Quality Mega Theme ปรับพอร์ตเดือนพฤษภาคม 2022: Don’t Fight or Must Fight the Fed (จะอยู่หรือจะสู้กับเฟด)

ในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ ตลาดค่อนข้างผันผวน ถึงแม้ความตกใจของนักลงทุนอาจยังไม่เท่าในปี 2020 ที่เกิดการระบาดของโควิด 19 แต่ถือว่าความผันผวนไม่ได้น้อยไปกว่าปี 2018 ที่เกิด Trade War หรือ ปี 2015 ที่เกิดฟองสบู่ในตลาดหุ้นจีนเลย

แต่ทั้งหมดทั้งมวลจุดเริ่มต้นของความผันผวนในรอบนี้ถ้าวิเคราะห์ให้ลึกลงไปจะพบว่าสาเหตุคือ Fed Behind the Curve หรือพูดง่ายๆ คือ ธนาคารกลางสหรัฐฯอ่านเกมส์ผิด ตั้งแต่ปลายปี 2021 จนถึงต้นปี 2022 ที่สัญญาณของ Pent Up Demand ที่เพิ่มขึ้นหลังเปิดเมือง เฟดมองว่าเงินเฟ้อนั้นเอาอยู่ จนถึงช่วงต้นปี 2022 เฟดถึงออกมายอมรับว่าเงินเฟ้ออาจสูงต่อเนื่อง และ่นั่นเองทำให้เฟดต้องรีบแตะเบรคเงินเฟ้อด้วยการขึ้นดอกเบี้ย และ ยูเทิร์นกลับลำ ทำให้ท่าทีของ Fed (เฟด) มีความ Hawkish ขึ้นเรื่อยๆ ก่อนที่จะมีประเด็นเรื่องของการล็อคดาวน์ในจีน และ ประเด็นอียูกับรัสเซียเข้ามาซ้ำตลาด

คำถามสำคัญที่ยังคงเป็นเครื่องหมายคำถามของนักลงทุนทั่วโลกคือ Soft Landing ที่เฟดบอกไว้ ทำได้จริงหรอ เพราะหากนับตั้งแต่ปี 1960 ถึงปัจจุบัน เหตุการณ์ภาวะดอกเบี้ยขาขึ้นในสหรัฐฯ เกิดขึ้นทั้งหมด 11 ครั้ง ใน 8 ครั้งเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย รอดจากภาวะนี้เพียง 3 ครั้งหรือเท่ากับ 27% เท่านั้นเอง ประกอบกับเหตุการณ์ความไม่แน่นอนอื่นๆที่จะเป็นตัวเร่งในเกิดความผันผวนกับตลาดมากขึ้น ทำให้เฟดถูกตั้งคำถามว่า Don’t Fight or Must Fight the Fed (จะอยู่หรือจะสู้กับเฟด) เพราะที่ผ่านมา

  1. สิ่งที่เฟด สื่อสารออกมานั้นเชื่อถือได้หรือไม่ เพราะก่อนนี้บอกตรึงดอกเบี้ยยาวและค่อยๆเปลี่ยนโทนมาเร่งขึ้นดอกเบี้ยและลด QE
  2. สิ่งที่เฟดคิดถูกหรือไม่ เพราะแต่ละครั้งจะเห็นว่าเฟดปรับประมาณการณ์ตัวเลขเศรษฐกิจใหม่เกือบทุกตัวทั้งเงินเฟ้อ และการเติบโตทางเศรษฐกิจ

ซึ่งจากปัจจัยเหล่านี้ที่ถาโถมเข้ามาใน 3 ประเด็นสำคัญ ทำให้โจทย์ของเฟดหินขึ้นไปอีกมีทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก รวมถึงประเด็นเหล่านี้เป็นสิ่งที่นักลงทุนอาจต้องติดตามอย่างใกล้ชิด

ประเด็นแรก ความกังวลเกี่ยวกับเงินเฟ้อ โดยเฉพาะเงินเฟ้อพื้นฐานของสหรัฐฯ ที่อาจเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง และตลาดยังประเมินว่าโจทย์ที่เฟดเผชิญนั้นไม่ง่าย  นอกจากจะทำให้เงินเฟ้อลดลงมาแล้วต้องไม่ทำให้เศรษฐกิจถดถอยด้วย

