เพราะไม่ใช่ทุก Megatrend จะเหมาะลงทุนอยู่ตลอดเวลา หากซี้ซั๊วเข้าไปผิด timing ลงทุนอาจติดดอยเป็นเวลานานเกินไปได้ OMO จึงได้ออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์คนที่ อยากเกาะกระแส Megatrend แต่ไม่รู้จะลงทุนอะไร และไม่เสี่ยงเกินไป
รายละเอียดเนื้อหาพอร์ตจะเป็นอย่างไรลองมาดูกัน
ลงทุนใน Megatrend เด่น กับกองทุนที่ใช่ พร้อม Optimize ความเสี่ยงและผลตอบแทนที่ได้รับ โดย BottomLiner
ดูรายละเอียดพอร์ต >>> https://finno.me/guruport-bottomliner
เริ่มกันที่ประวัติความเป็นมา สตอรี่เจ้าของพอร์ต ประสบการณ์แน่นปึ้ก ตรงจุด มีความหลงใหลด้านการลงทุน พิสูจน์ผ่าน Facebook page ที่นำเสนอความรู้การลงทุนแบบเข้มข้น สม่ำเสมอ มียอดผู้ติดตามกว่า 90,000 คน
ประวัติเจ้าของพอร์ต
“เรามาเป็นทีม ไม่ใช่แค่กูรูเพียง 1 คน!!!”
ทีมงาน BottomLiner เชี่ยวชาญในการทำ research การลงทุนในต่างประเทศผ่านทั้งกองทุนรวม และหุ้นต่างประเทศรายตัว โดยเน้นการผสมผสานเทคนิค bottom up หุ้นต่างประเทศ ที่ดี ในภาพ macro ที่ใช่
นำทีมโดย…
คุณ วิธาน มีนาภินันท์ – ผู้ก่อตั้ง BottomLiner และ Investic – ML lab for Investment ซึ่งดูในเรื่อง quantitative investment ให้กับทีม BottomLiner และยังจัดคอร์สอบรมปั้นคนสู่สายอาชีพ Quants Trader/ Fund Manager
ประสบการณ์ทำงานโดยย่อ : มีประสบการณ์ลงทุนในต่างประเทศมายาวนานกว่า 10 ปี และอดีตเป็นนักวิเคราะห์ นักกลยุทธ์เชิงปริมาณ ผู้จัดการกองทุนหุ้นต่างประเทศ และ Head of Data Science จึงเชี่ยวชาญในการใช้ Fundamental ควบคู่กับ Data ในการวิเคราะห์ทั้งหุ้นรายตัว กองทุนรวมและปัจจัยมหภาค
ต่อมาผันตัวเป็นนักลงทุนอิสระ และเปลี่ยนเพจ BottomLiner ให้เป็นทีม Research ฉบับเม่าปีกเหล็ก สู่เม่า จากผู้มีประสบการณ์ ถ่ายทอดสู่มือใหม่ จึงได้สร้างทีมงานขึ้นมา แค่เฉพาะฝั่ง research ก็มีถึง 5 คนไปแล้ว และยังจ้างเพิ่มเรื่อยๆ โดยมีหัวหอกหลักอีกแรงคือ
คุณ ณัฐภาส ชุณหวัฒนกุล – นักวิเคราะห์และนักลงทุน กองทุน หุ้นต่างประเทศ มามากกว่า 5 ปี ผู้เชี่ยวชาญการลงทุนในหุ้นเทคโนโลยี โดยเฉพาะในฝั่ง semiconductor และนวัตกรรมใหม่ ๆ ศึกษามาโดยเฉพาะกว่า 3 ปี
แรงบันดาลใจและที่มาของการสร้างพอร์ต
