รวมกลุ่มกองทุนดัชนี: ลงทุนได้ทุกตลาดทั่วโลก

วันนี้ เด็กการเงิน จะพาทุกคนไปรู้จักกับ Index Fund (กองทุนดัชนีหุ้น) ทั่วโลก ที่เราสามารถลงทุนได้ผ่านกองทุนในไทย เปรียบเสมือนเราลงทุนได้ในทุกตลาดของโลกผ่านกองทุนรวม!! โดยที่เราไม่จำเป็นต้องไปเปิดพอร์ตหุ้นต่างประเทศ แค่มีบัญชีกองทุนรวมก็ได้แล้ว แถมค่าธรรมเนียมยังถูกอีกด้วย

กองทุน Passive Fund ที่ล้อตามผลตอบแทน (Total Return) ของ Index เหล่านี้ มีเป้าหมายทำให้ได้ผลตอบแทนใกล้เคียง Index ที่สุด ต่างจากกองทุนแบบ Active ที่มีเป้าหมายในการเอาชนะ Index เหล่านี้ให้ได้ ซึ่งหลายครั้งกองทุน Active เอาชนะไม่ได้อยู่เหมือนกันนะ ดังนั้นกองทุนประเภทนี้จึงเหมาะกับคนที่ต้องการผลตอบแทนใกล้เคียงตลาดที่สุด ซึ่งความเสี่ยงได้ถูกกระจายออกไปเพราะมีการกระจุกตัวในหุ้นตัวใดตัวหนึ่งต่ำ และความเสี่ยงจะขึ้นอยู่กับตลาดที่เราลงทุนเท่านั้น

รวมกลุ่มกองทุนดัชนี: ลงทุนได้ทุกตลาดทั่วโลก

รวมกลุ่มกองทุนดัชนี: ลงทุนได้ทุกตลาดทั่วโลก

รวมกลุ่มกองทุนดัชนี: ลงทุนได้ทุกตลาดทั่วโลก

ที่มา: เพจเด็กการเงิน DekFinance
ข้อมูล ณ เดือนธันวาคม 2022

ข้อดีของกองทุน Index ดีอย่างไร?

  1. ผลตอบแทนเคลื่อนไหวไปพร้อมดัชนี ไม่ต้องพึ่งพาผู้จัดการกองทุนในการเลือกหุ้น เลือกหุ้นให้ได้เท่ากับน้ำหนักของตลาด ณ ขณะนั้น
  2. มีค่าใช้จ่ายในการจัดการที่ถูก เปรียบเสมือน Low Cost Airline ผลตอบแทนถึงเป้าหมายได้ โดยไม่ต้องใช้ต้นทุนสูง

กองทุน Index ที่มีอยู่ตลาด มักจะลงทุนผ่านกองทุน ETF ที่เทรดอิงกับดัชนีนั้น ๆ โดยตรง กองทุน Index ที่ให้เราเลือกซื้อได้ มีดังนี้

1. MSCI World Index

ดัชนีรวมหุ้นประเทศพัฒนาแล้ว เช่น USA ยุโรป ญี่ปุ่น เป็นต้น

2. MSCI All Country World Index (ACWI)

ดัชนีรวมหุ้นประเทศพัฒนาแล้ว และประเทศเกิดใหม่ (Emerging Market)

3. Emerging Markets กลุ่มตลาดประเทศเกิดใหม่

3.1 MSCI Emerging Markets Index ดัชนีรวมหุ้นประเทศเกิดใหม่ เช่น จีน, ไต้หวัน, เกาหลีใต้, อินเดีย และบราซิลเป็นต้น (พี่ไทยอยู่ในนี้ด้วยนะ)

3.2 Latin America ดัชนี Latin America 40 รวมหุ้นใหญ่ของลาตินอเมริกา 40 ตัวแรก รวม บ. ขนาดใหญ่ ใน Mexico, Brazil และ Argentina

