ตีแผ่ความลับของกองทุนประเภท Active: เมื่อกองทุนประเภท Active ไม่ได้ Active จริง!!!

คุณชอบลงทุนกับกองทุนประเภท Active หรือ Passive?

คนส่วนใหญ่เชื่อว่าลงทุนกองทุนประเภท Active จะได้ผลตอบแทนมากกว่าตลาด

ทำไมผมจึงแนะนำต้องลงทุนแบบ Hybrid คือ Passive ผสม Active !!

วันนี้ผมมีคำตอบจากงานวิจัย

Passive Fund เป็นการลงทุนที่เน้นลงทุนให้ ได้ผลลัพธ์ใกล้เคียงกับดัชนีอ้างอิง ดังนั้น ผลตอบแทนจึงใกล้เคียงผลตอบแทนของตลาด กองทุนประเภทนี้ค่า Fee จะถูก

ส่วนกองทุนประเภท Active ที่พยายามทำให้ผลตอบแทนของกองทุนนั้นชนะ ผลตอบแทนของตลาด ดังนั้นกองทุนประเภทนี้จะมี Fee ที่แพงกว่า

คนส่วนใหญ่อยากได้ผลตอบแทนที่มากจึงยอมเสียค่า Fee ที่แพงขึ้น และคาดหวังว่าจะได้ผลตอบแทนมากกว่าตลาด

วันนี้ ผมจะมาตีแผ่ความลับของกองทุนประเภท Active ในประเทศไทย ผ่านการศึกษาและวิจัยของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สรุปผลงานวิจัยจาก สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ จากบทวิจัยเรื่อง “A new dataset for Thai Equity Mutual Fund Analysis”

ก่อนอื่นต้องมาทำความเข้าใจก่อนว่า จะวัดว่ากองทุนไหนเป็น Active ได้อย่างไร

ตามหลักสากลจะวัดตัววัด 2 ตัว คือ

“Active Share” เป็นตัววัดว่าให้น้ำหนักการลงทุนแตกต่างหรือเหมือน Index มากน้อยแค่ไหน

Active Share มีค่า 0-100% ยิ่งมาก หมายถึง ลงทุนแตกต่างจาก Index จะยิ่งมีความ Active มาก

“Tracking Error” เป็นตัววัด ผลตอบแทนแตกต่างจาก Index มากน้อยแค่ไหน

ยิ่ง Tracking Error ต่ำใกล้ 0 หมายถึง ผลตอบแทนใกล้เคียงกับ Index จะยิ่งมีความ Passive มาก

การวิจัยได้แบ่ง รูปแบบการลงทุนของกองทุนแบบ Active เป็น 4 กลุ่มดังนี้

Concentrated Stock Picks

Active Share > 60% คือ ลงทุนไม่เหมือน Index มากกว่า60%

Tracking Error >= 4% คือมีผลตอบแทนที่มากกว่า Index มากกว่าหรือเท่ากับ 4%

Diversified Stock Picks

Active Share > 60% คือ ลงทุนไม่เหมือน Index มากกว่า 60%

Tracking Error < 4% คือมีผลตอบแทนที่มากกว่า Index น้อยกว่า 4%

Closet Indexing

Active Share < 60% คือ ลงทุนไม่เหมือน Index น้อยกว่า 60%

Tracking Error < 4% คือมีผลตอบแทนที่มากกว่า Index น้อยกว่า 4%

Factor Bets

Active Share < 60% คือ ลงทุนไม่เหมือน Index น้อยกว่า 60%

Tracking Error >= 4% คือมีผลตอบแทนที่มากกว่า Index มากกว่าหรือเท่ากับ 4%

ผลงานวิจัยออกมารูปนี้

ตีแผ่ความลับของกองทุนประเภท Active: เมื่อกองทุนประเภท Active ไม่ได้ Active จริง!!!

ผมขอสรุปง่ายๆ ดังนี้

จำนวนของกองทุนแบบ Active ของไทยประมาณ 71% จะได้ผลตอบแทนใกล้เคียงกับ Index โดยจะใช้กลยุทธ์แบบ Closet Index กับ Diversified stock picks แต่เก็บค่าธรรมเนียมมากกว่า 1.61% โดยเฉพาะกองทุนที่ใช้กลยุทธ์แบบ Closet Index ส่วนใหญ่จะเก็บค่าธรรมเนียมมากกว่า 1.9% ขึ้นไป

กองทุนที่ใช้กลยุทธ์แบบ Closet Index จะมีสัดส่วนของ AUM  มูลค่าทรัพย์สินสุทธิของทุกกองทุนประมาณ 33% มากที่สุดเทียบกับทั้ง 4 กลยุทธ์

กองทุนที่เรียกตัวเองว่า เป็นแบบ Active แต่ไม่ได้ Active จริง ในแง่ผลตอบแทนไม่ได้แตกต่างจาก Index แต่เก็บค่าธรรมเนียมแพงกว่า

กองทุนที่ใช้กลยุทธ์แบบ concentrated stock pick up ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกองทุนขนาดเล็ก จะให้ผลตอบแทนมากกว่า Index แต่ค่าธรรมเนียมก็สูงตามไปด้วย และสัดส่วนของ AUM มูลค่าทรัพย์สินสุทธิของทุกกองทุน อยู่แค่ 20.82% เท่านั้น

สรุปผลงานวิจัยจาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ตีแผ่ความลับของกองทุนประเภท Active: เมื่อกองทุนประเภท Active ไม่ได้ Active จริง!!!

ผลงานวิจัยพบว่า “กองทุน Active ที่ผลการดำเนินการดีในอดีตนั้นไม่ต่อเนื่องไปถึงอนาคต”

กองทุน AA เป็นกองทุนที่ติดลำดับ1ในปี 2000-2004 แต่พอในปี 2005-2009 กลับติดลำดับ 9

หรือ กองทุน BB เป็นกองทุนที่ติดลำดับ 2ในปี 2000-2004แต่พอในปี 2005-2009 กลับติดลำดับ 71

เจอข้อมูลแบบนี้แล้ว จะเลือกอะไรดีละ ระหว่างกองทุนแบบ Passive กับ Active ??

จะลงทุน 100% ในกองทุนแบบ Passive เลยดีไหม

ผมจึงแนะนำว่า ควรจะผสมกันระหว่าง Passive กับ Active หรือ แบบ Hybrid  คือเป็นการรวมผลข้อดีของการลงทุนทั้ง 2 ประเภทนี้ไว้

ลงทุนกองทุนแบบ Passive ในระยะยาวที่มีค่าใช้จ่ายต่ำ พร้อมกับลงทุนกองทุนแบบ Active เพื่อไม่พลาดโอกาสการเติบโตในระยะกลาง เราสามารถจะเปลี่ยนหรือสลับกองทุนแบบ Active ไปได้เรื่อยๆ แต่เราจะไม่เปลี่ยนกองทุนแบบ Passive

ครั้งหนึ่ง Warren Buffett ชนะพนันผู้จัดการกองทุน Hedge Fund ด้วยกองทุนประเภท Passive Warren Buffett ได้ท้าพนันกองทุน Hedge Fund ผลคือ Hedge Fund  ได้ผลตอบแทน 24% หลังจากหักค่าธรรมเนียมแล้ว ในขณะที่ดัชนี S&P 500 ได้ผลตอบแทนมา 94%

Warren Buffett กำลังจะบอกอะไรเรา?

ท่านบอกว่า แท้จริง “วินัย เป็น Key ที่สำคัญอย่างหนึ่งในการลงทุน“

สิ่งที่เต่าชนะกระต่าย ไม่ใช่ความเร็วว่องไว แต่คือการก้าวต่อไปอย่างสม่ำเสมอ

การลงทุนไม่ได้จำเป็นต้องซับซ้อน ความเรียบง่ายก็สามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะยาวได้เช่นกัน

ผมได้ใช้แนวคิดการผสมการลงทุนแบบ Active และ Passive สร้างเป็นพอร์ตการลงทุนที่ชื่อ Global Aggressive Hybrid  จะลงทุนในสินทรัพย์ทั่วโลก ทั้งเชิงรุกและเชิงรับ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการให้เงินสร้างความมั่งคั่งในอนาคต

สนใจอ่านต่อได้ที่  https://www.finnomena.com/wealthguru/global-aggressive-hybrid-portfolio/

พอร์ตเก็บเงินก้อนเพื่อลูก และเพื่อเกษียณโดย WealthGuru