แจ้งเตือน

กลับสู่หน้าหลัก

การวางแผนภาษีสำหรับแพทย์ปี 2563

เขียนโดย พี่หมอนักลงทุน

ผ่านมาครึ่งปีแล้ว พี่หมอได้รับคำถามมาเยอะมาก เรื่องการวางแผนภาษี สำหรับแพทย์ หลายคนยังไม่มีประสบการณ์การยื่นภาษี ยังไม่เข้าใจว่าต้องทำอย่างไร จะวางแผนลดหย่อนภาษีได้อย่างไร วันนี้พี่หมอจะพาไปเรียนรู้ทีละประเด็น แบบง่ายๆ สไตล์พี่หมอนักลงทุนครับ

Section 1 : ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

จากข้อมูลกรมสรรพากร ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไป หรือจากหน่วยภาษีที่มีลักษณะพิเศษ ตามที่กฎหมายกำหนดและมีรายได้เกิดขึ้นตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยปกติจัดเก็บเป็นรายปี รายได้ที่เกิดขึ้นในปีใดๆ ผู้มีรายได้มีหน้าที่ต้องนำไปแสดงรายการตนเองตามแบบแสดงรายการภาษีที่กำหนดภายในเดือนมกราคมถึงมีนาคมของปีถัดไป

ซึ่งแพทย์ส่วนใหญ่เป็นบุคคลธรรมดาและมักมีรายได้เกิดขึ้นตามเกณฑ์ที่กำหนด จึงต้องเสียภาษีนั่นเอง

Section 2 : เงินได้พึงประเมิน

คือเงินได้ของบุคคลใดๆ ที่เกิดขึ้นในปีภาษี ซึ่งแบ่งเป็นประเภท ตามความเหมาะสมเพื่อกำหนด วิธีคำนวณภาษีให้เกิดความเป็นธรรมมากที่สุด ดังนี้

ส่วนที่เกี่ยวกับแพทย์ที่รับเงินเดือนจากโรงพยาบาล คือ 40(1) และ ถ้าทำโรงพยาบาลเอกชนด้วย จะมีเงินได้จากวิชาชีพอิสระ 40(6)  ถ้าท่านใดลงทุนในหุ้น หุ้นกู้ พันธบัตรต่างๆ ก็ได้เงินได้จากดอกเบี้ยและเงินปันผล 40(4) ด้วย

Section 3 : การวางแผนภาษี

คือการเตรียมการเพื่อเสียภาษีให้ถูกต้อง ครบถ้วนในฐานะพลเมืองดี

ใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีต่างๆ ที่กฎหมายกำหนดไว้ไปใช้ลดหย่อนภาษีเพื่อบรรเทาภาระภาษีให้น้อยลง ไม่ต้องเสียภาษีมากจนเกินไป

รายการลดหย่อนในปีพ.ศ. 2563 มีดังนี้

วางแผนภาษี

ข้อมูลดังกล่าวเป็นการรวบรวมเบื้องต้น ไม่ใช่รายละเอียดทั้งหมด โปรดศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมครับ

Section 4 : Step การลดหย่อนที่แนะนำ

หลายคนมีวิธีเลือกการลดหย่อนและการลงทุนแตกต่างกันออกไป พี่หมอจะมาแชร์ วิธีการคิดของพี่หมอให้ฟัง

  1. ประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา (Term Insurance) เป็นแผนแรกที่พี่หมอเลือก เพราะ เบี้ยประกันถูกกว่า เน้นคุ้มครองชีวิต สามารถยกเลิกได้ก่อนหมดระยะเวลาคุ้มครอง แต่มีข้อจำกัดคือ จะได้รับผลประโยชน์เมื่อเสียชีวิตเท่านั้น (แปลว่า ถ้าเรามีชีวิตอยู่ ณ วันหมดสัญญา เราจะไม่ได้รับผลตอบแทน) แต่พี่หมอชอบประกันแบบนี้ เพราะว่า เน้นคุ้มครองชีวิตจริงๆ แต่หลายคนอาจเลือกประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ (Endowment) ก็ไม่ว่ากัน

  2. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (กรณีไม่ใช่ราชการ) จะมาจาก 2 ส่วน ส่วนแรกจากลูกจ้าง เรียกว่าเงินสะสม ส่วนที่สองจากนายจ้าง เรียกว่าเงินสมทบ โดยเราสามารถเลือกสะสมเข้ากองทุน 2-15% พี่หมอแนะนำให้เลือกมากที่สุด คือ 15% เพราะเมื่อเราจ่ายเงินสะสม 15% จะได้รับเงินสมทบจากนายจ้างอีก 15% เช่นกัน จุดมุ่งหมายของเงินกองนี้ เอาไว้ใช้ยามเกษียณ (อายุครบ 55 ปี จึงถอนได้)

  3. กองทุนรวมเพื่อการออมพิเศษ (SSFX) เฉพาะ 1 เมษายน ถึง 30 มิถุนายน 2563 เท่านั้น ไม่เกิน 200,000 บาท SFFX นี้ พี่หมอจัดเต็มไป 200,000 บาทเลย โดยแบ่ง Passive/Active อย่างละครึ่ง (พี่หมอเคยเขียนบทความเรื่อง SSFX ไปแล้ว ลองหาอ่านกันได้ครับ)

  4. กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) หลังจากคำนวณภาษีที่ต้องจ่ายต่อปีแล้ว ส่วนที่เหลือ พี่หมอจะมาลงทุนใน RMF เพราะมีนโยบายให้เลือกหลายหลาย สามารถย้ายกองทุนได้ (มีค่าธรรมเนียม) เริ่มลงทุนแล้ว ต้องลงทุนอย่างต่อเนื่อง โดยซื้อ RMF ไม่น้อยกว่าปีละ 1 ครั้ง ลงทุนขั้นตํ่า 3% ของเงินได้ในแต่ละปี หรือ 5,000 บาท แล้วแต่ว่าจํานวนใดจะตํ่ากว่า ต้องไม่ระงับการซื้อหน่วยลงทุนเกินกว่า 1 ปี ติดต่อกัน และขายคืนได้เมื่ออายุ 55 ปี ถือว่าเป็นการออมเพื่อการเกษียณไปในตัว

  5. เงินบริจาคที่ลดหย่อนได้ 2 เท่า เช่น เงินบริจาคเพื่อการศึกษา เพื่อสถาน พยาบาลของรัฐ ลดหย่อนภาษี 2 เท่า พี่หมอชอบบริจาคให้โรงพยาบาลรัฐ เพราะว่าเรารู้ว่าวงการแพทย์ขาดอะไร แถมได้ลดหย่อนภาษีด้วย

กล่าวสรุปเรื่องภาษีเป็นเรื่องใกล้ตัว ควรวางแผนตั้งแต่ต้นปี ตอนนี้ครึ่งปีก็ยังไม่สาย เลือกการลดหย่อน การลงทุนที่เข้ากับตัวเอง ไม่มีแบบไหนดีที่สุด พี่หมอขอให้ทุกคนประสบความสำเร็จและมีความสุขกับการลงทุนครับ

พี่หมอนักลงทุน
facebook.com/investdoctor/

Update: นักลงทุนสามารถซื้อกองทุน SSF-RMF กับ FINNOMENA ได้แล้ว
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมและเริ่มต้นลงทุนได้ที่ https://finno.me/tax-saving-fund1452

ส่งต่อเรื่องราวการเงินการลงทุนของคุณ

อ่่านเรื่องราวอื่นๆ