มุมมองการลงทุน BottomLiner Optimal Megatrend Opportunities (OMO) ประจำไตรมาส

เป็นเรื่องที่ชัดเจนว่าสถานการณ์ปัญหาพลังงานไฟฟ้าในยุโรปกำลังบีบให้รัฐบาลต้องเร่งลงทุนเพิ่ม โดยเฉพาะไฟฟ้าพลังงานสะอาดซึ่งตรงกับแผนระยะยาวของ EU 

นอกจากนี้ราคา ก๊าซ ถ่านหิน ที่พุ่งขึ้นมากเพราะตะวันตกรุมแบนไม่ซื้อจากผู้ผลิตรายใหญ่อย่างรัสเซีย ทำให้ปัญหานี้ถูกกระจายไปทุกประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศพึ่งพาการนำเข้าพลังงานเยอะ (ไทยเป็นหนึ่งในนั้น)

เรื่องเหล่านี้เป็นตัวเร่งให้รัฐบาลทั่วโลกต้องลงทุนด้านพลังงานเพิ่มขึ้น เน้นไปยังกลุ่มที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ก๊าซธรรมชาติ แผงโซลาร์ กังหันลม 

ผลประโยชน์จึงมาตกกับกองทุนหุ้น Clean energy (กองทุน MRENEW-A) ซึ่งลงทุนตั้งแต่ โรงไฟฟ้าพลังงานสะอาด ผู้ผลิตแผงโซลาร์หรือกังหันลม แบตเตอรี่สำหรับเก็บไฟฟ้าจากการผลิตส่วนเกินของแผงโซลาร์หรือกังหันลม 

ในขณะเดียวกันราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น เป็นโอกาสของกองทุนหุ้นรถยนต์ไฟฟ้า EV (กองทุน UEV) ที่เน้นเลือกหุ้นชิ้นส่วนรถยนต์เพราะได้ประโยชน์จากการแข่งขันของทุกแบรนด์ในการแย่งชิงตลาดรถยนต์ไฟฟ้า หุ้นในพอร์ทจึงมีทั้ง ชิพรถยนต์ แบตเตอรี่ แร่ลิเทียมสำหรับแบต 

ทางด้านรัฐบาลสหรัฐพึ่งมีการอีดฉีดเงินให้ฝั่งคนที่ต้องการเปลี่ยนจากรถน้ำมันเป็นรถยนต์ EV จากการให้เครดิตทางภาษี $7,500 คือซื้อแล้วลดราคาได้เลย $7,500 ประมาณ 2 แสนกว่าบาท

โดยกลุ่มรถยนต์ EV นั้นสามารถมองได้ทั้งระยะสั้นตามนโยบายรัฐหรือมองเป็นการเติบโตในระยะยาวก็ได้ เพราะเมื่อปี 2021 ยอดขายมีอยู่เพียง 6.6 ล้านคัน และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นไปถึง 36 ล้านคันใน 2030 

โดยเมื่อเรามาดูธุรกิจในกลุ่มนี้ทั้ง Supply chain ตั้งแต่เหมือง Lithium, semiconductor, Battery, ผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานสะอาด หรือ ผู้ผลิตรถยนต์ จะเห็นได้ว่ากลุ่มพวกนี้ราคาหุ้นกำลังอยู่ใกล้ๆกับ High เดิมเมื่อต้นปี 2021

ฝั่งจีนซึ่งเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดของรถยนต์ไฟฟ้า เราเลือกกองทุน P-CGREEN รอโอกาสที่จีนกลับมาเปิดเมือง เพิ่มความต้องการซื้อรถยนต์ โดยรัฐบาลมีนโยบายกระตุ้นรออยู่แล้ว เช่น ลดภาษีสำหรับการซื้อรถยนต์ Hybrid หรือไฟฟ้า 100% รวมทั้งยังเพิ่มโควต้าให้คนซื้อรถยนต์ไฟฟ้าได้ทันทีต่างจากรถน้ำมันซึ่งต้องรอโควต้าในแต่ละปี

BottomLiner มองภาพรถยนต์ EV ที่ไกลกว่ารถบ้าน 4 ล้อเป็นการเปลี่ยนไปสู่ภาค Commercial เช่น รถกระบะ รถเมล์ เป็นต้น เนื่องจากเป็นกลุ่มที่ทางรัฐบาลสามารถเข้ามาอัดเงินลงทุนได้สูง เช่น แท่นชาร์จสำหรับรถใหญ่โดยเฉพาะ

ล่าสุดเราพึ่งเพิ่มกองทุน TCLOUD เข้าพอร์ท เพราะมีโอกาสเติบโตมากที่สุดเมื่อเทียบกับกลุ่มเทคอื่น เพราะถ้านับตั้งแต่โควิดทำให้เกิดการทดลองใช้ และปัจจุบันอยู่ในช่วงการใช้จริงแล้ว (Land&Expand)

ซึ่งหุ้นเทค B2C นั้นได้รับประโยชน์จาก demand ช่วงปิดเมืองจำนวนมาก จึงเร่งตัวได้อย่างรวดเร็ว เช่น e-commerce หรือ TV Streaming แต่หลังเปิดเมือง demand นั้นได้ลดลงไปแล้ว

กลับกันธุรกิจ Cloud ซึ่งเป็น B2B นั้น Adoption ยังทยอยมาเรื่อย ๆ และลักษณะการเก็บเงินส่วนใหญ่เป็น Subscription Service ลูกค้าใช้มากขึ้นต้องจ่ายมากขึ้น ทำให้เมื่อลูกค้าเริ่มเห็นประโยชน์จึงเร่งขยายการใช้งานในหน่วยงานของตัวเอง

ยกตัวอย่างเช่น ก่อนหน้านี้บริษัท A อาจจะทดลองใช้ Cloud database เพื่อเก็บข้อมูลแผนก 2 User พอใช้งานแล้ว ได้ผลดีปัจจุบันจึงเริ่มขยายเป็น 20 User หรือเพิ่มการจ่ายเงินเป็นระดับ (plan) ที่สูงขึ้นเป็นต้น

เมื่อรวมทั้ง 2 อย่าง อุตสาหกรรม cloud จึงเป็นธุรกิจที่น่าสนใจ กว่าหุ้นเทค Mid-Small Cap อื่น ๆ ที่ลงไปแรง ๆ ในระยะสั้น เพราะน่าจะฟื้นตัวได้ดี ในขณะที่การเติบโตนั้นค่อนข้างชัวร์กว่าอุตสาหกรรมอื่น ๆ

พอร์ตนี้เหมาะกับผู้ที่…

  • ต้องการลงทุนในหุ้น Megatrend ทั่วโลก และมีการคุมความเสี่ยงอย่างเหมาะสม
  • อยากได้ผลตอบแทนจากภูมิภาคอื่น นอกเหนือจากหุ้นไทย
  • ไม่รู้จะลงทุนอะไรดี อยากลงอะไรที่มันได้กำไร รับความเสี่ยงขาดทุนได้ พร้อมลงทุนระยะยาวเกิน 1 ปีขึ้นไป

การปรับพอร์ต

ปรับแบบ Dynamic พิจารณาเมื่อมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้น ไม่มีระยะเวลาตายตัว

ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ ลงทุนใน Megatrend เด่น กับกองทุนที่ใช่ พร้อม Optimize ความเสี่ยงและผลตอบแทนที่ได้รับ Optimal Megatrend Opportunities (OMO) by BottomLiner

ลงทุนใน Megatrend เด่น กับกองทุนที่ใช่ พร้อม Optimize ความเสี่ยงและผลตอบแทนที่ได้รับ โดย BottomLiner ดูรายละเอียดพอร์ต >>> https://finno.me/guruport-bottomliner

BottomLiner

คำเตือน

ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน |  ผลการดำเนินงานในอดีต / ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน