เปลี่ยนได้เปลี่ยน! ความเข้าใจผิดเรื่องประกันฯ ที่ต้องรู้

มีหลายเรื่องที่เกี่ยวข้องกับประกันสุขภาพซึ่งคุณกำลังเข้าใจผิด และแน่นอนหากปล่อยให้บทความนี้เลื่อนหายไปจากหน้าจอ คุณอาจจะไม่พบคำตอบที่ควรรู้อีกเลย

ความจริงแล้ว “ประกันสุขภาพ” สำคัญไม่น้อยไปกว่าการลงทุน และ ควรเป็นส่วนหนึ่งในการวางแผนการเงินของคุณด้วยแต่ความซับซ้อนของผลิตภัณฑ์ประกันสุขภาพ มักจะสร้างความสับสนให้กับคนไทยอยู่เสมอ เพราะต้องยอมรับว่าในอดีต มีประกันสุขภาพหลากหลายรูปแบบมาก ดังนั้นเราจะพาไปทำความรู้จักประกันในแต่ละยุค เพื่อปูพื้นฐานความเข้าใจกันก่อนค่ะ

คุณมีประกันสุขภาพในยุคไหน ?

ยุคแรก : ประกันชีวิตที่ “ต้องเสียชีวิตก่อนถึงได้เงิน”

ในยุคแรก ๆ คนยังไม่รู้จักประกันสุขภาพ นวัตกรรมการรักษาสุขภาพก็ยังไม่ค่อยมี บริษัทประกันจึงเน้นความคุ้มครองเมื่อเสียชีวิตเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

ยุคที่ 2 ประกันสุขภาพพ่วงประกันชีวิต

ในยุคนี้เริ่มมีประกันสุขภาพเข้ามา แต่ก็ยังไม่ได้ตอบโจทย์มากนัก เพราะว่าประกันสุขภาพต้องซื้อพ่วงกับประกันชีวิต เบี้ยประกันโดยรวมค่อนข้างสูงมาก แต่ได้ความคุ้มครองค่อนข้างน้อย

ยุคที่ 3 : ประกันสุขภาพแบบแยกประเภท

เมื่อนวัตกรรมทางการแพทย์ก้าวหน้าขึ้น ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ก็เพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย ขณะที่ประกันสุขภาพก็มีวิวัฒนาการกลายมาเป็นประกันสุขภาพแบบแยกประเภท  ซึ่งประกันสุขภาพแบบแยกประเภท จะมีการกำหนดค่าใช้จ่าย และวงเงินที่ชัดเจนภายใต้กรมธรรม์

แต่ปัญหาก็คือ หากค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง สูงกว่าค่าใช้จ่ายที่กรมธรรม์กำหนดไว้ ผู้เอาประกันต้องจ่ายส่วนต่างเหล่านี้เอง ดังนั้นประกันประเภทนี้ จึงยังไม่ครอบคลุม และตอบโจทย์ประกันคุ้มครองสุขภาพมากนัก

ยุคปัจจุบัน : ประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย

ในยุคนี้พัฒนาการของประกันสุขภาพดีขึ้นอย่างมาก เพราะเมื่อกรมธรรม์เป็นประกันแบบ “เหมาจ่าย” นั่นหมายความว่า บริษัทประกันจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น ภายใต้วงเงินความคุ้มครองสูงสุดของกรมธรรม์นั้น ๆ ซึ่งมีความคุ้มค่า และครอบคลุมอย่างมากในยุคปัจจุบัน

แล้วประกันสุขภาพของคุณ เป็นแบบไหนกันบ้าง ?

เป็นโรคร้ายแรงฯ มีโอกาสจ่ายแพงสูงสุดเท่าไหร่ ?

รู้ไหมว่า…เราทุกคนมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคร้ายแรง ซึ่งอาจจะต้องจ่ายค่ารักษาแพงถึงหลักล้านก็ได้ !!!

สถิติจากองค์การอนามัยโลก ชี้ว่า กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ NCDs เป็นสาเหตุหลักในการเสียชีวิตของคนทั่วโลกมากกว่า 60% ของการเสียชีวิตทั้งหมด ยกตัวอย่างเช่น โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน ความดัน โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือด ฯลฯ ซึ่งการป่วยเป็นโรค NCDs เหล่านี้ มักเกิดจากนิสัยหรือพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ไม่ได้เกิดจากการติดต่อจากผู้อื่น

ในประเทศไทยเอง โรค NCDs ถือเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่ง โดยมีสัดส่วนผู้เสียชีวิตจากโรค NCDs สูงถึง 75% ของการเสียชีวิตทั้งหมด หรืออาจกล่าวได้ว่า ทุก ๆ 1 ชั่วโมง จะมีคนไทย 37 รายที่ต้องเสียชีวิตลงจากการป่วยเป็นโรค NCDs

สิ่งที่น่าเป็นห่วงก็คือ ตัวเลขดังกล่าวมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอด 5 ปีที่ผ่านมา และไม่มีทีท่าว่าจะลดลง…  ในขณะที่ค่ารักษาพยาบาลในโรคกลุ่มนี้หลายโรค ก็มีค่าใช้จ่ายสูงมากและเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะหากเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเอกชน ซึ่งมักจะมีค่ารักษาโดยรวมที่สูงกว่าโรงพยาบาลรัฐราว 2-3 เท่า