“โอกาสลงทุนใน Megatrend … วลีนี้ ฟังกันจนเบื่อ แต่ที่เลวร้ายกว่าคือ แล้ว Megatrend ไหน ลงทุนได้ มากกว่า .. ผมอยากให้นักลงทุนหลุดพ้นจากปัญหานี้ จึงได้สร้างพอร์ตที่คัด Megatrend ที่น่าลงทุนในช่วง 6-24 เดือนมาให้ ไม่ใช่แบบ เอ้อ ลงไปเลย 5 ปี 10 ปีนะ กำไรแน่ ๆ แบบนั้นใครก็พูดได้ และที่สำคัญการลงในแต่ละธีมนั้น “ความเสี่ยงไม่เท่ากัน” เราจะจัดการตรงนี้ด้วยเทคนิคเดียวกับ Ray Dalio All Weather Portfolio”
จุดเด่นและกลยุทธ์ของพอร์ต
กลยุทธ์การลงทุนที่ผสมผสาน การเลือก Megatrend ที่ดี กองทุนที่ใช่
และแบ่งน้ำหนักการลงทุนด้วย Risk Budgeting เทคนิคเหมือน Ray Dalio มาช่วยในการจัดพอร์ตการลงทุน
ตัวอย่าง Megatrend ที่ BottomLiner ชอบ
– อยู่ในเทรนด์การเติบโต มี S Curve ใหม่ ๆ ไม่ใช่ megatrend ที่รอวันตายหรือ bubble เกินเหตุ
– มีรัฐบาลและกฎหมายสนับสนุน
– ปัจจัยภายนอกเร่งให้เติบโต เช่น น้ำมันแพงเร่งให้คนใช้รถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น
Universe ของธีมต่าง ๆ คอยอัปเดตเรื่อย ๆ เราจัดกลุ่มดังนี้ สำหรับการประชุมภายในของทีม BottomLiner
ที่มาข้อมูล: BottomLiner
การควบคุมความเสี่ยง
แบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ
1. การจัดสรรน้ำหนักกองทุนหุ้น
กำหนดน้ำหนักลงทุนโดยใช้ Risk Budgeting โดยมองพอร์ตในรูปแบบของ Risk Contribution ไม่ใช่แค่น้ำหนักการลงทุน Traditional Allocation ทั่วไป
หลายคนอาจได้เคยฟังเรื่องนี้มาแล้ว หากไม่เคย ให้ดูรูปนี้ครับ
Source: รูปจาก Google
คำว่า risk contribution คือพอร์ตเราถูกขับเคลื่อนโดยอะไรเท่าไหร่ เช่นในรูปลงหุ้น 60 ตราสารหนี้ 40 แต่พอร์ตได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของหุ้นสูงถึง 80% ดังนั้นหากจะให้ risk parity สองฝั่งเสี่ยงเท่าๆกันจริงๆ จะต้องลง หุ้นเพียง 30% (ตัวเลขประมาณจากในรูป)
ในที่นี้ก็สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการลงทุนเป็นธีมได้ ไม่จำเป็นต้องเป็น multi-asset ตัวอย่างเช่น ต้องการลงทุนใน biotech กับลงใน EV เท่า ๆ กัน อย่างละครึ่ง ๆ คือ 50% .. แต่แบบนั้นจริงๆแล้ว พอร์ตเราอาจจะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของราคากองทุน biotech สูงถึง 70% ส่วน EV ส่งผลต่อความผันผวนของพอร์ตเราเพียง 30%
ดังนั้น หากเราต้องการความเสี่ยงจาก biotech กับ EV เท่าๆกัน ก็ควรลง biotech น้อยกว่า EV เช่น 25% 75% (ตัวเลขสมมติ ของจริงจะได้จากการรันโมเดลความเสี่ยง)
2. และอีกระดับของการคุมความเสี่ยงคือการคุมเงินสดและตราสารหนี้ในพอร์ต
ที่มาข้อมูล: BottomLiner
สำหรับกลยุทธ์นี้ จะอิงตามนี้