3.3 B.R.I.C. Countries ดัชนีรวมกลุ่ม บ. ในกลุ่มประเทศ B.R.I.C. คือ Brazil, Russia, India และ China

4. MSCI AC Asia Pacific Ex. Japan Index

ดัชนีรวมหุ้นในเอเชียแปซิฟิก ยกเว้นญี่ปุ่น

5. ตลาดหุ้น USA

5.1 S&P500 ตะกร้าหุ้น 500 ตัวแรกของบริษัทจดทะเบียนทั้งหมดใน USA (จัดตาม Market Cap Weight)

5.2 Dow Jones ตะกร้าหุ้น 30 ตัว ที่เป็นตัวแทนตลาดหุ้น USA (จัดตาม Price cap weight)

5.3 NASDAQ ดัชนีตลาด NASDAQ100 เน้นหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีขนาดใหญ่ ไม่มีกลุ่มการเงิน

5.4 Russell 2000 ดัชนีหุ้นขนาดเล็กที่สุด 2,000 ตัวในตลาดหุ้น USA

6. ตลาดหุ้น EU

6.1 STOXX600 ดัชนีหุ้นของภูมิภาค EU รวมหุ้นขนาดใหญ่ 600 ตัว

6.2 STOXX50 จาก STOXX600 ย่อเหลือ 50 ตัวแรก

7. ตลาดหุ้น Germany

มีอยู่หนึ่งดัชนีคือ DAX50 หรือหุ้นใหญ่ 50 ตัวแรก

8. ตลาดหุ้นญี่ปุ่น

8.1 ดัชนีนิเคอิ 225 จัดทำโดย บ. The Nikkei ตั้งแต่ปี 1950

8.2 ดัชนี Tokyo Stock Price (TOPIX) ของ Tokyo Stock Exchange โดยตรง

9. ตลาดหุ้นจีน

9.1 ดัชนี Hangseng หุ้นฮ่องกง + หุ้นจีนเอแชร์

9.2 ดัชนี CSI300 หุ้นเอแชร์ 300 ตัวแรก ในตลาดเซี่ยงไฮ้-ซิเจิ้น

9.3 ดัชนี FTSE A50 หุ้นเอแชร์ขนาดใหญ่ 50 ตัวแรก

10. ตลาดหุ้นอินเดีย

10.1 ดัชนี Nifty50 รวมหุ้น Large Cap 50 ตัวแรกใน National Stock Exchange

10.2 ดัชนี MSCI India ที่รวมหุ้นอินเดียทั้งประเทศ ราว ๆ 90 ตัว ปัจจุบันยังไม่มีดัชนี SENSEX ที่อยู่ในตลาด Bombay

11. ตลาดหุ้นเกาหลีใต้

ที่มีในบ้านเราคือกองทุนที่ลงทุนใน ETF ตามดัชนี MSCI Korea 25/50 ที่มีSamsung เป็นเจ้าของสัดส่วนที่ใหญ่ที่สุด ประมาณ 20% ในปัจจุบันยังไม่มีดัชนี KOSPI ให้ลงทุน

12. ตลาดหุ้นเวียดนาม

กองทุน ETF หนึ่งเดียวที่สามารถซื้อผ่าน Streaming Pro ได้ง่าย ๆ คือ E1VFVN3001 หรือเป็น ETF DR ที่จัดการนำลงทุนไปยังตลาดหุ้นประเทศเวียดนาม ในชื่อ VFMVN30 ETF ลงทุนในหุ้นใหญ่ 30 ตัวแรกตามดัชนีหุ้นเวียดนาม HOSE

13. ตลาดหุ้นอินโดนีเซีย

กองทุนดัชนี MVIS Indonesia Index ลงทุนในหุ้นที่ทำธุรกิจหรือเกี่ยวข้องกับประเทศอินโดนีเซีย มีอย่างน้อย 25 บริษัทและมีสัดส่วนหุ้นตัวใดตัวหนึ่งมากที่สุด 8% นับเป็นตัวแทนของตลาดอินโดนีเซียได้

14. ตลาดหุ้นไทย (New!!)

กองทุนหุ้นไทยมีเยอะมากจริง ๆ วันนี้เราขอรวมกองทุนหุ้นไทยแบบ index fund มาให้ก่อน นั่นคือดัชนี SET, SET100, SET50 และ Jumbo25 โดยทั้งหมดเรียงสัดส่วนของหุ้นในดัชนีแบบ Market Cap Weight ขนาดใหญ่ไปเล็ก หุ้นขนาดใหญ่มักจะได้ประโยชน์จากการที่นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุน เนื่องจากมีสภาพคล่องและการกำกับดูแลที่ดี

ส่วนดัชนี SET HD เป็นตะกร้าหุ้นปันผลดีจัดโดย SET ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ให้เราลงทุนได้ในหุ้นที่มีปันผลสม่ำเสมอ และมีแบบ Sector Focus ด้วย เช่น กลุ่มพลังงาน กลุ่มแบงก์และ ICT ซึ่งการลงทุนกระจุกตัวในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งต้องใช้ความระวังมากขึ้น เนื่องจากการกระจายความเสี่ยงต่ำกว่ากอง index นั่นเอง

หุ้นไทยไม่เคยหมดความขลัง และบางครั้งไม่เคลื่อนไหวตามตลาดโลกอีกด้วย (เป็นข้อดีใช่ไหม) ดังนั้นสามารถจัดพอร์ตลงทุนในมุมสร้างผลตอบแทนที่แตกต่างจากพอร์ตหลัก และกระจายความเสี่ยงได้

เท่านี้ทุกคนก็มีคู่มือในการเลือกกองทุน Index เพื่อจัดพอร์ตให้ตรงกับความต้องการของเราและยังสามารถนำไปเปรียบเทียบกับกองทุนแบบ Active ในกลุ่มประเทศ หรือภูมิภาคเดียวกันได้อีกด้วย

เด็กการเงิน DekFinance

ที่มาบทความ: https://www.facebook.com/DekFinance101/posts/pfbid0HjQQsQJDcvbjxG65Romope2zcXMMZyPYzYhTv8qPZkBEGp4ZEuxCH7CeFR2h55yLl


คำเตือน

ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลของกองทุนรวมโดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายการลงทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุนรวม โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้ขายหน่วยลงทุนก่อนการตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”| สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299