tmbam-weekly-3-may

01-tmbam-03

ถูกกว่านี้… มีอีกไหม?

  • Value Stocks (หุ้นราคาถูก P/E, P/BV ต่ำ) ในปี 2016 กลับมาสร้างผลตอบแทนโดยเฉลี่ยสูงกว่า Growth Stocks (หุ้นเติบโต กำไรโตเร็วกว่าตลาด)* เนื่องจากเศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัวเป็นวงกว้าง ความเสี่ยงลดลง ตลาดจึงหันมาสนใจ value stocks เพราะมักมี upside สูงกว่า (“มูลค่าเหมาะสม” สูงกว่า “ราคาปัจจุบัน” มาก) โดยการปรับตัวขึ้นของหุ้น value รวดเร็ว/รุนแรงในช่วงปลายปีเมื่อ ทรัมป์ ชนะเลือกตั้ง ปธน.สหรัฐฯ ด้วยคำมั่นสัญญาว่าจะกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างมโหฬาร
  • นับตั้งแต่ทรัมป์เข้ารับตำแหน่ง ปธน. ตลาดเชื่อมั่นน้อยลงๆเกี่ยวกับ ความสามารถในการผลักดันนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของทรัมป์ จึงหันกลับไปหา growth stocks ซึ่งที่ผ่านมาสามารถทำผลประกอบการให้เติบโตดี โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาเศรษฐกิจมากนัก
  • ถูกกว่านี้… มีอีกไหม? หุ้นราคาถูก (Value) น่าจะกลับมา outperform หากตลาดเชื่อมั่นว่า เศรษฐกิจโลกยังเป็นขาขึ้น (แม้นโยบายของทรัมป์จะยังไม่เห็นผลในปีนี้) โดยมีปัจจัยสนับสนุน “ที่แท้จริง” คือ เศรษฐกิจหลักๆเติบโตดีขึ้นทั้ง จีน, ยุโรป, ญี่ปุ่น หนุนการค้าและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ส่งผลดีต่อเนื่องไปถึงตลาดเกิดใหม่
  • กองทุนที่เน้นหุ้น Value ในปัจจุบัน กลุ่มหนึ่งคือ Value ด้วยสไตล์ (กองทุนหลักเน้นหุ้น value เป็นปกติอยู่แล้ว): Emerging Active Equity, Japan Active Equity ส่วนอีกกลุ่มคือ Value ด้วยแทคติก (กองทุนหลักหันมาเน้นหุ้น value ในระยะนี้): Global Quality Growth, Asian Growth Leaders

03-tmbam-03

เศรษฐกิจจีนชะลอ / BOJ, ECB ยังไม่รีบเลิกผ่อนคลาย / GDP สหรัฐฯต่ำคาด ทรัมป์เผยแผนปฏิรูปภาษี แย้มอยากพบ “อึน” / รัสเซียลดดอกเบี้ยแรงกว่าคาด

  • จีน : PMI เม.ย. ทางการ ภาคผลิต 51.2 (คาด 51.7, มี.ค. 51.8) นอกภาคผลิต 54.0 (มี.ค. 55.1) ไฉซิน ภาคผลิต 50.3 (คาด 51.3, มี.ค. 51.2) บ่งชี้ว่า ภาคการผลิตของจีนโตช้าสุดใน 7 เดือน ส่วนภาคบริการยังขยายตัวได้ดี เศรษฐกิจจีนยังคงเติบโตแต่เริ่มชะลอ หลังจากเริ่มต้นปีนี้ได้อย่างแข็งแกร่ง
  • ญี่ปุ่น : BOJ คงนโยบายการเงินตามคาด ปรับเพิ่มมุมมองเศรษฐกิจโดยใช้คำว่า “ขยายตัว” (จากเดิม “ฟื้นตัว”) ครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2008 มองเงินเฟ้อยังอืดเกินกว่าที่จะถอนนโยบายผ่อนคลายการเงินเร็วๆนี้
  • ยูโรโซน : ECB คงนโยบาย ปรับเพิ่มมุมมองเศรษฐกิจ แต่กังวลเงินเฟ้อต่ำเกินกว่าที่จะรีบถอนมาตรการผ่อนคลาย ทว่า ตั้งแต่วันพฤหัสฯที่ ECB ประชุม จนถึงปัจจุบัน ยูโรกลับแข็งค่า เพราะตลาดมองความเสี่ยงการเมืองยุโรปคลี่คลาย เศรษฐกิจดีขึ้น น่าจะทำให้ ECB ต้องลดการผ่อนคลายภายในปีนี้
  • สหรัฐฯ : ทรัมป์เปิดแผนปฏิรูป เล็งหั่นภาษีนิติฯเหลือ 15% ซึ่งตลาดรู้อยู่แล้ว แย้มยินดีพบกับ ปธน.เกาหลีเหนือ ภายใต้เงื่อนไขที่เหมาะสม ช่วยคลายความตึงเครียดด้านภูมิรัฐศาสตร์ ด้านสภาคองเกรสอนุมัติงบฯช่วยให้รัฐบาลรอดจากภาวะ “shutdown” ขณะ รมว.คลัง Mnuchin ย้ำชัดๆอีกครั้ง อยากออกพันธบัตรระยะยาว เพื่อระดมเงินไปใช้กระตุ้นเศรษฐกิจ หนุน yield curve ชันขึ้น (ความเห็น: “ใช้ทางอ้อม”)
  • เบรกแรงแต่ไม่น่ากังวล รัฐบาลจีนอาศัยจังหวะเศรษฐกิจฟื้นตัว คุมเข้มการเงิน และออกมาตรการต่างๆเพื่อลดหนี้ ลดความเสี่ยงในระยะยาว แต่เมื่อเศรษฐกิจเริ่มชะลอ จีนก็อาจจะ “ผ่อนเบรก” โดยลดดีกรีการคุมเข้ม หรือใช้เครื่องมือการคลัง เช่น เร่งใช้จ่ายในโครงการใหญ่ๆ เช่น เซียงอาน ฯลฯ เพื่อรักษาการเติบโตตามเป้า “ประมาณ +6.5%” ซึ่งทำได้ไม่ยากในภาวะเศรษฐกิจโลกขาขึ้น
  • China Opportunity หุ้นเติบโตมีคุณภาพในกองทุนหลัก สร้างผลตอบแทนชนะตลาดนับตั้งแต่ต้นปี และเร่งขึ้นในช่วงเดือนล่าสุด เพราะนักลงทุนในตลาดกังวลรัฐบาลจีนคุมเข้มลดหนี้ จึงหันมาเน้นหุ้นคุณภาพ เราชอบกองทุนนี้ โดยคาดหวังการเติบโตในระยะยาว จากการเปลี่ยนผ่านของเศรษฐกิจจีน
  • ท่าง่าย ยีลด์พันธบัตรสหรัฐฯกลับตัวขึ้น หลังผ่านจุดต่ำสุดช่วงกลาง เม.ย.

02-tmbam-03

“จุดกลับตัว” https://www.tmbam.com/home/download/Knowledge/ins1022_170420.pdf

…ช่วยให้นโยบาย Yield Curve Control ของ BOJ กลับมาทำงานได้ดีอีกครั้ง >>> เยนอ่อนค่า หุ้นญี่ปุ่นดีดตัวขึ้น Nikkei +6% ในสองสัปดาห์เศษๆ …ตลาดหุ้นญี่ปุ่น “ราคาถูก” เมื่อเทียบกับสหรัฐฯ ชอบ Japan Active Equity เพราะกองทุนหลัก (ใหม่) เน้นหุ้น value

คำเตือน : ความคิดเห็นใดๆ ในเอกสารฉบับนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของทีมผู้เขียน คือ ฝ่ายที่ปรึกษาการลงทุน TMBAM มิได้เป็นความคิดเห็นอย่างเป็นทางการของ TMBAM ดังนั้น TMBAM จึงไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบ ไม่ว่ากรณีใดๆทั้งสิ้น

ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน

กองทุน คำแนะนำ หมายเหตุ
สัปดาห์

ที่แล้ว

ปัจจุบัน
Global Income  up  up “Overweight” ทางเลือกแรกของกองทุนตราสารหนี้ต่างประเทศ กองทุนหลักสไตล์ Unconstrained มีความยืดหยุ่นสูง ผู้จัดการกองทุนสามารถปรับพอร์ตให้เหมาะกับภาวะปัจจุบัน ซึ่งตลาดตราสารหนี้เผชิญแรงกดดันจากแนวโน้มดอกเบี้ยขาขึ้น
ดูเพิ่มเติมเกี่ยวกับกองทุนตราสารหนี้สไตล์ Unconstrained ได้ที่ https://www.tmbam.com/home/th/market-sense-detail.php?k=972
Global Bond  down  down “Underweight” ยีลด์ต่ำไปในแนวโน้มเศรษฐกิจขาขึ้น กองทุนหลักเน้นตราสารเกรดสูง ดูเรชั่นใกล้ดัชนีชี้วัด (ยาว) จึงมัก underperform ในภาวะเศรษฐกิจขาขึ้น (ยีลด์พันธบัตรปรับตัวขึ้น) แต่มัก outperform เมื่อนักลงทุนกังวลปัจจัยเสี่ยง (ยีลด์ลง) …ยีลด์สหรัฐฯ 10 ปี อยู่แถวขอบล่างของกรอบ 2.3-2.6% น่าจะต่ำเกินไปในภาวะเศรษฐกิจขาขึ้น
Asian Bond  no  no “Neutral” ดีมานด์แกร่ง NAV กองทุนหลักพุ่งขึ้นมาแรง ตลาดคลายกังวลเฟด fund flows ไหลเข้าเอเชีย สะท้อนความต้องการที่แข็งแกร่งของนักลงทุน …ผลเลือกตั้งฝรั่งเศสรอบแรก “เป็นมิตรกับตลาด” ยีลด์พันธบัตรสหรัฐฯดีดตัวขึ้นตามที่เราคาดไว้ spread (กว้างขึ้นบ้างแต่ยังค่อนข้างแคบ) ของตราสารหนี้เอเชีย ช่วยบรรเทาผลกระทบได้บางส่วน
Global Quality Growth  no  no “Neutral” ตลาดคลายความคาดหวัง ‘ทรัมป์’ หนุนหุ้นคุณภาพ outperform ปัจจุบันกองทุนหลักเน้นหุ้นกลุ่ม I.T. ซึ่งผลกำไรเติบโตอย่างมีคุณภาพ (quality growth) และกลับมา outperform ในปีนี้ หลังจากนักลงทุนหายตื่นเต้นกับการมาของทรัมป์ ทั้งนี้ ผู้บริหารกองทุนหลักยังคงยึดวิธีคัดเลือกหุ้นอย่างเป็นระบบและทำซ้ำได้ เพื่อสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว
Global Infrastructure Equity  no  no “Neutral” ปัจจัยเฉพาะของหุ้นแต่ละตัว มีผลค่อนข้างมากต่อ NAV กองทุนหลักมีจำนวนหุ้นในพอร์ตค่อนข้างน้อย ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้น โดยเฉพาะ 10 อันดับแรก จึงมีอิทธิพลมากต่อ NAV …วันจันทร์ที่ผ่านมา หุ้นยุโรป พุ่งขึ้นอย่างแรง รับผลเลือกตั้งฝรั่งเศสรอบแรก หนุน NAV กองทุนหลัก (ซึ่ง overweight หุ้นยุโรป) บวกกว่า 2%
World EQ Index  down  down “Underweight” ตลาดหุ้นพัฒนาแล้ว น่าจะ underperform ในปีนี้ เราเชื่อว่า ตลาดหุ้นกำลังพัฒนา (ตลาดเกิดใหม่) ซึ่งเพิ่งเริ่มฟื้นตัวเมื่อปีที่แล้ว และระดับราคาต่ำกว่า มีโอกาสปรับตัวขึ้นได้มากกว่า
US500,

