ประกัน สินค้าการเงินสำหรับโอนย้ายความเสี่ยงที่ควรมีเป็นลำดับแรก ๆ ในการวางแผนการเงิน ที่ไม่ได้ให้แค่ความอุ่นใจ แต่ยังช่วยประหยัดภาษีอีกด้วย แต่ปัจจุบันประกันก็มีมากมายหลายประเภท แล้วยังเอามาลดหย่อนภาษีได้ไม่เท่ากันอีก แบบนี้จะเลือกยังไง แล้วจะช่วยลดหย่อนภาษีได้เท่าไหร่ มาหาคำตอบในคลิปนี้กันเลย
รายละเอียด: ให้ความคุ้มครองชีวิตแก่ผู้ที่ทำประกันชีวิตเอาไว้ โดยหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้น บริษัทประกันก็จะจ่ายเงินตามทุนประกัน ให้แก่ผู้รับประโยชน์ตามสัญญา ซึ่งก็จะเป็นผู้ที่อาจได้รับผลกระทบจากการจากไปของผู้ที่ทำประกันชีวิตเอาไว้ทางใดทางหนึ่ง เช่น บุคคลในครอบครัว
ประกันชีวิตที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไป จะได้แก่
1. ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ : เบี้ยประกันถูก ทุนประกันสูง แต่ไม่มีเงินคืนระหว่างทาง
2. ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ : ให้เงินคืนระหว่างทาง แต่ให้ทุนประกันต่ำ และมักคุ้มครองในระยะเวลาสั้น
3. ประกันชีวิตแบบ Unit-Linked : ให้ทุนประกันสูง เบี้ยประกันถูกใกล้เคียงแบบตลอดชีพ มีความยืดหยุ่นสูง ปรับเปลี่ยนแผนการจ่ายเบี้ยประกันได้ แต่ไม่สามารถการันตีผลตอบแทน เพราะเป็นการควบการลงทุนในกองทุนรวม
4. ประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา (Term) : จะเป็นแบบที่เบี้ยประกันต่ำ ความคุ้มครองสูง แต่จะไม่มีเงินคืนและไม่มีมูลค่าเวนคืนกรมธรรม์ เป็นการจ่ายเบี้ยประกันแลกกับความคุ้มครองชีวิตล้วน ๆ
เกณฑ์การลดหย่อนภาษี
รายละเอียด: ให้ความคุ้มครองสุขภาพ ทั้งกรณีเจ็บป่วยด้วยโรคภัยต่าง ๆ และด้วยอุบัติเหตุ
หากคุณคิดจะลงทุนเพิ่มในกองทุนรวม นี้คือสิ่งที่คุณไม่อยากพลาด! สมัครสมาชิกตอนนี้เพื่อรับโพยกองทุนเด็ดที่แนะนำ อัพเดททุกเดือนจาก FINNOMENA
กดที่นี่เพื่อรับโพยกองทุนประกันสุขภาพที่ได้รับความนิยมหลัก ๆ ก็จะได้แก่
1. ประกันสุขภาพแบบคุ้มครองค่ารักษาพยาบาล
2. ประกันชดเชยรายได้รายวัน กรณีนอนโรงพยาบาล
3. ประกันโรคร้ายแรงแบบให้เงินชดเชยเป็นเงินก้อน
เกณฑ์การลดหย่อนภาษี
รายละเอียด: ให้ความคุ้มครองในรูปแบบการการันตีรายได้หลังเกษียณเป็นหลัก ประกันลักษณะนี้จะมีลักษณะกำหนดให้จ่ายเบี้ยประกันต่อเนื่องไปจนกว่าจะเริ่มรับเงินบำนาญ คือเมื่ออายุครบ 55 ปีเป็นอย่างน้อย แล้วจะการันตีเงินเกษียณเป็นงวดรายปีไปเรื่อยๆ จนกว่าจะครบสัญญา
สิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับประกันบำนาญ
1. เป็นการล็อกผลตอบแทนแบบการันตีในระยะยาว ท่ามกลางสถานการณ์ปัจจุบันที่ผลตอบแทนสินทรัพย์ความเสี่ยงต่ำมีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ
2. ประกันบำนาญก็อาจไม่เหมาะกับการวางแผนความคุ้มครองชีวิตเสียทีเดียว เพราะถึงมีความคุ้มครองชีวิตด้วย แต่ก็ให้ความคุ้มครองน้อยมากเมื่อเทียบกับเบี้ยประกันที่ได้จ่าย รวมถึงทุนประกันแต่ละปีก็ไม่แน่นอน คือจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในช่วงที่จ่ายเบี้ยประกัน และลดลงเรื่อย ๆ เมื่อเริ่มรับเงินบำนาญแล้ว
เกณฑ์การลดหย่อนภาษี
หากคุณคิดจะลงทุนเพิ่มในกองทุนรวม นี้คือสิ่งที่คุณไม่อยากพลาด! สมัครสมาชิกตอนนี้เพื่อรับโพยกองทุนเด็ดที่แนะนำ อัพเดททุกเดือนจาก FINNOMENA
กดที่นี่เพื่อรับโพยกองทุนArticle, Basic, FINNOMENA CHANNEL, Knowledge, TAX เพื่อนๆ, Video, ประกัน, ประกันชีวิต, ประกันบำนาญ, ประกันสุขภาพ, ลดหย่อนภาษี