FINNOMENA PORT Strategy เดือนตุลาคม 2020 : Certainty under Uncertainty
สนใจรับคำแนะนำการลงทุน Monthly Port Strategy เพิ่มเติมจาก Investment Advisor >>คลิกที่นี่<<

ปฏิเสธไม่ได้ว่านับตั้งแต่ต้นปี 2020 ที่ผ่านมา โลกการลงทุนเต็มไปด้วยความผันผวนด้วยเหตุปัจจัยหลากหลายที่ผลัดกันเข้ามากระทบอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ส่งผลให้เกิดภาวะชะงักงันทางเศรษฐกิจ จนกระทั่งธนาคารกลางและรัฐบาลต่าง ๆ ทั่วโลก ต้องออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรวมกันมากที่สุดเป็นประวัติการณ์

ซึ่งมีความเป็นไปได้สูงที่ความไม่แน่นอนดังกล่าว ที่อาจเป็นทั้งเรื่องชั่วคราวหรือเปลี่ยนแปลงปัจจัยพื้นฐานก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ การคิดค้นและพัฒนาวัคซีนต้าน COVID-19 หรือระลอกที่ 2 ทำให้ FINNOMENA Investment Team มองหาโอกาสการลงทุนภายใต้แนวทางการลงทุนเพื่อควบคุมความเสี่ยงโดยรวมของพอร์ตการลงทุน โดยไม่เดิมพันกับปัจจัยที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง

The winner is U.S Tech stock

FINNOMENA PORT Strategy เดือนตุลาคม 2020 : Certainty under Uncertainty

รูปที่ 1 Fed Balance Sheet  | Source : Bloomberg.com As of 25/09/20

นับตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม ที่ Fed ใช้นโยบายเข้าซื้อสินทรัพย์แบบไม่จำกัดปริมาณ (Unlimited QE) ประกอบกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยจนถึงระดับ 0% ถึง 0.25% พร้อมนโยบายการคลังจากสภาราว 2 ล้านล้านดอลลาร์ สะท้อนความแข็งแกร่งและความได้เปรียบของนโยบายการเงินและการคลังที่สามารถนำมาใช้เพื่อรับมือผลกระทบจาก COVID-19 เหนือภูมิภาคอื่น

FINNOMENA PORT Strategy เดือนตุลาคม 2020 : Certainty under Uncertainty

รูปที่ 2 Daily Covid Case, Winner & Looser Market Cap. Change Year to Date   | Source : Bloomberg.com As of 25/09/20

ในช่วงเวลาเดียวกันเชื้อไวรัสยังคงแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่องส่งผลให้ภาครัฐต้องใช้มาตรการ Lockdown ซึ่งส่งผลดีต่อหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีโดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจ cloud ที่มีรูปแบบธุรกิจซึ่งได้รับประโยชน์จากภาวะดังกล่าว โดยทั้งผลตอบแทนและคาดการณ์ผลประกอบการในช่วงระหว่างปลายไตรมาสที่ 1 จนถึงราวไตรมาสที่ 3 ปรับตัวขึ้นสูงกว่าภาวะปกติ ซึ่งในทางกลับกันก็สร้างแรงกดดันที่มาจากความคาดหวัง

FINNOMENA PORT Strategy เดือนตุลาคม 2020 : Certainty under Uncertainty

รูปที่ 3 S&P 500 Year to Date Earning Revision by Sector | Source : Bloomberg.com As of 25/09/20

ในช่วงเวลาเดียวกันมาตรการกระตุ้นที่ใช้ไปก่อนหน้านี้ รวมไปถึงการคลายมาตรการ Lockdown เริ่มปรากฏผลดีต่อเศรษฐกิจซึ่งสะท้อนผ่านตัวเลขในหลายภาคส่วนเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว เช่น การจ้างงานและอัตราการว่างงาน ภาคค้าปลีก และการผลิต ทำให้ประโยชน์ที่หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีได้รับมาก่อนหน้านี้ลดลงสู่ภาวะปกติ ดังนั้นหากผลประกอบการที่จะเปิดเผยออกมาในช่วงเวลาต่อจากนี้ไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ อาจมีแรงเทขายหุ้นกลุ่มดังกล่าวออกมา

Another region is rising

FINNOMENA PORT Strategy เดือนตุลาคม 2020 : Certainty under Uncertainty

รูปที่ 4 US, China UK, Germany & Japan Unemployment Rate July 2020 Compare to Dec 2019 | Source : Bloomberg.com As of 25/09/20