ประเด็นที่สอง ความเสี่ยงด้าน Supply Shock  หลังจากที่นโยบาย Covid Zero ของจีนที่ทำให้เกิดการล็อคดาวน์ในจีนอีกครั้ง โดยเริ่มมีคำถามกันว่า GDP ที่จีนตั้งเป้าไว้ 5.5% นั้นจะเป็นไปได้มั้ย เพราะล่าสุดทาง Bloomberg Economics ปรับลดคาดการณ์ GDP จีนลงมาจาก5.1% เหลือ3.6% และล่าสุดทาง Bloomberg ได้ปรับคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจจีนลงอีกครั้งเหลือเพียงโต 2.0% นอกจากนั้นการล็อคดาวน์ในจีนแต่กลับไม่ได้กระทบแค่จีน เพราะกระทบถึง Supply Chain ทั่วโลกที่ต่างพึ่งพาโรงงานในจีนเป็นส่วนใหญ่ โดยส่วนตัวเชื่อว่าความกังวลด้าน Supply Shock จะเริ่มส่งสัญญาณอีกครั้ง

ประเด็นสุดท้าย มาตรการคว่ำบาตรรัสเซียจากยุโรป เพราะยังมีกลุ่มประเทศ ที่ยังพึ่งพาพลังงานจากรัสเซียอย่าง ฮังการี บัลแกเรีย สโลวาเกีย และสาธารณรัฐเช็ค ที่ยังคงไม่เห็นด้วยกับมาตรการดังล่าว และขอยืดระยะเวลาออกไปขณะที่รัสเซียก็พร้อมจะตอบโต้อีกฝ่ายด้วยการตัดการส่งพลังงานไปยังประเทศที่ไม่จ่ายค่าพลังงานเป็นเงินรูเบิ้ล รวมถึงล่าสุดที่ทางรัสเซียจะไม่ส่งก๊าซไปยังฟินแลนด์เพื่อตอบโต้ที่ฟินแลนด์แสดงความจำนงเข้าร่วมกลุ่มนาโต้ ส่งผลให้เกิดความไม่แน่นอนทางภูมิรัฐศาสตร์เกิดขึ้นอีกครั้ง และจะเป็นปัจจัยที่ทำให้เงินเฟ้อในยุโรปเร่งตัวขึ้นอีก และเชื่อว่าอาจเป็นอีกแรงกดดันต่อการดำนโยบายการเงินของ ECB ที่เป็นอีกแรงที่ทำให้สภาวะการเงินโลกตึงตัวมากขึ้น

ในครึ่งปีแรกเฟดอาจยังมีท่าที Hawkish เพื่อลดเงินเฟ้อลงมา แต่ครึ่งปีหลังเราอาจจะเห็นเฟด Dovish มากขึ้น แต่ไม่ใช่ว่าเพราะการขึ้นดอกเบี้ยที่เฟดสามารถเอาเงินเฟ้ออยู่ แต่อาจเป็นเพราะเศรษฐกิจชะลอตัว เงินเฟ้อลดลงจากกำลังซื้อที่ลดลง จนทำให้สหรัฐและอีกหลายประเทศเข้าใกล้ภาวะเศรษฐกิจถดถอย และสุดท้ายมาตรการทุกอย่างกลับไป Set Zero เริ่มต้นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจกันใหม่อีกที

ปรับพอร์ตรับเศรษฐกิจโลกชะลอตัว

แนะนำปรับกลยุทธ์การลงทุนให้อยู่ในโหมดเชิงรับกับกลุ่มที่มีความ Defensive เพื่อรับสถานการณ์ที่อาจตึงตัวเพิ่มขึ้น

Fund Flow ทั่วโลก ในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมากำลังเข้าสู่กลุ่มที่มีความผันผวนต่ำ เช่น กลุ่มสินค้าจำเป็น โรงไฟฟ้า โครงสร้างพื้นฐาน สะท้อนมุมมองว่าเศรษฐกิจโลกอาจเริ่มจะชะลอตัว แนะนำลงทุนกลุ่ม REITs/ Infra ที่มีพื้นฐานดี มีความผันผวนต่ำต่อภาวะเศรษฐกิจ

Quality Mega Theme ปรับพอร์ตเดือนพฤษภาคม 2022: Don’t Fight or Must Fight the Fed (จะอยู่หรือจะสู้กับเฟด)

Source : Bloomberg as of 25 May 2022

 ในส่วนของพอร์ตการลงทุน

ในช่วงนี้เราได้ประเมินว่าหลายปัจจัยที่เป็นในส่วนของปัจจัยพื้นฐานเริ่มน่าสนใจมากขึ้นทั้ง EPS Growth ของหุ้นสหรัฐฯและหุ้นโลกยังโตได้ในระดับมากกว่า 10% ,ระดับราคา Valuation ลงมาเทรดกันในระดับ -0.5 SD เทียบค่าเฉลี่ย 10 ปี ขณะที่กำไรคาดว่าจะเริ่มกลับมาฟื้นในช่วงไตรมาสที่ 3