US Blue Chip

 no  no “Neutral” upside/downside ไม่น่าจะมาก US500 (ลงทุนตาม S&P 500) เหนือกว่า US Blue Chip (เน้นหุ้น growth) ใน 2 เดือนสุดท้ายของปี 2016 เพราะตลาดหันไปหาหุ้น value, cyclical ซึ่งพบมากในดัชนี แต่พอเข้าสู่ปี 2017 US Blue Chip กลับมา outperform เพราะนักลงทุนลดความคาดหวังต่อปธน.คนใหม่ และหันกลับมาหาหุ้นเติบโตคุณภาพสูง
European Growth, German EQ  no  no “Neutral” หุ้นยุโรปพุ่งขึ้นรับรู้ความเสี่ยงที่ลดลงไปแล้ว นักลงทุนคลายกังวล เลือกตั้งฝรั่งเศสรอบแรกออกมาคล้ายผลโพล จึงเชื่อว่า Le Pen จะแพ้การเลือกตั้งรอบสองตามผลโพลเช่นกัน …หุ้นยุโรปพุ่งขึ้นมาเร็ว/แรง รับรู้ความเสี่ยงที่ลดลงไปแล้ว ผู้ลงทุนที่ต้องการรับประโยชน์จากเศรษฐกิจยุโรปขาขึ้น อาจเลือกลงทุน “ทางอ้อม” ในตลาดที่ถูกกว่าเช่น ตลาดเกิดใหม่
Japan EQ,

Japan Active

no no “Neutral” ความสัมพันธ์กับเงินเยนลดลง เปิดโอกาสกองทุน Active ความกังวล คาบสมุทรเกาหลี, เลือกตั้งฝรั่งเศส คลี่คลาย เศรษฐกิจโลกยังฟื้นตัวดี ยีลด์พันธบัตรสหรัฐฯขยับขึ้น กดเยนอ่อนค่า เราคงมุมมองเดิมว่า หุ้นญี่ปุ่นน่าจะฟื้นขึ้นมาได้ ภายใต้นโยบาย Yield Curve Control ของ BOJ ทั้งนี้ ความสัมพันธ์ (correlation) ระหว่าง หุ้นญี่ปุ่น – เงินเยน ลดลงในปีนี้ เปิดทางให้กองทุนที่บริหารแบบเชิงรุก Japan Active Equity มีโอกาสมากขึ้นที่จะชนะตลาดได้
EM EQ Index,
Emerging Active Equity
up up “Overweight” ชอบ Emerging Active เน้นหุ้น value (ราคาถูก) นักลงทุนคลายกังวลนโยบาย ทรัมป์ ปัจจัยมหภาคสำคัญๆ คือ เศรษฐกิจจีน/ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ทรงตัว ขณะเฟดยังคงค่อยๆขึ้นดอกเบี้ยอย่างระมัดระวัง เป็นปัจจัยสนับสนุนการลงทุนตลาดเกิดใหม่ ซึ่งเพิ่งเริ่มฟื้นตัวเมื่อปีที่แล้ว และระดับราคายังไม่แพง …ชอบ TMB Emerging Active Equity กองทุนหลักบริหารเชิงรุก (actively managed) เน้นหุ้นสไตล์ value (ระดับราคาถูก) มีโอกาส outperform ในภาวะเศรษฐกิจขาขึ้น
Asian Growth Leaders  up  up “Overweight” พื้นฐานแข็งแรง คือจุดเด่นของหุ้นเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) นักลงทุนคลายกังวลเกี่ยวกับนโยบาย ทรัมป์ ในส่วนที่แต่เดิมเชื่อกันว่า อาจเป็นปัจจัยลบต่อตลาดเกิดใหม่ นอกจากนี้ ปัจจัยมหภาคสำคัญๆ คือ เศรษฐกิจจีน/ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ทรงตัว ขณะเฟดยังคงค่อยๆขึ้นดอกเบี้ยอย่างระมัดระวัง เป็นปัจจัยสนับสนุนการลงทุนในตลาดเกิดใหม่ ซึ่งเพิ่งเริ่มฟื้นตัวเมื่อปีที่แล้ว และระดับราคายังไม่แพง เมื่อเทียบกับตลาดพัฒนาแล้ว
China EQ, China Opportunity  up  up “Overweight” จีนกล้าคุมเข้มลดหนี้ เพราะมั่นใจเศรษฐกิจขาขึ้น รัฐบาลจีนมีทางเลือกในการบริหารจัดการ เพื่อรักษาสมดุลระหว่าง “ส่งเสริมการเติบโต” และ “ควบคุมความเสี่ยง” หากเห็นว่าตลาดเริ่มจะรับไม่ไหว ก็สามารถกลับมาผ่อนคลายได้ไม่ยาก ทั้งนี้ เศรษฐกิจจีนฟื้นตัวหนุนหุ้น “จีนเก่า” China Equity Index ในระยะสั้น ทว่าในระยะยาว จีนสนับสนุนการบริโภคภายในประเทศ หนุนหุ้นกลุ่ม “จีนใหม่” ซึ่ง China Opportunity เน้นลงทุนในปัจจุบัน อนึ่ง ดอลลาร์ชะลอการแข็งค่า ช่วยชะลอการอ่อนค่าของเงินหยวน ลดความเสี่ยงที่จีนจะลดค่าเงินแรงๆเพื่อเบรกเงินไหลออก
SET50, JUMBO25,
TMBTMSMV
up up “Overweight” ระดับราคา (เทียบกับภูมิภาค) น่าสนใจยิ่งขึ้น หุ้นไทยซึ่ง outperform ตลาดภูมิภาคในปี 2016 กลับมา underperform ในปีนี้ ระดับราคาจึงเริ่มน่าสนใจในเชิงเปรียบเทียบ โดยพื้นฐานทางเศรษฐกิจของไทย: เกินดุลบัญชีเดินสะพัด ทุนสำรองสูง เงินเฟ้อต่ำ ทำให้ทนทานต่อภาวะเงินทุนไหลออก และยังคงเป็นเหตุผลหลักที่ดึงดูดเม็ดเงินจากต่างชาติ >> upgrade หุ้นไทย เป็น overweight ชอบ JUMBO 25
Gold,
Gold Singapore
down down “Underweight” ราคาทองร่วงลงตามคาด หลังจาก sentiment ดีขึ้น ราคาทองคำพุ่งขึ้นเร็วและแรงในช่วงที่ผ่านมา เพราะตลาดกังวลความเสี่ยงภูมิรัฐศาสตร์ : ซีเรีย, เกาหลีเหนือ ตลอดจนการเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส กดยีลด์พันธบัตรปรับตัวลงแรง สวนทางกับปัจจัยเศรษฐกิจที่ยังคงเป็นขาขึ้น *** ควรใช้ทองคำเพื่อกระจายความเสี่ยงของพอร์ตที่มีการลงทุนในหุ้น โดยเราย้ำว่าทองคำไม่ใช่สินทรัพย์ลงทุนหลักของพอร์ต ***
Property
Income Plus
up no “Neutral” เหมาะสำหรับผู้ลงทุนระยะยาวเพื่อรับปันผล ยีลด์พันธบัตรปรับตัวขึ้น, ดอลลาร์แข็งค่า น่าจะผ่านพ้นช่วงที่เคลื่อนไหวรุนแรงไปแล้ว แรงกดดันต่อสินทรัพย์ที่เน้น “ยีลด์”: กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน และ ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REITs) จึงน่าจะบรรเทาเบาบางลง โดย อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล (dividend yield) ของสินทรัพย์ประเภทนี้ สูงกว่ายีลด์พันธบัตร และจ่ายปันผลค่อนข้างสม่ำเสมอ (ผันผวนน้อยกว่าปันผลของหุ้นสามัญ) จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการรายได้ประจำ
(Dividend Yield 12 เดือนย้อนหลังของดัชนีกองทุนอสังหาฯ, ยีลด์พันธบัตรอายุ 10 ปี, ส่วนต่าง)
ไทย (5.74%, 2.73%, 3.02%) สิงคโปร์ (5.99%, 2.15%, 3.84%)

ประเภทกองทุน กองทุน ดัชนีชี้วัด ความเสี่ยง กองทุน / นักลงทุน การป้องกันความเสี่ยง
กองทุนรวมตราสารหนี้ Global Bond JP Morgan Global Government Bond Index (สกุลเงินบาท) 4 / 2 ตามดุลพินิจผู้จัดการกองทุน(1)
GIS Global Income Barclays US Aggregate Total Return Value Unhedged USD (สกุลเงินบาท) 5/ 3 ตามดุลพินิจผู้จัดการกองทุน(1)
กองทุนรวมตราสารแห่งทุน Global Quality Growth MSCI All Country World Daily Total Return Net Index (สกุลเงินบาท) 6 / 4 ตามดุลพินิจผู้จัดการกองทุน(1)
World Equity Index MSCI WORLD NET TOTAL RETURN ในสกุลเงินยูโรและสกุลเงินบาท 6 / 4 ไม่มีการป้องกันความเสี่ยง(1)
US 500 Equity Index
US Blue Chip Equity
S&P 500 Index สกุลเงินบาท 6 / 4 ตามดุลพินิจผู้จัดการกองทุน(1)
Jumbo25 SET50 Total Return Index 6 / 4 ไม่มีการลงทุนในต่างประเทศ
European Growth MSCI Europe Index สกุลเงินบาท 6 / 4 ไม่น้อยกว่า 90 %
ของจำนวนเงินลงทุนในต่างประเทศ
EM Equity Index MSCI Emerging Index ในสกุลดอลลาร์และสกุลเงินบาท 6 / 4 ไม่มีการป้องกันความเสี่ยง(1)
Japan Equity Nikkei 225 (สกุลเงินบาท) 6 / 4 ตามดุลพินิจผู้จัดการกองทุน(1)
Japan Active Equity TOPIX (Total Return Net) Index (สกุลเงินบาท) 6 / 4 ตามดุลพินิจผู้จัดการกองทุน(1)
EM Equity Index MSCI Emerging Index ในสกุลดอลลาร์และสกุลเงินบาท 6 / 4 ไม่มีการป้องกันความเสี่ยง(1)
Asian Growth Leader MSCI AC Asia Ex Japan NR USD Index  (สกุลเงินบาท) 6 / 4 ตามดุลพินิจผู้จัดการกองทุน(1)
China Equity Index FTSE China A50 Net Total Return Index สกุลเงินดอลลาร์ ฮ่องกงและสกุลเงินบาท 6 / 4 ไม่มีการป้องกันความเสี่ยง(1)
China Opportunity MSCI Daily Total return Net China USD Index สกุลเงินบาท 6 / 4 ตามดุลพินิจผู้จัดการกองทุน(1)
SET50 SET50 Index 6 / 4 ไม่มีการลงทุนในต่างประเทศ
กองทุนรวม
หมวดอุตสาหกรรม
Property Income Plus ดัชนีกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (PFUND) ของตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทย ร้อยละ 50 และ

