การลงทุนแบบ Ray Dalio ผู้จัดการกองทุนเฮดฟันด์ที่สร้างผลตอบแทนสูงที่สุดของโลก

เรย์ ดาลิโอ ผู้จัดการกองทุนเฮดฟันด์ที่สร้างผลตอบแทนมากที่สุดในปี 2016 และครองแชมป์ที่ 1 มาหลายสมัย ปัจจุบันมียอดผลตอบแทนรวม ตั้งแต่สมัยก่อตั้ง Bridgewater มีประมาณ 49.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และเฉพาะปี 2016 ปีเดียว Bridgewater สามารถระดมเงินจากลูกค้าได้ประมาณ 4.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ก่อนที่จะไปอ่านกลยุทธ์หรือแนวคิดของเขา ลองมาเดากันหน่อยไหมว่า เรย์ใช้แหล่งข้อมูลอะไรในการเทรด…

จากการสัมภาษณ์ของ Business Insider ได้ระบุว่า แหล่งที่มาของแนวคิดในการเทรดของเรย์ มาจากหนังสือพิมพ์เก่า ๆ อย่าง ข่าวสมัยวิกฤตเศรษฐกิจ Great Depression ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นปีที่ทำให้เกิด Stock Market Crash ในเดือนตุลาคม ปี 1929

รูปที่ 1 ภาพข่าวจากหนังสือพิมพ์ Daily Mail เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม ค.ศ. 1929 
Image: www.history.com  

ในช่วงนั้น มีประเด็นที่น่าสนใจหลายอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็น

  1. ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนจากการเปิดเสรีทางการเงิน
  2. การไม่มีนโยบายการคลัง เนื่องจากในยุคนั้น ยึดแนวคิดทฤษฎีคลาสสิคที่ไม่ต้องการให้รัฐบาลเข้ามาแทรกแซง
  3. การล้มละลายของภาคเกษตร คนไม่มีรายได้
  4.  เศรษฐกิจถดถอย เกิดการว่างงานอย่างยาวนาน เป็นต้น

ด้วยความที่เรย์เองมีความเป็นรู้อย่างยอดเยี่ยมเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ในเชิงปฏิบัติ (practical understanding of economics) ซึ่งเป็นความแตกต่างเฉพาะตัว จนทำให้เกิดเป็นที่มาของแนวคิด “How the Economic Machine Works” และเป็นวีดีโอที่มีการเข้าชมมากถึง 3.6 ล้านวิว

หากลองมองแนวคิดที่ถ่ายทอดผ่านวีดีโอที่มีความยาวกว่า 31 นาทีนี้ ก็จะเป็นว่า เรย์มองเศรษฐกิจเป็นเสมือนเครื่องจักรตัวหนึ่ง โดยใช้หลักการของเศรษฐศาสตร์มหภาคมาจับ แต่ทว่าการถ่ายทอดนั้นกลายเป็นไล่มุมคนละแบบกับตำราทางเศรษฐศาสตร์หรือการเงินที่หลาย ๆ คนเคยเรียนมา เพราะ โดยทั่วไป เมื่อพูดว่าเศรษฐศาสตร์ หลายคนจะคิดว่ามันเป็นภาพแบบ Top-down แต่สำหรับเรย์ มันกลับเป็นภาพแบบ bottom-up ที่เน้นในเรื่องของการใช้จ่ายส่วนบุคคลก่อน (Individual Transactions) เนื่องจากว่า นั่นเป็นจุดที่ทำให้เข้าใจ demand อย่างแท้จริง เนื่องจากทุก ๆ การเปลี่ยนแปลงของกิจกรรมในด้านเศรษฐกิจ และการเปลี่ยนแปลงของราคาในตลาดการเงิน ล้วนมีต้นเหตุมาจากเงิน (money) และเครดิต (credit)

Investment strategies

กลยุทธ์ที่เรย์ใช้เรียกว่า “Pure Alpha strategy” ที่กระจายการลงทุนใน asset classes ที่แตกต่างกัน และลงทุนในตลาดที่มีสภาพแวดล้อมแตกต่างกันด้วย หลังจากที่ได้แนวคิดและหลักการเลือกจากปัจจัยความแตกต่างหลัก 2 อย่างแล้ว เขายังมีใช้ quant models ในการเข้ามาคำนวณและคาดการณ์อัตราผลตอบแทนด้วย

รูปที่ 2 ภาพแสดงอัตราผลตอบแทนรายปีของ Bridgewater Pure Alpha 
Source: http://www.valuewalk.com/2015/06/ray-dalio-investment-strategies/

