สรุปงาน Oppday "INTUCH" ไตรมาส 2 ปี 2561

บริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน)

<www.intouchcompany.com>

ตลาด : SET

กลุ่มอุตสาหกรรม : เทคโนโลยี

หมวดธุรกิจ : เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

ปัจจุบันอินทัชประกอบธุรกิจด้านการลงทุนในธุรกิจโทรคมนาคม สื่อ และเทคโนโลยี โดยการถือหุ้นและเข้าไปบริหารงาน (Holding Company)

การลงทุนของอินทัช สามารถจำแนกออกเป็น 3 สายธุรกิจหลัก ได้แก่ ธุรกิจสื่อสาร โทรคมนาคมไร้สาย ธุรกิจดาวเทียมและธุรกิจต่างประเทศ และธุรกิจอื่นๆ

ทั้งนี้ อินทัชมุ่งเน้นการลงทุนในกิจการที่มีศักยภาพในการเติบโต และสร้างผลตอบแทนที่ดีจากการลงทุน โดยอินทัชมีแผนที่จะขยายการลงทุนในธุรกิจโทรคมนาคม สื่อ และเทคโนโลยี รวมไปถึงธุรกิจอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจดังกล่าวที่มีศักยภาพการเติบโต เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในอนาคตให้แก่กลุ่มบริษัท

——————–

>> ผลประกอบการของ INTUCH <<

ยอดขาย

ปี 2558 : 12,665.21 ล้านบาท

ปี 2559 : 11,646.29 ล้านบาท

ปี 2560 : 9,627.61 ล้านบาท

ปี 2560(Q2) : 5,086.82 ล้านบาท

ปี 2561(Q2) : 3,249.39 ล้านบาท

กำไร (ขาดทุน)

ปี 2558 : 16,077.79 ล้านบาท

ปี 2559 : 16,397.61 ล้านบาท

ปี 2560 : 10,673.18 ล้านบาท

ปี 2560(Q2) : 5,990.15 ล้านบาท

ปี 2561(Q2) : 6,938.12 ล้านบาท

เงินสดสุทธิ

ปี 2558 : 169.68 ล้านบาท

ปี 2559 : -555.54 ล้านบาท

ปี 2560 : -804.45 ล้านบาท

ปี 2560(Q2) : -984.77 ล้านบาท

ปี 2561 (Q2) : 1160.06 ล้านบาท

เงินปันผล

ยังคงนโยบายการจ่ายเงินปันผลที่ค่อนข้างสูง รวมปันผลทั้งหมด จาก ADVANC และ THCOM อยู่ที่ 1.54 บาท คิดเป็น Dividend payout ratio ที่ 71% (คิดจากงบการเงินเดี่ยวของ INTUCH) และมีอัตราผลตอบแทนอยู่ที่ประมาณ 2.8% (เทียบกับราคาหุ้น 56 บาท)

กำไร

มีการบันทึกกำไรจากการขาย CSL เข้ามาด้วย หากตัดกำไรในส่วนนี้ยังโต 28% หลักๆ จาก AIS

Discount to NAV ปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 25% ถือว่ากว้างขึ้นมากกว่าในอดีต (ประมาณ 20%) ถือว่ามีความผิดปกติ ส่งผลให้ผลตอบแทนจากปันผลเพิ่มขึ้น

——————–

>> Portfolio <<

นโยบายการลงทุนของ INTUCH

– โครงการ InVent เริ่มมาตั้งแต่ปี 2012 ปัจจุบันลงทุนไปทั้งหมด 14 บริษัท โดยใช้เงินลงทุนประมาณ 433 ล้านบาท

– ปัจจุบันมีการลงทุนบริษัท ydm thailand โดยใช้เงินลงทุนประมาณ 30 ล้านบาท

– ปัจจุบันมูลค่าโครงการ InVent เติบโตขึ้นอยู่ที่ 647 ล้านบาท

– Realized value มีการขายบางบริษัทออกไป รับรู้กำไรที่ 63 ล้านบาท ยังไม่รับรู้กำไร 584 ล้านบาท

– ส่วนที่เติบโตมาจาก Ookbee ซึ่งมีการขยายธุรกิจและเติบโตอย่างต่อเนื่อง

– งบประมาณการลงทุนของ VC อยู่ที่ประมาณ 200ล้านบาทต่อปี โดยอาจมีการขยายการลงทุนไปในบริษัทประเภท seed(เพิ่งเริ่มต้น) โดยต้องมีการคำนึงถึงด้านความเสี่ยงเทียบผลตอบแทนด้วย

– กลุ่มบริษัทที่เข้าไปลงทุนส่วนใหญ่เป็นกลุ่ม TMT ได้แก่ Telecom, Media และ Technology รวมถึงกลุ่มที่เป้น digital อีกด้วย

– Folloe-on investment ลงทุนในธุรกิจที่มีผลประกอบการที่ดี แต่ยังขาดเงินทุน โดยจะมีการพิจารณารายธุรกิจไป

– มีการมองถึงการ Synergy ระหว่างกลุ่มบริษัท

– Exit strategy : เมื่อลงทุนได้ประมาณ 5-6 ปี จะมีการขายออกไปในรูปแบบต่างๆ

YDM Thailand

ทำธุรกิจ Digital Marketing อันดับ 1 ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ โดยมีการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย มีการวัด KPI ได้อย่างชัดเจน

– ตั้งเป้าหมาย IPO ในปี 2020

อุตสาหกรรมโฆษณา online marketing มีการเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ประมาณ 31% ในปีที่ผ่านมา และประเทศไทยเป็นเบอร์ 2 ในเอเชีย

– มีการใช้เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ และมีความทันสมัยมาก

– เป็นบริษัท Marketing Technology บริษัทแรกด้านนี้ ที่ INTUCH เข้าไปลงทุน

Wongnai

– มีการเติบโตที่ค่อนข้างเร็ว มียอดคนเข้าชมถึง 120 ล้านคนต่อเดือน

รายได้หลักมาจากร้านอาหาร Beauty Spa การทำอาหาร การจัดงานอีเว้นท์ การท่องเที่ยว

ปัจจุบันได้เข้าร่วมธุรกิจกับ Food story ทำให้ wongnai มี product ที่เป็น POS ให้แก่ร้านอาหารด้วย ซึ่งสามารถใช้ประโยชน์จาก POS ได้หลายๆอย่าง โดยใช้เงินลงทุนประมาณ 35 ล้านบาท

– มีการลงทุนไปในบริษัทอื่นๆ ที่อยู่ใน chain เดียวกัน และมี Feature ที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น สร้างโอกาสในการเติบโตได้ในอนาคต

VVR Asia

เข้าลงทุนโดยการ swap หุ้น โดยใช้เงินลงทุนประมาณ 20 ล้านบาท

– เป็นผู้นำทางด้าน AR และ VR solution ในประเทศไทย

– มีอุปกรณ์ที่หลากหลายและทันสมัย

– มีแผนการทำ VR live concert ที่จะมาลงใน AIS platform

Ookbee

– มีจำนวนคนเข้าดูสูงถึง 1,000 กว่าล้านวิว

มี Platform ทื่หลากหลาย และมีการขยายบาง platform ไปยังต่างประเทศอีกด้วย

– มีแผนการจะทำ series ร่วมกับ Line tv โดยปัจจุบันฉายไปแล้ว 2 เรื่อง

Event Pop

– ทำธุรกิจด้าน Event management โดยมีการขยายไปตลาดต่างประเทศมากขึ้น

– หลัก ๆ มี event จากการขาย ticket มีงานเข้ามามากขึ้น รายได้เพิ่มมากขึ้น

** AIS **

– เป็นบริษัทลูกหลัก ๆ รายได้จากการบริการโตขึ้นประมาณเกือบ 5% (ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ 7-8% เนื่องจากการแข่งขันที่สูงขึ้น) รายได้หลัก ๆ มาจากกลุ่ม Postpaid และ Broadband

– คาดว่าครึ่งปีหลังยังคงมีการแข่งขันที่สูงอยู่ จึงปรับลดประมาณการณ์เติบโตลงอยู่ที่ประมาณ 5-7%

ยอดขายเครื่องยังคงใกล้เคียงกับปีก่อน (มีการประมาณการณ์ว่าจะลดลงอยู่แล้ว)

EBITDA margin ครึ่งปีแรกอยู่ที่ประมาณ 47%

– เงินลงทุนในครึ่งปีใช้ไปเพียง 11,000 ล้านบาท (ต่ำกว่าที่เคยคาดไว้ที่ ประมาณ 35,000-38,000 ล้านบาท และได้มีการปรับลดลงมาที่ 25,000ล้านบาท) สาเหตุที่เงินลงทุนลดลง เกิดจากวิธี Cash outflow ที่เปลี่ยนแปลง โดยยืดระยะเวลาการจ่ายเงินให้ลูกค้าออกไป แต่ไม่ได้ลดการลงทุนลง ถือเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารเงินสดของ AIS

กลุ่ม Mobile โตจากกลุ่ม Postpaid เป็นหลัก ลูกค้ากลุ่ม Handset เติบโตขึ้น 54% โดยลูกค้ามีการใช้งาน data ต่อคนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามการใช้งานข้อมูลต่างๆ

มีการให้บริการผ่านลูกค้าผ่านทางออนไลน์มากขึ้น ตลาดอินเตอร์เน็ตเริ่มมีการแข่งขันมากขึ้น จึงต้องมีโปรโมชั่น ที่ให้เหมาะกับลูกค้าออนไลน์มากขึ้น

