หลายคนอาจจะเคยได้ยินโฆษณาว่าซื้อประกันสะสมทรัพย์ จะได้ผลตอบแทนหลายสิบ หลายร้อยเปอร์เซ็นต์ แถมยังเป็นผลตอบแทนแบบการันตี ไม่มีผันผวนระหว่างอีกด้วย นี่เป็นความเข้าใจที่ถูกต้องแล้วหรือยัง มาหาคำตอบกันในคลิปนี้

ผลตอบแทนของประกันสะสมทรัพย์ ที่มักจะได้ยินจากโฆษณากันบ่อย ๆ ว่า ให้ผลตอบแทนเป็น 10% 100% ทำให้ใครหลาย ๆ คนที่ไม่ได้ฟังรายละเอียดให้ดี อาจเข้าใจว่าผลตอบแทนของประกันสะสมทรัพย์นั้นสูงมาก ๆ แต่ในความเป็นจริงแล้วผลตอบแทนของประกันสะสมทรัพย์จะใกล้เคียงกับอัตราเงินฝากประจำเท่านั้น

การคำนวณผลตอบแทนของประกันสะสมทรัพย์

  • โดยทั่วไป เวลาเราพูดถึงผลตอบแทนของการลงทุน เราจะพูดเป็น % เทียบจาก “เงินต้น” ที่เราได้ลงทุนไป อย่างถ้าลงทุนหุ้นด้วยเงิน 100 บาท ต่อมาราคาหุ้นเพิ่มขึ้น จาก 100 บาทกลายเป็น 105 บาท ใน ปี ก็แปลว่าผลตอบแทนที่เราได้รับคือ 5% 
  • แต่ในฝั่งประกันสะสมทรัพย์ ผลตอบแทนเป็น % ที่ว่า เป็นการคำนวณจาก “ทุนประกันชีวิตตั้งต้น” ที่เราจะได้รับจากประกันสะสมทรัพย์แบบนั้น ๆ  เช่น ซื้อประกันชีวิตแบบจ่ายเบี้ย ปี ปีละ 50,000 บาท โดยแบบประกันนี้ให้ความคุ้มครองเป็นทุนประกันชีวิตเริ่มต้น 100,000 บาท ระยะเวลาคุ้มครอง 10 ปี และจะได้เงินคืนปีละ 5% ไปเรื่อย ๆ จนปีสุดท้ายจะได้เงินคืนรวมเงินครบสัญญา 255%
  • แบบนี้ก็จะแปลว่าจะได้เงินคืนปีละ 5,000 บาท ทุก ๆ ปี จนปีสุดท้ายจะได้เงินคืนรวมเงินครบสัญญา 255,000 บาท โดยมาจากการนำ 5% และ 255% คูณกับทุนประกันชีวิต 100,000 นั่นเอง
  • ซึ่งถ้าเราลองเทียบเฉพาะปีแรก คือได้เงินคืน 5,000 เทียบกับเบี้ยประกันปีแรกที่จ่ายไป 50,000 ดูเผิน ๆ ก็เหมือนว่าเราจะได้ผลตอบแทนในปีแรกเป็นสูงถึง 10% เมื่อเที่ยบกับเบี้ยประกันปีแรกที่จ่าย แต่ต้องอย่าลืมว่าเมื่อปีต่อมาเราจ่ายเบี้ยประกันเพิ่มอีกปีละ 50,000 บาท แต่เงินที่ได้คืนในแต่ละปีก็ยังล็อกไว้ที่ 5,000 บาทเท่าเดิม
  • นอกจากนี้เมื่อจ่ายครบ ปีเป็นเงิน 250,000 แล้ว ก็ต้องค้างเงินในกรมธรรม์ต่ออีก ปี เพื่อให้ยังได้รับเงินคืน 5,000 บาทไปเรื่อย ๆ จนปีสุดท้ายถึงจะได้เงินก้อน 255,000 ออกมา ดังนั้นเมื่อคำนวณเป็น Internal Rate of Return (IRR) ที่สามารถนำไปเทียบอัตราผลตอบแทนสินทรัพย์ลงทุนอื่น ๆ ได้ จะเท่ากับว่าแบบประกันสะสมทรัพย์ตัวนี้ให้ผลตอบแทนที่ 2.56% ต่อปีเท่านั้น

IRR คืออะไร?

