CeFi VS DeFi อนาคตโลกการเงินที่ทุกคนควรรู้

CeFi คืออะไร?

CeFi ย่อมาจากคำว่า Centralized Finance (CeFi) หมายถึง ระบบการเงินเเบบรวมศูนย์หรือรวมอำนาจ ซึ่งก็คือกระบวนการทางการเงินที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นวิธีที่เก่าเเก่ สามารถย้อนได้ถึงยุคอารยธรรมเมโสโปเตเมีย (Mesopotamia) ที่มนุษยชาติเริ่มมีการเเลกเปลี่ยนโดยใช้สิ่งต่าง ๆ เเทนมูลค่า ไม่ว่าจะเป็นปศุสัตว์ เปลือกหอย เเร่มีค่า จนมาถึงสกุลเงิน โดยในอดีตได้มีการหาทางทำให้เงินที่จะเป็นค่ากลางในการเเลกเปลี่ยนนั้นสมดุลเเละมั่นคง จึงได้ข้อสรุปว่าต้องมีหน่วยงานคอยบริหารการเงิน ซึ่งในจุดนี้อาจเป็นการที่มีรัฐบาลหนุนค่าเงินนั้นอยู่ เช่นเหรียญจักรวรรดิโรมัน ที่ใช้เป็นค่ากลางในการเเลกเปลี่ยนทั่วอาณาจักร รวมถึงบริเวณใกล้เคียง ในปัจจุบันผู้ที่ทำหน้าที่นี้คือธนาคารเเละสถาบันทางการเงินต่าง ๆ เเละสกุลเงินที่เราให้ความเชื่อมั่นคือดอลลาร์สหรัฐ ในกรณีของการเทรดโทเคน CeFi ก็คือการจำลองระบบเเบบปัจจุบัน (TradFi) เเต่โฟกัสไปที่สินทรัพย์ดิจิทัลเเละบล็อกเชนที่สร้างมันขึ้น เช่น Stablecoin เเละอื่น ๆ ที่ยังคงมีผู้กุมอำนาจเหนือกว่าเเละเป็นศูนย์รวม

CeFi VS DeFi อนาคตโลกการเงินที่ทุกคนควรรู้

Source: Merkle Tree, The Evolution of Money

DeFi คืออะไร?

DeFi ย่อมาจากคำว่า Decentralized Finance คือ การเงินเเบบกระจายอำนาจ ซึ่งเป็นเเนวคิดรูปเเบบใหม่ที่สามารถทำได้จริงเเล้วผ่านการใช้ระบบบล็อกเชนเพื่อกำจัดการรวมศูนย์ไม่ให้มี บุคคลหรือองค์กรมีอำนาจในการควบคุมการเงินในจุด ๆ เดียว โดยที่ผู้ดูเเลระบบจะไม่มีการเปิดเผยข้อมูลของตน รวมถึงทุกคนที่มีส่วนร่วมอยู่ในระบบบล็อกเชนล้วนเเล้วเเต่มีสิทธิที่จะกำหนดทิศทางของเครือข่ายได้

ข้อเปรียบเทียบข้อเเตกต่างระหว่างสองระบบ

CeFi (เเบบดั้งเดิม) DeFi (เเบบใหม่)
มีตัวกลางคอยจัดการ Transaction ไม่มีตัวกลางควบคุม ทำให้ลดค่าใช้จ่าย
ข้อมูลอยู่ในระบบส่วนตัว เเละปิดเป็นความลับ ข้อมูลเปิดเผยไม่มีการปกปิด
ใช้โครงสร้างทางการเงินรูปเเบบเดิม โครงสร้างอยู่บนบล็อกเชน เเทบไม่ต้องใช้คน
ต้องได้รับการอนุญาต ไม่ต้องขอการอนุญาต
ต้องดำเนินการในสถานที่หรือเวลาที่กำหนด สามารถใช้งานได้ทุกที่ ทุกเวลา

