uobam-weekly-report-3-apr

สรุปสภาวะตลาดสหรัฐ ฯ และยุโรป

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวขึ้น DJIA 0.32% ตอบรับเชิงบวก เนื่องจาก GDP 4Q59 ของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น +2.1% qoq ดีกว่าคาดการณ์ของตลาดที่ +2.0% และแรงหนุนจากกลุ่มพลังงานหลังราคาน้ำมันดิบ NYMEX ปรับตัวขึ้น +5.48% wow ตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวขึ้น CAC 2.02%, DAX 2.06% หลังคลายความกังวลเกี่ยวกับ Brexit มีเพียง FTSE -0.19% เมื่อ นายกฯ อังกฤษได้ยื่นเอกสารแสดงเจตจำนงค์ในการทำ Brexit อย่างเป็นทางการแก่อียูในวันที่ 29 มี.ค. ทำให้ภาคเอกชนอังกฤษเริ่มกังวลกับทิศทางเศรษฐกิจในระยะถัดไป

สรุปสภาวะตลาดหุ้นจีน

ตลาดหุ้นจีนปรับฐานลง 1.44% ในสัปดาห์ที่ผ่านมา แม้ว่าตัวเลขเศรษฐกิจอย่างกำไรภาคอุตฯ และดัชนี PMI ออกมาดีกว่าคาด แต่ธนาคารกลางจีนขึ้นดอกเบี้ยเงินกู้ระยะสั้นและเริ่มดูดซับสภาพคล่องทางการเงินสร้างแรงกดดันต่อตลาดหุ้นจีน

สรุปตลาดหุ้นไทยในสัปดาห์ที่ผ่านมา

SET INDEX สามารถไต่ระดับขึ้นทดสอบ 1,580 จุดระหว่างสัปดาห์กับผลของ window dressing การคงอัตราดอกเบี้ยของ กนง. ตามคาด แต่เกิดแรงขายทำกำไรในปลายสัปดาห์ ส่งผลให้ SET INDEX ปิดบวกเพียง 0.10% หรือ 1.60 จุด มาอยู่ที่ 1,575.11 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวัน 41,751.20 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.17% wow

แนวโน้มตลาดหุ้นไทยในสัปดาห์นี้ (3-7 เมษายน 60)

คาด SET Index ปรับตัวอยู่ในกรอบแคบ ด้วยมูลค่าซื้อขายเบาบาง เนื่องจากใกล้ช่วงวันหยุด แต่แน่นอนว่า Downside risk ของ SET INDEX ก็เป็นไปอย่างจำกัด เพราะราคาน้ำมันดิบ NYMEX ที่ยืนเหนือ US$50/barrel ได้อีกครั้ง ทำให้กลุ่มพลังงาน/ปิโตรเคมี ช่วยประคองภาพรวมของตลาดหุ้นไทย

ปัจจัยสำคัญสัปดาห์นี้ การพบปะของผู้นำจีน-สหรัฐฯ / ตัวเลข PMI ภาคการผลิต – บริการของอียู และสหรัฐฯ / ภาวะการจ้างงานของสหรัฐฯ

สรุปความเคลื่อนไหวของตลาดตราสารหนี้สัปดาห์ที่ผ่านมา

เงินทุนไหลเข้าตลาดตราสารหนี้สหรัฐฯ เป็นสัปดาห์ที่ 3 จากความเสี่ยงทางการเมืองในสหรัฐฯ เมื่อนโยบายต่างๆ ที่ประธานาธิบดี Trump วางแผนเสนอ สมาชิกในพรรค Republican บางส่วนไม่สนับสนุน ทำให้นักลงทุนเริ่มกังวลต่อแนวทางการกระตุ้นเศรษฐกิจ และเกิดแรงขายในสินทรัพย์เสี่ยง เข้าพักในตลาดตราสารหนี้เพื่อปิดความเสี่ยงดังกล่าว โดยผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปี ลดลงเป็นสัปดาห์ที่ 3 อีก 2.49bps จากสัปดาห์ก่อนหน้าลดลง 12.79bps ปิดที่ 2.3874% ส่วนผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 2 ปี ลดลงเป็นสัปดาห์ที่ 3 อีก 0.26bps จากสัปดาห์ก่อนหน้าลดลง 7.56bps ปิดที่ 1.2540%

ด้านตลาดตราสารหนี้ไทย ต่างชาติซื้อสุทธิเป็นสัปดาห์ที่ 3 อีก 17,271 ล้านบาท จากสัปดาห์ก่อนหน้าซื้อสุทธิ 11,942 ล้านบาท รวม 3 สัปดาห์ซื้อสุทธิ 32,925 ล้านบาท และทำให้ YTD นักลงทุนกลุ่มนี้ซื้อสุทธิ 89,383 ล้านบาท ทั้งนี้เงินทุนต่างชาติกลับเข้ามาเก็งกำไรต่อค่าเงินบาท ทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยลดวงเงินการออกขายพันธบัตรระยะสั้น เพื่อบริหารอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท ทั้งนี้ Bond Yield Curve กลับมา Flatted มากขึ้นอีกครั้ง โดยผลตอบแทนพันธบัตรไทยลดลง 8.15bps จากสัปดาห์ก่อนหน้าเพิ่มขึ้น 2.46bps ปิดที่ 2.75% ส่วนอายุ 1 ปี ผลตอบแทนลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 6 สัปดาห์ 0.34bps จากสัปดาห์ก่อนหน้าเพิ่มขึ้น 0.64bps ปิดที่ 1.55%

สหรัฐอเมริกา ตลาดหุ้น ตลาด
ตราสารหนี้
• คำสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือน ก.พ.60 เพิ่มขึ้น 1.7% mom ดีกว่า Bloomberg consensus คาด 1.5% mom แต่ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ 2.3% mom โดยเป็นคำสั่งซื้ออุปกรณ์ขนส่ง และเครื่องบินที่เพิ่มสูงขึ้น +
• ดัชนี PMI ภาคการผลิต – บริการ เบื้องต้น เดือน มี.ค.60 เท่ากับ 53.2 จุด ต่ำกว่า Bloomberg consensus คาด 54.3 จุด โดยดัชนี PMI ทั้งภาคการผลิตและบริการออกมาต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ทั้งสิ้น +
• ดุลการค้าเดือน ก.พ.60 ขาดดุล US$6.48หมื่นล้าน ดีกว่า Bloomberg consensus คาดขาดดุล US$6.65หมื่นล้าน ทั้งนี้การนำเข้าหดตัว 2.1%mom จากเดือนก่อน +2.5% mom และการส่งออกลดลง 0.1% mom จากเดือนก่อน +0.3% mom +
• ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน มี.ค.60 เท่ากับ 125.6 จุด ดีกว่า Bloomberg consensus คาด 113.8 จุด และเดือนก่อนหน้าที่ 116.1 จุด +
• ยอดขายบ้านรอปิดการขายเดือน ก.พ.60 เพิ่มขึ้น 5.5%mom ดีกว่าBloomberg consensus คาด +2.4%mom และเดือนก่อน -2.8% mom +
• ยอดขอสวัสดิการว่างงานเท่ากับ 2.58 แสนตำแหน่ง แย่กว่า Bloomberg consensus คาด 2.47 แสนตำแหน่ง และสัปดาห์ก่อนหน้า 2.61 แสนตำแหน่ง +
• GDP ใน 4Q59 รอบสุดท้าย เติบโต 2.1% qoq ดีกว่า Bloomberg consensus คาดการณ์เล็กน้อยที่ 2.0% qoq และตัวเลขประเมินก่อนหน้า 1.9% qoq จากการปรับการใช้จ่ายภาคบริการที่ดีขึ้น +
• รายได้ส่วนบุคคลเดือน ก.พ.60 เพิ่มขึ้น 0.4% mom เท่ากับ Bloomberg consensus คาดการณ์ แต่ชะลอตัวจากเดือนก่อนหน้าที่ 0.5% mom โดยเป็นค่าจ้างและเงินเดือนที่เพิ่มขึ้น 0 0
• รายจ่ายส่วนบุคคลเดือน ก.พ.60 เพิ่มขึ้นเพียง 0.1% mom ต่ำกว่า Bloomberg consensus คาด 0.2% mom และเดือนก่อนที่ 0.2% mom +
• ดัชนี Consumer Sentiment เดือน มี.ค.60 เท่ากับ 96.9 จุด ต่ำกว่า Bloomberg consensus คาด 97.6 จุด และเดือนก่อนหน้าที่ 97.6 จุด +
