GURUPORT: ประชันพอร์ต InvestDiary VS DaddyTrader - พอร์ตสำหรับคนชอบความเรียบง่าย

*บทความนี้คือส่วนหนึ่งจากบทความ รีวิว GURUPORT: ผู้เชี่ยวชาญทั้ง 6 กับพอร์ตการลงทุนหลากสไตล์ ทั้งคลาสสิก ครอบคลุมทั่วโลก และเจาะการเติบโต

หากจะให้สรุปแนวคิดของ GURUPORT ด้วยคำสั้นๆ คงหนีไม่พ้นคำว่า Crowdsourcing

Crowdsourcing คือการที่มนุษย์ตัดสินใจโดยอ้างอิงข้อมูลจากผู้ที่มีความสนใจคล้ายๆ ตน ยิ่งสมัยนี้เรามีเครื่องมืออย่างโซเชียลมีเดียมาเป็นสื่อกลางในการแบ่งปันข้อมูลด้วยแล้ว กระบวนการนี้ก็ยิ่งสะดวกสบายขึ้นกว่าเดิม และทำให้มนุษย์ได้รับข้อมูลมากมายเพื่อช่วยประกอบการตัดสินใจ เรียกได้ว่า ถ้าเราไม่เกิดอาการลำเอียง Crowdsourcing ก็จะช่วยให้เรามีมุมมองที่หลากหลายขึ้นต่อประเด็นนั้นๆ

ในแง่ของการลงทุน ก่อนหน้านี้เราอาจจะได้รับข้อมูลแค่จากฝั่ง Sell Side หรือผู้ขายเท่านั้น แต่ปัจจุบันเรามีข้อมูล Buy Side จากแหล่งที่หลากหลาย เราจะได้รับข้อมูลจากผู้ลงทุนด้วยกันเองในฐานะผู้ซื้อว่าเขาคิดเห็นอย่างไร เรารับฟังมุมมองจากบุคคลมากมาย ไม่ว่าจะเป็นคนรอบตัว คนแปลกหน้าในชุมชนออนไลน์ หรือกูรูด้านการลงทุนที่มีชื่อเสียง ต่างล้วนมีพลังโน้มน้าวการตัดสินใจของบุคคลทั้งสิ้น

ด้วยเหตุนี้ ฟินโนมีนาจึงเกิดไอเดียการสร้างพอร์ตแบบใหม่ โดยร่วมมือกับเหล่ากูรูด้านการลงทุนทั้ง 6 ท่าน ซึ่งต่างก็มีความเชี่ยวชาญหลากหลายกันไป แต่ทุกคนล้วนได้รับการพิสูจน์ความน่าเชื่อถือ ผ่านผลงานของพวกเขาและผู้ติดตามอย่างน้อยหลักหมื่น

แน่นอนว่าพอร์ตที่ทำร่วมกับฟินโนมีนานั้นต้องมีความเป็นเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้อง GURUPORT เองก็ใช้ระบบ Robo-Advisor เพื่อช่วยแนะนำกองทุนที่ควรลงทุนเช่นกัน รวมถึงช่วยติดตามผลการดำเนินงานและคอยแจ้งเตือนทุกครั้งเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงสำคัญๆ นี่จึงเป็นการผสมผสานระหว่างผู้เชี่ยวชาญรายบุคคล กับ เทคโนโลยีที่แม่นยำ ก่อกำเนิดพอร์ตการลงทุนที่มีความโดดเด่นน่าตื่นตาตื่นใจ

พอร์ตการลงทุนแบบ “Old School” นี้ มาในลักษณะของ Balanced Port ด้วยการกระจายการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง 50% และ สินทรัพย์ที่มีความมั่นคงทางด้านรายได้และกระแสเงินสดสม่ำเสมออย่าง REIT กับตราสารหนี้  พอร์ตแนว Classic Strategy เหมาะกับผู้ที่ชอบความเรียบง่าย ไม่ซับซ้อน ถือลงทุนยาวๆ ไม่ต้องปรับพอร์ตบ่อยมาก เป็นการวางกลยุทธ์ที่ตั้งเป้าหมายให้ “รอด” ทุกสถานการณ์ตลาด เรียกได้ว่าลงทุนในพอร์ตแนวนี้ก็สามารถถือได้อย่างสบายใจไร้กังวล

