FINNOMENA The Opportunity Morning Brief 04/07/2022

 

“RECESSION เศรษฐกิจถดถอยครั้งถัดไป GDP สหรัฐฯ อาจร่วงไม่หนักแต่ลากยาว”

 

ภาพความเคลื่อนไหวล่าของตลาดหุ้นทั่วโลก

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ (ราคาปิดวันทำการล่าสุด) Dow Jones ปิดที่ 31,097.26 +321.83 จุด (+1.05%) S&P500 ปิดที่ 3,825.33 +39.95 จุด (+1.06%) Nasdaq 11,127.84 ปิดที่ +99.11 จุด (+0.90%) Small Cap 2000 ปิดที่ 1,727.76 +19.77 จุด (+1.16%) VIX index อยู่ที่ 26.70 (-7.00%)

 

ตลาดหุ้นยุโรป (ราคาปิดวันทำการล่าสุด) EURO STOXX 50 ปิดที่ 3,448.31 -6.55 จุด (-0.19%) Dax เยอรมนี ปิดที่ 12,813.03 +29.26 จุด (+0.23%) CAC 40 ฝรั่งเศส ปิดที่ 5,931.06 +8.20 จุด (+0.14%) FTSE 100 อังกฤษ ปิดที่ 7,168.65 จุด -0.63 จุด (-0.01%)

 

ตลาดหุ้นเอเชีย (ราคาปิดวันทำการล่าสุด) Nikkei 225 ญี่ปุ่น ปิดที่ 25,935.62 จุด -457.42 จุด (-1.73%) CSI 300 จีน ปิดที่ 4,466.72 จุด -18.29 จุด (-0.41%) Hang Seng ฮ่องกง ปิดที่ 21,859.79 จุด -137.10 จุด (-0.62%) SET Index ไทย ปิดที่ 1,572.67 จุด +4.34 จุด (+0.28%) VN30 เวียดนาม ปิดที่ 1,252.24 จุด +3.32 จุด (+0.27%)

 

ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ (เช้าวันที่ 4 ก.ค. 2565) ราคาทองคำ 1,812.80 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ Silver ราคา 19.793 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ ราคาน้ำมันดิบ WTI 108.22 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ Brent 111.44 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ

 

ราคา Cryptocurrency (เช้าวันที่ 4 ก.ค. 2565) Bitcoin 19,136.6 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ Ethereum 1,056.07 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ และ Binance Coin 216.59 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ

 

ภาพรวมสินทรัพย์ทั่วโลกที่ปรับตัวบวกและลบสูงที่สุดในรอบ 1 สัปดาห์ 3 อันดับแรก กลุ่มที่ปรับตัวในทิศทางบวก – พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี (+1.6%), หุ้นสหรัฐฯ ที่อยู่ในระดับน่าลงทุน (IG) (+1.6%) และค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (+1.1%) ปรับตัวในทิศทางลบ – หุ้นญี่ปุ่น (-3.4%), หุ้นตลาดเกิดใหม่ (-3.1%) และหุ้นโลก (-2.5%)

 

ภาพรวมตลาดหุ้นทั่วโลกที่ปรับตัวบวกที่สุดในรอบ 1 สัปดาห์ 3 อันดับแรก กลุ่มที่ปรับตัวในทิศทางบวก – หุ้นจีน H-Shares (+1.2%) และ หุ้นจีน A-Shares (+0.7%) ปรับตัวในทิศทางลบ – หุ้นไต้หวัน (-6.8%), หุ้นเกาหลี (-4.6%), ดัชนี Nasdaq และดัชนี Nikkei 225 (-3.4%)

 

ภาพรวม sector ใน S&P500 ที่ปรับตัวบวกและลบสูงที่สุดในรอบ 1 สัปดาห์ 3 อันดับแรก – Utilities (+3.3%), Consumer Staples (+0.6%) และ Health Care  (+0.0%) ปรับตัวในทิศทางลบ – Information Technology (-3.9%), Consumer Discretionary (-3.6%) และ Communication Services (-3.5%)

 

สรุปข่าวประจำวัน

สถิติย้อนหลัง 80 ปี พบว่าในช่วงที่เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย 12 ครั้ง การติดลบของ GDP สหรัฐฯ ย้อนหลังเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ -2.5% อัตราการว่างเงินปรับขึ้นมา 3.8% การติดลบของรายได้บริษัทจดทะเบียนอยู่ที่ 15% และระยะเวลาที่เกิดเศรษฐกิจถดถอยประมาณ 10 เดือน (แต่ละครั้งสั้นยาวไม่เท่ากัน)

 

นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่มองว่าเศรษฐกิจถดถอยครั้งนี้จะไม่รุนแรง แต่มีโอกาสลากยาวได้ สาเหตุหลักๆ ครั้งนี้มาจากเงินเฟ้อ

 

ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ปรับตัวลดลงจากความกังวลเรื่องเศรษฐกิจถดถอย

 

