Quantable Researcher Podcast Ep21 : แบ่งเงินลงทุนใน Cryptocurrency คือการช่วยเพิ่มโอกาสหรือเพิ่มความเสี่ยง ค่า Correlation เป็นอย่างไร?

หากพูดถึงเรื่องการจัดพอร์ตโฟลิโอ นอกจากการคัดสินทรัพย์ที่ดีในระยะยาว การจัดน้ำหนักเงิน การจับจังหวะซื้อขาย ยังอีกหนึ่งปัจจัยที่ในอดีตเคยนิยมและเป็นที่พูดถึงกันมาก แต่ปัจจุบันกลับมีคนสนใจน้อยลงคือเรื่องของค่าสหสัมพันธ์ (Correlation) ตั้งแต่มี QE เกิดขึ้นบนโลกทุกสินทรัพย์ก็ปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง เพราะมีเงินใหม่เกิดขึ้นอยู่ตลอด นักลงทุนจึงไม่ต้องคำนึงถึงความคุ้มค่าและความสัมพันธ์ของแต่ละสินทรัพย์มากนัก คือเหมาไปทั้งตะกร้าเลยง่ายกว่า ทำให้แทบทุกสินทรัพย์ขึ้นและลงพร้อมกลับ จนค่าสหสัมพันธ์ (Correlation) ในตอนนี้เหมือนจะใช้ไม่ได้ แต่การมาของสินทรัพย์ชนิดใหม่อย่าง Cryptocurrency จึงทำให้เราอยากจะกลับมาดูมาสินทรัพย์ชนิดนี้เมื่อเปรียบเทียบกับสินทรัพย์อื่น ๆ จะเป็นอย่างไรบ้าง

ค่าสหสัมพันธ์ (Correlation) คืออะไร

เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป เช่น การหาความสัมพันธ์ ระหว่างอายุกับน้ำหนัก อายุกับรายได้ ในการพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรว่ามีมากน้อยขนาดไหน จะใช้ค่า Correlation เป็นค่าวัดความสัมพันธ์ โดยใช้วิธีการทางสถิติหลากหลายวิธี การจะใช้ค่าสถิติตัวใดขึ้นอยู่กับลักษณะของตัวแปร และจะต้องมีการทดสอบนัยสำคัญก่อน จึงจะสรุปว่าตัวแปรนั้น ๆ สัมพันธ์กันหรือไม่ ซึ่งทำให้เราสามารถนำมาดูความสัมพันธ์ระหว่างสินทรัพย์ว่าเป็นอย่างไร เคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกัน/คนละทิศทางกัน

โดยการอ่านผลจะอ่านเพียงว่าทั้งสองตัวมีความสัมพันธ์กันหรือไม่ ถ้าสัมพันธ์กัน แปรผันตามกันหรือแปรผกผันกันเป็นค่ามากน้อยเพียงใด แต่ไม่สามารถบอกได้ว่าตัวแปรใดเป็นตัวแปรต้น ตัวแปรตามได้ โดยค่า Correlation จะมีค่าระหว่าง -1 ถึง 1

การอ่านค่าความสัมพันธ์

Correlation ที่เข้าใกล้ “+1” หมายความว่า ราคาสินทรัพย์ในช่วงเวลานั้นมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกัน และในปริมาณที่ใกล้เคียงกันมาก 

Correlation ที่ใกล้เคียง “-1” หมายความว่า ราคาสินทรัพย์ในช่วงเวลานั้นมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางตรงข้ามกัน และในปริมาณที่ใกล้เคียงกันมาก เช่น สินทรัพย์ A เปลี่ยนแปลง “+0.7%” ในขณะที่ สินทรัพย์ B เปลี่ยนแปลง “-0.8%” ส่วนกรณีของ Correlation ใกล้เคียงศูนย์นั้น หมายถึง สินทรัพย์ทั้งสองแทบจะไม่มีความสัมพันธ์กันเลย

Bitcoin – Gold – S&P500 มีค่าความสัมพันธ์เป็นอย่างไร

จากรายงานของ Coindesk ซึ่งเปรียบเทียบ Bitcoin กับทองคำและดัชนี S&P500 ตั้งแต่ต้นปี 2020 จนถึงต้นปี 2021 จะสังเกตุเห็นว่าในช่วงแรกทองคำและดัชนี S&P500 มีค่า Correlation ที่เป็นบวก ส่วนหนึ่งอาจจะมาจากช่วง Covid-19 และทุกสินทรัพย์ปรับตัวแรงจนในที่สุดสามารถกลับขึ้นมาได้แบบตัว V ทำให้สินทรัพย์ทั้งสามวิ่งไปในทิศทางเดียวกัน เวลาจับตัวเลขจึงให้ค่า Correlation ที่เป็นบวก แต่พอมาถึงครึ่งหลังกลับค่อย ๆ ลดความสัมพันธ์ลงจน BTC-S&P500 มีค่าอยู่ที่ 0 ในความหมายคือไม่มีความสัมพันธ์กัน ส่วนอีกตัวหนึ่งที่เป็นลักษณะของความสัมพันธ์เชิงผกผันคือ Dollar 

(ที่มา Coindesk)

 

(ที่มา Coindesk)

อีกหนึ่งภาพประกอบคือสินทรัพย์ยอดนิยมอย่างเหรียญอย่าง ETH ที่มีค่าความสัมพันธ์กับ BTC อย่างมาก ทำให้พอมาเปรียบกับกับ Gold และ S&P500 จึงมีค่า Correlation ที่เหมือน Bitcoin

การจัดพอร์ตโฟลิโอจะมีประโยชน์มากขึ้นมากเมื่อนำ Correlation มาพิจารณา

จากสถิติที่เราโชว์ให้ข้างต้นเกี่ยวกับค่าความสัมพันธ์แบบผกผันกับแบบไปในทิศทางเดียวในสินทรัพย์ใหม่อย่าง Cryptocurrency ทำให้ทุกท่านพอจะเห็นภาพมากขึ้นว่าหากนำสินทรัพย์ดังกล่าวเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของพอร์ต ไม่ว่าจะมองในมุมการเป็นโอกาสในการลงทุน การกระจายเงินหรือกระจายความเสี่ยง รวมถึงการ Balance พอร์ตไม่ให้ผันผวนในทิศทางเดียวกันมากเกินไป น่าจะสร้างประโยชน์ให้การลงทุนของเราไม่มากก็น้อย แต่อย่าลืมว่า Cryptocurrency ก็มีปัจจัยเสี่ยงเฉพาะของตัวมันเอง ฉะนั้นต้องศึกษาปัจจัยดังกล่าวไว้ด้วยนะครับ

ZIPMEX


ติดตาม FINNOMENA Podcast ได้ทุกช่องทางที่คุณมี

App Spotify
https://finno.me/spotify

App Google podcasts
https://finno.me/googlepodcast

Apple podcast
https://finno.me/applepodcast

App Soundcloud
https://finno.me/soundcloud

Podbean
https://finno.me/podbean

Youtube
https://finno.me/youtubepodcast