สารบัญ


เอเชีย อีกทางเลือกลงทุนระยะยาวที่น่าสนใจ

ในโลกของการลงทุน นอกจากประเทศตะวันตก เช่น สหรัฐฯ หรือยุโรปแล้ว ประเทศอีกฝั่งที่น่าสนใจไม่น้อยคือเอเชีย ที่รวมประเทศหลายแบบหลายคาแรคเตอร์เอาไว้ในภูมิภาค และที่สำคัญ นี่คือภูมิภาคที่อาจกล่าวได้ว่าเป็นอนาคตด้วยเช่นกัน

หากใครกำลังมองหาทางเลือกกระจายการลงทุนไปยังตลาดอื่น ๆ ที่น่าสนใจ และมองว่าเอเชียคือทางเลือกที่ใช่ แต่ก็ไม่รู้ว่าจะเลือกไปทางไหนดี เพราะมีประเทศที่น่าจับตามองมากมาย วันนี้ผมสรุป 3 ตลาดในภูมิภาคเอเชียมาให้ทุกท่านได้ชมกัน จะมีตลาดอะไรบ้าง ลองไปดูกันครับ

อยากลงทุนเอเชีย 3 ตลาดนี้น่าจับตา

ทอดตามองไปยังตลาดเอเชีย จะเห็นได้เลยว่าตลาดแห่งนี้มีทางเลือกหลายไม่ว่าจะเป็นตลาดประเทศพัฒนาแล้ว (Developped Market: DM) เช่น สิงคโปร์ และญี่ปุ่น ตลาดกำลังพัฒนา (Emerging Market: EM) เช่น อินเดีย ไปจนถึงตลาดชายขอบ (Fontier Market) ที่เปรียบได้กับพื้นที่แห่งโอกาสที่รอการค้นพบ

ผมมองว่า ณ เวลานี้ มีอยู่ 3 ตลาดด้วยกันที่มีศักยภาพสูงในการเติบโตระยะยาว และที่สำคัญคือ “กำลังอยู่ในจุดที่น่าลงทุน” ตลาดนั้นก็คือ เกาหลีใต้ หัวใจของวงการเทคฯ เวียดนาม น้องใหม่มาแรงแห่งแดนเอเชียอาคเนย์ และ จีน พี่ใหญ่แห่งเอเชีย

ทีนี้เราลองมารีวิวโอกาสระยาวของ 3 ตลาดนี้กันครับ

ทะยานระยะยาว ไปกับ 3 ตลาดแห่งเอเชีย

1. เกาหลีใต้ หัวใจของการพัฒนาเทคโนโลยี

พูดถึงเกาหลีใต้ มนต์เสน่ห์อย่างแรกของตลาดแห่งนี้คือศักยภาพในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ไม่ว่าจะเป็นซีรีส์หรือวงดนตรีแนวเคป็อปที่ทรงพลังถึงขั้นเป็นซอฟต์พาวเวอร์ได้ แต่อีกเรื่องที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันและเป็นกุญแจของการเติบโตในระยะยาวคือ การเป็นเจ้าของเทคโนโลยีชั้นสูง ที่มีบทบาทสำคัญในปัจจุบันและอนาคต

มองไปที่อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ซึ่งที่เป็นกระดูกสันหลังของเทคโนโลยีที่ขณะนี้ไม่ว่าจะเป็น ด้าน IT, AI หรือรถยนต์ไฟฟ้า บริษัทรับผลิตที่ถือเป็นเบอร์ 1 คือ TSMC จากไต้หวัน ขณะที่บริษัทอันดับ 2 คือ Samsung จากเกาหลีใต้นั่นเอง นี่คือข้อเท็จจริงที่หลายคนอาจมองข้ามแต่ถือเป็นจุดสำคัญที่ทำให้เกาหลีใต้มีโอกาสในคลื่นการพัฒนาเทคโนโลยีในระยะยาว

