FINNOMENA BIC

 *สำหรับนักลงทุนเชิงลึก* Whitepaper แนวคิดการพัฒนาโมเดล Best-In-Class อ่านได้เลย คลิก

“เพราะการเลือกกองทุนที่ดีที่สุด ไม่ใช่การดูแค่ผลตอบแทนย้อนหลัง”

หลายคนคิดว่าดูแค่ผลตอบแทนย้อนหลังก็เพียงพอแล้ว สำหรับการเลือกกองทุนที่ดีที่สุด แต่ความจริงแล้ว… มีอีกหลายปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อผลการดำเนินงานของกองทุนรวม จึงเป็นเรื่องสำคัญที่นักลงทุนควรพิจารณาปัจจัยให้รอบด้าน

จะดีกว่าไหม? หากมีผู้เชี่ยวชาญพร้อมด้วยระบบที่มีประสิทธิภาพ มาช่วยคัดรกรองกองทุนให้คุณ เพื่อให้คุณมั่นใจว่าพอร์ตการลงทุนของคุณ ได้ลงทุนในกองทุนที่ดีที่สุดของสินทรัพย์แต่ละประเภท ซึ่ง FINNOMENA Best-In-Class (BIC) คือผู้ช่วยที่คุณกำลังตามหา

FINNOMENA Best-In-Class (BIC) คืออะไร?

FINNOMENA Best-in-Class (BIC) คือ พอร์ตการลงทุนที่เลือกกองทุนรวมที่ดีที่สุดนสินทรัพย์แต่ละประเภท (Asset Class) ในตอนนี้มี 4 ประเภทด้วยกัน

  1. Property & REITs
  2. Thai Equity Large Cap
  3. Global Technology
  4. Global Healthcare

กองทุนรวมที่ดีที่สุดตอนนี้ ไม่ได้แปลว่าจะเป็นกองทุนรวมที่ดีที่สุดในวันข้างหน้า

ทำไมถึงเป็นแบบนั้น? ทีม Quantitative Analyst จาก FINNOMENA ได้ทำการทดสอบความเชื่อที่ว่า “การคัดเลือกกองทุนรวมเข้าพอร์ต โดยดูแค่ผลตอบแทนในอดีตเพียงอย่างเดียว ไม่ได้การันตีว่ากองทุนที่คุณเลือกจะให้ผลตอบแทนในอนาคตที่ดีเสมอไป” ยืนยีนด้วยการ Backtest ด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้

 

  1. เริ่มจากการเรียงลำดับผลตอบแทนย้อนหลังของกองทุนรวมในสินทรัพย์เดียวกัน จากมากที่สุดไปน้อยที่สุด โดยแบ่งช่วงเวลาเป็น 3 ช่วง คือ 1 ปี ,3 ปี และ 5 ปี

  2. เมื่อได้รายชื่อกองทุนเรียงตามลำดับผลตอบแทนมาแล้ว จะเลือกกองทุน 10 เปอร์เซ็นต์ไทล์แรกที่ให้ผลตอบแทนสูงสุด แล้วนำมาจัดเป็นพอร์ต โดยลงทุนด้วยสัดส่วนที่เท่าๆ กัน เป็นระยะเวลา 6 เดือน

    ยกตัวอย่างเพื่อให้เห็นภาพมากขึ้น
    สมมติว่ากองทุนรวมหุ้นไทยขนาดใหญ่ (Equity Thai Active Large Cap) มีทั้งหมด 100 กองทุน จะนำ 10 เปอร์เซ็นต์ไทล์แรก หรือ 10 อันดับกองทุนแรกที่ให้ผลตอบแทนสูงสุดจาก 100 อันดับ และในทุกส่วนของบทความนี้ จะอิงจากตัวอย่างนี้
  3. โดยสมมติว่าเราจัดพอร์ตการลงทุนด้วยวิธีการแบบนี้ทุกวัน เริ่มนับจากวันที่ 1 มกราคม 2017 สิ้นสุดวันที่ 1 มกราคม 2019 โดยไม่ว่าจะเริ่มลงทุนจากวันไหน ก็จะคำนวณผลตอบแทนไป 6 เดือนหลังจากวันที่เริ่มลงทุน นั่นหมายความว่าจุดเริ่มต้นลงทุนสุดท้ายที่เราทดสอบ คือวันที่ 30 มิถุนายน 2018 แล้วสิ้นสุด ณ วันที่ 1 มกราคม 2019

  4. เมื่อได้ผลตอบแทนของพอร์ตการลงทุนมาแล้ว จะนำผลตอบแทนของพอร์ตนี้มาเปรียบเทียบกับกองทุนในกลุ่มเดียวกัน ตามตัวอย่างซึ่งนั่นก็คือ 100 กองทุน เพื่อดูว่าพอร์ตนี้อยู่อันดับที่เท่าไหร่ หากเป็นวิธีการลงทุนที่ดี ผลตอบแทนพอร์ตโดยเฉลี่ยควรอยู่ 50 อันดับแรก

  5. พบข้อมูลที่น่าสนใจ สำหรับกองทุนกลุ่มเดียวกันที่ไม่ใช่ Best-in-Class ว่า

  • หากใช้ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปี พบว่าผลตอบแทนโดยเฉลี่ยจะอยู่อันดับที่ 59 จาก 100 กองทุน
  • หากใช้ผลตอบแทนย้อนหลัง 3 ปี พบว่าผลตอบแทนโดยเฉลี่ยจะอยู่อันดับที่ 63 จาก 100 กองทุน
  • หากใช้ผลตอบแทนย้อนหลัง 5 ปี พบว่าผลตอบแทนโดยเฉลี่ยจะอยู่อันดับที่ 60 จาก 100 กองทุน

นั่นแปลว่า การเลือกกองทุนด้วยผลตอบแทนที่ดีในอดีต ไม่ได้แปลว่าจะเป็นกองทุนที่ให้ผลตอบแทนดีในอนาคตเลย ซึ่งหากใช้วิธีการทดสอบเดียวกันนี้ กับระบบการเลือกกองทุนของ Best-In-Class (BIC) พบว่าผลตอบแทนพอร์ตโดยเฉลี่ยจะอยู่อันดับที่ 43 จาก 100 กองทุน

แล้ว Best-In-Class (BIC) มีหลักการเลือกกองทุนเข้าพอร์ตอย่างไร?

ใช้หลักการจำแนกการตัดสินใจข้อมูลด้วย Machine learning ประเภท Random forests Model และ XGBoost Model ซึ่งเป็นการตัดสินใจที่มาจากการให้น้ำหนักกับข้อมูลที่ส่งผลต่อผลการทำนาย ซึ่งใกล้เคียงหรือดีกว่าการตัดสินใจของมนุษย์ในแง่ของการลำเอียง (Bias) ในข้อมูลที่ได้รับและนำไปตัดสินใจและมีการใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ที่มีความหลากหลายนอกเหนือจากการใช้ราคาย้อนหลังเพียงอย่างเดียว เช่น ข้อมูล Technical Indicators, Macro Economic Factors, Seasonal Factors รวมถึงความเห็นจากทีมนักวิเคราะห์และผู้จัดการกองทุน นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาการเรียนรู้บนสถานการณ์ของตลาดที่ต่างกันเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพของโมเดลให้ทันต่อเหตุการณ์โดยคาดหวังผลตอบแทนสูงสุดพร้อมกับความเสี่ยงที่ต่ำให้กับพอร์ตการลงทุน

จัดพอร์ตอย่างไร?

การจัดพอร์ตของ FINNOMENA Best-In-Class (BIC) จะเลือกเพียง 3 กองทุนที่ดีที่สุด โดยมีสัดส่วนเป็น 40%, 30% และ 30% ตามลำดับ และมีการปรับพอร์ตทุกๆ 6 เดือน

ทำไมยังต้องมีการปรับพอร์ต?

จากที่กล่าวตอนต้นบทความว่า “กองทุนรวมที่ดีที่สุดตอนนี้ ไม่ได้แปลว่าจะเป็นกองทุนรวมที่ดีที่สุดในวันข้างหน้า” แม้จะเป็นกองทุนในพอร์ต Best-In-Class (BIC) แล้วก็ไม่ได้แปลว่าจะเป็น Best-In-Class ตลอดไปเช่นกัน

ทำไมต้องปรับพอร์ตทุก 6 เดือน?

เนื่องจากทางทีม Quantitative Analyst ได้ทดลองการปรับพอร์ต ทุกๆ 3 เดือน, 6 เดือน และ 9 เดือน เปรียบเทียบกับ SET TRI Index พบว่าการปรับพอร์ตทุก 6 เดือน เป็นจุดกึ่งกลางระหว่างความคุ้มของค่าธรรมเนียม และผลตอบแทนที่ดีขึ้นจากการปรับพอร์ตได้ทันท่วงทีกับเทรนด์ของตลาด จึงเป็นระยะเวลาที่เหมาะสมที่สุด

ที่ FINNOMENA เราเชื่อว่าการเลือกลงทุนในกองทุนนั้นเป็นมากกว่าการดูผลตอบแทนในอดีต เราเชื่อในพลังของ Technology และ Big data

หากคุณคือนักลงทุนที่รู้ว่าการเลือกลงทุนในสิ่งที่ดีที่สุดไม่ได้มีแค่ผลตอบแทนในอดีต คุณมีวิสัยทัศน์และเล็งเห็นถึงความสำคัญของการใช้ Technology เพื่อเพิ่มผลกำไรให้กับการลงทุน คุณเชื่อว่าการลงทุนต้องเกิดจากการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกด้วย Big data ที่แม่นยำ ไม่ใช่เกิดจากการจินตนาการโดยไร้เหตุผล FINNOMENA Best-in-Class คือบริการที่ใช่สำหรับคุณ

 

 *ยังไม่จุใจ สำหรับนักลงทุนเชิงลึก* Whitepaper แนวคิดการพัฒนาโมเดล Best-In-Class อ่านได้เลย คลิก

 

ทดลองใช้บริการ Best-In-Class (BIC) ได้ฟรี ที่ https://www.finnomena.com/bic