  • IRR เป็นวิธีการคำนวณอัตราผลตอบแทนโดยคำนึงถึงมูลค่าของเงินตามกาลเวลา นั่นคือเงินจำนวนเท่ากันที่จ่ายออกมาก่อน จะมีมูลค่ามากกว่าที่จ่ายออกมาทีหลัง ซึ่งด้วยวิธีการนี้จะทำให้ได้อัตราผลตอบแทนของประกันสะสมทรัพย์ที่สามารถนำไปเปรียบเทียบกับผลตอบแทนของสินทรัพย์ลงทุนอื่น ๆ ได้นั่นเอง
  • ดังนั้นสำหรับผลตอบแทนของประกันสะสมทรัพย์ที่ได้ยินในโฆษณาว่าจะได้เงินคืน 10% 100% นั้น เมื่อคำนวณเป็น IRR แล้ว ผลตอบแทนโดยทั่วไปก็จะอยู่ที่ประมาณ 1-3% เท่านั้น ซึ่งนับได้ว่าใกล้เคียงกับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ โดยที่จะยังไม่รวมผลประโยชน์ในรูปแบบการประหยัดภาษีจากการนำเบี้ยประกันไปลดหย่อนภาษี
  • สำหรับใครที่อยากลองเปรียบเทียบ IRR ของประกันสะสมทรัพย์แต่ละแบบด้วยตัวเอง ก็อาจแนะนำให้ทำตารางหักลบระหว่างเบี้ยประกันที่จ่ายกับเงินคืนที่ได้รับในแต่ละปี แล้วนำเงินสดสุทธิของแต่ละปีไปคำนวณ IRR ดู อาจจะใช้สูตรคำนวณใน Excel หรือจะลองกูเกิ้ลแล้วพิมพ์คำว่า IRR Calculator ก็จะขึ้นหลายเว็บไซต์ที่ให้บริการคำนวณ IRR

หน้าที่ที่แท้จริงของประกันสะสมทรัพย์

  • หน้าที่ที่ประกันสะสมทรัพย์ทำได้เก่งที่สุด แท้จริงแล้วคือการให้ความคุ้มครองที่จะจ่ายเป็นเงินทุนประกันให้คนข้างหลังหากเกิดเหตุฉุกเฉินจนต้องจากไป
  • ส่วนเงินคืนและเงินครบสัญญาเป็นเพียงผลพลอยได้ เพราะถ้าว่ากันด้วยผลตอบแทนและสภาพคล่องของประกันสะสมทรัพย์แล้ว จริง ๆ ก็ไม่ได้เหนือกว่าสินทรัพย์อื่น

ทางเลือกการลงทุนสำหรับผู้ที่ต้องการสร้างผลตอบแทนระยะยาว

  • แนะนำทางเลือกอื่น ๆ ที่เหมาะสมกว่า เช่น กองทุนรวมหุ้น ซึ่งเป็นสินทรัพย์ลงทุนที่ทำให้เข้าถึงการลงทุนหุ้นหลายตัวได้พร้อมกันในทีเดียว เป็นการกระจายความเสี่ยงการลงทุนที่อาจทำให้ความผันผวนของการลงทุนน้อยลงกว่าการลงทุนในหุ้นรายตัว แล้วยังมีผู้จัดการกองทุนรวมมืออาชีพคอยบริหารการลงทุนให้อีกด้วย ส่วนผลตอบแทนก็อาจคาดหวังได้ที่ประมาณ 5 – 12% ต่อปี ขึ้นอยู่กับประเภท นโยบาย อุตสาหกรรม ภูมิภาคที่เลือกลงทุน แต่ก็ต้องอย่าลืมว่าการลงทุนมีความเสี่ยง ก่อนลงทุนจะต้องวางแผนการเงิน และประเมินความสามารถในการรับความเสี่ยงการลงทุนกันก่อนด้วย