News Update: เงินเฟ้อไทย เม.ย. พุ่ง 4.65% จากต้นทุนการผลิตแพง-สงครามยูเครน สนค. คาดเงินเฟ้อปี 65 อยู่ที่ 4.5% ส่อง 5 ปัจจัยหนุนเงินเฟ้อ พ.ค.

สนค. รายงาน เงินเฟ้อไทย เม.ย. พุ่ง 4.65% จากราคาต้นทุนการผลิตที่แพงขึ้น และสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน พาณิชย์คาดเงินเฟ้อตลอดปีเคลื่อนไหวในกรอบ 4% – 5%

สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ รายงาน ดัชนีราคาผู้บริโภคของไทยในเดือน เม.ย. อยู่ที่ระดับ 105.15 เพิ่มขึ้น 4.65% จากปีที่แล้ว

โดยปัจจัยหลักที่ดันให้เงินเฟ้อพุ่งสูงขึ้น ได้แก่

1) ราคาพลังงาน (+21.07% YoY) อาหารสด (+4.83% YoY) และต้นทุนการผลิตที่แพงขึ้น จนส่งผลให้ราคาอาหารสำเร็จรูปสูงขึ้น
2) สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน และมาตรการคว่ำบาตร ที่ส่งผลต่อซัพพลายเชนด้านการผลิต การค้า และการขนส่ง

ขณะที่ ราคาต้นทุนหรือราคาหน้าโรงงานของไทยสูงขึ้นค่อนข้างมาก สะท้อนจากดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ที่สูงขึ้นถึง 12.8% (YoY) แต่ราคาดังกล่าวยังไม่ส่งผลต่อราคาขายปลีกมากนัก เนื่องจากมาตรการของภาครัฐ และความต้องการที่ยังไม่ฟื้นตัวจากวิกฤติโควิด-19

📊 เงินเฟ้อเดือน พ.ค.มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องจาก

1) ราคาน้ำมันที่ยังคงอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว
2) การสิ้นสุดของมาตรการตรึงราคาและปรับลดภาษีสรรพสามิตของ “น้ำมันดีเซล” ในช่วงเม.ย.-พ.ค.
3) การปรับราคาสูงขึ้นแบบขั้นบันไดของก๊าซหุงต้ม (LPG) ในช่วงเม.ย.-พ.ค.
4) ราคาสินค้าอุปโภคบริโภค โดยเฉพาะอาหารสดและอาหารสำเร็จรูปมีแนวโน้มปรับสูงขึ้นตามต้นทุนการผลิตและวัตถุดิบ
5) ราคาพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์โลก มาตรการคว่ำบาตรรัสเซีย การแพร่ระบาดของโควิด-19 และความไม่แน่นอนของสภาพอากาศ ยังคงเป็นปัจจัยที่จะส่งผลต่อเงินเฟ้อ

📊 สำหรับแนวโน้มเงินเฟ้อปี 2565 กระทรวงพาณิชย์ คาดการณ์ว่าเงินเฟ้อทั่วไปจะเคลื่อนไหวในกรอบ 4.0% – 5.0% (ค่ากลางอยู่ที่ 4.5%) ซึ่งเป็นระดับที่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน และหากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญจะมีการทบทวนอีกครั้ง

อ้างอิง: http://www.price.moc.go.th/price/fileuploader/file_admin_sum/indices_all.pdf 

——————-

👍 อย่าลืมกดไลก์ Page The Opportunity เพื่อไม่ให้พลาดโอกาสด้านการลงทุน
iran-israel-war