Fund Update: บลจ.กรุงศรี มองขาดทุนสะสม (Drawdown)ใกล้จบรอบ หลัง Bond Yield ขึ้นมาสูงมากแล้ว แนะนำคงสัดส่วนการลงทุน KFAFIX-A และ KFSMART

มุมมองและกลยุทธ์การลงทุนกองทุนตราสารหนี้ไทย โดย บลจ.กรุงศรี

  • การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยชะลอตัวจากสถานการณ์รัสเซีย-ยูเครน 
  • อัตราผลตอบแทน (Bond Yield) ขึ้นมาสูงมากแล้ว คาดว่าระดับผลตอบแทนขาดทุนสะสม (Drawdown) ในรอบนี้น่าจะใกล้สิ้นสุด
  • KFAFIX-A และ KFSMART ยังคงสัดส่วนการลงทุน และปรับลดอายุตราสารหนี้เล็กน้อย
  • แนะนำให้ลงทุนในกองทุนที่เหมาะสมกับระยะเวลาในการถือครอง โดย KFAFIX-A ควรลงทุนอย่างน้อย 1 ปี และ KFSMART ควรลงทุนอย่างน้อย 3 เดือน

มุมมองตราสารหนี้ 

  • การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยยังชะลอออกไปจากมุมมองของวิจัยกรุงศรี ได้มีการปรับลด GDP เติบโตลดลงเหลือ 2.8% จากสถานการณ์รัสเซียและยูเครน
  • คาดว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.5% ตลอดทั้งปี
  • การปรับขึ้นของอัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ไทย (Bond Yield ไทย) เป็นการปรับขึ้นตามตลาดสหรัฐเป็นหลัก
  • องค์ประกอบและบรรยากาศโดยรวม (Sentiment) ของตลาดไม่ดี ส่งผลให้การประมูลตราสารหนี้ไทย อายุ 3 ปี ในสัปดาห์ที่ผ่านมาออกมาไม่ดี จึงทำให้อัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ อายุ 2-3 ปี ซึ่งเป็นสัดส่วนหลักในพอร์ตของกองทุนตราสารหนี้ระยะกลาง ที่ค่อนข้างนิ่งมาตลอดตั้งแต่ต้นปีปรับตัวสูงขึ้นมาก
  • อัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ไทย (Bond Yield ไทย) ในระดับปัจจุบัน ขึ้นมาอยู่ในระดับที่สูงแล้ว Upside ในระยะสั้นค่อนข้างจำกัด
  • อัตราผลตอบแทนตราสารหนี้สหรัฐ (US Bond Yield) มีทิศทางเช่นเดียวกัน โดยปัจจุบัน อัตราผลตอบแทนตราสารหนี้สหรัฐ อายุ 2 ปี อยู่ที่ 2.31% อายุ 10 ปี อยู่ที่ 2.35% ขณะที่ Bloomberg Consensus คาดการณ์สิ้นปีที่ 1.96% และ 2.30% ตามลำดับ จึงมี Upside ในการปรับขึ้นอีกไม่มาก

กลยุทธ์การลงทุนกองทุนตราสารหนี้ไทย

กองทุนเปิดกรุงศรีแอคทีฟตราสารหนี้-สะสมมูลค่า (KFAFIX-A)

  • สัดส่วนหลักในพอร์ตของกองทุนยังคงเป็นตราสารหนี้ อายุ 2-3 ปี
  • มีการปรับสัดส่วนรุ่นอายุตราสารหนี้ (Tenor) และ อายุเฉลี่ยตราสาร (Duration) ให้สั้นลงอีก โดย ณ วันที่ 28 ก.พ. 65 มีสัดส่วนการลงทุนในตราสารหนี้ อายุ 1-5 ปี 43% ต่ำกว่า 1 ปี 38% จากเดิม ณ วันที่ 30 พ.ย. 64 มีสัดส่วนการลงทุนในตราสารหนี้ อายุ 1-5 ปี 55% และต่ำกว่า 1 ปี 25%
  • อายุเฉลี่ยตราสาร (Duration) จาก 2.36 ปี ณ วันที่ 30 พ.ย. 64 ลงมาที่ 2.19 ปี ณ วันที่ 30 มี.ค 65

กองทุนเปิดกรุงศรีสมาร์ทตราสารหนี้ (KFSMART)

  • สัดส่วนการลงทุนยังคงเน้นกระจายการลงทุน พันธบัตร / ตราสารหนี้ / เงินฝาก โดยประมาณ อย่างละ 1 ใน 3 ซึ่งทางผู้จัดการกองทุนมองว่าเป็นอัตราส่วนที่เหมาะสม
  • อายุเฉลี่ยตราสาร (Duration) ปรับลดลงมาอยู่ในขอบล่างของกรอบการลงทุน โดย ณ วันที่ 28 ก.พ. 65 มี Duration ที่ 0.58 ปี (จากกรอบประมาณ 0.5-1 ปี)

คาดการณ์การปรับตัวลง (Estimate Drawdown) และคาดการณ์การฟื้นตัว (Estimate Recovery) ของกองทุนตราสารหนี้ไทย

  • จากการที่อัตราผลตอบแทน (Bond Yield) ขึ้นมาสูงมากแล้ว คาดว่า Drawdown ในรอบนี้น่าจะใกล้สิ้นสุดแล้ว
  • ในรอบที่ผ่านมา Drawdown ของ KFAFIX-A ช่วงวันที่ 2 ถึง 30 มี.ค. อยู่ที่ -0.41% และ Drawdown ของ KFSMART ช่วงวันที่ 17 ถึง 30 มี.ค. อยู่ที่ -0.07%
  • คาดการณ์การฟื้นตัว (Estimate Recovery) โดยประเมินจากการฟื้นตัว Net Carry Yield เท่านั้น (ไม่มี Cap Gain/loss) KFAFIX-A จะใช้เวลาฟื้นตัว 4 เดือน KFSMART ใช้เวลาฟื้นตัว 1 เดือน

กองทุนเปิดกรุงศรีตราสารเพิ่มทรัพย์ (KFSPLUS)

  • โอกาส NAV ผันผวนน้อยลงเมื่อเทียบกับช่วง 2 อาทิตย์ที่ผ่านมา
  • อัตราผลตอบแทน (Bond Yield) ที่ปรับขึ้นมาในช่วง 2 อาทิตย์ที่ผ่านมา ทำให้ Carry Yield ของกองทุนสูงขึ้น มีส่วนเพิ่มเติมในยามฉุกเฉิน (Buffer) ที่มากขึ้น
  • ทิศทางอัตราผลตอบแทน (Bond Yield) ของตราสารหนี้อายุต่ำกว่า 3 เดือน มีการเคลื่อนไหวไม่มากนัก (KFSPLUS ณ วันที่ 28 ก.พ. 65 มีสัดส่วนรุ่นอายุตราสารหนี้ (Tenor) ที่ต่ำกว่า 3 เดือน 91%)

คำแนะนำในการลงทุนจาก บลจ.กรุงศรี

  • ในสภาวะที่ตลาดตราสารหนี้มีความผันผวนสูง แนะนำให้ลงทุนในกองทุนที่เหมาะสมกับระยะเวลาในการถือครอง โดย KFAFIX-A ควรลงทุนอย่างน้อย 1 ปี KFSMART ควรลงทุนอย่างน้อย 3 เดือน เพื่อสร้างผลตอบแทนที่ดีตามความเสี่ยงของนักลงทุน หากนักลงทุนรับความผันผวนได้น้อยมาก แนะนำให้ลงทุนในกองทุน KFSPLUS
  • กองทุน KFAFIX-A จากการศึกษา NAV 5 ปีย้อนหลัง หากลงทุนครบ 1 ปี จะสามารถสร้างผลตอบแทนเป็นบวกได้ตลอด มีแค่เพียงช่วงวันที่ 22 ก.พ. ถึง 12 มี.ค. 64 เท่านั้นที่ติดลบ เนื่องจากอัตราผลตอบแทน (Bond Yield) ปรับตัวขึ้นแรง พร้อมกับฐาน NAV ในปีก่อนหน้า (ก่อนเกิด COVID) มีการเร่งขึ้นสูงมาก และช่วงเวลาเข้าลงทุน (Entry point) ของกองทุน KFAFIX-A คือ ช่วงที่ NAV ปรับตัวลงแรง แสดงว่าอัตราผลตอบแทน (Yield) ที่ได้รับสูงขึ้น การลงทุนในช่วงนี้มักจะให้ผลตอบแทนที่ดี
  • กองทุน KFSMART จากการศึกษา NAV ย้อนหลังของกอง KFSMART 5 ปีย้อนหลัง หากลงทุนครบ 62 วันทำการ (ประมาณ 3 เดือน) ยังไม่มีช่วงไหนสร้างผลตอบแทนเป็นลบ

นโยบายการลงทุนและคำเตือน

  • KFAFIX-A เน้นลงทุนในประเทศและ/หรือต่างประเทศในตราสารหนี้ และ/หรือ เงินฝากหรือตราสารเทียบเท่าเงินฝาก ที่ออกรับรองรับอาวัล หรือค้ำประกันการจ่ายเงิน โดยภาครัฐบาล รัฐวิสาหกิจ สถาบันการเงิน และ/หรือภาคเอกชน ซึ่งอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหรือของผู้ออกตราสารอยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ และอาจลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่าอันดับที่สามารถลงทุนได้ หรือที่ไม่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ระดับความเสี่ยง 4 – เสี่ยงปานกลาง ค่อนข้างต่ำ | ป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเต็มจำนวน
  • KFSMART เน้นลงทุนในประเทศ และ/หรือต่างประเทศ ในตราสารหนี้ และ/หรือ เงินฝากหรือตราสารเทียบเท่าเงินฝากที่ออก รับรอง รับอาวัล หรือค้ำประกันการจ่ายเงิน โดยภาครัฐบาล รัฐวิสาหกิจ สถาบันการเงิน และ/หรือภาคเอกชน ซึ่งมีอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหรือผู้ออกตราสาร อยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ (Investment grade) ระดับความเสี่ยง 4 – เสี่ยงปานกลาง ค่อนข้างต่ำ | ป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเต็มจำนวน  (โดยปกติกองทุนจะป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินไม่ต่ำกว่าร้อยละ 90 ของจำนวนเงินลงทุนในต่างประเทศ)
  • KFSPLUS ลงทุนในประเทศในตราสารหนี้ภาครัฐ ตราสารหนี้ออกโดยสถาบันการเงินหรือบริษัทเอกชนในประเทศ อันดับความน่าเชื่อถือ “A-“ ขึ้นไปและตราสารหนี้สถาบันการเงินต่างประเทศ ระดับความเสี่ยง 4 – เสี่ยงปานกลาง ค่อนข้างต่ำ | ป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเต็มจำนวน 
  • เอกสารฉบับนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่น่าเชื่อถือได้ ณ วันที่แสดงข้อมูล แต่บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้องความน่าเชื่อถือ และ ความสมบูรณ์ของข้อมูลทั้งหมด โดยบริษัทฯขอสงวนสิทธิ์เปลี่ยนแปลงข้อมูลทั้งหมดโดยไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
  • ควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวมมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต

ที่มา: บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงศรี

——————-

👍 อย่าลืมกดไลก์ Page The Opportunity เพื่อไม่ให้พลาดโอกาสด้านการลงทุน