การใช้จ่ายส่วนบุคคลของประชาชนสหรัฐฯ ที่ปรับด้วยเงินเฟ้อแล้วหดตัวในเดือนพฤษภาคม เป็นเดือนแรกในปี 2022 ที่หดตัว ท่ามกลางอัตราเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับสูง

 

บางเมืองในสหรัฐฯ เริ่มเห็นสัญญาณการชะลอตัวของการลงทุน สะท้อนผ่านดัชนี Capital expenditures outlook index

 

ราคาที่อยู่อาศัยหลายเมืองในสหรัฐฯ พบว่าผู้ขายออกมาปรับลดราคาขายลง บางที่ปรับลดมากกว่า 30%

 

ตัวเลขคาดการณ์เงินเฟ้อในยุโรป เริ่มเห็นคาดการณ์ว่าบางประเทศตัวเลขยังเพิ่มขึ้น แต่บางประเทศเงินเฟ้ออาจจะเริ่มลดลงแล้ว

 

ประชาชนชาวอังกฤษมีมุมมองเชิงลบต่อเศรษฐกิจมากที่สุดในรอบเกือบครึ่งศตวรรษ

 

การปิดเมืองของจีนก่อนหน้านี้ ส่งผลกระทบต่อตัวเลขผลผลิตอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น ในเดือนที่ผ่านมาติดลบ -7.2%

 

ธนาคารกลางของโคลัมเบีย ฮังการี สวีเดน ซิมบับเว, กัวเตมาลา และโดมินิกัน รีพับลิค ทำการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในสัปดาห์ที่ผ่านมา

 

อาร์เจนติน่าจะต้องชำระหนี้ก้อนใหญ่ที่จะครบกำหนดในช่วงประมาณ 3 เดือนข้างหน้า

 

ประเทศในแอฟริกาบางประเทศเจอสถานการณ์เงินเฟ้อรุนแรง เช่น กาน่าที่เงินเฟ้อปรับตัวเพิ่มเกือบ 30% ส่วนไนจีเรียเกือบ 20%

 

นักวิเคราะห์บางส่วนยังมองว่ามีโอกาสที่ดัชนี S&P500 ปรับตัวลดลงต่อได้อีกจากระดับปัจจุบัน โดย Morgan Stanley คาดว่ามีโอกาสที่ดัชนีจะปรับลดลงอีกราว 15 – 10% ทดสอบระดับ 3,000 จุด ขณะที่นักวิเคราะห์ยังมีมุมมองต่อตลาดหุ้นยุโรปว่ามีโอกาสปรับตัวลงเช่นเดียวกัน

 

ตัวเลขส่วนต่างกำไรของบริษัทในดัชนี S&P500 ยังอยู่ในระดับสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ ต้องรอติดตามการประกาศกำไรของไตรมาส 2 ว่ายังเป็นไปตามคาดการณ์ของนักวิเคราะห์มั้ย

 

ค่า Relative P/E ของดัชนี S&P500 เทียบกับ MSCI World ยังอยู่ในระดับสูงที่ +2S.D. ถ้าเทียบกับตัวเองอยู่ระดับต่ำว่าค่าเฉลี่ยเล็กน้อย แม้จะปรับฐานราว 20% แล้ว

 

JPMorgan ชี้กรณีเลวร้ายที่สุด น้ำมันอาจพุ่งแตะ 380 ดอลลาร์สหรัฐฯ หากรัสเซียลดกำลังการผลิต เพื่อตอบโต้การคว่ำบาตรของชาติตะวันตก

 

ข้อมูลจาก Kpler พบว่าแม้รัสเซียจะส่งออกน้ำมันไปยุโรปน้อยลง แต่รัสเซียมีการส่งออกน้ำมันไปจีน อินเดีย และตุรกีเพิ่มมากขึ้น

 

Tesla ทำการส่งมอบรถจำนวน คัน ในไตรมาสที่ 2 จำนวน 254,695 คัน ลดลง 18% สาเหตุหลักมาจากการที่จีนล็อกดาวน์

 

ข้อมูลจาก Bloomberg นักวิเคราะห์ 25 รายให้คำแนะนำซื้อหุ้น Tesla 12 รายแนะนำถือ และ 11 รายแนะนำขาย ราคาเป้าหมายเฉลี่ยอยู่ที่ 897 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่รถยนต์ไฟฟ้าจีน เช่น Nio, XPeng และ Li Auto ส่วนใหญ่นักวิเคราะห์แนะนำซื้อทั้งสิ้น โดยไม่มีแนะนำขาย

 

บุคคลที่ร่ำรวยที่สุด 500 คนในโลก ความมั่งคั่งลดลง 1.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในครึ่งปีแรก จากภาวะตลาดหุ้นขาลง โดย Elon Musk ยังเป็นบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในโลก ณ ปัจจุบัน ตามาด้วย Jeff Bezos และ Bernard Arnault

iran-israel-war