นอกจากนี้ เกาหลียังเป็นเจ้าของเทคโนโลยีชั้นสูงอื่น ๆ อีกจำนวนมาก ถ้าลองดูในดัชนี KOSPI จะเห็นว่าบริษัทเกือบ 1 ใน 3 อยู่ในธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศ และราว 1 ใน 5 อยู่ในธุรกิจอุตสาหกรรมหนักซึ่งมีมูลค่าสูง สอดคล้องกับการส่งออกหลัก ๆ ที่เน้นสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ (เช่น แผงวงจร, เซมิคอนดักเตอร์, โทรศัพท์ และแบตเตอรี่), ยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ และเคมีภัณฑ์

2. เวียดนาม ดาวรุ่งพุ่งแรงน่าจับตา

การระบาดของโควิด-19 เป็นเหมือนบททดสอบศักยภาพการเติบโตของแต่ละประเทศได้เป็นอย่างดีว่าจะสามารถพัฒนาต่อไปได้หรือไม่ภายใต้สถานการณ์ที่ยากลำบาก ผลลัพธ์ก็คือ เวียดนามยังสามารถเติบโตเป็นบวก (2.9% และ 2.6% ในปี 2020 และ 2021) ก่อนจะกลับมาทะยาน 8% ในปี 2022

นอกจากนี้ ถ้ามองย้อนหลังกลับไป 10 ปี เวียดนามสามารถเติบโตได้เกิน 5% ทุกปี หากไม่นับช่วงโควิด และสิ่งที่น่าสนใจมากกว่าเรื่องราวเบื้องหน้าที่หวือหวา คือปัจจัยเบื้องหลังอันแข็งแกร่งที่หนุนอยู่หลากหลายปัจจัย

อัตราการเติบโตของ GDP เวียดนาม 2012-2022 | Source: World Bank Data

การเติบโตอันร้อนแรงของดาวรุ่งแห่งนี้ถูกหนุนหลังจากประชากรราว 100 ล้านคน ซึ่ง 1 ใน 3 ถูกจัดเป็นชนชั้นกลาง ซึ่งช่วยทั้งในเรื่องผลิตภาพและการบริโภค นอกจากนี้ เวียดนามยังมีสัดส่วนคนวัยทำงาน (อายุต่ำกว่า 65 ปี) ที่สูงถึง 90% หรือประมาณ 89 ล้านคน นอกจากนี้ ยังมีบริษัทชั้นนำจำนวนมากเข้ามาลงทุนในเวียดนาม ไม่ว่าจะเป็น Apple, Samsung, LG หรือ Panasonic เป็นต้น

3. จีน ผู้ท้าชิงบัลลังก์อเมริกา

ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา จีนต้องเผชิญกับวิกฤติซ้อนวิกฤติ ทั้งมาตรการโควิดเป็นศูนย์ การไล่ควบคุมบริษัทเทคฯ การคุมเข้มคริปโทเคอร์เรนซี ไปจนถึงวิกฤติอสังหาริมทรัพย์ที่ยืดเยื้อยาวนาน จนทำให้คนเริ่มตั้งคำถามกับตลาดพี่ใหญ่ของเอเชียแห่งนี้

หากย้อนไปก่อนหน้านี้ สถานะของจีนเป็นเพียงโรงงานรับผลิตหรือแบรนด์ที่ด้อยเรื่องคุณภาพ แต่ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาบริษัทจากจีนไต่สถานะกลายเป็นบริษัทชั้นนำ เช่น Huawei ที่เป็นผู้นำด้าน 5G Tencent ที่เป็นบริษัทอินเทอร์เน็ตชั้นนำ BYD ที่ขึ้นไปทาบชั้น Tesla รวมไปถึงบริษัทอื่น ๆ อีกมากมาย เห็นได้ชัดถึงความแข็งแกร่งของบริษัทจีนที่ในขณะเดียวกันก็เป็นเครื่องยนต์ของเศรษฐกิจจีน 

ยังไม่นับอีกว่าประชากรกว่า 1 พันล้านคนที่เป็นขุมพลังที่ช่วยสร้างความเติบโตผ่านการบริโภคภายในประเทศ ซึ่งหมายความว่าจีนไม่ต้องฝากความหวังในการเติบโตระยะยาวไว้กับประเทศอื่น ๆ ซึ่งไม่แน่ไม่นอนมากจนเกินไป

แม้ตอนนี้จีน จะเจอปัญหารุมเร้าหลายเรื่องแต่สถานะผู้ท้าชิงบัลลังก์ของสหรัฐฯ ก็ยังไม่ไปไหน โดยล่าสุด นักวิเคราะห์ของบลูมเบิร์กยังมองว่า GDP ของจีนจะโตแซงสหรัฐฯ ได้ดังเดิม แม้อาจจะไปถึงจุดนั้นได้ช้ากว่าเดิม 1 ทศวรรษ (จากทศวรรษ 2030 เป็นกลางทศวรรษ 2040) แต่แน่นอนว่าสถานะที่เทียบเคียงสหรัฐฯ ได้นั้นไม่ใช่ว่าใครก็ทำได้

ส่อง 5 บริษัทที่ใหญ่ที่สุด ของ 3 ตลาดเอเชีย

เกาหลีใต้

  • Samsung Electronic ผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าชั้นนำ
  • LG Energy Solution ผู้ผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าชั้นนำ
  • SK Hynix บริษัทเซมิคอนดักเตอร์
  • Samsung Biologics บริษัทสาย Biotech ของ Samsung
  • Hyundai ผู้ผลิตรถยนต์ชั้นนำ

 

เวียดนาม

  • Vietcombank ธนาคารที่ใหญ่ที่สุดของเวียดนาม
  • Bank for Investment and Development of Vietnam อีกหนึ่งธนาคารชั้นนำของเวียดนาม
  • Petrovietnam  รัฐวิสาหกิจด้านการผลิตและการค้าน้ำมัน
  • Vinhomes ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดในเวียดนาม
  • Hoa Phat Group บริษัทเหล็กกล้าที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน

 

รีวิวกองทุน MFTECH: ก้าวไปอีกขั้นกับการปฏิวัติอุตสาหกรรมการเงิน

จีน

  • Tencent บริษัทอินเทอร์เน็ตชั้นนำ โดดเด่นเรื่องธุรกิจบันเทิง
  • Kweichow Moutai ผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • ICBC ธนาคารที่มีสินทรัพย์มากที่สุดในโลก
  • Alibaba บริษัทอินเทอร์เน็ตชั้นนำ โดดเด่นในเรื่องอีคอมเมิร์ซ
  • China Mobile ผู้ให้บริการด้านโทรคมนาคมที่ใหญ่ที่สุดในจีน

 

ทำไมตอนนี้ คือจังหวะลงทุน ของทั้ง 3 ตลาด 

เกาหลีใต้

  • ภาคการส่งออกเซมิคอนดักเตอร์เกาหลีใต้ มีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง ตามการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์โลก และได้อานิสงส์จากการใช้งานด้าน Generative AI ของผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ ซึ่งจะชี้นำการฟื้นตัวของกำไรตลาดหุ้นในอนาคต 
  • ทั้งนี้ เกาหลีใต้เป็นประเทศที่พึ่งพาการส่งออกเป็นหลัก ส่งผลให้เกาหลีใต้เป็นประเทศที่มีความอ่อนไหวต่อเศรษฐกิจโลก และ Sentiment ที่เกี่ยวข้องกับเซมิคอนดักเตอร์ในระดับที่สูง
  • ส่วนหุ้น Samsung ซึ่งเป็นหุ้นขนาดใหญ่อันดับ 1 ของเกาหลีใต้ได้ประกาศกำไร 3Q23 ดีกว่าคาด และฟื้นตัวก้าวกระโดด 262% QoQ สะท้อนว่ากำไรของ Samsung ได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้วใน 2Q23 นอกจากนี้ เตรียมรับรู้รายได้จากการเป็น Supplier ให้แก่ NVIDIA ใน 4Q23