รีวิว GURUPORT: ผู้เชี่ยวชาญทั้ง 6 กับพอร์ตการลงทุนหลากสไตล์ ทั้งคลาสสิก ครอบคลุมทั่วโลก และเจาะการเติบโต

รูปที่ 1: เปรียบเทียบ GURUPORT ประเภท Classic Strategy

Best of Risk-Adjusted Return โดย InvestDiary

รูปที่ 2: Best of Risk-Adjusted Return by InvestDiary

เรามาเริ่มกันที่พอร์ตจากคุณกฤษฏิ์ หุ่นสุวรรณ เจ้าของนามปากกา InvestDiary ที่มีผู้ติดตามกว่า 65,000 คน หากใครยังไม่เคยติดตาม เราจะขอเล่าสั้นๆ ว่าเพจนี้จะคอยแบ่งปันความรู้ด้านการลงทุนหุ้นพื้นฐาน และกองทุนอสังหาฯ รวมถึง REITs ให้เราได้อ่านกัน

“พอร์ตนี้ได้แรงบันดาลใจมาจากการเกษียณของพ่อแม่ซึ่งตัวเราเองรู้ตัวดีว่าการลงทุนมีความเสี่ยงพอสมควร เราเองก็เคยเจ็บหนักมามากพอสมควร”– InvestDiary

คุณกฤษฏิ์ได้เล่าให้ฟังถึงแนวคิดของพอร์ตของเขา ซึ่งลงทุนเพียงแค่ 2 ประเภทสินทรัพย์ ได้แก่หุ้นและอสังหาฯ ทั้งนี้เพื่อดึงศักยภาพของสินทรัพย์ทั้งคู่ไปพร้อมๆ กัน นั่นก็คือการเติบโตระยะยาวด้วยหุ้น และการรับปันผลจากอสังหาฯ

ด้วยเหตุนี้ Best of Risk-Adjusted Return จึงเหมาะกับผู้ที่เกษียณแล้ว หรือผู้ที่อยากได้กระแสเงินสดแต่ก็ยังอยากได้รับผลประโยชน์จากส่วนต่างราคาของหุ้น แต่ก็ต้องเข้าใจความเสี่ยงที่มาพร้อมกับการลงทุนด้วยเช่นกัน

เราจะเห็นได้จากชื่อ Best of Risk-Adjusted Return ว่าสะท้อนเป้าหมายของพอร์ตได้อย่างชัดเจน ซึ่งก็คือการสร้างเสถียรภาพให้เงินต้น และลดการขาดทุนในช่วงเวลาที่ตลาดไม่ดี ให้ความสำคัญกับผลตอบแทนที่ปรับด้วยความเสี่ยงแล้ว ด้วยเหตุนี้คุณกฤษฏิ์จึงผสมผสานระหว่างสองสินทรัพย์นี้ซึ่งจะสามารถปกปิดจุดอ่อนซึ่งกันและกันได้ โดยกองทุนหุ้นนั้นคุณกฤษฏิ์เลือกกองทุนหุ้นประเภทหุ้นไทยขนาดใหญ่ ที่มีความผันผวนน้อยกว่าประเภทหุ้นขนาดเล็ก-กลาง เหตุที่เลือกเป็นหุ้นไทยก็เพื่อขจัดความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน ถึงอย่างนั้น การลงทุนในหุ้นก็ยังมีความเสี่ยงระยะสั้น จึงต้องมี REITs มาช่วยในแง่ของผลตอบแทนที่สม่ำเสมอและคาดการณ์ได้ง่ายกว่า ก็จะช่วยลดความกังวลของผู้ลงทุนในช่วงตลาดไม่ดีได้

เกณฑ์การเลือกกองทุนของคุณกฤษฏิ์ก็ยิ่งตอกย้ำเป้าหมายของพอร์ตในการควบคุมความเสี่ยง เพราะกองทุนที่เลือกนั้นจะต้องเป็นกองทุนที่ทำผลงานได้ดีที่สุดในแง่ของจุดขาดทุนสูงสุด (Maximum Drawdown) เรียกง่ายๆ ว่า จะต้องมีจุดขาดทุนสูงสุดที่น้อยกว่ากองทุนอื่นๆ ในประเภทเดียวกันนั่นเอง นอกจากนี้ กองทุนยังต้องมีผลการดำเนินงานมาอย่างน้อย 5 ปี และมีผลตอบแทนสะสมย้อนหลังในเกณฑ์ที่ดีกว่าค่าเฉลี่ยในกองทุนประเภทเดียวกัน ทั้งนี้ก็เพื่อให้มั่นใจว่าเราจะได้ลงทุนในกองทุนที่มีความมั่นคงจริงๆ

รีวิว GURUPORT: ผู้เชี่ยวชาญทั้ง 6 กับพอร์ตการลงทุนหลากสไตล์ ทั้งคลาสสิก ครอบคลุมทั่วโลก และเจาะการเติบโต

รูปที่ 3: หน้าพอร์ต Best of Risk-Adjusted Return (ข้อมูลวันที่ 30/06/2019)

ล่าสุด พอร์ตนี้สามารถสร้างผลตอบแทนได้สูงถึง 5.44% ในช่วงเกือบ 2 เดือนที่ผ่านมา (Inception Date 07/05/19)

ซึ่งทางคุณกฤษฏิ์นั้น ได้กล่าวถึงพอร์ตและผลตอบแทนช่วงที่ผ่านมาว่า เป็นผลตอบแทนระดับที่ ไม่ปกติเท่าใดนัก เนื่องจากเป็นการปรับตัวขึ้นของสินทรัพย์ที่ควรจะปลอดภัย และ มีการเคลื่อนไหวของราคาต่ำอย่าง REITs มากกว่าสินทรัพย์เสี่ยงอย่างหุ้นเสียอีกที่เป็นการปรับตัวขึ้นของ REITs นับตั้งแต่ต้นปีถึง 19.54% ขณะที่ตลาดหุ้นไทยอย่าง SET Index ปรับตัวขึ้นเพียง 10.64% เท่านั้น ซึ่งสะท้อนความต้องการถือครองสินทรัพย์ที่ให้กระแสเงินสดสม่ำเสมออย่าง REITs ได้เป็นอย่างดี ส่งผลให้ REITs นั้นปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง และสามารถสร้างผลตอบแทนได้ดีกว่าตลาดหุ้นเสียอีก

รีวิว GURUPORT: ผู้เชี่ยวชาญทั้ง 6 กับพอร์ตการลงทุนหลากสไตล์ ทั้งคลาสสิก ครอบคลุมทั่วโลก และเจาะการเติบโต

รูปที่ 4: Best of Risk-Adjust Return Portfolio Performance Vs Set Total Return Index As of 30/06/2019

* ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต *

ซึ่งสิ่งที่ตามมาก็คือเมื่อราคาของ REITs ปรับตัวขึ้นมาเรื่อยๆนั้น ส่งผลให้อัตราปันผลที่นักลงทุนมีโอกาสได้ก็ลดลง เนื่องจากต้นทุนที่แพง สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกับมุมมองของ FINNOMENA ที่มองว่า ณ ตอนนี้ REITs ยังมีโอกาสปรับตัวขึ้นได้ แต่อยู่ในโหมดที่ต้อง “จับตา” ดังนั้นแล้ว ในระยะยาวพอร์ตการลงทุนแบบนี้จะมีความผันผวนที่ต่ำกว่าตลาดหุ้น แต่ในจังหวะนี้อาจต้องลองติดตามกันอย่างใกล้ชิดสักนิด และวางแผนให้เป็นโหมดการลงทุนแบบระยะยาว จะได้ไม่กังวลกับผลตอบแทนในระยะสั้น

Best of Risk-Adjusted Return เป็นอีกหนึ่งพอร์ตที่ได้รับกระแสตอบรับอย่างดีมากจากผู้ลงทุนฟินโนมีนา ซึ่งชนะใจด้วยการจัดพอร์ตที่เรียบง่ายไม่ซับซ้อน นอกจากนี้ยังเกาะกระแสการลงทุนใน REITs หรือกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาฯ ที่กำลังได้รับความนิยม

สนใจลงทุนในพอร์ตนี้ คลิก ที่นี่ หรือแบนเนอร์ข้างล่าง

Long Term Defensive Plus โดย DaddyTrader

รูปที่ 5: Long Term Defensive Plus by DaddyTrader

ปิดท้ายด้วยพอร์ตนี้โดยคุณนิมิต วิทย์ศลาพงษ์ เจ้าของนามปากกา DaddyTrader ซึ่งเน้นให้ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์หุ้นแนวเทคนิค (Technical Analysis) ผ่านเพจเฟซบุ๊กและเว็บไซต์ daddytrader.guru 

ครั้งแรกที่เราได้ยินว่าคุณนิมิตมาพร้อมพอร์ตเรียบง่ายเน้นถือยาว เราค่อนข้างแปลกใจทีเดียว เพราะแนวทางแบบ Passive ของพอร์ตดูขัดกับสไตล์การลงทุนแนวเทคนิคที่เน้นเทรดเร็ว จับจังหวะ แต่เมื่อได้พูดคุยเพิ่มเติม เราก็ได้เข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับต้นกำเนิดของพอร์ตนี้

“ผมจัดสรรเงินลงทุนส่วนตัวด้วยการแบ่งเงินส่วนหนึ่งไปสร้างผลกำไรโดยใช้แนวทางของการวิเคราะห์ทางเทคนิค และนำเงินอีกส่วนไปลงทุนด้วยวิธีจัดพอร์ตอย่างง่าย ที่ไม่ซับซ้อน ไม่ต้องเสียเวลาติดตามมาก แต่ให้ผลตอบแทนที่อยู่ในระดับที่น่าพอใจ” – DaddyTrader

พอร์ต Long Term Defensive Plus เป็นพอร์ตการลงทุนสไตล์อนุรักษ์นิยม จากตอนแรกที่วางแผนถือหุ้น 50% ตราสารหนี้ 50% คุณนิมิตได้เพิ่มสัดส่วนของกองทุนอสังหาฯ เข้ามา 30% จึงทำให้สัดส่วนของตราสารหนี้ลดลงไปเหลือ 20% โดยแต่ละสินทรัพย์ก็สะท้อนออกมาในชื่อของพอร์ต นั่นก็คือ Long Term = หุ้นระยะยาว, Defensive = เสี่ยงต่ำด้วยตราสารหนี้ และPlus = กระแสเงินสดจากกองทุนอสังหาฯ

ในส่วนของกองทุนรวมหุ้น คุณนิมิตได้เลือกกองทุนหุ้นไทยขนาดใหญ่ที่บริหารแบบ Passive หรือก็คือเน้นให้ผลการดำเนินงานล้อไปกับดัชนีชี้วัด ในที่นี้ก็คือดัชนี SET น่ะเอง ถือเป็นประเภทหุ้นที่มีความมั่นคง เป็นตัวแทนของเศรษฐกิจไทย และมีความผันผวนน้อยกว่ากลุ่มหุ้นขนาดเล็ก-กลาง เหตุผลที่เลือกแบบ Passive อิงดัชนีก็เพราะส่วนใหญ่แล้วเวลาเราพูดถึงผลตอบแทนของหุ้น ก็จะอ้างอิงดัชนีเป็นหลัก ไม่ได้เจาะเป็นหุ้นรายตัว ดังนั้นจึงเป็นการดีกว่าที่เราจะลงทุนผ่านกองทุน Passive ที่กระจายลงทุนในหุ้นหลายๆ ตัว จึงเหมาะกับผู้ลงทุนที่ไม่เชี่ยวชาญในการเลือกหุ้นรายตัวด้วย

ส่วนตราสารหนี้นั้นเลือกแบบระยะกลาง ประมาณ 3 ปี เพื่อไม่ให้โดนผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของดอกเบี้ย ทางด้านกองอสังหาฯ ก็ต้องเป็นกองที่มีผลตอบแทนมั่นคงระยะยาว

สำหรับการปรับพอร์ตนั้น จะพิจารณาให้อยู่ระหว่างทุก 6 เดือน หรือ 1 ปี ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ไม่บ่อยเกินไป จึงเหมาะสำหรับคนที่อยากลงทุนแต่ไม่อยากจับจังหวะตลาดบ่อยๆ เน้นลงทุนแบบสบายใจไร้กังวล ถือไปยาวๆ 7-10 ปีขึ้นไป ไม่ต้องห่วงว่าพอร์ตนี้เหมาะกับใครเป็นพิเศษหรือไม่ เพราะคุณนิมิตย้ำกับเราเลยว่า ใครๆ ก็ลงทุนในพอร์ตนี้ได้ทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นมือใหม่เริ่มลงทุน หรือมือเก๋าที่อยากมีพอร์ตสำรองที่เน้นความมั่นคง

รีวิว GURUPORT: ผู้เชี่ยวชาญทั้ง 6 กับพอร์ตการลงทุนหลากสไตล์ ทั้งคลาสสิก ครอบคลุมทั่วโลก และเจาะการเติบโต

รูปที่ 6: หน้าพอร์ต Long Term Defensive Plus (ข้อมูลวันที่ 30/06/2019)

แม้จะขึ้นชื่อว่าเป็นพอร์ตการลงทุนเชิงรับ แต่ Long Term Defensive Plus by Daddy Trader ที่เปิดตัวอย่างเป็นทางการวันที่ 4/6/2019 ก็สามารถสร้างผลตอบแทนได้ไม่น้อยด้วยผลตอบแทน 5.1% ภายในระยะเวลา 26 วันเท่านั้น !

รีวิว GURUPORT: ผู้เชี่ยวชาญทั้ง 6 กับพอร์ตการลงทุนหลากสไตล์ ทั้งคลาสสิก ครอบคลุมทั่วโลก และเจาะการเติบโต

รูปที่ 7: Long Term Defensive Portfolio Performance Vs Set Total Return Index As of 30/06/2019

* ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต *

โดยทางคุณนิมิตได้กล่าวถึงพอร์ตการลงทุนในช่วงที่ผ่านมาเอาไว้อย่างน่าสนใจว่า

“หุ้นขึ้นหรือลงเป็นเรื่องปกติธรรมชาติของตลาดหุ้นที่มีความผันผวนขึ้นลง และการขึ้นลงของตลาดหุ้นจะส่งผลมายังมูลค่าพอร์ตของเราให้ขึ้นลงตามทิศทางของตลาดหุ้น อย่างไรก็ตามพอร์ต Long Term Defensive Plus ถูกออกแบบมาให้มีความผันผวนที่น้อยกว่าความผันผวนของตลาดหุ้นเพื่อให้ผู้ถือพอร์ตนี้ได้อย่างสบายใจ” – DaddyTrader

พร้อมกับเน้นย้ำว่าพอร์ตการลงทุนนี้เป็นพอร์ตที่ตั้งเป้าหมายไว้ที่ประมาณ 7-8% ต่อปี หากนักลงทุนถือลงทุนได้ในระยะยาว ก็จะได้พอร์ตการลงทุนที่เงินเติบโต แถมไม่ต้องตื่นเต้นมากด้วย

หรือ หากท่านใดมองว่ายังไม่คุ้นชินกับความเสี่ยง ก็สามารถที่จะลงทุนแบบ DCA เพิ่มเติมได้ เพื่อถัวเฉลี่ยต้นทุนในระยะยาว สร้างผลตอบแทนที่มั่นคงมากยิ่งขึ้นไปเรื่อยๆ ทำให้สุดท้ายแล้ว ไม่ว่าปลายปี 2019 จะผันผวนมาก หรือ น้อย พอร์ตการลงทุนนี้ ก็สามารถสร้างผลตอบแทนได้ในระยะยาว (Long term) พร้อมกับความผันผวนที่ต่ำในแบบเชิงรับ (Defensive) ได้อย่างแท้จริง

สนใจลงทุนในพอร์ตนี้ คลิก ที่นี่ หรือแบนเนอร์ข้างล่าง


คำเตือน

ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน |  ผลการดำเนินงานในอดีต / ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน