คุยคริปโต Podcast EP8 : ระบบการเงินรูปแบบใหม่ในโลกดิจิทัลที่มีชื่อว่า Decentralized Finance (DeFi)

หลังจากการมาของสิ่งที่เรียกว่า Cryptocurrency เมื่อ 10 ปีก่อน ทำให้เราสามารถโอนสิ่งที่เป็น Value ให้กันผ่านช่องทางที่เป็นดิจิทัล โดยไม่ติดปัญหา Double Spending ในช่วงแรกหรือจะเรียกว่าคลื่นลูกแรกของ Cryptocurrency สามารถทำได้เพียงโอนเหรียญให้กันไปมาได้เท่านั้นเหมือนการโอนเงินจากเราให้เพื่อน แต่ด้วยความที่เหรียญส่วนใหญ่มีความผันผวนสูงจึงไม่ได้รับการยอมรับให้เป็นสกุลเงินเพื่อใช้ในชีวิตประจำวันแบบเงินดอลลาร์หรือสกุลเงินอื่น ๆ แต่ด้วยพัฒนาที่มีอย่างต่อเนื่องทั้งเหรียญชนิดใหม่รวมถึงเทคโนโลยีใหม่ที่ถือกำเนิดขึ้น เช่น Smart Contract หรือการระดมทุนแบบใหม่อย่าง ICO ทำให้เกิดการต่อยอดไปได้หลายทางจนเกิดเป็นวิวัฒนาการหรือคลื่นลูกที่สองของ Cryptocurrency นั่นก็คือ ระบบการให้บริการทางการเงิน ด้วย Cryptocurrency ที่ได้รับความนิยมและถูกพูดถึงกันอย่างมากในเวลานี้คือ Decentralized Finance (DeFi) เราจึงอยากมาอธิบายว่ามันคืออะไรในแบบง่าย ๆ เพื่อให้ทุกคนรู้จักมันมากยิ่งขึ้นครับ

Decentralized Finance (DeFi) คืออะไร

Decentralized Finance (DeFi) คือระบบการเงินรูปแบบใหม่ในโลกดิจิทัลที่ไม่ต้องพึ่งพาตัวกลาง หากพูดถึงระบบการเงินมันไม่ได้มีเพียงแค่การโอนเงินให้กันเท่านั้น แต่มันมีในเรื่องของการ จำนอง การกู้ยืม การให้ดอกเบี้ย การแลกเปลี่ยนมูลค่า การค้ำประกัน และอื่น ๆ คิดภาพง่าย ๆ ก็คือธุรกรรมที่ธนาคารหรือสถาบันการเงินในอดีตสามารถทำได้ แต่ด้วยความที่ธุรกรรมเหล่านี้จำเป็นต้องมีความน่าเชื่อถือ ความเชื่อใจ ระหว่าง “คนกับคน” จึงมีความจำเป็นต้องมีตัวกลางในทุกธุรกรรมที่เกิดขึ้น ทำให้มีต้นทุนในการดำเนินงาน กฎระเบียบที่เหมือนกันจากการที่ตัวกลางมีความแตกต่างกัน และความผิดพลาดที่อาจเกิดจากตัวกลางเอง แต่การมาของเทคโนโลยีใหม่นี้ ทำให้เกิดความต้องการระบบการกระจายศูนย์ Decentralization System และต้องการย้ายหน้าที่ดูแลระบบการเงินในสมัยเก่าที่ทำโดยตัวกลาง มาสู่ระบบกระจายศูนย์ที่ทำเองได้ด้วยตัวเองตามระบบและรูปแบบโปรแกรมที่ถูกเขียนเอาไว้ จึงเท่ากับว่าเราย้ายความเชื่อใจจากตัวกลางมาสู่การเชื่อใจระบบ Code เชื่อใจ Smart Contract ที่อยู่บน Blockchain แทนเพราะสามารถตรวจสอบได้จากทุกฝ่าย ให้เราลองนึกภาพธนาคารดิจิทัลที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของ เปิดให้ชุมชนช่วยกันดูแลระบบ พัฒนาระบบ และยังสามารถทำธุรกรรมได้เหมือนเดิมทุกอย่างภายใต้ต้นทุนที่ถูกลงและความรวดเร็วที่มากขึ้น

สิ่งที่ Decentralized Finance (DeFi) สามารถทำได้แล้วในปัจจุบัน

DeFi หรือระบบการเงินสมัยใหม่นี้มีการพัฒนาเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้คนในหลากหลายด้าน จากรูปด้านล่างคือตัวอย่างของ Ecosystem ของ DeFi ครับ

ที่มา https://www.stakingrewards.com/journal/Defi-digest-ecosystem

ทุกคนจะเห็นว่ามีการพัฒนาแอปพลิเคชันขึ้นมามากมาย แต่เราจะยกตัวอย่างเพียง 3 หัวข้อใหญ่ ๆ ให้ทุกคนได้ทำความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับ DeFi กันครับ
DeFi Lending Borrowing คือการกู้ยืมและปล่อยกู้ด้วย DeFi

การปล่อยกู้ในอดีตเกิดจากคนที่มีสินทรัพย์บางอย่างแต่ยังไม่มีความจำเป็นต้องใช้ในตอนนี้ เช่น เงินสด ก็นำมาฝากธนาคาร ธนาคารก็เป็นตัวกลางในการหา “ผู้ที่ต้องการกู้” และมีการทำสัญญาขึ้นจ่ายผลตอบแทนเงินกู้ให้กันเรียกว่า ดอกเบี้ย ในโลกของสินทรัพย์ดิจิทัลก็เช่นเดียวกัน ใครที่ครอบครองสินทรัพย์ดิจิทัลแล้วยังไม่มีความต้องการจะทำอะไร ก็สามารถนำมาเข้าระบบ เพื่อให้อีกฝากหนึ่งของสัญญากู้ไปทำอไรบางอย่าง และได้รับผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ย