โดยผสมผสานเทคนิคจากนักลงทุนและผู้จัดการกองทุนชื่อดังต่าง ๆ เข้าด้วยกัน และใช้เทคนิคของเราเองเช่น Semiconductor Inventory Cycle ร่วมด้วย
สินทรัพย์ในพอร์ต
การลงทุนจะเน้นการกระจายความเสี่ยงผ่านกองทุนรวมหุ้น และมีการกระจายความเสี่ยงไปลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ เพื่อลดความเสี่ยงโดยรวมลง หรือเพื่อประโยชน์ของการ “ซื้อถูก ขายแพง” ผ่าน Rebalance Mechanism
เกณฑ์การคัดเลือกกองทุน
ที่มาข้อมูล: BottomLiner
เนื่องจากเมื่อสกรีนแบ่งตาม Theme ออกมาได้แล้ว มักจะมีตัวเลือกกองทุนไม่มากนัก เราจะดูตามหลักเกณฑ์ดังนี้
- อยู่ในธีมหรืออุตสาหกรรมที่มีโอกาสเติบโต ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ
- กองทุนทำผลตอบแทนได้ดี และปัจจัยทางการตลาดอื่นๆเกื้อหนุน
- Top 5 Holding ที่ลงทุน BottomLiner ดูแล้วชอบ ตรงนี้คือสิ่งที่แตกต่างกับการเลือกกองทุนโดยทั่วไป หากอยู่ในลิสที่ cover / top shelf จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ
- ตัวบริษัทจัดการกองทุนรวม และผู้จัดการกองทุนมีความน่าเชื่อถือ ค่าธรรมเนียมเหมาะสม
ผลการทดสอบย้อนหลัง (Backtest)
เปรียบเทียบกลยุทธ์ของ Optimal Megatrend Opportunities (OMO) กับ ARKK (ARK Innovation ETF) ที่ลงทุนเน้นการเติบโต จะเห็นว่าตั้งแต่ช่วงสิ้นปี 2021 ที่ตลาดหุ้นตกแรง ฝั่ง ARKK ติดลบถึง -50% แต่ OMO ยังแข็งกว่าที่ราว -10%
ภาพแสดงการทดสอบผลตอบแทนย้อนหลังพอร์ต OMO ที่มา: BottomLiner วันที่: 4 เมษายน 2022
ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
ทั้งนี้ ผลตอบแทนในอดีต ไม่ได้การตันตีผลตอบแทนในอนาคต
พอร์ตนี้เหมาะกับผู้ที่…
– ต้องการลงทุนในหุ้น Megatrend ทั่วโลก และมีการคุมความเสี่ยงอย่างเหมาะสม
– อยากได้ผลตอบแทนจากภูมิภาคอื่น นอกเหนือจากหุ้นไทย
– ไม่รู้จะลงทุนอะไรดี อยากลงอะไรที่มันได้กำไร รับความเสี่ยงขาดทุนได้ พร้อมลงทุนระยะยาวเกิน 1 ปีขึ้นไป
การปรับพอร์ต
พิจารณาทุก 3 เดือนหรือมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้น
มุมมองการลงทุนในปัจจุบัน
การลงทุนทั่วโลกกำลังถูกขับเคลื่อนด้วยปัจจัย 3 เรื่อง คือ ความขัดแย้งระหว่างประเทศมหาอำนาจ เงินเฟ้อที่เร่งตัว และราคาอาหารกับพลังงานที่แพง ซึ่งทั้งหมดกำลังเปลี่ยนภาพการลงทุนแบบเดิมที่เคยประสบความสำเร็จมาในอดีต ทำให้กลยุทธ์แบบเดิมอาจไม่เหมาะสมกับสภาวะตลาดในปัจจุบันและอนาคต
พวกเรา BottomLiner มองว่านโยบายรัฐและธนาคารกลางจะมีผลมากในการกำหนดโอกาสการลงทุน และเป็นสิ่งที่นักลงทุนทั่วไปยังไม่ได้ให้ความสำคัญมากนัก
ยกตัวอย่างเช่น ความขัดแย้งระหว่างยุโรปและรัสเซียทำให้น้ำมันและก๊าซธรรมชาติถูกยกขึ้นมาเป็นหนึ่งในข้อต่อรอง บีบให้ยุโรปต้องเร่งพัฒนาอุตสาหกรรม Clean Energy
หรือการแบนห้ามบริษัทจีนบางรายซื้อสินค้าเทคโนโลยีจากสหรัฐ จึงเป็นแรงกดดันให้จีนต้องเร่งพัฒนาอุตสาหกรรมครบวงจรในประเทศ ส่วนฝั่งสหรัฐเองก็ยังเร่งชิงดีชิ่งเด่นกับทางจีน ดังนั้นจะเร่งให้ hardware tech, commodity ที่จำเป็นต่อเทคโนโลยีสำคัญได้ประโยชน์
ความเสี่ยงที่ต้องจับตาต่อไปคือการขึ้นดอกเบี้ยอย่างรุนแรงและรวดเร็วอย่างต่อเนื่อง ทำให้เราต้องระมัดระวังต่อไป
หากพิจารณาในมุม Megatrend ที่มาแรง อยู่ใน S-Curve ช่วงแรก หรือได้รับอานิสงค์จากราคาน้ำมันที่สูง และภาครัฐผลักดัน จะได้คำตอบว่า EV เป็นธีมการลงทุนที่น่าสนใจ เพราะเป็นทั้งต้นน้ำ ผู้ผลิตสารต้งต้นทั้ง IGBT Mosfet ไปจน semiconductor ปลายน้ำ ที่จ่ายกระแสไฟ หรือทำระบบปัญญาประดิษฐ์ขับเคลื่อนอัจฉริยะต่าง ๆ ไปจนถึงผู้ผลิตและจำหน่ายรถยนต์ อีกทั้ง valuation ความถูกแพงเทียบกับ growth หลายตัวอยู่ในระดับน่าสนใจทั้งฝั่งสหรัฐฯ และจีน
ส่วน Megatrend ที่เคยมาแรง ย่อลึก ดูผิว ๆน่าลงทุน เช่น Biotech แม้จะเริ่มมีโอกาสในการ ส่ง clinical trial ครั้งใหม่ แต่ก็ยังต้องเผชิญกับช่วงเวลาเพิ่มทุน เม่าร้องระงม แต่เนื่องจากตลาดก็ได้ปรับฐานมาพอสมควรแล้ว สำหรับกลยุทธ์ OMO เราจึงพิจารณาให้ชะลอการลงทุนกลุ่มนี้ หันกลับมาเกาะหุ้นใหญ่อย่าง S&P500
ลงทุนใน Megatrend เด่น กับกองทุนที่ใช่ พร้อม Optimize ความเสี่ยงและผลตอบแทนที่ได้รับ โดย BottomLiner
ดูรายละเอียดพอร์ต >>> https://finno.me/guruport-bottomliner
BottomLiner
ขั้นตอนการลงทุนในพอร์ตนี้เป็นอย่างไร?
คุณสามารถลงทุนในพอร์ต Optimal Megatrend Opportunities โดยผ่าน 3 ขั้นตอนง่าย ๆ ดังนี้ครับ
1. เลือกแผนการลงทุน
ศึกษาข้อมูลของแผนการลงทุน ตรวจสอบว่าเหมาะสมกับเป้าหมายการลงทุนของคุณหรือไม่
2. เปิดบัญชีลงทุน
สามารถเปิดบัญชีได้ทั้งในเว็บไซต์และแอปพลิเคชันของ FINNOMENA เอง โดยบัญชีนี้สามารถลงทุนได้กว่า 1,000 กองทุนจาก 22 บลจ.
3. ลงทุนตามคำแนะนำ
รอรับคำแนะนำจากทางระบบทั้งผ่าน Notification และอีเมลในวันถัดไป และสามารถเริ่มลงทุนตามแผนที่วางไว้ได้ทันทีครับ
คำเตือน
ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน | ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”