แต่ Bridgewater ไม่ได้หยุดแค่นั้น การพัฒนากลยุทธ์ยังคงดำเนินต่อไปจนเกิดเป็น “Innovative Investment Strategies” ที่แยกตัว Alpha และ Beta ออกจากกัน โดยที่ค่า Beta หมายถึง ค่า risk/reward ของ portfolio ในขณะที่ค่า Alpha หมายถึง ผลตอบแทนส่วนเกินหรือผลกำไรที่เกิดขึ้น

ในอดีต ถ้าไปดูกลยุทธ์การเทรดที่เป็นแบบ Pure Alpha ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นกลยุทธ์พื้นฐานแบบดั้งเดิมของเฮดฟันด์ ที่เลือกไปเลยว่าการเคลื่อนไหวของสินทรัพย์ทางการเงินไม่ว่าจะเป็นหุ้น พันธบัตร สินค้าโภคภัณฑ์ หรือค่าเงิน จะไปในทิศทางไหนมากกว่ากันระหว่างขึ้นกับลง (bets on the direction) โดยใช้ Macroeconomic Trends

กลยุทธ์ถัดมา มีชื่อว่า “The All Seasons portfolio” หัวใจหลักอยู่ที่การกระจายการลงทุนและการลงทุนอยู่ในตลาดอย่างยาวนาน สำหรับการกระจายการลงทุนนั้น เขาได้ใช้สัดส่วนอย่างง่าย โดยกำหนดให้มีการลงทุนในหุ้น 30%, ลงทุนในพันธบัตรระยะยาว 40%, พันธบัตรระยะปานกลาง 15%, ทองคำ 7.5%, และสินค้าโภคภัณฑ์ 7.5%

เรย์บอกว่า มีเพียง 4 อย่างเท่านั้นที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในราคาของสินทรัพย์ทางการเงิน ซึ่งได้แก่

  1. เงินเฟ้อ (Inflation)
  2. เงินฝืด (Deflation)
  3. การขยายตัวของเศรษฐกิจ (Rising economic growth)
  4. การหดตัวของเศรษฐกิจ (Declining economic growth)

รูปที่ 3 ภาพ All Seasons strategy  
Source: https://s3.amazonaws.com/tr-web-v2/images/10/33/16d38235-e3e7-4b3c-afdf-69885fe0ad06/7040001033_d.jpg

หลังจากที่จัดสรรสัดส่วนได้แล้ว ก็ต้องมาดูต่อว่า All Seasons ประกอบด้วยอะไรบ้าง โดยหลัก ๆ มีเพียง 4 Seasons นั่นคือ

  1. Higher than expected inflation (rising prices)
  2. Lower than expected inflation (or deflation)
  3. Higher than expected economic growth
  4. Lower than expected economic growth

จาก 4 Seasons สามารถสรุปสินทรัพย์การลงทุนได้ดังนี้

  • หากอัตราเงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้นมากกว่าที่คาดไว้ ให้ลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ ทองคำ และพันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อ
  • หากอัตราเงินเฟ้อจะลดลงมากกว่าที่คาดไว้หรือเกิดภาวะเงินฝืด ให้ลงทุนในตั๋วเงินคลังและหุ้น
  • หากการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูงกว่าที่คาดไว้ ให้ลงทุนในหุ้น สินค้าโภคภัณฑ์ ทองคำ และหุ้นกู้
  • หากเศรษฐกิจเติบโตน้อยกว่าที่คาดไว้ ให้ลงทุนใน ตั๋วเงินคลัง และพันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อ

รูปที่ 4 ภาพ Value-Based Portfolio Design 
Source: http://www.permacultureinvestor.com/value-based-portfolio-design/

นอกเหนือจากการกระจายการลงทุนที่ดี โดยยึดแนวคิดจากความเข้าใจทางด้านเศรษฐศาสตร์แล้ว ก็ยังมีเรื่องของระยะเวลาในการถือครองอีกด้วย เนื่องจากว่า The All Seasons portfolio เป็นกลยุทธ์การลงทุนระยะยาว และเมื่อกลับมาย้อนดูอัตราผลตอบแทนที่ได้รับ เมื่อลงทุนตามกลยุทธ์ ก็จะเห็นว่ามีอัตราผลตอบแทนโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 10% ต่อปี ตลอดช่วงระยะเวลา 40 ปี นับตั้งแต่ปี 1972 ถึง 2013

รูปที่ 5 ภาพแสดงอัตราผลตอบแทนต่อปีของ All Seasons portfolio 
Source: Portfolio Visualizer

ดังนั้น หากใครชื่นชอบการลงทุนระยะยาว และคาดหวังผลตอบแทนที่สูง การเลือกศึกษาแนวทางการลงทุนของเรย์ ดาลิโอ น่าจะเป็นสิ่งที่ตอบโจทย์ได้ดีที่สุดเลยนะคะ