แต่อย่างไรก็ตามเรายังคงระมัดระวังต่อความผันผวนและความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นทำให้เราเพิ่มน้ำหนักกลุ่มที่เป็น Defensive อย่าง TMBGINFRA อย่างมีนัยสำคัญ โดยความน่าสนใจของกองทุน TMBGINFRA เป็นกองทุนที่มีความเป็น Low Beta คือ มีความผันผวนต่ำและเคลื่อนไหวตามตลาดไม่มาก กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่มีค่าความสัมพันธ์ (Correlation) กับตลาดหุ้นโลกไม่สูง รวมถึงมีค่าความผันผวนไปกับหุ้นต่ำ (Beta) ทำให้เวลาตลาดหุ้นโลกผันผวนกลุ่มนี้จะได้รับผลกระทบน้อยกว่า ทำให้ในภาวะตลาดขาลงหรือมีความผันผวน กลุ่มนี้ถือว่าน่าสนใจมาก และส่งผลให้กองทุนนี้มีผลตอบแทนเป็นบวกสวนตลาดในช่วงนี้ได้

ขณะที่จุดเด่นของสินทรัพย์ในกองทุนเป็นสินทรัพย์ที่สามารถสร้างรายได้สม่ำเสมอ มีความสามารถในการทำกำไรที่ดี และมีอายุการใช้งานของสินทรัพย์ยาว และที่สำคัญรายได้ของโครงสร้างพื้นฐานหลายบริษัท เป็น Inflation Linked คือปรับขึ้นตามเงินเฟ้อ

Quality Mega Theme ปรับพอร์ตเดือนพฤษภาคม 2022: Don’t Fight or Must Fight the Fed (จะอยู่หรือจะสู้กับเฟด) Source: TMBAM as of 25 May 2022

Quality Mega Theme ปรับพอร์ตเดือนพฤษภาคม 2022: Don’t Fight or Must Fight the Fed (จะอยู่หรือจะสู้กับเฟด) Source : Bloomberg as of 25 May 2022

และเราเริ่มเห็น Global Fund Flow ที่ไหลเข้า ARK Innovation มากที่สุดในบรรดา Thematic ETF Fund ท่ามกลางราคาที่ปรับตัวลง สะท้อนการที่นักลงทุนกำลังประเมินมูลค่าบริษัทที่อยู่ในพอร์ต ARK ต่ำไป ขณะที่ยอดขายในหลายๆบริษัทในพอร์ตยังเติบโตได้และมีนักลงทุนเริ่มเข้ามาทยอยเก็บสะสม ส่งผลให้จำนวนหน่วยกลับมาเข้าใกล้จุดสูงสุดที่เคยทำไว้ในปี 2021

Quality Mega Theme ปรับพอร์ตเดือนพฤษภาคม 2022: Don’t Fight or Must Fight the Fed (จะอยู่หรือจะสู้กับเฟด)

Source : Bloomberg as of 25 May 2022

ขณะที่กองทุน TMBGQG เรายังประเมินว่ายังเป็นกองทุนที่ All Weather  คือลงทุนและถือเป็น Core Port ได้ทุกช่วง และในภาวะที่อาจเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวนักลงทุนจะลดความเป็น Growth หรือ Value ลง แต่จะเพิ่มความเป็น Quality มากขึ้น

บลจ. ทหารไทย

สำหรับลูกค้าที่ลงทุนใน Quality Mega Theme สามารถดูพอร์ตการลงทุนได้ตามช่องทางนี้

ผ่านมือถือ/Tablet >> แอปฯ FINNOMENA

ผ่านคอมพิวเตอร์ >>  เว็บไซต์ FINNOMENA

สำหรับลูกค้าที่สนใจลงทุนใน Quality Mega Theme คลิกที่นี่เพื่อสร้างแผนการลงทุน

โปรดทราบ สำหรับลูกค้าฟินโนมีนาที่ลงทุนใน FINNOMENA PORT และได้รับบทความนี้ แต่ยังไม่ได้รับอีเมลและ/หรือ Notification ในการแจ้งสัดส่วนเงินในการเข้าลงทุน อาจเกิดจาก

1) ท่านอยู่ระหว่างการทำรายการซื้อขายกองทุน ซึ่งทางฟินโนมีนาจะแจ้งเตือนอีกครั้งภายใน 1 สัปดาห์หลังจากการทำรายการซื้อขายเสร็จสิ้น

2) ท่านมีจำนวนเงินลงทุนต่ำกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำที่แนะนำ

หมายเหตุ หากท่านไม่ประสงค์ที่จะรอรับการแจ้งเตือน ท่านสามารถดูรายละเอียดของพอร์ตการลงทุนที่แนะนำผ่านทางเว็บไซต์และแอปพลิเคชั่นของฟินโนมีนาพร้อมปรับพอร์ตเข้าลงทุนได้ทันที สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ LINE ID: @FINNOMENAPORT

คำเตือน

ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนการลงทุน |  ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ทหารไทย จำกัด หรือ บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”