โดยในขณะที่การค้าระหว่างประเทศต้องหยุดชะงัก จะเห็นว่าประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ทั่วโลกได้มีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในแนวทางเดียวกับสหรัฐฯ คือกระตุ้นตลาดแรงงานและการบริโภคภายใน ซึ่งเริ่มสะท้อนผลดังกล่าวออกมาบ้างแล้ว แม้อัตราการว่างงานของสหรัฐฯ จะยังสูงกว่าระดับก่อนเกิดการแพร่ระบาด แต่จากประมาณการของ Fed ในการประชุมเดือนกันยายน พบว่าประมาณการอัตราการว่างงานดีขึ้นกว่าการประชุมเมื่อเดือนมิถุนายนสะท้อนมุมมองและความมั่นใจที่มีแนวโน้มดีขึ้น

FINNOMENA PORT Strategy เดือนตุลาคม 2020 : Certainty under Uncertainty

รูปที่ 5 US, China UK, Germany & Japan Unemployment Rate July 2020 Compare to Dec 2019 | Source : Bloomberg.com As of 25/09/20

ด้านตัวเลขค้าปลีกของสหรัฐฯ สหราชอาณาจักร และเยอรมนี ซึ่งต่างมีการบริโภคภายในเป็นสัดส่วนหลักของการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) ฟื้นตัวขึ้นมาเหนือระดับก่อนเกิดการแพร่ระบาดเรียบร้อยแล้ว ส่วนประเทศจีนเริ่มฟื้นตัวด้วยภาคการผลิต ด้านเศรษฐกิจประเทศญี่ปุ่นที่ใช้ทั้งนโยบายการเงินและการคลังในปริมาณมหาศาลยังอยู่ในระดับต่ำกว่าช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาด

FINNOMENA PORT Strategy เดือนตุลาคม 2020 : Certainty under Uncertainty

รูปที่ 6 2020 & 2021 GDP Forecast | Source : Bloomberg.com As of 25/09/20

โดยจากคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจของปี 2020 สะท้อนภาพที่ชัดเจนว่าประเทศในกลุ่ม Asia ex. Japan โดยเฉพาะประเทศที่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้รวดเร็ว และมีโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่ปรับตัวได้ตามกระแสเทคโนโลยีได้รับผลกระทบที่ต่ำกว่าประเทศอื่น ในส่วนปี 2021 นักวิเคราะห์ก็ยังคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจะมีอัตราการขยายตัวที่โดดเด่นเช่นเดียวกัน

Risks are all around

FINNOMENA PORT Strategy เดือนตุลาคม 2020 : Certainty under Uncertainty

รูปที่ 7 US, Thailand, China, South Korea, Europe COVID-19 Daily New Cases  | Source : John Hopkins As of 25/09/20

หลังคลายมาตรการ Lockdown ได้เพียง 2-3 เดือน ก็เกิดการระบาดระลอกที่ 2 (Second Wave) ในภูมิภาคยุโรปสร้างความกังวลว่าอาจมีการใช้มาตรการ Lockdown เต็มรูปแบบอีกครั้ง เช่นเดียวกับสหรัฐฯ ที่ตัวเลขผู้ติดเชื้อเริ่มเพิ่มขึ้น

FINNOMENA PORT Strategy เดือนตุลาคม 2020 : Certainty under Uncertainty

รูปที่ 8 วิธีและชื่อวัคซีนไวรัสโคโรน่า I Source : https://www.sandiegouniontribune.com/news/science/story/2020-06-06/race-for-vaccine As of 29/9/2020

นอกจากนี้กำหนดการใช้วัคซีนยังเป็นประเด็นที่มีความไม่แน่นอนสูง ซึ่งวัคซีนที่พัฒนาโดยบริษัท AstraZeneca ร่วมมือกับมหาวิทยาลัย Oxford ที่เป็นวัคซีนแบบ Viral vector แม้จะกลับมาทดลองอีกครั้ง แต่คาดว่าต้องเลื่อนกำหนดการออกไปหลังอาสาสมัครที่เข้าร่วมทดลองมีอาการแทรกซ้อน ส่วนวัคซีนชนิดเดียวกันที่พัฒนาโดย Johnson&Johnson มีกำหนดการเบื้องต้นว่าจะนำมาใช้ราวต้นปี 2021

ด้าน 2 วัคซีนแบบ mRNA พัฒนาโดยบริษัท Moderna และ Pfizer ก็กำหนดการนำมาใช้ประมาณปลายปี 2020 อย่างไรก็ตาม กำหนดการดังกล่าวอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ความคาดหวังดังกล่าวจึงมาพร้อมความกังวล และอาจสร้างความผันผวนต่อตลาดหากมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น

FINNOMENA PORT Strategy เดือนตุลาคม 2020 : Certainty under Uncertainty

รูปที่ 9 ผลกระทบจากมาตรการของผู้สมัครทั้ง 2 ฝ่าย  | Source : Fivethirtyeight, Morgan Stanley, ING As of 25/09/20

อีกประเด็นที่ต้องติดตาม คือการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่นโยบายของนายโจ ไบเดนและนายโดนัลด์ ทรัมป์ตัวแทนจากทั้ง 2 พรรคมีความแตกต่างกัน ทั้งในด้านสาธารณสุข อัตราภาษีนิติบุคคล หรือนโยบายการต่างประเทศ ซึ่งนโยบายของนายโจ ไบเดนนั้นมีแนวโน้มสร้างแรงกดดันต่อตลาดหุ้นสหรัฐฯ มากกว่า ขณะที่คะแนนนิยมของนายโดนัลด์ ทรัมป์นั้นต่ำกว่านายโจ ไบเดน อย่างต่อเนื่อง

China, everything for Asia Ex. Japan

FINNOMENA PORT Strategy เดือนตุลาคม 2020 : Certainty under Uncertainty

รูปที่ 10 Asia Ex. Japan GDP and Composite Weighting | Source : Bloomberg.com As of 25/09/20

จากประมาณการ GDP ในปี 2020 และ 2021 แสดงให้เห็นว่าภูมิภาค Asia Ex. Japan เป็นอีกภูมิภาคที่มีความน่าสนใจ เมื่อเจาะลึกลงไปยังสัดส่วน GDP ของภูมิภาค Asia Ex. Japan พบว่าประเทศจีนมีขนาด GDP สูงถึง 78.53% ของตัวเลข GDP ภูมิภาค Asia Ex. Japan เช่นเดียวกับสัดส่วนของหุ้นจีนในดัชนี MSCI Asia Ex. Japan ที่มีถึง 47.10% ดังนั้นประเทศจีนจึงเปรียบเสมือนเครื่องยนต์หลักขับเคลื่อนเศรษฐกิจเอเชีย

FINNOMENA PORT Strategy เดือนตุลาคม 2020 : Certainty under Uncertainty

รูปที่ 11 China, Taiwan, Korea, Philippines, Malaysia, Thailand & India Policy Rate | Source : Bloomberg.com As of 25/09/20

นอกจากการกระตุ้นด้วยการเพิ่มสภาพคล่องโดยธนาคารกลางจีน (PBOC) เข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลในตลาด repo แล้ว ธนาคารกลางจีนยังมีเหลือมาตรการกระตุ้นเพื่อรับมือผลกระทบได้อีก ไม่ว่าจะเป็น RRR ratio หรืออัตราดอกเบี้ยนโยบาย (LPR) โดยเฉพาะอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่สูงกว่าประเทศอื่นในภูมิภาค

FINNOMENA PORT Strategy เดือนตุลาคม 2020 : Certainty under Uncertainty

รูปที่ 12 Fixed Asset Investment & Raw Material Price (%) | Source : Bloomberg.com As of 28/09/2019

ขณะที่ประเทศจีนใช้มาตรการ Lockdown เพื่อควบคุมการระบาด ส่งผลให้การบริโภคภายในชะลอตัว แต่พบว่าภาคการลงทุนฟื้นตัวขึ้นมาอย่างชัดเจนด้วยนโยบายช่วยเหลือจากภาครัฐ และการบริโภคที่เริ่มฟื้นตัวซึ่งก็เป็นปัจจัยหลักที่ช่วยหนุนตัวเลข GDP ไตรมาสที่ 2 กลับมาขยายตัวอีกครั้ง

FINNOMENA PORT Strategy เดือนตุลาคม 2020 : Certainty under Uncertainty

รูปที่ 13 เปรียบเทียบปริมาณการซื้อขายผ่าน e-commerce ของสหรัฐฯ และจีน | Source : UBS asset management As of Oct 2020

จาก Research ของ UBS Asset Management ให้ข้อมูลว่าจีนมีผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตคิดเป็น 15% ของผู้ใช้ทั่วโลก และยังมีช่องว่างสำหรับการเติบโตอยู่เนื่องจากจำนวนผู้ใช้อินเตอร์เน็ตในจีนคิดเป็นเพียง 55.8% ของจำนวนประชากรทั้งหมด ขณะที่ในสหรัฐฯ มีผู้ใช้คิดเป็น 95.6% ของจำนวนประชากรทั้งหมด ซึ่งการใช้อินเตอร์เน็ตในจีนส่งผลให้ชาวจีนจ่ายเงินผ่านช่องทางออนไลน์ในปี 2017 ถึง 15 ล้านล้านดอลลาร์ ส่วนในสหรัฐฯ มียอดเงินเพียง 2 ล้านล้านดอลลาร์

FINNOMENA PORT Strategy เดือนตุลาคม 2020 : Certainty under Uncertainty

รูปที่ 14 การเติบโตของปริมาณการบริโภคสุราแต่ละ segment | Source : UBS asset management As of Oct 2020

ตลอดช่วงที่ผ่านมา ประเทศจีนเปลี่ยนโครงสร้างจากประเทศส่งออกเป็นพึ่งพาการบริโภคภายใน และเนื่องด้วยความมั่งคั่งที่เพิ่มขึ้น การบริโภคภายในเน้นหนักไปยังสินค้าระดับ premium และหนึ่งในสินค้านั้นคือ กลุ่มสุราราคาระดับ premium และ Ultra premium ซึ่งจากปี 2016 ถึง 2020 คาดว่าปริมาณการบริโภคเติบโตที่ประมาณ 15%

FINNOMENA PORT Strategy เดือนตุลาคม 2020 : Certainty under Uncertainty

รูปที่ 15 เปรียบเทียบเบี้ยประกันชีวิตต่อ GDP ของแต่ละประเทศ | Source : UBS asset management As of Oct 2020

การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุหนุนให้อุตสาหกรรมสุขภาพและประกันชีวิตขยายตัว โดยมีประมาณการว่าตลาดสุขภาพของประเทศจีนในปี 2030 จะเติบโตขึ้นอีก 3 เท่าของปี 2017 ส่วนเบี้ยประกันชีวิตต่อ GDP ในจีน ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก โดยในจีนอยู่ที่ 2.30% ต่อ GDP ส่วนตลาดโลกอยู่ที่ 3.40% ต่อ GDP ดังนั้นด้วยขนาดประชากร โครงสร้างประชากร และความมั่งคั่งที่เพิ่มขึ้น สามารถช่วยหนุนการเติบโตกับอุตสาหกรรมดังกล่าวได้อีก

FINNOMENA PORT Strategy เดือนตุลาคม 2020 : Certainty under Uncertainty

รูปที่ 16 Price & EPS MSCI Asia Ex. Japan Index / MSCI World Index | Source : Bloomberg.com As of 28/09/2019 

แม้ว่าตัวเลขกำไรต่อหุ้น (EPS) นับตั้งแต่เดือนเมษายนเป็นต้นมาจะดีกว่าตลาดหุ้นโลก อย่างไรก็ตามดัชนีราคายังต่ำกว่าตลาดหุ้นโลก ซึ่ง FINNOMENA Investment team มีมุมมองว่าด้วยกำไรต่อหุ้นที่เหนือกว่าตลาดหุ้นโลก อีกทั้งยัง Lagging ตลาดหุ้นโลก ทำให้ตลาดหุ้น Asia Ex. Japan มีความน่าสนใจในช่วงเวลาต่อจากนี้ นอกจากนั้นค่าความสัมพันธ์ของตลาดหุ้น Asia Ex. Japan และตลาดหุ้นจีน (MSCI China Index) กับดัชนี S&P 500 ในช่วงเวลาตั้งแต่ปี 2018 จนถึงวันที่ 25 กันยายน 2020 อยู่ที่ 0.445 และ 0.504 ต่ำกว่าความสัมพันธ์ของตลาดหุ้นยุโรปกับดัชนี S&P 500 ซึ่งอยู่ที่ 0.688

FINNOMENA PORT Strategy เดือนตุลาคม 2020 : Certainty under Uncertainty

รูปที่ 17 Minimum Spanning Tree Graph of SET Index, MSCI Asia Ex. Japan, S&P 500, MSCI China Index and SPDR Gold ETF | Source : finnomena.com As of 28/09/2019

