คุยคริปโต Podcast EP2 : ทำไม Blockchain ถึงมีเสถียรภาพ ถึงขั้นที่ 20 ภาคธุรกิจยังต้องให้ความสำคัญ

Blockchain คืออะไร เกี่ยวข้องยังไงกับ Bitcoin

ในยุคที่ทุกคนสามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้อย่างแพร่หลาย การส่งข้อความหรือข้อมูลต่างๆแทบจะสามารถทำได้ทันที ที่เราเรียกยุคนี้ว่ายุค Information เราสามารถส่งข้อมูลหาใครก็ได้ในโลก โดยที่เรายังมีต้นฉบับหรือ File อยู่กับตัว เพราะสิ่งที่เราส่งหาคนอื่นก็เป็นแค่เพียงสำเนาเท่านั้น แต่ข้อเสียคือ ปลายทางสามารถดัดแปลงแก้ไขข้อมูลนั้นได้ และส่งต่อข้อมูลนั้นไปได้อีกไม่รู้จบ จนทำให้เราตรวจสอบความถูกต้องและลำดับของข้อมูลนั้นได้ยาก อีก 1 ข้อจำกัดคือ เราไม่สามารถส่งสิ่งที่มี Value หรือมูลค่าให้กันได้ผ่านระบบกระจาย เพราะจะเกิดปัญหาที่เรียกว่า Double Spending จึงได้มีตัวกลาง “ที่น่าเชื่อถือ” เข้ามาคั่นตรงกลางมากมายเพื่อทำให้การส่งผ่าน Value ให้กันนั้นสามารถเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น

A (ผู้โอนเงิน) ——- ธนาคาร ——- B (ผู้รับเงิน)

A (เจ้าของหุ้น) ——- ตลาดหลักทรัพย์ ——- B (ผู้ที่ต้องการซื้อหุ้น)

โดยที่ตัวกลางจะมีการคิดค่าบริหารจัดการซึ่งเป็นต้นทุนในการทำธุรกรรม แต่ปัญหาที่ตามมาก็คือตัวกลางเหล่านี้เป็นสถานที่ที่รวบรวมข้อมูลธุรกรรมต่างๆเอาไว้มากมาย ซึ่ง Data ทั้งหมดกลับมีค่ามากมายสำหรับผู้ที่ต้องการนำไปแสวงผลประโยชน์ต่อ จนทำให้มีการซื้อขายข้อมูล การขโมยข้อมูล ตามข่าวที่มีมาตลอด จนมีคนหรือกลุ่มคนนามว่า Satoshi Nakamoto ได้ออกแบบ New System โดยมีลักษณะเป็นระบบโครงข่ายในการเก็บบัญชีธุรกรรมออนไลน์ คล้ายๆเครือข่ายใยแมงมุม โดยมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นสมาชิกในเครือข่ายนี้ (Node) จะได้ข้อมูลเดียวกันมา แต่ละ Node จะทำการบันทึกข้อมูลชุดเดียวกันนี้และต่างเขียนข้อมูลลงฐานข้อมูลตัวเอง ไม่มีการรอ Node อื่นๆ และข้อมูลที่ Node ส่วนใหญ่มีในการครอบครอง หรือข้อมูลไหนปรากฏตาม Node ต่างๆในเครือข่ายมากที่สุด เราจะถือว่านั่นเป็นข้อมูลต้นแบบ และข้อมูลต่างๆก็จะถูกจัดเก็บไว้ใน Block และก็ทำแบบนี้วนไปเรื่อยๆจนได้ Block ต่อมา ทั้งนี้ธุรกรรมต่างๆนั้นจะมีการเชื่อมต่อกันเป็นสาย (Chain) รวมเรียกว่า Blockchain ซึ่งแก้ปัญหาต่างๆได้ดังนี้

  1. ลดปัญหา Double Spending จนทำให้คนส่วนใหญ่เรียกยุคนี้ว่า Internet of Value คือส่ง Value หากันได้แล้ว
  2. ลดปัญหาตัวกลาง ทำให้มีค่าใช้จ่ายธุรกรรมที่ลดลง แต่ยังคงไว้ซึ่งความน่าเชื่อถือนั่นก็คือ ระบบ
  3. ความน่าเชื่อของข้อมูลที่มี คือสามารถตรวจสอบที่มาและไม่สามารถแก้ไขธุรกรรมได้ เป็นต้น

แต่อย่างที่ อดัม สมิธ เคยเขียนไว้ในหนังสือชื่อ The Wealth of Nations ว่าไม่มีใครที่จะทำงานให้ใครฟรีๆ มันจำเป็นต้องมีแรงจูงใจ หรือ “Incentive” ทุก Node ที่คอย Run ระบบ Blockchain นั้นก็ต้องมีแรงจูงใจเพื่อให้เขาเหล่านั้นทำงานกันอย่างแข็งขัน จึงเป็นที่มาของ Bitcoin กล่าวคือ ในทุก Node นั้นจะต้องแข่งขันกันใช้ระบบซอฟต์แวร์ในการถอดสมการคณิตศาสตร์ และผู้ที่ชนะที่จะได้ Bitcoin เป็นรางวัล ด้วย Bitcoin ที่มีจำนวนจำกัด ผิดกับเงินในปัจจุบันที่พิมพ์แล้วพิมพ์อีกจนกระดาษปึกนั้นแทบจะไร้ค่าในบางประเทศ ถึงแม้จะไม่มีธนาคารกลางหนุนหลัง Bitcoin แต่ผู้คนก็เริ่มเชื่อมั่นกับมันมากขึ้น เพราะมันคือของที่หายาก แปลมแปลงยากและมีจำนวนจำกัด (คุณสมบัติบางส่วนของเงิน) เลยถือว่า Bitcoin นั้นคือเงินสกุลหนึ่ง (Cryptocurrency เงินที่ถูกเข้ารหัส) สามารถใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนได้ ด้วยระบบ Blockchain ที่ถือเป็น New System หรือยุคที่ 2 ของอินเตอร์เน็ตทำให้ทั้ง Blockchain และ Bitcoin เป็นที่สนใจมากขึ้นเรื่อยๆในตอนนี้

สรุปง่าย ๆ ก็คือ Blockchain คือที่ ๆ บรรจุธุรกรรมทั้งหมดเอาไว้ รวมถึง Block Data ส่วน Bitcoin คือ Incentive ที่เป็นรางวัลให้กับผู้ที่ต้องการ Verified ธุรกรรมบน Blockchain ครับ

ภาพอ้างอิงราคาหุ้นบริษัท Docusign จากเนื้อหาใน Podcast


ติดตาม FINNOMENA Podcast ได้ทุกช่องทางที่คุณมี

App Spotify
https://finno.me/spotify

App Google podcasts
https://finno.me/googlepodcast

Apple podcast
https://finno.me/applepodcast

App Soundcloud
https://finno.me/soundcloud

Podbean
https://finno.me/podbean

Youtube
https://finno.me/youtubepodcast