CeFi VS DeFi อนาคตโลกการเงินที่ทุกคนควรรู้

Source: LinkedIn

ทำไม DeFi ถึงมาเเรงในยุคนี้

ในหลายปีมานี้นับตั้งเเต่การถือกำเนิดของคริปโทฯ เหรียญต่าง ๆ พร้อมกับเครือข่ายบล็อกเชน ทำให้ผู้คนเริ่มให้ความสนใจกับการทำธุรกรรมเเบบ DeFi มากยิ่งขึ้น เพราะว่ามีความสะดวกเเละคล่องตัวมากกว่าเเบบดั้งเดิม รวมถึงลดภาระค่าใช้จ่ายที่ผู้ทำธุรกรรมต้องเผชิญ ตัดปัญหาด้านความโปร่งใส่เเละปัญหาจากคนกลาง เช่นการทุจริต อีกทั้ง DeFi ยังสามารถทำ Atomicity ได้ หมายความว่าภายใน 1 Transaction สามารถมีกิจกรรมย่อยได้หลายอย่าง หากมีกิจกรรมย่อยใดล้มเหลวขึ้นมาจะทำให้ทั้ง Transaction ล้มตามไปด้วย ซึ่งจะทำให้การทำธุรกรรม มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น เพราะว่าคำสั่งจะต้องถูกต้องทั้งหมดถึงจะเเสดงผลในระบบ

DeFi เเละ CeFi ในปัจจุบันและชีวิตประจำวัน

ในปัจจุบัน ส่วนมากเราจะพบเจอกับ CeFi (หรือจะเรียก TradFi ก็ได้) เป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นทั้งการฝากเงิน โอนเงินล้วนเเล้วเเต่ต้องผ่านธนาคารทั้งสิ้น เเละยังไม่มีท่าทีที่เราจะต้องย้ายระบบไปสู่ DeFi ในเร็ววันนี้ ทำให้ในหลาย ๆ ประเทศ CeFi ยังคงเป็นที่ยึดมั่นเเละนิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ในขณะที่ DeFi ในประเทศไทยอาจยังพบได้ไม่มากเท่าประเทศที่มีการเปิดรับ DeFi เเล้ว

อนาคตของ CeFi เเละ DeFi จะเป็นอย่างไร?

แม้ว่า DeFi จะมีสรรพคุณมากมายเเต่ก็ไม่สามารถนำมาเเทนที่กับระบบดั้งเดิมได้ ระบบเดิมนั้นจะยังคงอยู่ไม่ว่าจะด้วยเหตุใดก็ตาม นั่นเป็นเพราะวิธีที่ดีที่สุดคือ ทั้งสองระบบจำเป็นต้อง อยู่ร่วมกันจะขาดระบบใดระบบหนึ่งไม่ได้ [มีอ้างอืง] เเละก็ไม่ใช่ว่า CeFi เเละ TradFi จะกลายเป็นของไร้ค่าไปสักทีเดียว เพราะบางอย่างที่ทั้งสองมี DeFi ก็ยังไม่สามารถทำได้ในตอนนี้ เช่นกรณีถูกโจมตีทางไซเบอร์หรือโจรกรรมสินทรัพย์ ใน DeFi นั้นเราไม่สามารถกู้คืนได้เลย เเต่ถ้าเกิดขึ้นกับระบบเก่าเช่น ธนาคาร สถาบันทางการเงินนั้นอาจจะมีมาตรการชดเชยเงินส่วนที่หายไปให้คุณอย่างเเน่นอน เพราะเป็นหน้าที่ของพวกเขาที่จะต้องเก็บรักษาสินทรัพย์ของคุณ

ดังนั้น ในอนาคตที่จะถึงนั้นเราอาจจะเห็นบทบาทของสถาบันทางการเงินต่าง ๆ ลดลงไปจากปัจจุบัน เเละผู้คนหันมาใช้ DeFi มากยิ่งขึ้น ทั้งสองระบบจะยังคงอยู่เเละปรับตัวเพื่ออยู่ร่วมกันต่อไปอย่างน้อย ๆ ก็อีกหลายสิบปีเพราะในขณะนี้ก็ยังไม่มีเเนวคิดหรือเทคโนโลยีใหม่ที่จะมาล้มล้างวิธีการเหล่านี้

อ้างอิง Cointelegraph, Bitkub Blog

บทความโดย Bitkub.com


คำเตือน:

– สินทรัพย์ดิจิทัลมีความเสี่ยง โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้

– ข้อมูลดังกล่าวไม่ใช่ข้อเสนอการลงทุนหรือการจัดการใด ๆ ของการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล เนื้อหาข้างต้นเป็นการรวบรวมเนื้อหาโดยใช้ข้อมูลในอดีตอาจมีการคลาดเคลื่อนได้ นักลงทุนควรศึกษาและทำความเข้าใจก่อนลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล