แจ้งเตือน

กลับสู่หน้าหลัก

แผนลงทุนวัยเกษียณ ไม่จำเป็นต้องเสี่ยงต่ำเสมอไป

เขียนโดย หนูแว่น.the money

สวัสดีค่ะ หนูแว่น.the money ขอแชร์เรื่องการวางแผนการลงทุนหลังเกษียณ เพื่อให้เงินก้อนสุดท้ายที่ทุ่มแทสะสมมานั้นยังคงมูลค่าชนะเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆได้อย่างเกษียณสำราญ

การวางแผนการเงินหลังเกษียณนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะนี่เป็นเงินก้อนสุดท้ายที่เราต้องใช้ถึงวันสุดท้ายของชีวิต หากขาดการวางแผนที่ดี การใช้ชีวิตหลังเกษียณอย่างเกษมอาจจะเป็นเรื่องที่ยากลำบาก ดังนั้นเราต้องบริหารจัดการลงทุนให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพราะ แผนการเงินหลังเกษียณ แตกต่างจากแผนการลงทุนเพื่อการเกษียณ ในวัยหลังเกษียณนั้นเราไม่มีรายได้ประจำเหมือนวัยก่อนเกษียณที่ยังทำงานมีรายได้มาลงทุน

ดังนั้นเงินก้อนสุดท้ายสำหรับวัยเกษียณจึงต้องรักษาไว้อย่างดีที่สุด แต่การลงทุนในสินทรัพย์ความเสี่ยงต่ำ ให้ผลตอบน้อยกว่าอัตราเงินเฟ้อ ทำให้มูลค่าของเงินที่เราสะสมไว้น้องลง รวมทั้งอำนาจการซื้อก็ลดลงเช่นกัน ดังนั้นเราควรวางแผนการลงทุนให้ดีและเหมาะสมกับเป้าหมาย

ทั้งนี้ก่อนที่จะสามารถมีเงินก้อนมาลงทุนหลังเกษียณได้ เราต้องเริ่มจาการวางแผนเพื่อการเกษียณที่ดี โดยการกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน เช่น

  • จะเกษียณเมื่ออายุเท่าไหร่ : เพื่อให้รู้ว่าเรายังมีเวลาออมเงินเพื่อการเกษียณอีกกี่ปี

  • ต้องมีเงินเพื่อใช้สำหรับเกษียณเท่าไหร่ : จำนวนเงินนี้ขึ้นอยู่กับรายจ่ายต่อเดือนหลังเกษียณที่ควรประเมินจากเป้าหมายและ lifestyle ที่เราออกแบบไว้ หรืออาจคิดโดยประมาณเป็น 70% ของรายจ่ายก่อนเกษียณก็ได้

  • มีเงินสำหรับเกษียณแล้วเท่าไหร่ และต้องออมเพิ่มเท่าไหร่ : เงินออมเพื่อการเกษียณที่มีแล้วจากแหล่งต่างๆ เช่น กองทุนประกันสัมคม, กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD), กองทุนบำเน็จบำนาญแห่งชาติ, ประกันแบบรายได้ประจำเพื่อการเกษียณ, กองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) และอื่นๆ เพื่อจะได้คำนวนว่าเราต้องออมเพิ่มเท่าไหร่เพื่อวัยเกษียณ

  • นำเงินไปลงทุนอย่างไรให้บรรลุตามเป้าหมาย : และสุดท้ายการนำเงินไปลงทุนนั้น เป็นการใช้เงินทำงาน ซึ่งถือเป็นการแบ่งเบาภาระการเก็บออมเงินเพื่อวัยเกษียณทางนึง โดยเลือกเครื่องมือการลงทุนที่เหมาะสม รวมทั้งควรคำนึงถึงเรื่องการกระจายความเสี่ยงของการลงทุนด้วย

ในส่วนก่อนการเกษียณอายุนั้นเราควรวางแผนการใช้เงินให้เหมาะสมกับเป้าหมายและ lifestyle ที่เราออกแบบไว้ และควรนำเงินออมที่เก็บมาไปลงทุนอย่างไรให้ได้ผลตอบแทนตามต้องการ เพื่อ 2 เป้าหมายหลักของการลงทุนหลังเกษียณ นั่นคือ

  • รักษามูลค่าของเงินที่สะสมมา : เพื่อให้เงินที่ออมมานั้นเติมโตชนะอัตราเงินเฟ้อที่เพื่มขึ้นทุกๆปี