การเปลี่ยนสินทรัพย์หรือ Cryptocurrency ออกมาในรูปแบบ Stablecoin

จากความกังวลเรื่องความผันผวนของเหรียญอย่าง BTC หรือ ETH จนไม่สามารถนำมาซื้อขายแลกเปลี่ยนได้ในชีวิตจริงเป็นวงกว้าง ก็ได้เกิดการนำคอนเซ็ปต์ เรื่องการ Backup เหรียญด้วยอะไรบางอย่างที่ผันผวนน้อย เช่น เงินดอลลาร์ ทองคำ เป็นต้น แล้วออกมาเป็นเหรียญที่เรียกกันว่า Stablecoin แล้วก็มีการพัฒนาไปจนถึงขึ้นที่เราสามารถนำเหรียญอย่าง ETH ไปวางตามสัดส่วนที่ถูกกำหนดไว้ แล้วออกเป็น Stablecoin หรือเราอาจจะสร้างสินทรัพย์เสมือนได้ใน DeFi โดยนำเหรียญไปค้ำแล้วออกมาสินทรัพย์จำลองที่มีมูลค่าเทียบเท่ากับโลกจริงได้ เช่น ดอลลาร์ ทองคำ ที่ดิน หุ้น เป็นต้น
สร้างโอกาสในการระดมทุนดิจิทัลให้เป็นไปได้โดย Security Token Framework

ถึงเราจะสามารถสร้างสินทรัพย์เสมือนจริงได้จากข้อที่สอง แต่มูลค่าของสินทรัพย์ดิจิทัลทั้งหมด คงไม่เพียงพอที่จะเอามาวางแล้วออกเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลได้ เพราะสินทรัพย์จริงนั้นมีอยู่มากมายแถมมีมูลค่ามหาศาล ก็ทำให้มีการพัฒนา Framework ขึ้นมาสำหรับการ Tokenize สินทรัพย์ทางการเงิน เช่น หุ้น พันธบัตร ซึ่งจำเป็นต้องมีหน่วยงานในการกำกับดูแลคอยตรวจสอบอีกต่อหนึ่ง ซึ่งถ้ามันมีประสิทธิภาพมากพอในระยะยาวแล้ว การทำออก STO ในอนาคตก็น่าจะได้รับความนิยมมากยิ่งขึ้นครับ

ความเสี่ยงของ Decentralized Finance (DeFi)

เนื่องจาก DeFi มีความเกี่ยวข้องกับระบบการเงินที่บางธุรกรรมก็ยังมีความซับซ้อนในตัวของมันเอง อีกทั้งยังเป็นเรื่องใหม่ที่เกี่ยวกับเทคโนโลยี ทำให้การจะเข้าไปศึกษา เข้าไปตรวจสอบ จำเป็นต้องมีพื้นความรู้ในเรื่องของเทคโนโลยีใหม่ เช่น Blockchain , Smart Contract และเหรียญคริปโตอื่น ๆ ที่อาจต้องนำมาวางประกัน ฉะนั้นการจะเข้าสร้างโอกาสในการลงทุนนั้นอาจจะไม่ใช่เรื่องง่าย ไม่ว่าจะเข้ามาในระบบของ DeFi ผ่านแอปพลิเคชันไหนก็ตาม หรือเข้ามาเก็งกำไรเพื่อหาส่วนต่างราคา ทุกคนจำเป็นจะต้องศึกษาหาข้อมูลให้ดี เพราะการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล ก็เปรียบเหมือนการลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา อีกส่วนหนึ่งที่สำคัญมาก ๆ เลยก็คือ ราคาของเหรียญที่เกี่ยวกับ DeFi ถูกไล่ราคาขึ้นมาสูงมากในระยะเวลาสั้น ๆ นั่นแปลว่าหากเราไม่ดูตาม้าตาเรือ เข้าผิดที่ผิดทางก็อาจจะเสียหายหนักได้เลยนะครับ ก่อนจะจบบทความนี้ ผมอยากจะแชร์ Basket of Decentralized Finance หรือก็คือการเอาเหรียญแต่ละเหรียญใน DeFi มารวมกันแล้วคำนวณด้วยวิธีถ่วงน้ำหนักออกมาเป็นดัชนีที่ชื่อว่า DeFi Index Perpetual Futures คือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแบบ Continue ที่อ้างอิงกับเหรียญ DeFi ซึ่งเราสามารถติดตามภาพรวมของ DeFi ได้อย่างใกล้ชิดว่าราคาของเป็นอย่างไร ช่วงไหนได้รับความนิยม ช่วงไหนราคาถูกเทขายอย่างรุนแรงเพื่อเป็นการศึกษาและประกอบการตัดสินใจครับ

ที่มา : https://www.tradingview.com

Zipmex


ติดตาม FINNOMENA Podcast ได้ทุกช่องทางที่คุณมี

App Spotify
https://finno.me/spotify

App Google podcasts
https://finno.me/googlepodcast

Apple podcast
https://finno.me/applepodcast

App Soundcloud
https://finno.me/soundcloud

Podbean
https://finno.me/podbean

Youtube
https://finno.me/youtubepodcast