อะไรที่ NAV ของกองทุนไม่บอกคุณ

คุณเคยคิดแบบนี้หรือไม่

NAV สูงจัง แบบนี้แพงไป
NAV ต่ำแบบนี้ น่าซื้อจัง
NAV สูง กองทุนต้องดีแน่เลย
NAV ต่ำ กองทุนไม่ดีแน่เลย

นักลงทุนหลายคนยังเข้าใจผิดเรื่องเกี่ยวกับการประเมิน performance ของกองทุน หลายคนคิดว่า มูลค่าของ NAV สูง จะบ่งบอกว่า  กองทุนนั้นจะมี performance ที่ดี

บางคนยังเข้าใจผิดถึงขึ้น ถ้า NAV สูง แปลว่า กองทุนราคาแพงไม่ควรซื้อ ถ้า NAV ต่ำ แปลว่า กองทุนราคาถูกน่าจะซื้อ

ทีมวิจัย Morningstar ได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับ NAV ดังนี้

1) มูลค่าของ NAV คล้ายคลึงกับราคาของหุ้น อย่างไร

มีความคล้ายคลึงกันระหว่างมูลค่าสินทรัพย์กองทุนรวมและ ราคาหุ้น

ยกตัวอย่าง ราคาหุ้น A ราคา 10 บาทและมีจำนวนหุ้น 1 ล้านหุ้น
ดังนั้นจะมีสินทรัพย์อยู่ที่ 10 ล้านบาท

แต่สำหรับกองทุน จะประกอบด้วย หุ้น ตราสารหนี้ เงินสด ขึ้นอยู่กับนโยบายการลงทุน

ดังนั้นสินทรัพย์ของกองทุนจะประกอบด้วยผลรวมของสินทรัพย์แต่ละประเภทรวมกัน หักออกด้วย ค่าใช้จ่ายในการบริหารกองทุนหลังจากนั้นก็หารด้วยจำนวนหุ้นที่มีทั้งหมด

เช่น มีสินทรัพย์อยู่ที่ 11 ล้านบาท ค่าใช้จ่าย 1 ล้านบาท และมีจำนวนหุ้น 1 ล้านหุ้น ดังนั้น NAV จะเป็น 10 บาท

2) การเคลื่อนไหวของ มูลค่าของ NAV และ ราคาหุ้นเคลื่อนไหวด้วยเหตุผลที่แตกต่างกัน

แม้จะมีความคล้ายคลึงกันระหว่างราคาหุ้นกับ NAV แต่ก็มีหลายอย่างไม่เหมือนกัน

การขึ้นลงของหุ้นอาจเกิดจากการคาดการณ์อนาคตของบริษัท เช่น รายได้ และกำไร ปัจจัยเหล่านี้มีผลต่อการรับรู้ของนักลงทุน ทำให้เกิด demand และ supply ตามมาราคาหุ้นเคลื่อนไหวตาม demand และ supply เป็นหลัก

แน่นนอนราคาหุ้นในตลาดย่อมมีผลกระทบกับ มูลค่าของ NAV แต่ไม่ทั้งหมด เพราะ ถ้าเป็นกองทุนเปิด เงินใหม่เข้ามาลงทุน หรือ มีการขายกองทุน

ดังนั้น มูลค่าสินทรัพย์และจำนวนหุ้นของกองทุนจะมีเพิ่มและลดได้ ทำให้มูลค่า NAV อาจจะมีทิศทางคนละ กับทิศทางของราคาหุ้นก็ได้

3) มูลค่าของ NAV จะเป็นราคาต่อวัน

แตกต่างกันอย่างชัดเจน เพราะ ราคาหุ้นจะเคลื่อนไหวทั้งวันในช่วงตลาดเปิด แต่สำหรับราคาของ NAV จะเป็นราคาตอนปิดตลาด

ดังนั้นถ้าซื้อกองทุนระหว่างวันนี้ จะต้องรอคำนวณราคาต้องปิดตลาด ซึ่งจะประกาศของวันพรุ่งนี้

4) NAV ไม่ควรใช้เพื่อเปรียบเทียบกองทุน

ตามที่ได้กล่าวไปแล้ว NAV อาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยที่ไม่เกี่ยวข้องกับมูลค่าของกองทุน ดังนั้นจึงเป็นความผิดพลาดที่จะใช้เป็นเกณฑ์

5) ใช้มาตรการการประเมินอื่นที่ไม่ใช่ NAV

แทนที่จะเน้นดูที่ NAV เพื่อวัดว่า กองทุนมีความน่าสนใจหรือไม่ อาจจะใช้ ผลตอบแทนรวมเทียบกับ เกณฑ์มาตรฐานตลาดที่เหมาะสม เช่นกองทุนหุ้น ก็ต้องเทียบกับ SET หรือ SET TR หรือ Fund A ได้ผลตอบแทนระยะ 3 ปี ประมาณ 12% แต่ SET TR อยู่ที่ 10% ก็แสดงว่า ชนะตลาด

หลังจากนั้นให้ใช้ peer percentile ของกลุ่มด้วยกันว่า อยู่ในกลุ่ม percentile ที่เท่าไร โดยวัดทั้งผลตอบแทนและความผันผวน เช่น peer กลุ่มเป็นหุ้นขนาดใหญ่  Fund A มีผลตอบแทนอยู่ใน 5th percentile ย่อมมี ผลงานดีกว่า Fund B มีผลตอบแทนอยู่ใน 50th percentile

จากเนื้อหาที่กล่าวข้างต้น ท่านสามารถจะตอบคำถามที่ว่า

  • ราคา NAV ของ LTF/RMF สูงจัง แบบนี้แพงไปหรือไม่
  • ราคาของหุ้นจึงไม่ได้ เป็นตัวแทนของมูลค่าของ NAV ทั้งหมด
  • การประเมินผล performance ด้วยกองทุนจึงจะใช้ มูลค่า NAV ไม่ได้

ความเข้าใจที่ว่า…
มูลค่า NAV สูงนั้นแพงเกินไป ไม่น่าจะซื้อ
มูลค่า NAV สูง เป็นกองทุนที่ดี
มูลค่า NAV ต่ำนั้นถูก น่าจะซื้อ

จึงเป็นความเข้าใจผิดอย่างยิ่ง…

โดย สมพจน์ พัดสุวรรณ

ดัดแปลงจากบทความเรื่อง  What Your Fund’s NAV Isn’t Telling You

จาก morningstarthailand.