หากมองว่า “การลงทุน” คือ การทุ่มเทแรงกายแรงใจให้กับอะไรสักสิ่งและหวังว่ามันจะให้ผลตอบแทนที่ดีกลับมา ความรักและการครองคู่ก็เป็นหนึ่งในการลงทุนเหมือนกัน (ซึ่งต้นทุนสูงมาก) บทความนี้จะช่วยให้คุณตัดสินใจ “ถือต่อ รอดู” “เลทโปรฟิทรัน” หรือ “คัทลอส” ได้จากหลักการคิดและทฤษฎีง่ายๆครับ
ในความเป็นจริงแล้ว เรื่องของการครองคู่ทั้งแบบที่แต่งงานแล้วหรือจะแค่เป็นแฟนกัน ล้วนประสบปัญหาการ “นอกใจ” มาตั้งแต่โบร่ำโบราณ กาลนานไกลโพ้น อย่างที่เคยอ่าน เคยเรียนกันในวรรณคดีว่าทั้ง ขุนช้าง ขุนแผน ต่างเชคอิน ห้องนอนของนางวันทองกันเป็นว่าเล่น แต่ปัจจุบัน เราทราบกันดีว่าเรื่องแนวนี้ ดูจะเป็นปัญหามากขึ้นๆ ส่วนหนึ่งมาจากคนเราในยุคนี้ มีความอดทนต่อสิ่งต่างๆ น้อยลง เบื่อง่าย และเชื่อว่าอำนาจแห่งการเลือกอยู่ในมือตนมากกว่าความเป็นจริง อีกส่วนหนึ่งคือ เทคโนโลยีที่เกิดขึ้นมา Disrupt การมีกิ๊ก และการไล่จับบ้านเล็กไปโดยสิ้นเชิง เช่น Beetalk Tinder Wakie Snapchat และต้องไม่ลืมตัวพ่ออย่าง Line สิ่งเหล่านี้ไม่ได้ผิดโดยตัวมันเอง แต่อยู่ที่คนใช้มากกว่าที่จะใช้สนองความต้องการตัวเองในทิศทางไหน
ผมจึงอยากชวนมาลองคิดหาแรงกระตุ้นของพ่อบ้านใจกล้า(หรือแม่บ้านพันธ์ดุ)ทั้งหลาย ว่าเค้าคิดอะไร ทำอะไรและหวังผลอะไรจากการ “มีกิ๊ก” เพิ่มเติมจากการมีแฟนปกติแล้ว 1 คน (ขอจำกัดขอบเขตแค่นี้ก่อนครับ เพราะถ้ามีกิ๊กมากกว่า 1 หรือมีแฟนมากกว่า 1 จะซับซ้อนไป)
ผมหาคำตอบด้วย “ทฤษฎีเกม (Game Theory)” มาเปรียบเทียบอธิบายสถานการณ์การมีกิ๊ก-การจับกิ๊กครับ เกี่ยวกับ Game Theory คร่าวๆ คือ การพยายามอธิบายการตัดสินใจของคนเราในการเลือกประโยชน์ส่วนตนหรือส่วนรวม บนเงื่อนไขที่กำหนด โดยในงานเขียน มีการยกตัวอย่างยอดนิยม คือ The Prisoner’s Dilemma กรณีตัวอย่างของผู้ต้องหา 2 คน ซึ่งกระทำความผิดมาหมาดๆ ถูกจับกุมและนำมาสอบปากคำ บนสถานีตำรวจ โดยถูกสอบแบบแยกกันคนละห้อง ทั้งคู่สามารถที่จะเลือก สารภาพ หรือปฎิเสธก็ได้ แต่จะไม่รู้คำตอบของอีกฝ่าย ซึ่งทั้งคู่รับรู้เงื่อนไขของผลลัพธ์ท์ Risk/Reward จากตำรวจเท่าๆกัน ด้วยเงื่อนไขนี้ จึงเกิดเหตุการณ์ที่เป็นไปได้ทั้งหมด 4 สถานการณ์
โดยการตัดสินใจและโทษของกรณีข้างต้น เป็นไปตามตารางตัวอย่าง
สำหรับคนที่เคยศึกษามาแล้ว ย่อมจะรู้ดีว่าหลักการดังกล่าว สามารถเอาไปอธิบายพฤติกรรมของคนเราได้อย่างหลากหลายในชีวิตประจำวันและการทำงานโดยดูจากแรงจูงใจในการตัดสินใจสารภาพหรือปฎิเสธ เพื่อคาดเดาผลลัพท์ของสถานการณ์ และมากกว่านั้นในกรณี การตัดสินใจที่มีตัวเลือกมากกว่าสอง หรือใช้อธิบายวิธิการตัดสินใจแบบต่อเนื่อง (Sequential Move) ก็ได้เช่นกัน เหมือนกับที่บทความนี้ผมจะลองเอามาอธิบายการตัดสินใจมีกิ๊กและการจับกิ๊ก (ตลกร้ายดีไหมครับ เปรียบเทียบชีวิตคู่เป็นความสัมพันธ์ระหว่างนักโทษกันเลยทีเดียว)