ด้วย Algorithm : Kruskal’s (ครูสกาล) ที่นำมาใช้เพื่อคำนวณจุดเชื่อมต่อของผลตอบแทนแต่ละสินทรัพย์ โดยใช้ผลตอบแทนของสินทรัพย์ที่เคลื่อนไหวใกล้เคียงกัน ไปจนถึงสินทรัพย์ที่มีผลตอบแทนต่างกันมากที่สุด โดยทดสอบจากต้นปี 2020 ถึงวันที่ 25 กันยายน 2020 ซึ่งผลที่ออกมาแสดงให้เห็นว่า 3 สินทรัพย์ที่ประกอบไปด้วย ดัชนีตลาดหุ้นไทย, ดัชนี S&P500 และ MSCI Asia ex Japan ถูกจัดอยู่ในกลุ่มที่มีผลตอบแทนใกล้เคียงกัน และดัชนีที่มีความต่างของผลตอบแทนแยกออกมาจากกลุ่มนี้คือ MSCI China ตามมาด้วย SPDR Gold ETF ซึ่งมีผลตอบแทนต่างจากกลุ่มแรกมากที่สุดบนการทดสอบนี้

REITs, Gold and Bond are still attractive after pandemic

FINNOMENA PORT Strategy เดือนตุลาคม 2020 : Certainty under Uncertainty

รูปที่ 18 Thailand REITs Yield Spread | Source : finnomena.com As of 30/09/2019

การปรับตัวลงมาของกองทุนอสังหาและ REITs ไทย เป็นผลให้ส่วนต่างอัตราการปันผลกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรไทย (Yield Spread) เพิ่มขึ้นสูงกว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปี นอกจากนี้ด้วยสภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำ พร้อมการคลายมาตรการ Lockdown ที่ทำให้ค่าเช่าเริ่มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ส่งผลให้อัตราการปันผลของกองทุนอสังหาและ REITs มีความน่าสนใจ

FINNOMENA PORT Strategy เดือนตุลาคม 2020 : Certainty under Uncertainty

รูปที่ 19 Top 6 of Thailand REITs Year to Date Best Yield Estimate | Source : finnomena.com As of 30/09/2019

เมื่อพิจารณาข้อมูลการปันผลของกองทุนอสังหาและ REITs ที่มีขนาดใหญ่ในดัชนี SET Property funds & REITS ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงปลายเดือนกันยายน พบว่าอัตราการปันผล ณ ปัจจุบัน สูงกว่าค่าเฉลี่ย อีกทั้งประมาณการอัตราการปันผลในอีก 1 ปีข้างหน้า พบว่าเกือบทั้งหมดมีแนวโน้มฟื้นตัวขึ้น สะท้อนมุมมองที่ดีขึ้นจากการคลายมาตรการ Lockdown

FINNOMENA PORT Strategy เดือนตุลาคม 2020 : Certainty under Uncertainty

รูปที่ 20 ราคาทองคำ, Real Yield, Inflation Expectation and 10 Year Bond Yield | Source : finnomena.com As of 30/09/2019

หลังช่วงการแพร่ระบาดเป็นต้นมาราคาทองคำมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกับตลาดหุ้นโลก ดังนั้นราคาจึงปรับตัวลงในเดือนที่ผ่านมาเช่นเดียวกับตลาดหุ้นโลก นอกจากนั้น Real yield ที่ปรับตัวขึ้นจากมุมมองอัตราเงินเฟ้อที่ชะลอตัวเนื่องตลาดเกิดความกังวลต่อการแพร่ระบาดระลอกที่ 2 ประกอบกับค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้นหลังค่าเงินยูโรอ่อนตัวลงไป ต่างเป็นอีกปัจจัยที่กดดันให้ราคาทองคำปรับตัวลงและทรงตัวในกรอบ 1,850-1,900 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ดังนั้นด้วยปัจจัยเสี่ยงที่ยังมีในอนาคตและมาตรการกระตุ้นส่งผลให้ทองคำเป็นสินทรัพย์ที่ควรมีสัดส่วนในพอร์ตการลงทุน

FINNOMENA PORT Strategy เดือนตุลาคม 2020 : Certainty under Uncertainty

รูปที่ 21 Investment OAS & High Yield OAS | Source : Bloomberg.com As of 28/09/2020

