ลงทุนแบบเจาะกลุ่ม หรือแบบกระจายดี?: กรณีศึกษา GURUPORT – Global Aggressive Hybrid ปะทะ Running for Growth

การลงทุนจะต้องกระจายการลงทุน หนึ่งในคำสอนยอดนิยมสำหรับนักลงทุน แต่อีกด้านหนึ่งพบว่า การลงทุนจัดพอร์ตแบบโฟกัสจะทำให้ได้พอร์ตลงทุนโตเร็วกว่า

วันนี้ ผมลองเขียนข้อสังเกตบางอย่าง เพื่อเป็นอีกมุมมองหนึ่งที่จะมีประโยชน์ต่อนักลงทุน ผมขอเอา พอร์ต Global Aggressive Hybrid เปรียบเทียบกับ Running for Growth ของนายแว่นลงทุน

ข้อมูลของทั้งสองพอร์ตสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่
Global Aggressive Hybrid >> https://www.finnomena.com/port/wealthguru
Running for Growth >> https://www.finnomena.com/port/naiwaen

ผมขอสรุปข้อมูลของพอร์ตพอสังเขป

แนวคิดของพอร์ต Global Aggressive Hybrid

  • กระจายการลงทุนทั่วโลกในหลายสินทรัพย์
  • พอร์ตมีการกระจายการลงทุนแบบ Hybrid ในหลากมิติ กล่าวคือทั้งรุก และ รับ ไปพร้อมๆ กัน
  • สินทรัพย์ที่ลงทุนจะมีหุ้นไทย หุ้นต่างประเทศ ตราสารหนี้ และกองทุนอสังหาริมทรัพย์ ลงทุนในไทย – สิงคโปร์

แนวคิดของพอร์ต Running for Growth

  • เน้นการลงทุนเฉพาะเจาะจง
  • พอร์ตมีการเน้นการลงทุนในกองทุนหุ้นที่มีแนวโน้มการเติบโตสูง เกาะกระแส Megatrend ไปได้ เช่น การแพทย์ ระบบราง โทรคมนาคม เป็นต้น
  • สินทรัพย์ที่ลงทุนจะเน้นไปที่หุ้นไทยแนว Active และมีเน้นกลุ่ม IT

เรามาดูผลการดำเนินงานที่ผ่านมา

พอร์ตแบบ Global Aggressive Hybrid

ลงทุนแบบเจาะกลุ่ม หรือกระจายดี?: กรณีศึกษา GURUPORT – Global Aggressive Hybrid ปะทะ Running for Growth

ข้อมูลผลตอบแทนย้อนหลัง ตั้งแต่วันที่ 22 เมษายน 2562 – 30 พฤศจิกายน 2562
ที่มา: FINNOMENA

ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต

พอร์ตแบบ Running for Growth

ลงทุนแบบเจาะกลุ่ม หรือกระจายดี?: กรณีศึกษา GURUPORT – Global Aggressive Hybrid ปะทะ Running for Growth

ข้อมูลผลตอบแทนย้อนหลัง ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2562 – 30 พฤศจิกายน 2562
ที่มา: FINNOMENA

ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต

ความแตกต่างเห็นได้ชัดเจน

1. ผลตอบแทน

หากดูผลตอบแทน ณ เดือนพฤศจิกายน 2562 พอร์ต Running for Growth ได้ผลตอบแทนมากกว่าสมชื่อพอร์ต โดยได้ผลตอบแทนอยู่ประมาณ 8% ในขณะที่ Global Aggressive Hybrid ประมาณ 3%

2. ความผันผวน

พอร์ต Global Aggressive Hybrid มีความผันผวนน้อยกว่า โดยมี Max Drawdown อยู่แค่ประมาณ -3% ในขณะที่ Running for Growth อยู่ที่ ประมาณ -8%

แล้วแบบไหนดีกว่ากัน????

คำตอบอยู่ที่ตัวนักลงทุนครับ เพราะกลยุทธ์การสร้างพอร์ตทั้งสองแบบไม่เหมือนกัน เป้าหมายคนละอย่างกัน

พอร์ต Running for Growth เหมาะกับคนที่

  • รับความเสี่ยงสูงได้ เช่น เห็นตัวเลข -10% แล้วรู้สึกเฉยๆ  เพราะถ้ารับไม่ได้ก็อาจจะขายพอร์ตออกไปก่อน  ซึ่งแท้จริงแล้ว ความเสี่ยงที่รับได้กับความเสี่ยงของพอร์ตมันคนละระดับกัน
  • อายุยังน้อย เหมาะกับคนที่เพิ่งเริ่มทำงาน ไม่มีภาระทางการเงินมาก
  • มีเป้าหมายในการลงทุนระยะยาวได้มากกว่า 7 ปีขึ้น
  • เป้าหมายต้องการสร้างการลงทุนแบบเติบโต ผลตอบแทนจะคาดหวังอยู่ประมาณ 10-12% เฉลี่ยต่อปี

พอร์ต Global Aggressive Hybrid เหมาะกับคนที่

  • รับความเสี่ยงปานกลาง ทนความผันผวนไม่ได้มาก
  • อายุวัยกลางคน ต้องการการลงทุนไม่ผันผวนสูงมาก
  • มีเป้าหมายในการลงทุนระยะยาวได้มากกว่า 5 ปีขึ้น
  • เป้าหมายต้องการสร้างผลตอบแทนมั่นคงในระยะยาว ผลตอบแทนจะคาดหวังอยู่ประมาณ 6-8% เฉลี่ยต่อปี

 ไม่มีพอร์ตที่ดีที่สุด  มีแต่พอร์ตที่เหมาะสมกับเป้าหมายของนักลงทุน

Wealthguru

ติดตาม WealthGuru ได้ที่เพจ https://www.facebook.com/wealthguruconsulting


เริ่มลงทุนเพื่อเกษียณด้วยพอร์ตลงทุนแบบ Global Aggressive Hybrid พอร์ตกองทุนที่จัดโดย WealthGuru ซึ่งลงทุนในสินทรัพย์ทั่วโลก ทั้งเชิงรุกและเชิงรับ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการให้เงินสร้างความมั่งคั่งในอนาคต สามารถดูรายละเอียดและลงชื่อรับบริการได้ที่นี่ https://www.finnomena.com/port/wealthguru/

พอร์ตเก็บเงินก้อนเพื่อลูก และเพื่อเกษียณโดย WealthGuru

สนใจลงทุนในพอร์ต RUNNING for Growth พอร์ตกองทุนรวมหุ้นซึ่งจัดโดยนายแว่นลงทุน คลิกที่นี่เพื่อดูรายละเอียดเลย https://www.finnomena.com/port/naiwaen

คำเตือน

ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน |  ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน