น้ำมัน-ติดดอย-สงครามน้ำมัน
น้ำมันเด้งแรง ลงดอยเลยดีมั้ย? สงครามน้ำมันใครจะชนะ???

“น้ำมันปรับขึ้นแรง นักวิเคราะห์คาดนักลงทุนเก็งผลการประชุมผู้ผลิตน้ำมัน จะลดกำลังการผลิต แต่น่าเสียดายที่ผลลัพธ์ออกมาเพียงแค่คงกำลังการผลิต” เป็นข่าวที่ได้ยินได้เห็น กันมาสักพักหนึ่งแล้ว

และน้ำมันขึ้นครั้งนี้ อาจจะได้ยินแบบเดิมอีก เพราะอะไรกันนะ … ในเวลาที่โอเปกสูญเสียรายได้มหาศาลแบบนี้กลับไม่ลดการผลิต มันต้องมีอะไรในกอไผ่แน่ๆ !! แถมอยู่ๆราคาน้ำมันก็ทำท่าเปลี่ยนทิศเป็นขาขึ้น ขายหรือถือดีเนี่ย บางคนคิดว่าน้ำมันจะกลับไป $100 ต่อบาร์เรลกันเลยทีเดียว แต่แอดมินเจอหลายสัญญาณว่ามันยังเร็วไปนิด เพราะ รอบนี้พี่ซาอุฯจะกดให้ราคาน้ำมันต่ำต่อเนื่อง บรรดาผู้ขุดเจาะน้ำมัน Shale Oil ไม่ผุดไม่เกิดไปอีกนาน 

งั้นลงดอยเลยดีมั้ย???

ขอสรุปรวบรัดฉับไว ถ้าเห็นน้ำมันลงลึกไปอีกก็มองดูเฉยๆ หรือหาหุ้นบริษัทน้ำมันจิ้มแทนให้ถูกตัว (เอ๊ะ ! ทำไมไม่ให้ซื้อล่ะ !!?? รู้หมือไร่ ถ้าคุณซื้อกองทุนน้ำมัน คุณกำลังซื้อน้ำมันที่คนละราคากับที่คุณเห็นหรือออกข่าว) ถ้าขึ้นมาสูงๆ เกินราคาต้นทุนของผู้ผลิต Shale Oil (ดูรูปประกอบด้านล่าง) ใครรอได้หลายๆๆๆๆๆปี ก็รอต่อไป รอไม่ได้ ก็ควรลดความเสี่ยง แอบลงจากดอยบ้าง

ขอเล่าเรื่องที่มาที่ไป จะเห็นว่าทุกครั้งที่โอเปกประชุมก็จะประกาศปาวๆ ว่า ไม่ลดกำลังการผลิตนะแจ๊ะ !! แอดมินขอบอกเลยว่าพูดจริงไม่ได้โม้ เพราะจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันและก๊าซ (Rig) ของตะวันออกกลางเนี่ยไม่ได้ลดลงเลย  ยังทำงานกันเต็มที่แถมมีอิหร่านเข้ามาแจม ในขณะที่ของอเมริกานั้นย่อยยับปิดกันไปตามสภาพราคาน้ำมันตามรูป และที่สำคัญคือจำนวนที่ปิดไปของแท่นขุดเจาะที่เป็นน้ำมันเนี่ย เป็น Shale Oil ซะเยอะ โดยเราจะสังเกตจากรูป (อ้างอิงข้อมูลจาก EIA) ได้ว่า ตอนปี 2008 ที่เกิดวิกฤตน้ำมัน จำนวนแท่นขุดเจาะของทั้งอเมริกาและของตะวันออกกลางนั้นลดลง แต่ในครั้งนี้ ตะวันออกกลางไม่ได้ลดลงเลยครับ

แท่นขุดเจาะน้ำมัน

เมื่อราคาน้ำมันถล่มทลาย ส่งผลกระทบให้โครงการพัฒนาแท่นขุดเจาะทั้งหลายต้องหยุดเพราะจะทำให้ไม่คุ้มต้นทุน เพียงแค่นั้นไม่พอ บริษัทขุดเจาะน้ำมันหลายแห่งในสหรัฐฯ ก็ไม่คุ้มต้นทุนที่จะผลิตเช่นกัน จึงลดการผลิตลง สังเกตได้จาก ต้นทุนการผลิตน้ำมันของแหล่งขุดเจาะที่ Eagle Ford, Bakken และ Permian (คิดเป็นประมาณ 80-90% ของ US Shale Oil)  ซึ่งไม่มีที่ไหนต่ำกว่า $40 ต่อบาร์เรล จึงน่าจะเป็นราคาจิตวิทยาที่ทุกคนจับตามอง ว่าซาอุฯจะต้องทำอะไรแน่ๆ เพื่อกันไม่ให้แก๊ง Shale Oil ลืมตาอ้าปากได้อีกครั้ง

