Ask-guru 13 Feb 16

ตลาดหุ้น จีน ลงมามากขนาดนี้ (-20% ตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว) เชื่อว่าหลายท่านคงอยากทราบทั้งที่มีสัดส่วนการลงทุนอยู่ก่อนแล้วรอถัว (เศร้า) หรือกำลังจะเข้าลงทุน (ยิ้ม?)

โดยเริ่มสงสัยจากคุณ Paisarn Naprasert สอบถามว่า

“กองทุนหุ้นจีนสามารถเข้าลงทุนได้แล้วหรือยัง และมีกองทุนไหน น่าสนใจบ้าง”

แถมด้วยคำถามเพื่อความกระจ่างจากคุณ Phuwanate Srithong

“TMBCHEQ เป็น H-share หรือ A-share ครับ แล้วน่าสนใจไหมครับ มีกองเทียบเคียงไหนบ้าง ครับ ถ้าลงทุนใน TMBCHEQ ควรระวังเรื่องอะไรบ้างครับ”

ยังไม่หมด ตามด้วยคุณ Chaivat Jirapummin

“อยากทราบว่า h-share มี downside risk มากไหม”

 

กูรูหมอนัท คลินิกกองทุน จึงจัดให้เพื่อความกระจ่าง ตามด้านล่างเลย

  1. TMBCHEQ เป็น H-share รึ A-share ครับ
    แล้วน่าสนใจไหมครับ มีกองเทียบเคียงไหนบ้าง ครับ
    ถ้าลงทุนใน TMBCHEQ ควรระวังเรื่องอะไรบ้างครับ

– TMBCHEQ เป็น A-share ครับ ที่จะไปลงทุนกับหุ้น 50 ตัวแรก(ตามมูลค่าตลาด)
ความเสียงของตลาดหุ้นจีน ก็คือความผันผวนที่เกิดจากการลงทุนของนักลงทุนรายย่อย บริษัทจดทะเบียนที่ยังไม่ได้มาตรฐานเท่าไหร่นัก และสภาพตลาด เศรษฐกิจของจีนที่กำลังมีการปฏิรูปครับ
ดังนั้นการลงทุนใน A-share ต้องใช้ความระมัดระวังมากกว่าปกติครับ

  1. h-share มี downside risk มากไม้
    – จากสภาพตลาดปัจจุบัน ผมมองว่าอาจจะยังเห็นการปรับตัวลดลงได้อีกครับ แต่คิดว่าไม่มาก เนื่องจากมูลค่าหุ้นของ h-share ดูแล้วค่อนข้างถูกครับ
    – ถึงแม้ว่าแนวโน้มของผลกำไรบริษัทใน H-share จะดูไม่สูง แต่เงินปันผลก็ยังมีให้ในระดับที่น่าพอใจ ดังนั้น ถ้าลงทุนแล้วถือนาน ๆ ก็น่าสนใจมากครับ

ส่วนกองทุนที่คล้าย กับ TMBCHEQ ก็มี SCBCHA ครับ ที่ไปลงทุนใน A-share แต่เป็น China AMC CSI300 Index ETF แทนครับ

ส่วนกองทุนที่น่าสนใจนั้น

ผมมองว่าการลงทุนในจีน ถ้าจะลงทุนในกองทุน Passive Fund หรือ ตามดัชนีตลาดนั้น ค่อนข้างจะผันผวนพอสมควร
การลงทุนในตลาดที่ยังไม่ พัฒนา ผมคิดว่ากองทุน Active Fund น่าจะเหมาะสมกว่าครับ

ส่วนตัวเลือกนั้น ผมมองไว้ 2 ตัวคือ
1. TMBCOF ที่เน้นการลงทุนใน New China ครับ หรือ กลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้ประโยชน์จากการปฏิรูปเศรษฐกิจของจีนครับ ถือว่าน่าสนใจมากทีเดียว
2. K-CHINA จะเน้นการลงทุนในหุ้นพื้่นฐานดี ตามสไตล์ Fedelity ครับ ซึ่งจะลงทุนทั้ง A-Share และ H-Share ซึ่งตอนนี้สัดส่วนน่าจะ 30/70 ครับ

ปล. ทั้งสองกองทุนเป็นกองทุนที่ลงทุนใน Greater China ครับ (ประเทศจีนทั้งหมด) แต่สัดส่วนจะปรับอย่างไรขึ้นกับ ผจก. กองทุนครับ

แต่อย่างไรก็ตาม กองทุนที่ดีที่สุดไม่มี เนื่องจากบางปีกองทุนบางกองทุนก็น่าจะได้ผลตอบแทนที่ดี สลับกันไป
และค่าธรรมเนียมก็ไม่เท่ากัน ดังนั้นเวลาเลือกก็ต้องตรวจสอบ และ หากองทุนที่ถูกใจเรา ได้ผลตอบแทนที่ตรงตามเป้าหมายของเราครับ

Screen Shot 2559-02-13 at 13.15.32

แต่ขอได้โปรดอย่าลืมว่า การลงทุนมีความเสี่ยง ควรศึกษาการลงทุนนั้นๆให้ละเอียดถี่ถ้วนก่อนการตัดสินใจ เราในฐานะ FINNOMENA หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้่เป็นส่วนหนึ่งในทุกขั้นตอนก่อนการลงทุนของท่านเพื่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดของคุณครับ

โดยฟังก์ชั่น Ask Guru เป็นอีกหนึ่งการใข้งานที่แอดมึนเชื่อตอบโจทย์นักลงทุนได้โดยตรงเลย (ก็แน่ละให้ตั้งคำถามเองเลยนี่นา จะไม่ตรงได้ไง)

https://www.finnomena.com/ask-guru

ซึ่งเรามีเหล่า กูรูแวะเวียนกันมาคลายความสงสัยให้เป็นประจำอยู่แล้ว อาจจะทันใจบ้างไม่ทันใจบ้าง ก็ขออภัยมา ณ ที่นี้นะครับ

 

และในช่วงที่ผ่านมาเห็นมีคำถามประมาณนี้เลย ขอรวบรวมบทความที่น่าสนใจไว้ให้อ่านต่อเนื่องกันเลยครับ

จีนประกาศลดค่ากลางค่าเงินหยวน เพื่อ? โดย Mr.Messenger

https://www.finnomena.com/mr-messenger/market-insights/2016/01/12/14/china-devalue-yuan/

จีน จะใช้เครื่องมือที่เรียกว่า “การลงทุน” เปลี่ยนสมดุลของโลกได้หรือไม่?

https://www.finnomena.com/mr-messenger/market-insights/2015/12/29/23/china-foreign-investment/

ก้าวเล็กๆที่ยิ่งใหญ่ของ ‘เงินหยวน’ กับการเข้าคำนวณใน ‘SDRs’

https://www.finnomena.com/mr-messenger/market-insights/2015/12/01/19/yuan-in-sdrs/

การลงทุนในตลาดเกิดใหม่ รักแล้วรอหน่อย โดย Macro view

https://www.finnomena.com/macroview/market-insights/2016/02/11/18/wait-for-the-new-emerging-market-era/

Big Correction or Bear Market? โดย Guest Guru – พี่วิน พรหมแพทย์

https://www.finnomena.com/win/market-insights/2016/02/10/18/big-correction-or-bear-market/