The FTSE Strait times REIT Index ร้อยละ 50 ปรับด้วยอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อ คำนวณผลตอบแทนเป็นสกุลบาท ณ วันที่คานวณผลตอบแทน

7 / 4 ตามดุลพินิจผู้จัดการกองทุน(1)
กองทุนรวมสินทรัพย์ทางเลือก Gold Singapore ดัชนีราคาทองคำในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ (London Gold AM Fixing) สกุลเงินบาท 8 / 5 ตามดุลพินิจผู้จัดการกองทุน(1)
Gold ดัชนีราคาทองคำในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ 8 / 5 ไม่มีการป้องกันความเสี่ยง(1)
Oil DBIQ Optimum Yield Crude Oil Index Excess Return Index 8 / 5 ไม่มีการป้องกันความเสี่ยง(1)

คำเตือน 1.สำหรับกองทุนที่ ไม่มีการป้องกันความเสี่ยง / ป้องกันความเสี่ยงตามดุลยพินิจผู้จัดการกองทุน เนื่องจากกองทุนไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ผู้ลงทุนอาจจะขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน / หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินทุนเริ่มแรกได้ 2.การลงทุนมิใช่การฝากเงินและมีความเสี่ยงในการลงทุน ผู้ถือหน่วยลงทุน อาจได้รับเงินลงทุนมากกว่าหรือน้อยกว่าการลงทุนเริ่มแรกก็ได้ และอาจไม่ได้รับชำระเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุนภายในระยะเวลาที่กำหนดหรืออาจไม่สามารถขายคืนหน่วยลงทุนได้ตามที่มีคำสั่งไว้ 3. กองทุนนี้มิใช่กองทุรรวมคุ้มครองเงินต้น ผู้ลงทุนจึงมีความเสี่ยงจากการลดลงของเงินต้น 4.ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสาระสำคัญของกองทุนรวมโดยเฉพาะนโยบายการลงทุน ความเสี่ยงและผลการดำเนินงานของกองทุนที่เปิดเผยในแหล่งต่างๆ เช่น เว็บไซด์ของบริษัทจัดการ เป็นต้น 5.ผู้ลงทุนสามารถขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่ TMBAM, TMB ทุกสาขา และ ผู้สนับสนุนการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่ได้รับการแต่งตั้ง
ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน