Mobius01

นี่คือ บทความที่แปลบางส่วนมาจากจดหมายจาก Mark Mobius ถึงลูกค้าของกองทุน Templeton ในช่วงสิ้นเดือน ต.ค. ที่ผ่านมา

Are emerging markets turning a corner?

ปีนี้ นับเป็นปีที่ท้าทายสำหรับนักลงทุนในประเทศกำลังพัฒนา (EM) เป็นอย่างมาก อย่างไรก็ดี นักลงทุนเริ่มเห็นกระแสการไหลออกของเงินทุนเริ่มจะมีการย้อนกลับจากการที่นักลงทุนเริ่มหันมาสนใจกลุ่มประเทศดังกล่าวมากขึ้น เป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นมากสำหรับเรา เรามองว่าแม้จะมีปัจจัยมากมายที่ทำให้เกิดความผันผวนในช่วงที่ผ่านมา แต่เชื่อว่าเป็นเพียงปัจจัยระยะสั้น ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากสภาวะสภาพคล่องต่ำ แต่เรายังคงมีมุมมองเชิงบวกในระยะยาว ถึงแม้ว่าขาดประเด็นที่นักลงทุนเปลี่ยนมุมมองกล่าว ณ ตอนนี้ ตลาดในกลุ่มประเทศนี้ ก็ยังน่าสนใจอยู่ดี

TWO MAIN FACTORS IMPACTING EMERGING MARKETS

ในภาพของเศรษฐกิจระดับโลก กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาเป็นส่วนประกอบสำคัญในแง่ของขนาดของพื้นที่ จำนวนประชากร GDP และขนาดของตลาดหลักทรัพย์ ในมุมมองของเรา มี 2 ประเด็นที่ทำให้ตลาดกำลังพัฒนาให้ตอบแทนไม่ค่อยดีในช่วงที่ผ่านมา คือ แนวโน้มการปรับลดมาตรการผ่อนคลายทางการเงินในแต่ละการประชุมของ FED และความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน เราคาดว่าตลาดค่อนข้างตื่นตระหนกเกินกว่าเหตุไปหน่อยในประเด็นของการขึ้นดอกเบี้ย โดยที่จริงแล้ว กลับเป็นธนาคารกลางของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาเองที่อยากให้ขึ้นดอกเบี้ยให้ขัดเจนไปเสียที โดยในอดีตนั้น ปกติเราจะเห็นการปรับตัวลงของทั้งตลาดหุ้นและค่าเงินก่อนที่จะมีการปรับลดมาตรการผ่อนคลาย

อย่างไรก็ตาม พอเมื่อถึงเวลาที่ดอกเบี้ยของ US จะขึ้นจริงๆแล้ว หุ้นกลับจะมีการฟื้นตัวขึ้นได้ แสดงถึงความเชื่อของนักลงทุนที่ว่าตลาดได้สะท้อนสมมติฐานที่แย่ที่สุดไปแล้วก่อนหน้า

US interest rate hikes and emerging markets

ลองดูที่ดัชนี MSCI กลุ่มประเทศกำลังพัฒนา หลังจากการปรับดอกเบี้ยขึ้น  สามารถสร้างผลตอบแทนเฉลี่ย 1 ปี สูงถึง 12.4% ดูได้จากกราฟหลังจากที่มีการเริ่มขึ้นดอกเบี้ยทั้ง 3 ครั้งในปี 1994 1999 และ 2004 ตลาดไม่ได้เสียหายมากมายนัก แต่ถ้าหากมีการปรับขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ก็อาจส่งผลเสียได้ต่อกลุ่มประเทศได้ แต่เราไม่คิดว่าจะเป็นแบบนั้น

หลายบริษัทของสหรัฐฯที่ค้าขายในหลายประเทศ การที่บริษัทประเภทนี้จะเติบโตได้นั้น จำต้องพึ่งพากลุ่มประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะเอเชีย และมีลักษณะจะพึ่งพามากขึ้นกว่าเดิม เมื่อเทียบกับในช่วงของการขึ้นดอกเบี้ย ครั้งก่อนหน้านี้

เพราะฉะนั้น ผลกระทบจากการที่กลุ่มประเทศกำลังพัฒนามีการเติบโตที่ชะลอลง จะสะท้อนกลับไปยังการขยายตัวของเศรษฐกิจของสหรัฐฯเองอย่างมาก และในที่สุดก็จะส่งผลต่อการตัดสินใจปรับขึ้นดอกเบี้ยของ FED เราต้องไม่ลืมว่า ธนาคารกลางอื่นๆ นอกเหนือไปจาก FED ได้มีการอัดฉีดสภาพคล่องผ่านมาตรการผ่อนคลาย การปรับลดดอกเบี้ยร่วมด้วย เช่น ยุโรป ญี่ปุ่นและจีน

UNWARRANTED INVESTOR PANIC

ในส่วนของการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน เราก็มองว่าเป็นความกังวลที่เกินกว่าเหตุไปพอสมควร เพราะการประโคมข่าวเกี่ยวกับความผันผวนของราคาหุ้นกับความพยายามของรัฐบาลจีนในการพยุงตลาด แต่เราเชื่อว่าความพยายามดังกล่าวจะส่งผลสำเร็จ การปรับตัวลงของหุ้นในกระดาน Main land ต่อสภาพเศรษฐกิจค่อนข้างจำกัด เพราะภาคครัวเรือนยังมีส่วนร่วมในตลาดทุนค่อนข้างต่ำ (น้อยกว่า 20%) ถึงแม้ตลาดจะพัง เราก็ยังเชื่อว่าผลกระทบดังกล่าวจะไม่มากนัก

มากกว่าไปนั้น แม้ว่าระดับหนี้โดยรวมยังค่อนข้างสูง แต่ภาครัฐยังมีหลักทรัพย์มากมาย รวมถึงเงินสำรองต่างประเทศและเหล่ารัฐวิสาหกิจที่จะช่วยให้เกิดความสมดุลได้ จากภาวะค่าแรงและตำแหน่งงานที่มากขึ้น ส่วนใหญ่ในภาคเอกชน จะช่วยให้สถานการณ์ตลาดบ้านและตำแหน่งงานด้านอุตสาหกรรมที่หายไป ไม่แย่มากนัก การผ่อนคลายให้ เงินสกุลหยวนมีความยืดหยุ่นมากขึ้นจะเป็นอีกแรงสนับสนุนที่ช่วยให้ การเปิดเสรีตลาดเงินเป็นที่ยอมรับได้ง่ายมากยิ่งขึ้น

Source : http://www.moneyobserver.com/opinion/are-emerging-markets-turning-corner



FINNOMENA Opinion

บทความนี้ของ มาร์ค ค่อนข้างให้ความเห็นแบบตรงไปตรงมาพร้อมทั้งข้อมูลประกอบกที่เข้าใจง่าย เกี่ยวกับประเด็นที่กดดันตลาดหุ้นของไทยในช่วงปีที่ผ่านมา ว่า “กลัวกันเกินไป” แอดมินเชื่อว่า นักลงทุนไทยและต่างชาติ ต่างเฝ้ารอจุดกลับตัวของ “อารมณ์”ของตลาดอย่างใจจดใจจ่อ เพียงแต่ต้องบางท่านอาจเลือกรอให้กระแสการไหลกลับของเงินลงทุนเปลี่ยนมาเป็น ขาเข้า อย่างชัดเจนกว่านี้ก่อนเท่านั้น เหตุผลมารอจ่อหน้าประตูตลาดหลักทรัพย์อยู่แล้ว แต่ขึ้นอยู่กับว่า “เมื่อไหร่” เท่านั้น


มาร์ค โมเบียส คือหนึ่งในผู้จัดการกองทุนที่มีความเชี่ยวชาญการลงทุนในกลุ่มประเทศกำลงพัฒนา ดำรงตำแหน่งเป็นประธานของ Templeton Emerging Markets Group ดูแลฝ่ายวิจัยและบริหารพอร์ทการลงทุนในกว่า 18 ประเทศ ได้รับการรางวัลด้านผู้มีอิทธิพลทางการด้านการลงทุนมากมาย เป็นคอลัมนิสต์รายสัปดาห์ รวมถึงการร่วมงานกับ World Bank เพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจในช่วงปี 1999