เริ่มด้วยการตั้งสมมติฐานว่า มูลค่าทางเศรษฐกิจ ของทั้ง A (ฝ่ายนอกใจ) และ B (ฝ่ายจับผิด) คือการมีชีวิตที่มีความสุข ของแต่ละคนทั้ง 2 ฝ่าย (แยกกจากกัน) โดย
ถึงตรงนี้ ผมอยากให้ลองเติมคำในช่องว่าง พร้อมคำอธิบายดูว่า เมื่อตั้งเป็นกรณีตัวอย่างตามตารางแล้ว การตัดสินใจของ A และ B จะมีผลต่อชีวิตคู่อย่างไร โดยดูตัวอย่างของนักโทษด้านบนเป็นแนวทาง เราจะมาดูกันว่า มันจะเป็นไปตามทฤษฎีเกมหรือไม่
ประโยชน์ส่วนตัวของ A คือการเลือกมีกิ๊ก ซึ่งแน่นอนว่าเป็นความสุขแบบลับๆ ส่วนตั๊ว ส่วนตัว แต่คุณอาจจะงง ว่า การพยายามจับผิดของ B ในที่นี้จะเป็นประโยชน์ส่วนตัวได้อย่างไร แต่อย่าลืมว่า B ทำแบบนี้เพราะไม่อยากโดนหลอกไม่อยากตกเป็นเหยื่อ การสวมเขา จึงต้องพยายามจับผิด A ให้ได้ เพื่อไปสู่การเลือกคู่ใหม่ให้เร็วที่สุด ซึ่งทุกท่านคงทราบดีว่า A คงไม่เห็นเรื่องนี้เป็นเรื่องสุขแน่ๆ
ประโยชน์ส่วนรวมของ A คือการไม่นอกใจ อันนี้แน่นอน อยากมีชีวิตคู่ที่ยืนยาวต้องไม่เก็บเหรียญหน้าสิบล้อ และไม่ต้องรอถึงสิบโมง (ฮา) ส่วน B ก็ไม่สงสัยไม่จับผิดเพราะเชื่อว่า เลือกมาดีแล้ว และการจับได้ก็ไม่ได้ทำให้ชีวิตคู่ไปถึงฝั่งฝัน แอบหลับตาข้างหนึ่งไปก่อน
.
.
.
.
.
เอาล่ะ ถ้าเติมช่องว่างเรียบร้อยแล้ว ถึงเวลาเฉลย (อันนี้ไม่มีผิดไม่มีถูกอยู่แล้วนะครับ ขึ้นอยู่กับมุมมอง)
เป็นอย่างไรบ้างครับ ตรงใจท่านกันบ้างหรือเปล่า ?
คำอธิบายเหตุการณ์ต่างๆ อาจฟังดูไม่ตรงไปตรงมาเหมือนกับ กรณีนักโทษ แต่หากลองวิเคราะห์ผลลัพท์ที่เกิดขึ้นต่อ Economic Value ของแต่ละคนทั้ง A และ B ดูแล้วจะเห็นว่าค่อนข้างเป็นไปตามทฤษฎีเกมอยู่พอสมควร ดังนี้
ผมคิดว่า การวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบในเบื้องต้นนี้ คงพอที่จะเป็นประโยชน์ในการดำเนินชีวิตของท่าน อย่างน้อยเป็นการสำรวจว่าเราเป็นคนที่ตัดสินใจแบบไหน (เลือกส่วนตนหรือเลือกส่วนรวมมาก่อน) และคู่ของเรามีแนวโน้มจะตัดสินใจแบบไหน เพื่อทางแก้แต่เนิ่นๆ ได้ แต่แน่นอนว่า ในโลกแห่งความเป็นจริง มีอีกหลายปัจจัยที่ทำให้ การตัดสินใจมีได้อีกมากมายหลายตัวเลือกและก่อให้เกิดผลลัพท์ออกมาอีกหลายร้อยกรณี แต่สิ่งที่เราได้เปรียบกว่านักโทษ 2 คนนี้ คือ ในชีวิตจริง เราสามารถ”เตี๊ยม”กันก่อนเข้าห้องสอบปากคำได้ เราคุยกันได้ ปรับความเข้าใจกันได้ เพื่อให้อย่างน้อย จะดีร้ายอย่างไร เราก็ยังมีโอกาสได้เป็น “นักโทษผู้ต้องขังในดินแดนแห่งความรัก”
วิเคราะห์และเรียบเรียงโดย THE IRONMAN
ป.ล. ผมเขียนจากตำราและการคาดเดาล้วนๆ ไม่มีชีวิตจริง หรือประสบการณ์ตรงใดๆ จริงๆนะ
Further Read : https://en.wikipedia.org/wiki/Game_theory
https://www.youtube.com/watch?v=Hjfe6tqqAAE