การเลือกตั้งครั้งนี้ทั้ง ส.ส. และ ส.ว.

ทรัมป์มีโอกาสที่จะโดน Impeachment !!

Impeachment คือกระบวนการ ถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่งทางการเมืองจากการทำผิด เช่น กบฎ ติดสินบน หรืออาชญากรรม

ในประวัติศาสตร์ประเทศสหรัฐที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน มีประธานาธิบดีมาแล้ว 45 คน

มีประธานาธิบดีที่ถูก Impeachment แค่ 2 คนคือ แอนดรูว์ จอห์นสัน ในปี 1868 และ บิล คลินตัน ในปี 1998

“จอห์นสัน” เข้าสู่กระบวนการถอดถอน จากการปลดรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสงคราม ซึ่งถือเป็นการกระทำละเมิดกฎหมาย ทำให้ประธานาธิบดี จอห์นสัน กลายเป็นประธานาธิบดีคนแรกในประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกาที่เข้าสู่กระบวนการถอดถอนออกจากตำแหน่ง

แต่เดชะบุญโชคยังเข้าข้าง เมื่อเสียงถอดถอนโดยวุฒิสภาขาดไปแค่ 1 เสียง ทำให้ประธานาธิบดีจอห์นสันรอดพ้นจากการถูกถอดถอนมาได้

ส่วน “คลินตัน” เกือบถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งเช่นกัน จากกรณีไปมีความสัมพันธ์ทางเพศด้วยการ Oral Sex ในห้องทำงานกับนักศึกษาฝึกงาน แต่ยังได้สมาชิกวุฒิสภาซึ่งฝ่ายเดโมแครตคุมเสียงข้างมาก โหวตให้ คลินตัน ทำหน้าที่ประธานาธิบดีต่อไป

สุดท้ายยังมีอีกคนหนึ่งคือ ประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน ก็เข้าสู่กระบวนการ Impeachment แต่ชิงลาออกจากตำแหน่งก่อนที่จะถูกถอดถอนจากคดีวอเตอร์เกต

คดีวอเตอร์เกตถือได้ว่าเป็นคดีที่อื้อฉาวที่สุดคดีหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์สหรัฐ โดยชื่อคดีได้มาจากชื่อของโรงแรมวอเตอร์เกต ซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของพรรคเดโมแครต ซึ่งเป็นพรรคคู่แข่งของประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน

คดีนั้น นิกสัน ได้ใช้ให้ CIA 5 คน ไปขโมยข้อมูลของพรรคเดโมแครตถึงถิ่น

ซึ่งการเลือกตั้ง Midterm นี้ ในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาส่วนใหญ่ คะแนนเสียงของพรรครัฐบาลมักจะต่ำลง เมื่อเทียบกับตอนที่ขึ้นมารับตำแหน่งใหม่ๆ

อาจจะเป็นเพราะประชาชนแสดงออกถึงความผิดหวังในการบริหารประเทศที่ผ่านมา

หรืออาจจะเลือกพรรคบริหารจากพรรคหนึ่ง และเลือกนิติบัญญัติจากอีกพรรคหนึ่ง เพื่อคานอำนาจกันก็เป็นได้

แต่ที่แน่ๆคือจากโพลสำรวจคะแนนความนิยมของทรัมป์โดยสำนักข่าวทั้งหลาย ชี้ให้เห็นว่า คะแนนความนิยมของทรัมป์ตอนนี้ต่ำมากๆ เหลือแค่ 38%

Midterm Election . . . ชี้ชะตา ทรัมป์ หรือ จีน ???

แต่ที่ไม่แน่คือคะแนนสำรวจความนิยมอาจจะเป็นคนละเรื่องกับผลการเลือกตั้งที่จะถึงนี้

เพราะในอดีตที่ผ่านมาทั้ง โอบามา, คลินตัน, เรแกน ก็ได้คะแนนความนิยมต่ำเช่นกัน แต่สุดท้ายก็ชนะการเลือกตั้งครั้งใหญ่ ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีถึง 2สมัย

ซึ่งท้ายที่สุดแล้ว ผลการเลือกตั้งครั้งนี้จะส่งผลต่ออนาคตของจีนอย่างยิ่งยวด

ด้วยประเทศจีนนั้น เป็นประเทศคู่กรณีโดยตรงกับสหรัฐในสงครามการค้า ถือได้ว่าเป็นเป้าหมายใหญ่ของนายโดนัลด์ ทรัมป์ที่ต้องการกำราบจีนให้อยู่หมัด ด้วยการใช้กำแพงภาษีมาเป็นเครื่องมือ เพื่อลดความ “ไม่เป็นธรรม” ทางการค้า ที่โดนัลด์ ทรัมป์กำลังรู้สึกว่าถูกจีนเอาเปรียบอยู่ ผ่านทางการบังคบการถ่ายโอนองค์ความรู้ของบริษัทจดทะเบียนต่างๆยามเข้าไปทำการค้าในจีน การให้สิทธิพิเศษและการสนับสนุนแก่บริษัทจีนก่อนบริษัทอื่นๆจากต่างประเทศ เพื่อบังคับให้จีนภายใต้การปกครองของนาย สี จิ้นผิงยอมเจรจาเพื่อแก้ไขความไม่เป็นธรรมดังกล่าว

แต่หากการเลือกตั้งครั้งนี้ พรรครีพลับรีกันของนายโดนัลด์ ทรัมป์ได้รับคะแนนเสียงน้อยลง อาจทำให้การผ่านกฏหมายต่างๆนั้นทำได้ยากขึ้น ซึ่งหมายถึงการผ่านกฏหมายที่เกี่ยวข้องกับสงครามการค้ากับจีนก็จะยากขึ้นไปด้วย หรือหากเป็นกรณีถอดถอนแล้วนั้น ยิ่งแล้วใหญ่ เพราะนั่นหมายถึงการเปลี่ยนตัวประธานาธิบดี ซึ่งอาจหมายถึงแนวทางนโยบายด้านการต่างประเทศที่เปลี่ยนไป

แต่ในทางตรงกันข้าม หากพรรครีพับรีกันของนายโดนัลด์ ทรัมป์ได้รับคะแนนเสียงมากขึ้นทั้ง 2 สภา นั่นจะหมายถึงการผ่านกฏหมายที่ง่ายยิ่งขึ้น และอาจหมายถึงสงครามการค้าที่ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นๆไป

สุดท้าย Midterm Election ครั้งนี้ ทรัมป์จะอยู่ จีนจะไป หรือ ทรัมป์จะนอนมาอีกสมัย 6 พ.ย. นี้ รู้กัน

#MidtermElection #Trump

Sources : https://www.270towin.com/2018-senate-election/
https://projects.fivethirtyeight.com/trump-approval-ratin…/…
https://www.investors.com/…/editoria…/trump-approval-rating/