การใช้จ่ายด้าน Marketing ของ AIS ลดลงทุกไตรมาส โดยมีการ offer handset subsidies แก่ลูกค้าที่แตกต่างกันออกไป

FBB ปัจจุบันมีลูกค้ามากขึ้นมาอยู่ที่ประมาณ 623,000 ราย โดยไตรมาสที่ผ่านมามีลูกค้าเพิ่มขึ้นประมาณ 50,000 ราย ARPU ลดลงอยู่ที่ประมาณ 610 บาท จากการแข่งขันที่สูง ทาง AIS มีการขยาย BB ไปยัง 50 จังหวัดตามหัวเมืองต่าง ๆ ตั้งเป้าหมายลูกค้าสิ้นปีที่ 800,000 ราย

Digital service ได้ release CSL ออกไปแล้วเมื่อสิ้นเดือน ก.ค. โดยครึ่งปีแรก รายได้ประมาณ 800 ล้านบาท และมีการพยายามลดต้นทุนลง

Mobile wallet ร่วมกับ Rabbit line pay (แต่ละเจ้าถือเป็นเบอร์หนึ่งในแต่ละด้าน) มีจำนวนผู้ใช้งานเพิ่มขึ้น

Video platform ได้พยายามหา content ที่หลากหลายมาเสนอผู้บริโภค ซึ่ง Active user อยู่ที่ประมาณ 1.3 ล้านราย (ถือว่าไม่เยอะ)

** THCOM **

ในครึ่งปีแรกรายได้ลดลง จากการสูญเสียลูกค้าทั้ง Broadband และ Broadcast แต่ค่าใช้จ่ายก็ลดลงเช่นกัน

EBITDA margin ครึ่งปีลดลงจากปีที่แล้วจาก 47% มาอยู่ที่ 39% สาเหตุจากรายได้ที่ลดลง คาดว่าจะคงระดับอยู่ได้ที่ 40-45% ยังอยู่ในระดับที่สูง

ประมาณการณ์รายได้ทั้งปีคาดว่าจะลดลงเล็กน้อย

กำไรครึ่งปีอยู่ที่ 223 ล้านบาท (ลดลงจากครึ่งปีก่อน) แต่จะเห็นว่าใน Q2 รายได้จะเริ่มกลับมาจากการบริหารลูกหนี้และจัดเก็บหนี้ได้ดียิ่งขึ้น

มีการเซ็นสัญญากับลูกค้าฟิลิปปินส์ และญี่ปุ่น โดยลูกค้าที่เป็น Mobile operator ทั้งหมดที่ญี่ปุ่นเป็นของ THCOM

BB มีลูกค้าเพิ่มขึ้นทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ เช่น ประเทศพม่า โดยมีช่องมากกว่า 1000 ช่อง ลูกค้า HD ประมาณ 100 กว่าช่อง

THCOM ต้องการใช้ความสามารถของพนักงาน ขยายไปสู่การหารายได้ทางอื่นเพิ่มขึ้น โดยให้คำปรึกษากับโครงการดาวเทียมแห่งชาติ ที่บังกลาเทศ

ธุรกิจอื่น ๆ NAVA service เป็นการใช้บริการบนเรือ เพิ่มลูกค้าได้ 19 ลำ ปัจจุบันมีลูกค้าทั้งหมด 39 ลำ และมีการเซ็นสัญญากับลูกค้าเพิ่มขึ้นอีก 12 ลำ (ยังไม่มีการใช้งาน)

สัดส่วนรายได้ลูกค้าดาวเทียมหลัก ๆ มาจาก Conventional สูงกว่า BB

Utilization ดีขึ้นจาก Q2 ของปีก่อน จากการที่ได้ลูกค้าใหม่เพิ่มมากขึ้น สำหรับ Broadband คาดว่าสิ้นปีจะอยู่ในระดับ 30% และ Broadcast อยู่ที่ประมาณ 60%

– Moving Forward

> การให้บริการดาวเทียมยังมีความจำเป็นอยู่ ได้มีการวางแผนพูดคุยกับพันธมิตร และรัฐบาล ในการให้บริการดาวเทียมในภูมิภาค ขยายมาใน Asia Pacific (ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน)

> LOOX TV รายได้ยังไม่มาก รายได้ส่วนใหญ่ยังคงมาจากการเช่าช่องดาวเทียม

> Explore ธุรกิจใหม่ โดยเฉพาะโดรนที่มีการใช้งานที่เยอะและหลายรูปแบบ

High Shopping

– บริษัทภายใต้กลุ่ม Intuch media

รายได้อยู่ที่ 345 ล้านบาท เติบโตขึ้นจาก Q2 ปีก่อน โดยยอดขายเฉลี่ยต่อวันเติบโตขึ้นที่ประมาณ 7% อยู่ที่ประมาณ 1.9ล้านบาทต่อวัน (ขึ้นกับแต่ละวันว่าขายได้มากน้อย)

เน้นช่องทีวีเป็นหลัก โดยเข้าไปเช่าช่วงเวลาในช่องที่มีเรทติ้งดีๆ

– มีการหา Product ที่จะให้ Margin สูง ๆ เช่น สินค้าแฟชั่น และสินค้าคุณภาพ

คาดการณ์รายได้ เติบโตที่ประมาณ 900 ล้านบาท แต่ในช่วงครึ่งปีแรกประสบปัญหาหลาย ๆ อย่าง อาจทำให้รายได้ในครึ่งปีแรกพลาดจากเป้าเล็กน้อย

ประมาณการณ์ผลประกอบการของ INTUCH

ในปี 2018 เหมือนเดิม อาจลดลงเล็กน้อยจากส่วนของ THCOM

ส่วนเงินลงทุน VC ตั้งเป้าไว้ที่ 200 ล้านบาทต่อปี (ในปีนี้ลงไปแล้ว 30 ล้านบาท) หากมีโอกาสในการลงทุนอาจลงทุนได้เกินเป้าที่ตั้งไว้ได้

ต้นทุนค่าใช้จ่ายพนักงานประมาณการณ์ที่ 400 ล้านบาทต่อปี

นโยบายเงินปันผลเหมือนเดิม โดยจ่ายผู้ถือหุ้นเกือบทั้งหมด (หลังหักสัดส่วนของ INTUCH)

——————–

>> Q&A <<

ปันผลเมื่อเทียบกับ Cash flow ประมาณ 96%

Ookbee ถือหุ้นอยู่ที่ประมาณ 20% และ YDM ถืออยู่ที่ประมาณ 8%

ปัจจุบันหมดสัญญากับ TOT ไปแล้ว เงินที่จ่ายให้ภาพรัฐเป็นส่วนของค่าใบอนุญาต ให้กับ กสทช. คลื่น 1800 อยู่ที่ประมาณ 10,000 ล้านบาท (งวดสุดท้าย) และคลื่น 900 อยู่ที่ประมาณ 4,000 ล้านบาท

ค่าใบอนุญาต จ่าย 50%ในปีแรก และจ่ายอีกครั้งละ 25% ในปีถัดมา แต่ในทางบัญชี การตัดค่า Amortization จะตัดเท่า ๆ กัน ในงบการเงินจะบันทึกเท่า ๆ กันทุกปี ไม่กระทบต่อ Bottom line

การจ่ายค่าใบอนุญาต จะกระทบในส่วนของงบกระแสเงินสด แต่ในส่วนงบกำไรขาดทุนจะใช้เงินทั้งก้อนตัดตามจำนวนปีที่ได้ โดยลงเป็นค่าใช้จ่าย Amortization รายไตรมาส

เป้ารายได้ที่ปรับลงเป็นส่วนของ AIS เนื่องจากการแข่งขันที่ค่อนข้างสูง

การเติบโตของ INTUCH มาจาก 2 ส่วน ส่วนแรกคือบริษัทลูก โดยเฉพาะ AIS และ THCOM ซึ่งยังสามารถสร้างรายได้และยังเติบโตอยู่ ส่วนที่ 2 คือธุรกิจ VC และ New business ต่างๆ โดยที่เงินปันผลจะเป็นสิ่งพื้นฐานที่นักลงทุนจะได้รับ

INTUCH เน้นการลงทุนระยะยาว การเติบโตไม่ได้หวือหวา แต่ได้ผลตอบแทนอย่างต่อเนื่อง โดยหลักๆ เป็นเรื่องเงินปันผล และมองถึงการเติบโตอย่างมั่นคง พยายามบริหารจัดการด้านต่างๆให้มีประสิทธิภาพ


ดูข้อมูลหุ้น INTUCH เพิ่มเติมได้ที่
https://www.finnomena.com/stock/INTUCH
https://www.set.or.th

ดูคลิป INTUCH Oppday Q2/2018 ได้ที่ >>> https://www.youtube.com/watch?v=qNjnk5W_iVI

อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ >>> wealthinvestmentclinic.wordpress.com/2018/08/13/intuch

อ่านบทความคลินิกการลงทุนได้ที่ >>> wealthinvestmentclinic.wordpress.com

โดย #คลินิกการลงทุน

——————-

Vithan Minaphinant
Securities Investment Analyst (IA)
ตรวจทานบทความ


คำเตือน

ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้เขียนบทความนี้มิได้รับค่าตอบแทนหรือมีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัทที่กล่าวถึงในบทความนี้แต่อย่างใด | ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้