คุณเลือกกองทุนตามสาขาของธนาคาร ?
คุณเลือกกองทุนตามที่พนักงานธนาคารแนะนำ ?
คุณเลือกกองทุนตามที่เพื่อนบอก?

ถ้าส่วนใหญ่ คุณตอบว่าใช่ ก็แสดงว่า
มีโอกาสผิดพลาดซะแล้ว สำหรับการลงทุนผ่านกองทุนรวม

ลองมาดูกันว่า คนส่วนใหญ่ผิดพลาดอะไรบ้าง ??

1. เลือกกองทุนไม่ตรงกับเป้าหมายด้านการเงิน

เป้าหมายทางของการลงทุนจะไม่เหมือนกัน เช่น เป้าหมายเพื่อการเกษียณ เป็นเป้าหมายระยะยาว ก็สามารถลงทุนในหุ้นได้มาก หรือหากเป้าหมายเพื่อเก็บเงินระยะสั้นภายในเวลา 2-3 ปี ก็ควรลงทุนในหุ้นในน้อย ไปเพิ่มส่วนของการลงทุนในตราสารหนี้ในมากขึ้น

แต่คนส่วนมาก ไม่มีแม้จะมีเป้าหมายทางการเงิน แค่รู้ว่า ซื้อกองทุนเพื่อลดหย่อนภาษี ทำให้เลือกซื้อกองทุน ที่มีนโยบายการลงทุนที่ไม่ตรงกับเป้าหมายการเงิน

แค่เริ่มต้นก็ผิดเสียแล้ว…

2. ไม่วางแผน จัดพอร์ตการลงทุน

เราควรวางแผนจัดสรรพอร์ตการลงทุน (asset allocation) ให้เหมาะสมตามเป้าหมาย กระจายความเสี่ยงไปยังทรัพย์สินหลายๆ ประเภท ที่ไม่มีความสัมพันธ์กัน เช่น หุ้นไทย และหุ้นต่างประเทศ เพื่อลดความเสี่ยงจากการเปลี่ยนทิศทางของทรัพย์สิน ที่เป็นไปในทางเดียวกัน

ที่สำคัญการจัดพอร์ตการลงทุนจะต้องสอดคล้องกับการเป้าหมายทางการเงินที่มีอยู่ แต่คนส่วนมากจะไม่มีจัดพอร์ตการลงทุนเลย  อาจจะทำให้พลาดเป้าหมายของการเงิน

3. พยายามจะจับจังหวะตลาด (Market Timing)

คาดการณ์ตลาดนั้นเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก ดังนั้นแทนที่จะคาดการณ์ตลาด ควรจะมุ่งความสำคัญไปที่การกำหนดเป้าหมาย และการวางแผนการลงทุนให้สอดคล้องกัน

ควรจะแบ่งเงินส่วนใหญ่ ลงทุนแบบ Dollar Cost Averaging (DCA) ซึ่งเป็นการลงทุนด้วยจำนวนเงินที่เท่ากันในทุกๆ งวด เช่น ทุกเดือน วิธีนี้จะช่วยให้นักลงทุนจำกัด ผลขาดทุนที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจที่ผิดพลาด

แต่คนส่วนใหญ่จะซื้อกองทุนตอนสิ้นปี หรือ ซื้อครั้งเดียว นี่เป็นข้อผิดพลาดมากๆ ทำให้ความเสี่ยงในการลงทุนเพิ่มขึ้น ไม่เกิดการเฉลี่ยของต้นทุนในการซื้อกองทุนได้

4. ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการกระจายความเสี่ยง

การกระจายความเสี่ยงในการลงทุน คือการกระจายการลงทุนไปยังสินทรัพย์ที่แตกต่างกันออกไป

การลงทุนในกองทุนรวมนั้น หลายท่านอาจกำลังเข้าใจผิดว่า การที่มีกองทุนรวมหลายๆกองในพอร์ตก็ถือเป็นการกระจายความเสี่ยงที่ดีอยู่แล้วแต่ในความเป็นจริงนั้นกองทุนแต่ละกองที่นักลงทุนถืออยู่อาจจะลงทุนในสินทรัพย์ที่เหมือนกันหรืออยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกันก็ได้

ดังนั้นจะต้องดูลึกเข้าไปเพิ่มเติมว่า หุ้นแต่ละตัวในกองทุนมีอะไรที่เหมือนกันและแตกต่างกันบ้าง

5. เลือกกองทุนตามขนาด

ถ้าใครเห็นธนาคารใหญ่หลายแห่งมักจะบอกว่า ให้มาซื้อกองทุนกับเขาซิ เพราะกองทุนของเขามีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศ

ถ้าคุณเลือกกองทุนเพราะขนาดใหญ่
คุณผิดพลาดแล้ว!!!!!!!!!!!!!!
ขนาดของกองทุนไม่เกี่ยวข้องกับ performance ของกองทุน

6. เลือกกองทุนโดยดูที่ ราคา NAV

เห็นประจำ คนส่วนใหญ่คิดว่า ราคา NAV ของกองทุนสูงหมายถึง กองทุนนั้นมีราคาแพงเกินไป ไปซื้อกองทุนที่มี NAV ถูก

แค่คิดก็ตัดสินใจซื้อผิดแล้ว ไม่จริงนะครับ performance ของกองทุนไม่เกี่ยวกับ ราคา NAV เลย

7. เลือกกองทุนที่มี Performance ดี ไม่เป็น !!!!

มาถึงข้อสำคัญที่สุด ที่คนส่วนใหญ่จะพลาด เลือกกองทุนที่มี performance ดีมีรายละเอียดค่อนข้างเยอะ วันนี้ผมจะบอกแค่เบื้องต้น  เราจะเลือกกองทุนที่มี performance ดีจากอะไรบ้าง

  • ผลตอบแทนต้องชนะตลาด
  • ผลตอบแทนต่อความเสี่ยงสูง
  • ราคาของกองทุนต่อผลกำไรของบริษัทที่อยู่ในกองทุนไม่สูงเกินไป
  • ค่าธรรมเนียมไม่สูงเกินไป

8. ไม่วัดผลการลงทุน

ส่วนใหญ่จะซื้อไว้แล้วลืมตรวจสอบว่า กองทุนที่ซื้อไป performance เป็นอย่างไร เพราะหลายๆ กองทุนที่เคยมี performance ดี  อาจ performance ไม่ดีได้.ในอนาคต ดังนั้นควรจะวัดผลงานของการลงทุนทุกปี

9. ไม่ปรับพอร์ตให้สมดุล

จากข้อที่บอกว่า จะต้องจัดพอร์ตการลงทุน ถ้าเรามีการจัดพอร์ตแบบซื้อกองทุนหุ้น 60% และกองทุนตราสารหนี้ 40%

พอเวลาผ่านไป หุ้นเติบโตได้ดี สัดส่วนของมูลค่าของหุ้นอาจจะโตถึง 80% ทำให้พอร์ตการลงทุนที่กำหนดตอนแรกผิดไป ความเสี่ยงของพอร์ตลงทุนจะสูงขึ้น

ดังนั้นจำเป็นต้องปรับพอร์ตการลงทุนให้เหมือนเดิม คือ กองทุนหุ้น 60% โดยการขายกองทุนหุ้นที่มีกำไรออกไป 20%

มีการศึกษาแล้วว่า ถ้าปรับพอร์ตให้สมดุลปีละครั้ง จะทำให้ความเสี่ยงลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ

10. การไม่เริ่มที่จะลงทุน

มีหลายคนที่คิดว่าตัวเองยังไม่พร้อมที่จะลงทุน เพราะยังมีเงินทุนไม่เพียงพอจึงไม่เริ่มลงทุนเสียที การเลื่อนวันที่จะลงทุนออกไปทำให้พวกเขาพลาดโอกาสในการใช้ประโยชน์จากระยะเวลาในการลงทุน ตัวอย่างเช่น

หากนำเงิน 2,000 บาท ไปลงทุนได้ผลตอบแทน 10% ต่อปี เป็นเวลา 15 ปี มูลค่าของเงินเป็น 8,400 บาท ซึ่งจะมากกว่า การนำเงิน 4,000 ไปลงทุนได้ผลตอบแทน 10% ต่อปี เป็นเวลา 7 ปี มูลค่าของเงินเป็น 7,794 บาท

เพราะผลของดอกเบี้ยทบต้น (Compound Interest) นั่นเอง ยิ่งลงทุนนานยิ่งมีดี

จำไว้ว่า…

ผลตอบแทนสูงที่คาดหวังอาจจะไม่เกิดขึ้น แต่ระยะเวลา คุณกำหนดเองได้

ดังนั้น…

จงหาเป้าหมายทางการเงินของท่านให้เจอ
จงอย่ากลัวการลงทุนจนเกินไป
จงศึกษาการลงทุนก่อนลงทุน
จงมีวินัยในการลงทุน
จงเริ่มลงทุน ณ บัด NOW!!!

โดย สมพจน์ พัดสุวรรณ
#wealthguru