Fed ยังคงมาตรการซื้อพันธบัตรไว้ที่ 80,000 ล้านดอลลาร์ต่อเดือน ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนทรงตัวในกรอบ 0.6-0.7% ด้านผลต่างระหว่างตราสารหนี้เอกชนกับพันธบัตรเพิ่มขึ้นในช่วงตลาดปรับฐานเมื่อเดือนที่ผ่านมา สะท้อนแรงขายในตราสารหนี้เอกชน ด้วยมาตรการเข้าซื้อสินทรัพย์ของ Fed และอัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ที่ยังน่าสนใจในภาวะดอกเบี้ยต่ำ FINNOMENA Investment Team ยังติดตามและประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพื่อหาโอกาสการลงทุนที่น่าสนใจในตลาดตราสารหนี้

FINNOMENA Recommended

GAR (Global Absolute Return)

FINNOMENA PORT Strategy เดือนตุลาคม 2020 : Certainty under Uncertainty

FINNOMENA Investment Team ยังคงแนะนำคงน้ำหนักการลงทุนเดิม เพื่อรับโอกาสสร้างผลตอบแทนด้วยกลุ่มหุ้นผู้นำอย่างสหรัฐฯ ควบคู่ไปกับการควบคุมความเสี่ยงผ่านทางการกระจายการลงทุนในสินทรัพย์ปลอดภัยอย่างทองคำและตราสารหนี้ รวมไปถึงกระจายความเสี่ยงด้วยแนวการลงทุนแบบ Yield Play ผ่าน REITs ไทยที่ยังให้อัตราการปันผลมากกว่าค่าเฉลี่ยในระยะยาว

GIF (Global Income Focus)

FINNOMENA PORT Strategy เดือนตุลาคม 2020 : Certainty under Uncertainty

FINNOMENA Investment Team ยังคงแนะนำคงน้ำหนักการลงทุนเดิม เพื่อรับโอกาสสร้างผลตอบแทนด้วยกลุ่มหุ้นผู้นำอย่างสหรัฐฯ  ควบคู่ไปกับการควบคุมความเสี่ยงผ่านทางการกระจายการลงทุนในสินทรัพย์ปลอดภัยอย่างตราสารหนี้ พร้อมทั้งความสามารถในการสร้างกระแสเงินสดที่สม่ำเสมอจากการจ่าย Auto Redemption และการจ่ายปันผล ในแต่ละกองทุน

GCP (Global Conservative Port)

FINNOMENA PORT Strategy เดือนตุลาคม 2020 : Certainty under Uncertainty

FINNOMENA Investment Team ยังคงแนะนำคงน้ำหนักการลงทุนเดิม โดยเน้นหนักไปที่สินทรัพย์ปลอดภัยจำนวน 70% ของพอร์ตการลงทุน คู่กับการลงทุนในหุ้นทั่วโลกคุณภาพดี 10% เพื่อรับโอกาสสร้างผลตอบแทนได้ใกล้เคียงระดับเป้าหมาย 3-5% ต่อปีในระยะยาว ด้วยความผันผวนในระดับที่ต่ำ

TOP5

FINNOMENA PORT Strategy เดือนตุลาคม 2020 : Certainty under Uncertainty

FINNOMENA Investment Team ยังคงแนะนำคงน้ำหนักการลงทุนเดิม เพื่อรับโอกาสสร้างผลตอบแทนด้วยกลุ่มหุ้นผู้นำอย่างสหรัฐฯ ควบคู่ไปกับการควบคุมความเสี่ยงผ่านทางการกระจายการลงทุนในสินทรัพย์ปลอดภัยอย่างทองคำ ขณะที่ยังคงตราสารหนี้ระยะสั้นไว้บางส่วนเพื่อเป็นสินทรัพย์สภาพคล่อง เพื่อรอโอกาสเข้าลงทุนอีกครั้ง

FINNOMENA Goal Portfolio

FINNOMENA PORT Strategy เดือนตุลาคม 2020 : Certainty under Uncertainty

FINNOMENA Investment Team ยังคงแนะนำคงน้ำหนักการลงทุนเดิม สำหรับพอร์ต Goal โดยเน้นหลักการกระจายการลงทุนทั้งในแง่ของสินทรัพย์ และในแง่ของระยะเวลาด้วยกลยุทธ์การลงทุนแบบ DCA เพื่อเน้นการสะสมมูลค่า สร้างเงินลงทุนให้เติบโตในระยะยาวต่อไป

FINNOMENA Investment Team


คำเตือน

ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน