Digital Disruption ทำให้หลายอุตสาหกรรมต้องเผชิญหน้ากับการคุกคาม อาทิ มีเดีย อีคอมเมิร์ซ และอื่นๆ

สิ่งที่ผู้เชี่ยวชาญในแวดวงเทคโนโลยีและการบริหารจัดการองค์กรชี้ว่า วันนี้องค์กรธุรกิจจำเป็นต้องทำ Digital Transformation เพื่อการปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้

ไม่เพียงเพื่อ อยู่รอดให้ได้ แต่การเปลี่ยนแปลงตัวเองในครั้งนี้จะนำมาซึ่ง โอกาส ใหม่ๆ ที่อาจไม่เคยนึกถึงมาก่อน

ดร.ธนชาติ นุ่มนนท์ ผู้อำนวยการ สถาบัน IMC บอก การที่จะเปลี่ยนผ่านองค์กรไปสู่ยุคดิจิทัลได้ต้องเริ่มที่การเปลี่ยนแปลงมุมมองและมีการนำเอาดาต้าเข้ามาใช้ประโยชน์กับการดำเนินธุรกิจให้มากที่สุด

หากเปลี่ยนแปลงมุมมองและทำความเข้าใจกับ บิ๊กดาต้า มากพอ จะทำให้เห็นโอกาสใหม่ๆ ทางธุรกิจที่ต่างไปจากเดิม

ยกตัวอย่าง สื่อทีวี คู่แข่งคือ Netflix เพราะเป็น สตรีมมิ่งทีวี มีข้อมูลสองทาง นอกจากส่งคอนเทนท์ออกไปให้คนดูแล้ว ในอีกด้านก็ยังจัดเก็บข้อมูลด้วยว่าใครบ้างที่เป็นคนดู และคนดูนั้นสนใจคอนเทนท์กลุ่มไหน รวมถึงอื่นๆ สามารถ เอาข้อมูลพวกนี้ไปทำการตลาดใหม่ๆ เช่นคนดูการ์ตูนก็มีความเป็นไปได้ในการอัพเซลขายสินค้าอื่นๆ ให้กับคนกลุ่มนี้โดยเฉพาะ หรือในกรณีของ อาจต่อยอดธุรกิจด้วกยารขายบัตรคอนเสิร์ต เป็นต้น

ขอเพียง รู้ ว่าใครบ้างที่เป็นลูกค้า และพฤติกรรมเป็นอย่างไร ชื่นชอบในเรื่องใด และปลีกย่อยอีกมากที่ บิ๊กดาต้า จะให้คำตอบได้ นั่นก็ทำให้ธุรกิจได้เห็นโอกาสในมุมมองใหม่

อาลีบาบา ขายอีคอมเมิร์ซ ทำอาลี เพย์ อีเพย์เม้นท์ และมาทำธุรกิจแบงก์ ปล่อยกู้ก็ได้จากการเอาดาต้ามาวิเคราะห์

ธุรกิจแบงก์ไทย ปีหน้าจะได้เห็น Diital Transformation แบงก์ไม่มีขอมูลเยอะ ซึ่งเมื่อทำการลงลึกถึงข้อมูลต่างๆ เชื่อว่าแบงก์จะสามารถเอาข้อมูลลูกค้าไปทำอย่างอื่นนอกจากธุรกิจแบงก์ก็ได้ในอนาคต

สมมติผมเป็นสื่อโทรทัศน์ มีการเก็บดาต้าลูกค้าที่ชมทีวีเอาได้ รู้ว่าใครดู ดูอย่างไร เราเก็บข้อมูลได้ทั้งหมด ในอนาคต ผมอาจจะอัพเซลขายของ แล้วขยายไลน์ธุรกิจสู่อีคอมเมิร์ซ ก็ทำได้หมด นี่คือโอกาส

ถึงวันนี้ ดร.ธนชาติ บอก ธุรกิจต่างๆ เริ่มให้ความสำคัญกับบิ๊กดาต้ามากขึ้นเรื่อยๆ สิ่งที่แนะองค์กรต่างๆ อยู่เสมอคือ เวลาคิดถึงบิ๊กดาต้า อย่าเพิ่งนึกถึงเทคโนโลยี แต่ต้องคิดเรื่อง Digital Transformation ก่อน

และหัวใจสำคัญของการทำ Digital Transformation คือต้อง มีบิ๊กดาต้าที่จะนำไปใช้เพื่อเป็นประโยชน์ต่อองค์กร

Digital Transformation เริ่มจากต้องเทิร์นองค์กรให้มีข้อมูลที่เป็นดิจิทัลมากขึ้น วันนี้มีเครื่องมือต่างๆ เข้ามาช่วยได้เยอะ ทั้ง IoT ก็เก็บดาต้าได้เยอะขึ้น, Social media ก็เก็บข้อมูลได้มากขึ้น

ยกตัวอย่างง่ายๆ บัตร easy pass มองผิวเผิน ก็บัตรทางด่วน แต่สิ่งที่มีในบัตรเยอะมาก รู้ว่าใครวิ่งจากไหนไปไหนบ่อย หรือสตาร์ทบัค มีบัตรไว้ให้ลูกค้า ทำให้บริการลูกค้าได้ดีขึ้น อัพเซล ขายสินค้าอื่นๆ ก็ได้

ต้องเอาข้อมูลมาวิเคราะห์ และใช้งานต่อ อาจจะเอาข้อมูลไปต่อยอดธุรกิจอื่นๆ พร้อมๆ กับหาพาร์ทเนอร์ใหม่ๆ เข้ามา

ในส่วนของ IMC ดร.ธนชาติ บอก เป็นองค์กรที่ให้การอบรม และให้บริการคำปรึกษาเรื่องบิ๊กดาต้า ที่ผ่านมา คนเข้าใจว่าทำบิ๊กดาต้า ต้องใช้งบเยอะ ในความเป็นจริงแล้วสามารถทำได้เลย โดยที่ไม่ต้องลงทุนมากมาย

สิ่งที่เราทำให้คือ โค้ชชิ่งในเรื่องบิ๊กดาค้า ในเซอร์วิสที่ชื่อ Big Data Jumpstartที่จะช่วยให้องค์กรที่ไม่ต้องการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน สามารถเริ่มต้นทำบิ๊กดาต้าได้อย่างมีประสิทธิภาพในเวลา6-7 เดือน ครอบคลุมใน 6ขั้นตอน ตั้งแต่บริการแนะนำ ให้คำปรึกษา วางกลยุทธ์ ถึงการเริ่มต้นใช้งาน

ที่ผ่านมาธุรกิจที่น่าสนใจในการทำบิ๊กดาต้ามีตั้งแต่ ธนาคาร สถาบันการเงิน รีเทล เทเลคอม โรงงานอุตสาหกรรม โดยเป้าหมายของเราคือองค์กรขนาดเล็กถึงขนาดกลางที่มีความจำเป็นเพราะภาวะธุรกิจที่เปลี่ยนแปลง

สิ่งที่สถาบัน IMC ทำในบริการ Big Data Jumpstart คือการแนะนำให้องค์กรที่ไม่ต้องการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน สามารถเริ่มต้นทำBig Dataได้บนCloud รวมถึงการกำหนดนโยบายหรือBig Data Strategyเพื่อหาBusiness Use Caseที่เหมาะสม

จากปัญหาที่พบมีด้วยกัน2จุดใหญ่ๆ หนึ่งคือผู้บริหารยังขาดความมั่นใจ ยังไม่แน่ใจว่าBig Dataจะมีประโยชน์ต่อองค์กรอย่างไร  และ ปัญหาที่2คือความกังวลเรื่องการลงทุน

ส่วนหนึ่ง อาจเกิดจากการจัดเก็บข้อมูลที่เป็นดิจิทัลพร้อมใช้ยังไม่มากพอ และอีกหนึ่งอุปสรรค ก็คือวัฒนธรรมสังคมไทย

ในเรื่องของการจัดเก็บข้อมูลและการนำข้อมูลมาวิเคราะห์ใช้ ในไทยยังตามหลังต่างประเทศอยู่มาก อีกทั้ง คนมักจะคิดว่าวิเคราะห์แล้วห้ามผิด ซึ่งก็มีให้เห็นในหลายๆ เคส อย่างไรก็ดี วันนี้ ภาคเอกชนให้ความสำคัญมากขึ้น เพราะเริ่มเห็นแล้วว่า บิ๊กดาต้า ทำให้เรามีโอกาสที่จะเอาข้อมูลเยอะๆ มาวิเคราะห์ และสร้างการแข่งขันได้

รวมไปถึงการ Diversify ธุรกิจด้วยเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป ดร.ธนชาติ กล่าว

source : กรุงเทพธุรกิจ
ที่มา : http://daily.bangkokbiznews.com/detail/309841