นอกจากนี้ เมื่ออายุมากขึ้น คุณก็มีโอกาสที่จะป่วยเป็นโรคกลุ่ม NCDs มากขึ้นด้วย  ซึ่งหากเกิดเป็นโรคนี้หลังวัยเกษียณ ที่คนส่วนใหญ่ มักจะขาดรายได้ประจำไปแล้ว … นี่จะเป็นปัญหาที่ใหญ่มากทีเดียว

ดังนั้น หากไม่อยากให้การเจ็บป่วยทางด้านสุขภาพ กลายเป็นหายนะทางด้านการเงิน การทำประกันสุขภาพจึงเป็นวิธีการปิดความเสี่ยงเหล่านี้ที่ง่ายที่สุด…คุณปิดความเสี่ยงตรงนี้แล้วหรือยัง ?

ไม่ค่อยป่วย จำเป็นต้องทำประกันสุขภาพหรือเปล่า ? 

หลายคนอาจจะมีความเชื่อว่า การซื้อประกันสุขภาพและประกันภัยโรคร้ายแรง เป็นการจ่ายเงินที่ไม่คุ้มค่า เพราะต้องจ่ายเบี้ยเป็นประจำทุกปีในลักษณะจ่ายเบี้ยทิ้ง แต่เราอยากให้คุณ “เปลี่ยนความคิด” นั่นก็เป็นเพราะ

1. หากคุณมีประวัติการป่วยด้วยโรคที่ต้องรักษาต่อเนื่อง จะมีผลต่อการทำประกันฯ

บริษัทประกันอาจจะปฏิเสธ หรือเพิ่มข้อยกเว้นในการรับประกัน เมื่อคุณมีประวัติการป่วยด้วยโรคที่ต้องรักษาต่อเนื่อง และถ้าบริษัทรับประกัน คุณอาจจะต้องจ่ายค่าเบี้ยมากกว่าคนทั่วไปราว 25-50% ซึ่งเป็นอัตราที่สูงมาก ๆ

2. ประวัติบุคคลในครอบครัวมีผลต่อการรับประกันของบริษัทประกัน 

ถ้าปัจจุบันคุณพ่อคุณแม่ของคุณมีสุขภาพที่แข็งแรงคุณก็ยังมีสุขภาพที่แข็งแรง การทำประกันของคุณก็จะไม่ใช่เรื่องยาก

แต่ถ้าหากวันใดวันหนึ่งคุณพ่อคุณแม่ของคุณป่วยด้วยโรคมะเร็ง หรือโรคร้ายแรงอื่น ๆ การทำประกันของคุณ ก็จะมีข้อจำกัดทันที เช่น วงเงินความคุ้มครอง ก็อาจจะน้อยกว่าคนทั่วไป

ดังนั้นถ้าลองนึกถึงบุคคลในครอบครัวที่มีอายุมากขึ้นและเสี่ยงที่จะเป็นโรคร้ายได้ ตอนนี้คุณคิดว่าถึงเวลาที่จะต้องเปลี่ยนความคิดเรื่องทำประกันแล้วหรือยัง ?

ควรทำประกันมะเร็งตอนอายุเท่าไหร่?

อายุยังน้อย จะรีบทำประกันมะเร็งไปทำไม ? เป็นคำถามที่พบได้บ่อยที่สุด

ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข อธิบายว่า “ความเสี่ยงของการเป็นโรคมะเร็งเพิ่มขึ้นตามอายุที่มากขึ้น” แต่หากแยกวิเคราะห์ตามเพศแล้วจะพบว่าผู้หญิงที่เข้าสู่ช่วงอายุ 30-39 ปีจะเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงที่จะป่วยเป็นมะเร็งเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดดมากที่สุดหรือเพิ่มขึ้นกว่า 223% เมื่อเทียบกับช่วงอายุก่อนหน้าในขณะที่ผู้ชายกลุ่มอายุระหว่าง 40-49 ปีนับเป็นมีความเสี่ยงที่จะป่วยเป็นมะเร็งเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดดมากที่สุด หรือ เพิ่มขึ้นมากกว่า 195% เมื่อเทียบกับช่วงอายุก่อนหน้า

ดังนั้นจากสถิติ จึงอาจสรุปได้ว่า อายุที่ควรทำประกันมะเร็ง

  • สำหรับผู้หญิง คือ ช่วงก่อนวัย 30 ปี
  • สำหรับผู้ชาย คือ ช่วงอายุก่อน 40 ปี

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่อยากเน้นย้ำมากที่สุดจากสถิตินี้ ก็คือ คนอายุน้อยก็อาจมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็งได้เช่นเดียวกัน แน่นอนว่าไม่อยากมีใครเป็นผู้โชคร้าย แต่สถิติก็แสดงให้เห็นแล้วว่าความเสี่ยงเหล่านี้มีอยู่จริง

ดังนั้น ช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการทำประกันมะเร็ง จึงควรเป็นในขณะที่อายุยังน้อย สุขภาพยังแข็งแรงอยู่ ซึ่งจะทำให้เราจ่ายเบี้ยประกันได้ถูกและปิดความเสี่ยงตรงนี้ได้ จากวันนี้เป็นต้นไป

TISCO Advisory

ที่มา : https://www.tisco.co.th/th/advisory/change-in-mind-about-insurance.html