เวียดนาม

  • การส่งออกเวียดนามฟื้นต่อเนื่อง เศรษฐกิจทั่วโลกที่แกร่งกว่าคาด หนุนให้ดัชนีสำคัญทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับการส่งออก อาทิ Industrial Production, Manufacturing PMI และยอดการส่งออกยังอยู่ในแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง หนุนการบริโภคเวียดนามยังทรงตัวในระดับสูง 7.0% YoY หนุนให้คาดการณ์การเติบโตของกำไรบริษัทจดทะเบียนในเวียดนามยังโดดเด่น 
  • ขณะที่ความเป็นไปได้ในการหยุดขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ Fed ซึ่งเป็นธนาคารกลางของสหรัฐฯ สกุลเงินที่มีอิทธิพลสูงต่อสภาพคล่องของเวียดนาม หนุนให้สภาพคล่องของเวียดนามคลายความตึงตัวลงมา เมื่อประกอบกับ PE ที่ 7.8 เท่า ซึ่งถูก จากการปรับตัวลงในช่วงก่อนหน้า และคาดการณ์กำไรที่เติบโตสูง

 

จีน

  • ที่ผ่านมาจีนยังน่ากังวลจากปัญหาความเชื่อมั่นที่ยังต่ำ ทำให้แม้ตลอดปีที่ผ่านมา ธนาคารกลางจีน (PBOC) จะเสริมสภาพคล่องผ่านทางการลดอัตราดอกเบี้ย การลดอัตราการกันสำรอง และตลาดพันธบัตรรัฐบาลเข้าระบบอย่างต่อเนื่อง แต่ยังไม่สามารถทำให้สินเชื่อและการบริโภคขยายตัวได้อย่างมีนัยสำคัญ
  • อย่างไรก็ตาม ในช่วงเดือนตุลาคมที่ผ่านมา จีนออกนโยบายการคลังออกมาในที่สุด แม้ไม่ใช่นโยบายระดับ Bazooka การคลังแต่ก็ช่วยสร้างความหวังให้กับการเติบโตจีน โดยรัฐบาลจีนมีพัฒนาการมากขึ้น ด้วยการเพิ่มการขาดดุลงบประมาณ สู่ระดับ 3.8% GDP จากเดิมตั้งเป้าหมายขาดดุลที่ระดับ 3.0% ของ GDP เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมกว่า 1 ล้านล้านหยวน 
  • นี่คือการตัดสินใจเพิ่มการขาดดุลงบประมาณระหว่างปีครั้งแรกตั้งแต่ปี 2008 ซึ่งเกิดเหตุแผ่นดินไหวในเสฉวน และปี 1990 หลังเกิดวิกฤติการเงินในเอเชีย หนุน Sentiment เชิงบวกต่อตลาดหุ้น และคาดการณ์เศรษฐกิจให้ปรับสูงขึ้น เมื่อประกอบกับ valuation ที่ถูกและ downside จำกัด 

แนะนำกองทุน สำหรับ 3 ตลาดเอเชีย ที่มีโอกาสเติบโตระยะยาว

กองทุนหุ้นเกาหลีใต้: SCBKEQTG

สำหรับใครที่กำลังสนใจตลาดแห่งนี้ ขอแนะนำ SCBKEQTG กองทุนเปิดไทยพาณิชย์หุ้นเกาหลี โดย SCBKEQTG เป็นกองทุนที่ FINNOMENA FUNDS Investment Team แนะนำให้ทยอยเข้าสะสมผ่าน MEVT Call by FINNOMENA FUNDS ลงทุนในกองทุนหลักคือ iShares MSCI South Korea ETF ที่มีค่า Correlation กับ KOSPI Index ตั้งแต่จัดตั้งที่ 0.888

กองทุนหลักมีนโยบายการลงทุนแบบ Passive Management เพื่อให้สามารถสร้างผลตอบแทนได้ใกล้เคียงหรือเทียบเท่ากับผลตอบแทนจากการลงทุนในดัชนี MSCI Korea 25/50

ทรัพย์สินที่กองทุนหลักของ SCBKEQTG ลงทุน 10 อันดับแรก | Source: Fund Factsheet ของ iShares MSCI South Korea ETF as of 11/2023

ข้อมูลบริษัทอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ในอนาคต และการลงทุนของกองทุน SCBKEQTG มิได้ลงทุนใน 10 บริษัทข้างต้นนี้เสมอไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าบริษัทใด จะเข้าเงื่อนไขตรงกับนโยบายของกองทุน

กองทุนหุ้นเวียดนาม: PRINCIPAL VNEQ-A

กองทุน PRINCIPAL VNEQ-A หรือ กองทุนเปิดพรินซิเพิล เวียดนาม อิควิตี้ ชนิดสะสมมูลค่า เป็นกองทุนที่ทาง FINNOMENA FUNDS Investment Team กำลังแนะนำผ่าน MEVT Call ซึ่งมองทั้งปัจจัยมหภาค การเติบโตกำไร มูลค่าสินทรัพย์ และปัจจัยเทคนิค 

มีนโยบายการลงทุนที่เน้นการลงทุนระยะยาว บริหารโดยผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในการลงทุนในประเทศและมีนักวิเคราะห์ที่เข้าใจภาษาเวียดนามติดตามข้อมูลได้อย่างใกล้ชิด มีการถือครองหุ้นที่มีศักยภาพในการเติบโตสูง แม้ติดเกณฑ์ FOL (Foreign Ownership Limit) สร้างโอกาสเหนือกองทุนอื่น ในการเข้าถึงหุ้นคุณภาพดีแต่อาจเข้าถึงได้ยาก

ทรัพย์สินที่ PRINCIPAL VNEQ-A ลงทุน 5 อันดับแรก | Source: Fund Factsheet ของกองทุน PRINCIPAL VNEQ-A as of 10/2023

ข้อมูลบริษัทอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ในอนาคต และการลงทุนของกองทุน PRINCIPAL VNEQ-A มิได้ลงทุนใน 5 บริษัทข้างต้นนี้เสมอไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าบริษัทใด จะเข้าเงื่อนไขตรงกับนโยบายของกองทุน

กองทุนหุ้นจีน: K-CHINA-A(A)

กองทุนหุ้นจีนที่ FINNOMENA FUNDS Investment Team แนะนำภายใต้กรอบ MEVT Call ซึ่งมองทั้งปัจจัยพื้นฐานและปัจจัยทางเทคนิค คือ K-CHINA-A(A) กองทุนเปิดเค ไชน่า หุ้นทุน-A ชนิดสะสมมูลค่า

ลงทุนผ่านกองทุนแม่ JPMorgan Funds – China Fund ด้วยกลยุทธ์คัดเลือกหุ้นแบบ bottom-up เน้นลงทุนในกลุ่มเศรษฐกิจใหม่ (New Economy) ที่ได้ประโยชน์จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจระยะยาวของรัฐบาลจีน

ทรัพย์สินที่ K-CHINA-A(A) ลงทุน 5 อันดับแรก | Source: Fund Factsheet ของกองทุน K-CHINA-A(A)  as of 10/2023

ข้อมูลบริษัทอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ในอนาคต และการลงทุนของกองทุน K-CHINA-A(A) มิได้ลงทุนใน 5 บริษัทข้างต้นนี้เสมอไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าบริษัทใด จะเข้าเงื่อนไขตรงกับนโยบายของกองทุน

FINNOMENA FUNDS Investment Team
แนะนำลงทุนในกองทุน SCBKEQTG, PRINCIPAL VNEQ-A และ K-CHINA-A(A)

สามารถศึกษารายละเอียดของกองทุนเพิ่มเติมได้ที่ https://www.finnomena.com/fund/ 


ที่มา

คำเตือน 

ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย |  คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ FINNOMENA FUNDS ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในกรอบระยะเวลาตามวัตถุประสงค์การลงทุนที่แตกต่างกันตามคำแนะนำ | บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FINNOMENAPORT

iran-israel-war