• Trump กลับลำไม่โหวต American Healthcare แต่จะพิจารณานโยบายภาษีก่อนหลังจากไม่สามารถโน้มน้าวให้ สส. ของพรรค Republican สนับสนุนกฎหมาย American Healthcare ที่จะมาแทน Obamacare ได้ ทำให้ ประธานาธิบดี Trump กับมาเตรียมพิจารณาการลดภาษีเป็นลำดับถัดไป +
ยุโรป ตลาดหุ้น ตลาด
ตราสารหนี้
• ฝรั่งเศสใช้งบประมาณขาดดุลปี 59 เท่ากับ 3.4% ของ GDP ลดลงจากปี 2558 ที่ 3.5% แต่สูงกว่าเป้าหมายที่วางไว้ 3.3% แต่ฝรั่งเศสให้มุมมองถึงการลดการขาดดุลสู่เป้าหมายของอียูที่ 3.0% ตามแผนที่วางไว้ภายในปีนี้ +
• ECB รายงานการปล่อยสินเชื่อแก่ภาคครัวเรือนของสถาบันภารเงินใน 19 ประเทศสมาชิกเพิ่มขึ้น 2.3% yoy ในเดือน ก.พ.60 เร่งขึ้นจากเดือนม.ค.60 ที่ 2.2% yoy เป็นระดับที่ดีที่สุดนับตั้งแต่เดือน ธ.ค.53 ส่วนการปล่อยสินเชื่อภาคเอกชนเพิ่มขึ้นเพียง 2.0% yoy ชะลอตัวจากเดือนม.ค.60 ที่เพิ่มขึ้น 2.3% yoy ถือเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน มิ.ย.59 +
• รมว.คลัง อังกฤษ ประเมินว่า อังกฤษจะต้องวางกรอบการเจรจากับอียู เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ดีที่สุดสำหรับประเทศในการออกจากอียู แม้ว่าการเจรจาทุกๆ ประเด็นจะต้องมี “ได้” และ “เสีย” ก็ตาม แต่อังกฤษจะต้องเจรจาเพื่อสร้างความเข้าใจและรับถึงผลที่ดีที่สุดในแต่ละประเด็น 0 0
• นายกฯ อังกฤษ ได้ส่งเอกสารอย่างเป็นทางการแก่อียู เพื่อแสดงเจตจำนงค์ในการออกจากการเป็นสมาชิกในกลุ่มอียู (Brexit) โดยกรอบเวลาการเจรจาจะสิ้นสุดลงในปลายเดือน มี.ค.62 หรือ 2 ปี 0 0
• European Competition Commissioner ได้ห้ามการรวมตลาด Deutsche Boerse และตลาด London Stock Exchange ซึ่งการรวมดังกล่าวจะทำให้ตลาดดังกล่าวมีขนาดใหญ่ที่สุดในอียู จากการรวมของ 2 ตลาดที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 5 ของแต่ละประเทศ 0 0
• อียูเต็มใจที่จะมีการหารือเงื่อนไขการค้าเสรีกับทางอังกฤษ แต่การสรุปผลอย่างเป็นทางการจะเกิดขึ้นเมื่ออังกฤษออกจากอียูอย่างเป็นทางการแล้วเช่นกัน ดังนั้นเอกชนของอังกฤษจะเข้าไม่ถึงตลาดรวมอียูอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 29 มี.ค.62 หากตกลงกันไม่ได้ 0 0
เอเชีย ตลาดหุ้น ตลาด
ตราสารหนี้
• อัตราเงินเฟ้อแท้จริงของญี่ปุ่นเดือน ก.พ.60 เพิ่มขึ้น 0.2% yoy เท่ากับ Reuters Poll คาดการณ์ 0 0
• การใช้จ่ายภาคครัวเรือนของญี่ปุ่นเดือน ก.พ.60 หดตัว -3.8% yoy ลดลงแรงกว่า Reuters Poll คาด -1.7% yoy +
• ครม.ไทยรับทราบมติซุปเปอร์บอร์ดทบทวน TOR ของรถไฟรางคู่ 5 เส้นทาง เพื่อลดเงื่อนไขกำหนดผลงานผู้เข้าประกวดราคาจาก 15% เป็น 10% ทั้งนี้นายกฯ สั่งการให้ทบทวนให้แล้วเสร็จภายใน 3 เดือน 0 0
• ครม.ไทยอนุมัติให้เอกชนรายเดิม (BEM) เดินรถสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย และให้ได้รับส่งเสริม BOI ทั้งนี้เอกชนจะเข้ามาลงทุนรูปแบบ PPP Net Cost และขยายเวลาการเดินรถสายสีน้ำเงินที่วิ่งอยู่ปัจจุบันให้สิ้นสุดระยะเวลาเดียวกับสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย +
• กนง.ไทยมีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยไว้ที่ 1.50%ต่อปี หลังประเมินเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวดีกว่าที่คาดไว้ โดยเฉพาะภาคการส่งออกที่กลับมาฟื้นตัวได้อีกครั้ง ขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปยังมีแนวโน้มทยอยปรับสูงขึ้น 0 0
• ธปท.ปรับเป้าจีดีพีของไทยปีนี้โต 3.4% จากเดิม 3.2% ส่วนปีหน้าโต 3.6% มีปัจจัยบวกจากการส่งออกที่ฟื้นตัว และการท่องเที่ยวที่ดีขึ้น แต่ยังมีความเสี่ยงจากต่างประเทศเป็นหลัก ทั้งนโยบายการค้าของสหรัฐอเมริกา เสถียรภาพการเงินของจีนและการเมืองในยุโรป +
จีน ตลาดหุ้น ตลาด
ตราสารหนี้
• กำไรในภาคอุตฯ 2M60 เพิ่มขึ้น 32% yoy เป็นผลจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ อย่างถ่านหิน สินแร่เหล็กที่เพิ่มขึ้น ขณะที่การนำเข้าเพิ่มขึ้นแข็งแกร่งเช่นกัน ส่งผลให้กิจกรรมภาคอุตฯ ขยายตัวอย่างมาก โดยเฉพาะการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร ทำให้กำไรในภาคอุตฯ 2M60 แตะระดับ 1.01 ล้านล้านหยวน ขณะที่ปี 59 เติบโตเพียง 8.5% yoy +
• ธนาคารกลางจีนได้ระงับการดำเนินงานทางตลาดเงิน (Open Market Operations) หรือ OMO ผ่านทางข้อตกลงซื้อคืนพันธบัตรโดยมีสัญญาขายคืน (reverse) นับเป็นวันที่ 5 ติดต่อกันที่ธนาคารกลางจีนได้ระงับการทำธุรกรรม OMO ผ่านทางข้อตกลง reverse repo หมายความว่าธนาคารกลางจีนไม่มีการอัดฉีดเงินทุนระยะสั้นเข้าสู่ระบบการธนาคาร ซึ่งถือเป็นการระบายสภาพคล่องออกจากตลาดในทางหนึ่ง ขณะที่สัญญา reverse repo บางส่วนได้ครบกำหนดการไถ่ถอนในวันนี้ และส่งผลให้สภาพคล่องถูกดูดออกจากตลาด 4 หมื่นล้านหยวน หรือ US$5.8 พันล้าน +
• ดัชนี Caixin PMI ภาคการผลิต เดือน มี.ค.60 เท่ากับ 51.2 จุด ต่ำกว่า Reuters Poll คาด 51.6 จุด และเดือนก่อนหน้า 51.7 จุด โดยกิจกรรมการก่อสร้างยังคงขยายต่อเนื่อง แต่คำสั่งซื้อใหม่, ผลผลิต กลับชะลอตัวจากเดือน ก.พ.60 +
• ดัชนี PMI ภาคการผลิต เดือน มี.ค.60 เท่ากับ 51.8 จุด ดีกว่าเดือนก่อนหน้าที่ 51.6 จุด และ Bloomberg consensus คาด 51.7 จุด +
• ดัชนี PMI ภาคบริการเดือน มี.ค.60 เท่ากับ 55.1 จุด ดีกว่าเดือนก่อนหน้าที่ 54.2 จุด +
• ธนาคารกลางจีนขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ Overnight Standing Lending Facility (SLF) 0.2% เป็น 3.3% มีผลตั้งแต่วันที่ 16 มี.ค.60 ที่ผ่านมา และอัตราเงินกู้ 7 วันเป็น 3.45% และ 1 เดือนเป็น 3.8% ทั้งนี้เงินกู้ SLF ณ สิ้นเดือน มี.ค.60 อยู่ที่ 7.0 หมื่นล้านหยวน โดยอัตราดอกเบี้ย SLF จะเป็นเพดานสูงสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ และเป็นเครื่องมือในการบริหารอัตราแลกเปลี่ยนในตลาดเงิน +