  • ลดภาระในการออมเงินเพื่อการเกษียณ : นอกจากการลงทุนเพื่อการเกษียณที่วางแผนมาในข้างต้น นั้น การวางแผนการลงทุนที่ดีในวัยเกษียณเป็นการใช้เงินต่อเงิน เพื่อลดภาระการเก็บเงินก้อนเพื่อวัยเกษียณอีกด้วย เช่น หากเราต้องการใช้เงินเดือนละ 20,000 บาท ในวัยเกษียณอีก 20 ปี คิดเป็นเงิน 9 ล้านบาท (รวมอัตราเงินเฟ้อ 3%) ที่ต้องใช้ในยามเกษียณ ซึ่งจริงๆแล้วเราอาจไม่ต้องเก็บเงินเยอะขนาดนั้นก็ได้ เพียงเตรียมเงินแค่ 4.8 ล้านบาทและเลือกเครื่องมือการลงทุนที่เหมาะสมเพื่อให้ได้ผลตอบแทนประมาณ 5% ต่อปี

แต่เงินก้อนสุดท้ายนี้ เราควรจัดการอย่างไรละ?

เงินก้อนนี้เราควรแบ่งออกเป็น 3 กองดังนี้

กองที่ 1 : เงินเพื่อใช้จ่ายสำหรับ 1 ปี

เงินกองแรกนี้แบ่งออกได้เป็น 2 ส่วนคือ ส่วนที่ไว้ใช้จ่ายในช่วง 1 เดือน และส่วนที่เหลือของอีกทั้งปี

  • ส่วนที่ไว้ใช้จ่ายในช่วง 1 เดือน ควรเก็บไว้ในสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูง เช่น บัญชีเงินฝากออมทรัพย์

  • ส่วนที่เหลือของอีกทั้งปี เราสามารถนำไปลงทุนในสินทรัพย์สภาพคล่องสูงและความเสี่ยงต่ำ เช่น กองทุนรวมตลาดเงิน (money market funds) ที่มีระยะเวลาในการรับเงินค่าขายคืนเพียง 1 วัน (T+1) หรือกองทุนตราสารหนี้ (bond funds) ที่มีระยะเวลาในการรับเงินค่าขายคืน 2 วัน (T+2) หรืออาจจะเก็บไว้ที่เดียวกับเงินส่วนที่ไว้ใช้จ่ายในช่วง 1 เดือนก็ได้

กองที่ 2 : เงินสำรองฉุกเฉิน

เงินส่วนนี้ควรเก็บไว้ในสินทรัพย์ที่สามารถเบิกถอนได้ทันที เพื่อไว้ใช้จ่ายในยามฉุกเฉิน เช่น ค่ารักษาพยาบาล หรือเมื่อเกิดอุบัติเหตุ โดยเงินก้อนนี้ควรมีจำนวนเท่ากับ 3-6 เท่าของค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนเป็นอย่างน้อย ซึ่งหลักของการวางเงินฉุกเฉินคือ ถอนง่าย และรักษามูลค่าไม่ให้ลดลง เช่น บัญชีเงินฝากออมทรัพย์, บัญชีเงินฝากประจำ หรืออาจะเป็นกองทุนรวมตลาดเงิน หรือกองทุนรวมตราสารหนี้ก็ได้เช่นกัน

กองที่ 3 : พอร์ตเพื่อสร้างรายได้

กองสุดท้ายคือส่วนที่เราสามารถนำไปลงทุนในสินทรัพย์ความเสี่ยงปานกลางถึงสูงได้ เพื่อผลตอบแทนที่สูงขึ้นให้ชนะเงินเฟ้อ และเป็นการต่อยอดมูลค่าเงินให้มากขึ้น ซึ่งแผนการลงทุนสำหรับเงินก้อนนี้ขึ้นอยู่กับความเสียงที่สามารถรับได้ของแต่ละบุคคล และการจัดสรรพอร์ตการลงทุนหรือ Asset allocation รวมทั้งการเลือกกลุ่มหลักทรัพย์ (Sector selection), การเลือกตัวหลักทรัพย์ (Security election)  และการหาจังหวะการลงทุนที่เหมาสม (Market timing)

หมายเหตุ: เราควรแยกพอร์ตการลงทุนของแต่ละเป้าหมายให้จัดเจน ไม่ควรลงทุนรวมกันเป็นพอร์ตเดียว เพื่อคความไม่สับสน และการบริหารได้ง่ายตรงตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

ส่งต่อเรื่องราวการเงินการลงทุนของคุณ

อ่่านเรื่องราวอื่นๆ