ราคาต้นทุน Shale Oil

และที่สำคัญ รู้หมือไร่ !? ราคาน้ำมันถล่มครั้งนี้ ที่คนบอกกันว่า Over Supply น่ะ หรือน้ำมันล้นตลาดน่ะ มันยังไม่เกิดขึ้น แค่คนกลัวกันไปเอง เพราะพี่ใหญ่สหรัฐฯ เค้ามีแผนผลิตออกมาหนักแน่นมากจริงๆ ชนิดที่ทำลายสมดุลกันเลยทีเดียว แถมตลาดคุยกันว่านอกจากมี Shale แล้ว ยังมี Tar Sand จากแคนาดา !! มีเทคโนโลยีพลังงานทางเลือก !! รถไม่ใช้น้ำมันและ Solar Farm กำลังมาแรง !! ตลาดเลยกังวลว่าสมดุลจะเปลี่ยนไป … เรื่อง Shale Oil และ Tar Sand เนี่ยออกมามีผลแน่นอนครับ ส่วนเรื่องเทคโนโลยีเนี่ย มันเป็นการเปลี่ยนทางโครงสร้างพื้นฐานที่กินเวลานาน และที่สำคัญความจริงแล้ว อุปทานในตลาดทั่วโลกกำลังลดลงต่างหาก แค่น้ำมันจากสหรัฐฯเองก็หายไป 630,000 บาร์เรลต่อวันแล้ว ราคา ณ ปัจจุบันจึงไม่เสถียรทางพื้นฐาน เป็นเรื่องทางจิตวิทยาล้วนๆ เพราะทุกหนแห่งกำลังลดการผลิตทำให้อุปทานหายไป โดยในสถานการณ์ปกติก่อนเกิดวิกฤต อุปสงค์และอุปทาน ห่างกันเพียงนิดเดียว 1-2 ล้านบาร์เรลต่อวัน บางช่วงอุปทานมากกว่า บางช่วงอุปสงค์มากกว่า

US Oil production

น้ำมันจะเด้งถึงไหน? อยากให้ดู WTI ที่ $42 จุดนัดพบนักลงทุนสไตล์ Technical และ Fundamental ก่อน

ทางเทคนิคแบบง่ายๆ แนวต้านแรก เราลองยึดค่าเส้นเฉลี่ย 200 วันที่เป็นตัววัดตลาดหมี กับกระทิงก่อนไหม ตอนนี้อยู่ที่ $42-43 ซึ่งมหรรศจรรย์พันช่องมากๆ ตรงกับต้นทุนโดยประมาณที่ต่ำสุดของ Shale พอดี (แต่ละบริษัทสรุปข้อมูลไม่เท่ากันหรอกครับ แต่ก็อยู่แถวๆ 40 กว่าๆกันนี่แหละ) อย่างไรก็ดี เราควรจับตาการประชุมผู้ผลิตน้ำมัน ปลายเดือน มีนาคม นี้ครับ ถ้าผิดหวังน้ำมันก้คงจ๋อยกันไป ถ้ามีหวังนี่ คนติดดอยจะได้เฮ !! กันดังๆ

oilgraph

แล้วสรุปสหรัฐฯ หรือ ตะวันออกกลาง จะเป็นผู้ชนะสงครามน้ำมัน?

หลายคนอาจสงสัยว่า จะสนทำไม ต้องสนครับ ถ้าไม่สน หรือตอบข้อนี้ไม่ได้ เราจะไม่ได้คำตอบว่าน้ำมันจะกลับไประดับเดิมได้หรือไม่  คำตอบคือ ซาอุฯ ชนะครั้งนี้แน่ครับ เพราะมีต้นทุนต่ำกว่ามาก  แม้ซาอุฯ และสมาชิกกลุ่ม OPEC อื่นๆจะถังแตก ภายใน 3-5 ปี หากราคาน้ำมันยังอยู่ในระดับต่ำ เนื่องจากสูญเสียรายได้ แต่เขามีไม้ตายอีกมากเพื่อที่จะยื้อเวลา  ต่อจากนี้ถ้าราคาน้ำมันขึ้นไประดับที่ผู้ผลิต Shale ทำธุรกิจได้ ซาอุฯ น่าจะพยายามดึงน้ำมันให้ต่ำอีกครั้ง จนกว่าสหรัฐฯจะชูธงขาว ดังนั้นเมื่อไหร่ที่ราคาขึ้น พวกตะวันออกกลางก็จะข่มขวัญกันอีกครั้ง ความผันผวนในกรอบกว้างน่าจะตามมา