มนต์ขลัง FANGMAN หมดแล้วจริงหรือ? EP5: Amazon ผู้นำธุรกิจ Cloud, E-Commerce, Streaming 3 ธุรกิจยักษ์เปลี่ยนโลก

หลายคนรู้จัก Amazon ในฐานะ E-Commerce อันดับ 1 ของ US แต่รู้ไหม ตำนานหุ้น Amazon สตอรี่หลักของการเติบโตมากลับเป็นธุรกิจ Cloud ไม่ใช่ E-Commerce แต่อย่างใด

จนกระทั่ง เมื่อการระบาดของโควิดเกิดขึ้น ส่งผลดีให้กับธุรกิจฝั่ง E-Commerce เติบโตอย่างก้าวกระโดดอีกครั้ง ณ เวลานี้คงไม่ต้องอธิบายกันแล้วว่า E-Commerce และ Online Shopping คืออะไร

Amazon เริ่มต้นธุรกิจจากการขายหนังสือ Online จนปัจจุบันเป็นผู้ค้าปลีกที่ให้ขายทั้งสินค้าของตัวเอง (อารมณ์เหมือนซื้อตุนแล้วค่อยขาย แต่จริง ๆ ระบบซับซ้อนกว่านั้น) และมีให้ Third Party หรือให้คนอื่นมาขายด้วย โดยมีการจัดการ Inventory, Warehouse, Distribution Center และระบบ Logistic เป็นของตัวเอง ทำให้ปัจจุบันสามารถจัดการ 1-Day Shipping ได้อย่างง่ายดาย

ตัวอย่างสินค้าที่โด่งดังจากแบรนด์ Amazon เองเช่น Amazon Alexa และ Kindle E-book

และยังมีระบบสมาชิก ปัจจุบันมี User กว่า 200 ล้านคน ส่งผลให้ในแต่ละเดือนมีคนเข้าเว็บ Amazon มากกว่า 5,000 ล้านครั้ง

อย่างที่เล่าไป กำไรหลักอยู่ที่ Cloud (หรือที่รู้จักกันว่า Amazon Web Service, AWS) ผู้ให้บริการพื้นที่จัดเก็บข้อมูลสำหรับบริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับโลกออนไลน์ ตัวอย่างลูกค้าที่ใช้บริการของ AWS คือ Zoom และ Netflix

เมื่อเกิดการระบาดของโควิด พฤติกรรมของคนก็เปลี่ยนมาใช้รูปแบบบริการทางออนไลน์มากขึ้น ประชุมก็ไม่จำเป็นต้องเข้าบริษัทใช้ Zoom หรือการดูหนังก็กลับบ้านเปิด Netflix ไม่ต้องไปโรงหนังให้เสี่ยง และนั่นหมายความว่าธุรกิจ Cloud ของ Amazon ก็เติบโตขึ้นด้วย โดยในปัจจุบันธุรกิจ Cloud ของ Amazon มีกำไรที่สูงมากคิดเป็น 52% และเป็นกำไรมากสุดของบริษัท และในปัจุบันยังครอง Market Share เป็นเบอร์ 1 อีกด้วย (รองลงมาคือ Azure และ GCP)

แต่หากใครจำได้ สักสามปีก่อน กำไรจาก Cloud คิดเป็นสัก 80% กันเลยนะ…

ดังนั้นเราเริ่มเห็นแล้วว่า บทพระเอกจะเปลี่ยนไป เพราะ รายได้หลัก จริง ๆ แล้วอยู่ที่ E-Commerce มาโดยตลอด (แม้จะลวงตาหน่อย ๆ  เพราะเค้าเป็น Retailer บันทึกรายได้สินค้าทั้งหมด ส่วน Margin มันบางอยู่แล้ว) และในวันนี้เริ่มผลิดอกออกผล เบ่งบานสู่กำไร Economy of Scale ใหญ่มากพอ Margin ดีขึ้นแค่นิดหน่อยก็กำไรเพิ่มมหาศาล โดย Amazon หมกมุ่กนับการพัฒนา Vendor Central System มาได้สองปีกว่าแล้ว เพื่อเพิ่ม Margin

เมื่อการดูหนังที่บ้านเริ่มบูมขึ้นมา Amazon ก็ไม่รอช้ามีธุรกิจแพลตฟอร์ม Video On-Demand นั่นคือ Amazon Prime โดยให้บริการรูปแบบ Subscription โดยในปัจจุบันมีผู้ใช้งานมากกว่า 150 ล้านคนทั่วโลก

แหล่งรายได้ของ Amazon

Online Store : Amazon.com เว็บไซต์สำหรับชอปปิ้งออนไลน์

Physical Store : ร้านค้าปลีกที่ใช้สำหรับขายสินค้าหน้าร้าน

3rd Party Seller : บริการคลังสินค้า และ Logistic

Subscription Services : เว็บไซต์สำหรับความบันเทิงอย่าง Amazon Prime

AWS : ธุรกิจ Cloud

ธุรกิจอื่น ๆ : เว็บรีวิวและจัดอันดับหนังอย่าง IMDB และ Twitch เว็บไซต์แคสเกมออนไลน์

รายได้รวมของ Amazon

2018 : 232,887 ล้านดอลลาร์

2019 : 280,522 ล้านดอลลาร์

2020 : 386,064 ล้านดอลลาร์

ปัจจุบัน Market Cap อยู่ที่ 1.68 ล้านล้านดอลลาร์ และข่าวดีล่าสุดเห็นจะเป็นเตรียม split

Next S-Curve ของ Amazon ที่น่าจับตา?

Amazon Web Services – หากจะต่อ S-Curve ไปได้ คงจะเป็น Data Analytic

AWS เป็นเจ้าตลาด Cloud เนื่องจากมีความเป็น Infrastructure As A Service (Iaas) สูงกว่าคู่แข่งอื่น ๆ จึงกวาดรายใหญ่ไว้ และมีเทคโนโลยีที่ล้ำหน้ากว่าใคร เสียดายว่าคงอยู่ปลาย S Curve แล้วละ เพราะ Contribute Growth ได้น้อยลง ยังหาอะไรมาเร่งตัวตรงนี้ขึ้นไม่ได้ แม้จะผลักดันเรื่องระบบ AI Amazon Sagemaker อะไรพวกนี้ แต่ไม่ตอบโจทย์ธุรกิจนัก

Amazon Global Selling – มีลุ้น ขยายไปทั่วโลก

ปัญหาของ Amazon คือการตีตลาดในต่างประเทศ ในไตรมาสล่าสุดรายได้ในสหรัฐประมาณ 75,000 ล้านดอลลาร์ และนอกสหรัฐอยู่ที่ประมาณ 37,000 ล้านดอลลาร์ ถ้าหากนับในสหรัฐคืออันดับหนึ่งแต่เมื่อออกมาต่างประเทศแล้วกลับไม่ประสบความสำเร็จอย่างที่คิด จนล่าสุดได้มีการจัดตั้ง Amazon Global Selling เพื่อขยายฐานการค้าออกไปทั่วโลก โดยมีการประกาศตั้งทีมในประเทศไทยด้วย

Amazon Prime Video

บริการ Video Streaming ทั้งหนังทั่วไปและหนังที่มาจาก Amazon Studio เป็น Original Content ที่มีเฉพาะ Prime Video เท่านั้น โดยมี Series ชื่อดังอย่าง The Boys ที่ได้รับความนิยม Amazon Prime สามารถสร้าง Profile 1 บัญชีได้ถึง 6 คน และดูพร้อมกันสูงสุดได้ถึง 3 อุปกรณ์ แต่เหมือน Amazon Prime จะยังมีหนังให้ชมค่อนข้างน้อย (หากเทียบกับ Netflix) และความละเอียดสูงสุดจะยังอยู่ที่ Full HD ยังไม่เป็น 4K ในปัจจุบัน Amazon Prime Video เปิดให้ใช้ในไทยแล้วด้วยราคาเดือนละ 199 บาทซึ่งถ้าหารออกมาแล้วก็ตกคนละไม่กี่บาท

ปัญหาที่ Amazon กำลังเจอ

ด้วยการที่เป็นบริษัทใหญ่จึงทำให้ถูกจับจ้องเป็นอย่างมาก โดยในปี 2019 Amazon ถูกกล่าวหาว่ามีการทำผิดกฎหมายการค้าของ EU ในเรื่องการใช้ข้อมูลทางการค้าของคู่แข่งเพื่อเป็นข้อได้เปรียบของตัวเองในการทำการค้า

และในปี 2020 พนักงาน Amazon ยอมรับว่ามีการนำข้อมูลของผู้ค้าใน Amazon มาใช้พัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อนำไปแข่งขันในตลาด เราจะเห็นว่า Amazon ก็ดูพยายามจะทำทุกอย่างในแบรนด์ตัวเอง

ถ้าชอบบทความนี้อย่าลืมแชร์ให้เพื่อนอ่านด้วยนะ

BottomLiner

ที่มาบทความ: https://www.facebook.com/bottomlinerglobal/posts/4491379110877188

อ่านบทความชุด มนต์ขลัง FANGMAN หมดแล้วจริงหรือ? ตอนก่อนหน้า

มนต์ขลัง FANGMAN หมดแล้วจริงหรือ? EP 1: Google ผู้เป็นอาจารย์ของคนทั้งโลก

มนต์ขลัง FANGMAN หมดแล้วจริงหรือ? EP2: Microsoft เจ้าพ่อธุรกิจแพลตฟอร์มระดับโลก

มนต์ขลัง FANGMAN หมดแล้วจริงหรือ? EP3: Facebook โซเชียลเน็ตเวิร์คที่เชื่อมคนทั้งโลก

มนต์ขลัง FANGMAN หมดแล้วจริงหรือ? EP4: Apple จากมือถือ สู่ Platform IoTs ในชีวิตประจำวันของผู้คน