 

 

ข้อสงวนสิทธิ์และคำเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงในการลงทุน
บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ยูโอบี (ประเทศไทย) จำกัด (“บริษัทจัดการ”) จัดทำเอกสารฉบับนี้ขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการเผยแพร่ข้อมูลเป็นการทั่วไป โดยไม่มุ่งหมายให้ถือเป็นคำเสนอหรือการเชิญชวนให้บุคคลใดทำการซื้อ และ/หรือ ขายผลิตภัณฑ์ด้านการลงทุนประเภทต่าง ๆ ตามที่ปรากฏในในเอกสารฉบับนี้ และไม่ถือเป็นการให้คำปรึกษาหรือคำแนะนำเกี่ยวกับการทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ด้านการลงทุนของบริษัทต่างๆ ตามที่ระบุไว้ในเอกสารนี้แต่อย่างใด แม้บริษัทจัดการจะได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรเพื่อให้ข้อมูลดังกล่าวมีความถูกต้องและตรงกับวัตถุประสงค์ของการจัดทำเอกสารนี้ บริษัทจัดการและพนักงานของบริษัทจัดการไม่มีความรับผิดและจะไม่รับผิดสำหรับความผิดพลาด ความไม่ถูกต้อง หรือการตกหล่นของข้อมูลใดๆ ที่เกิดขึ้นไม่ว่าด้วยเหตุใดก็ตาม รวมทั้งจะไม่รับผิดสำหรับการกระทำใดๆ ที่เกิดขึ้นบนพื้นฐานของความเห็นหรือข้อมูลที่ปรากฏอยู่ในเอกสารฉบับนี้ บริษัทจัดการไม่ได้ให้คำรับรองหรือรับประกัน ไม่ว่าโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยาย เกี่ยวกับความถูกต้อง แม่นยำ น่าเชื่อถือ ทันต่อเหตุการณ์ หรือความสมบูรณ์ของข้อมูลดังกล่าวในกรณีใดๆ ทั้งสิ้น และบริษัทจัดการขอปฏิเสธความรับผิดทั้งปวงที่เกิดหรืออาจเกิดขึ้นในทุกกรณี ทั้งนี้ ความเห็น บทวิเคราะห์ หรือการคาดคะเนต่างๆ เกี่ยวกับเหตุการณ์หรือผลการดำเนินงานในอนาคตที่ปรากฏในเอกสารนี้ (ซึ่งรวมถึงแต่ไม่จำกัดเพียงข้อมูลเกี่ยวกับประเทศ เศรษฐกิจ ตลาด หรือบริษัทต่างๆ) ไม่ถือเป็นเครื่องยืนยันและอาจแตกต่างจากเหตุการณ์หรือผลประกอบการที่เกิดขึ้นจริงได้ ผลการดำเนินงานของกองทุนหรือบริษัทจัดการในอดีต/ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนในอดีต มิได้เป็นเครื่องยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคตหรือที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต และอาจมีกรณีที่ผลการดำเนินงานเป็นไปอย่างผิดความคาดหมายเนื่องจากเหตุการณ์หรือปัจจัยต่างๆ ที่ไม่เป็นปกติได้ การลงทุนในหน่วยลงทุนมิใช่การฝากเงิน และไม่ถือว่าบริษัทจัดการ และ/หรือ บริษัทในเครือหรือผู้ดำเนินการขายของบริษัทจัดการได้รับประกันการลงทุนให้แก่ผู้ลงทุนแต่อย่างใด นอกจากนั้น การลงทุนมีความเสี่ยง ไม่ว่าจะเป็นความเสี่ยงจากการลงทุน ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน หรือความเสี่ยงอื่นๆ ดังนั้น ผู้ลงทุนอาจได้รับเงินลงทุนคืนมากกว่าหรือน้อยกว่าเงินลงทุนเริ่มแรก หรือไม่ได้รับเงินลงทุนคืนเลยก็ได้ ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลในหนังสือชี้ชวนของกองทุน คำเตือน และเอกสารที่เกี่ยวข้องก่อนทำการสั่งซื้อหน่วยลงทุน และในการทำธุรกรรมต่างๆ เพื่อหน่วยลงทุนนั้นจะต้องทำตามรูปแบบและวิธีการที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวนสำหรับนักลงทุนที่ต้องการทราบข้อมูลหรือรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดต่อบริษัทจัดการหรือผู้ดำเนินการขายที่ท่านใช้บริการ บริษัทจัดการขอสงวนสิทธิ์ในข้อมูลที่ปรากฏในเอกสารนี้โดยห้ามมิให้ผู้ใดเผยแพร่ ทำซ้ำ ดัดแปลง ลอกเลียนแบบ อ้างอิง ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือใช้วิธีการใดก็ตามเว้นแต่จะได้รับอนุญาตล่วงหน้าจากบริษัทจัดการเป็นลายลักษณ์อักษรก่อน นอกจากนั้น บริษัทจัดการขอสงวนสิทธิ์ที่จะทำการแก้ไข ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมข้อความใดๆ ในเอกสารนี้ได้ตามที่บริษัทจัดการจะเห็นสมควร

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ
บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ยูโอบี (ประเทศไทย) จำกัด
โทรศัพท์ : 0 2786 2222 โทรสาร: 0 2786 2370-74
อีเมลล์ : wealthservice@uobam.co.th
เวปไซต์ : www.uobam.co.th

การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะกองทุน นโยบายกองทุน
เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุนก่อนตัดสินใจลงทุน