สถานการณ์เศรษฐกิจและตลาดโลก

ตัวเลขทางเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศสหรัฐฯ ยุโรป รวมไปถึงภูมิภาคเอเชีย มีสัญญาณการชะลอตัว ทำให้ทั้งธนาคารกลางและรัฐบาลเริ่มมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านทั้งนโยบายการเงินและการคลัง เช่น ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย, อัดฉัดสภาพคล่องเข้าระบบการเงิน และลดอัตราภาษีเงินได้ 

ในระยะหลังตลาดการเงินเริ่มตอบสนองต่อประเด็นการเมืองระหว่างประเทศน้อยลง และเพิ่มความสนใจต่อมาตรการกระตุ้น ซึ่ง FINNOMENA Investment Team มองว่าตลาดจะตอบสนองในเชิงบวกต่อมาตรการกระตุ้น

รูปที่ 1 คาดการณ์การขยายตัวของกำไรดัชนี S&P 500 I Source : LPL Research as of 16/10/2019

ในขณะเดียวกันประมาณการรายได้และกำไรของตลาดหุ้นของไตรมาสที่ 3 รวมไปถึงปี 2020 เริ่มถูกปรับขึ้น FINNOMENA Investment Team จึงมีมุมมองว่าผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนทั่วโลกจะเริ่มฟื้นตัวขึ้น ประกอบกับสถิติผลตอบแทนของตลาดหุ้นย้อนหลัง 20 ปี พบว่าทั้งไตรมาสที่ 4 และ 1 ของปี ตลาดหุ้นทั่วโลกมีโอกาสสร้างผลตอบแทนเป็นบวกประมาณ 60-80%

ด้วยเหตุผลข้างต้นทำให้ FINNOMENA Investment Team แนะนำนักลงทุนปรับสัดส่วนการลงทุนของพอร์ตดังนี้

เพิ่มสัดส่วนการลงทุนในกองทุน TMBGQG

กองทุน TMGGQG จะเน้นลงทุนในกองทุน Wellington Global Quality Growth Fund เพียงกองทุนเดียว ซึ่งมีนโยบายลงทุนเชิงรุก (Active) ในหุ้นทั่วโลก พร้อมปรับสัดส่วนการลงทุนตามสถานการณ์ การเติบโตและมูลค่าของหุ้น ทำให้มีผลการดำเนินงาน ความผันผวนและ Maximum drawdown ที่โดดเด่นเหนือกองทุนอื่นที่เป็นประเภทเดียวกัน

รูปที่ 2 สัดส่วนการลงทุนในแต่ละอุตสาหกรรมของกองทุน I Source : Wellington funds as of 16/10/2019

โดยการลงทุนเชิงรุกของกองทุนสะท้อนออกมาชัดเจนผ่านการปรับพอร์ตลงทุนของกองทุนในช่วงเดือนกันยายนที่ผ่านมา ซึ่งลดสัดส่วนหุ้นในกลุ่มอุปโภคบริโภค (Consumer) และโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) และเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในหุ้นกลุ่ม Technology เช่น Microsoft, Alphabet, Facebook รวมไปถึงหุ้นผู้นำตลาดในกลุ่ม Semiconductor อย่าง Taiwan Semiconductor

รูปที่ 3 TOP 10 Holdings กองทุน Wellington Global Quality Growth Fund I Source : Wellington funds as of 16/10/2019

ซึ่งที่ผ่านมาผลประกอบการของหุ้นกลุ่มดังกล่าวยังขยายตัวเพียงแต่ขยายตัวในอัตราที่ลดลง อย่างไรก็ตาม จากคาดการณ์และผลประกอบการที่ออกมาเมื่อไตรมาสก่อน บ่งชี้ไปในทางเดียวกันว่าทั้งรายได้และกำไรกำลังกลับมาขยายตัวอีกครั้ง

  • Microsoft

รูปที่ 4 ประมาณการรายได้และกำไร Microsoft  I Source : CNN Money as of 16/10/2019

เป็นผู้นำในกลุ่มอุตสาหกรรม Cloud ด้วยรูปแบบ subscriber ซึ่งนำมาปรับใช้กับบริการ Office365 ทำให้ผลิตภัณฑ์ทั้งสองมีการเติบโตของรายได้ที่ 64% และ 31% (YoY) เมื่อไตรมาสก่อน นอกจากนี้ LinkedIn อีกหนึ่ง Social media เติบโตขึ้น 25% และยังมีจำนวนผู้ใช้เพียง 645 ล้านผู้ใช้ ทำให้มีโอกาสขยายตัวได้สูง ขณะเดียวกัน Microsoft เริ่มขยายธุรกิจไปสู่ Gaming ที่เน้นไปยัง Mobile gaming อีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่เริ่มขยายตัวและมีโอกาสอีกมากในอนาคต

  • Alphabet (Google)

รูปที่ 5 ประมาณการรายได้และกำไร Alphabet  I Source : CNN Money as of 16/10/2019

สร้างความได้เปรียบในการเพิ่มรายได้ด้วยข้อมูลผู้ใช้ที่มีมหาศาลที่นำมาพัฒนาการโฆษณาออนไลน์ (Social ads) และเพิ่มรายได้จาก Youtube ด้วย YouTube Music and YouTube Premium กว่า 60 ประเทศ จาก 5 ประเทศเมื่อเริ่มต้นปี 2018

  • Facebook

รูปที่ 6 ประมาณการรายได้และกำไร Facebook I Source : CNN Money as of 16/10/2019

ยังเป็นผู้นำในวงการ Digital ads ซึ่งมีลักษณะเป็น duopoly ระหว่าง Facebook และ Google ซึ่งจะเป็นงบประมาณของบริษัทส่วนสุดท้ายที่จะถูกปรับลดในยุคนี้ นอกจากนี้เริ่มเพิ่มรายได้จากแอพพลิเคชั่นอื่น เช่น Instragam, Whatsapp

กองทุนยังมีสัดส่วนการลงทุนในหุ้นกลุ่มอุปโภคบริโภคและค้าปลีกซึ่งเป็นภาคส่วนที่ยังแข็งแกร่งอยู่แม้จะเผชิญกับปัญหาสงครามการค้า ที่สะท้อนผ่านรายได้ ตัวเลขการบริโภคภายใน และตัวเลขค้าปลีกซึ่งรักษาระดับการเติบโตได้ตลอดปีที่ผ่านมา เช่น Visa, Nestle

ด้วยสัดส่วนการลงทุนดังกล่าวทำให้ FIINNOMENA Investment Team มองว่าสอดคล้องกับมุมมองเชิงบวกของมาตรการกระตุ้น การปรับเพิ่มประมาณการ อีกทั้งผลประกอบการยังได้รับผลกระทบจากความไม่แน่นอนระหว่างประเทศอย่างจำกัดและต่ำกว่าตลาดหุ้นโดยรวม

เพิ่มสัดส่วนการลงทุนในกองทุน Principal APDI

กองทุน Principal APDI มีนโยบายลงทุนเชิงรุก (Active) ในสินทรัพย์ที่อยู่ในภูมิภาคเอเชียยกเว้นญี่ปุ่น (Asia ex. Japan)  มีสัดส่วนการลงทุนหลักในสิงคโปร์ ฮ่องกง และออสเตรเลีย

เป็นอีกภูมิภาคที่มีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจออกมาอย่างต่อเนื่องซึ่ง FINNOMENA Investment Team มองว่าจะเป็นผลดีต่อภาพรวมเศรษฐกิจของภูมิภาคนี้ นอกจากนั้นด้วยค่าเงินที่อ่อนค่าลงเป็นอีกปัจจัยที่ช่วยพยุงภาคส่งออก ในอีกแง่ช่วยลดการนำเข้าเพิ่มการกระตุ้นเศรษฐกิจภายใน

รูปที่ 7 ข้อมูลเชิงพื้นฐานของ MSCI AC Asia ex Japan I Source : https://www.msci.com/documents/10199/27561c18-c30e-4d12-9321-5c83094e0d65 as of 11/10/2019

ในด้านมูลค่า (Valuation) อยู่ในระดับต่ำกว่าตลาดหุ้นทั่วโลก เช่นเดียวกับการขยายตัวของกำไรที่ยังสูงกว่าภูมิภาคอื่น (EPS growth ปี 2020 ที่ 13.9% VS World 9.8%)

รูปที่ 8 TOP 10 Holdings กองทุน Principal APDI Fund I Source : Principal as of 16/10/2019

ด้าน Top Holding ของกองทุนมีสัดส่วนในหุ้นกลุ่ม Technology เปรียบเสมือนการลงทุนเชิงรุกของพอร์ต ในขณะเดียวกันยังมีสัดส่วนในกลุ่ม REITs และประกัน ที่เป็นสัดส่วนเชิงรับซึ่งยังได้รับผลดีจากอัตราการปันผลที่สูงกว่าสินทรัพย์อื่นในช่วงที่มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยช่วยสร้างสมดุลให้กับพอร์ตการลงทุน

  • Taiwan Semiconductor

รูปที่ 9 ประมาณการรายได้และกำไร Taiwan Semiconductor I Source : CNN Money as of 16/10/2019

ผลประกอบการกลับมาขยายตัวอีกครั้งหลังลงไปแตะระดับต่ำสุดเมื่อไตรมาสแรกของปี เนื่องจากมีความต้องการชิปที่เกี่ยวข้องกับ 5G นอกจากนี้นักวิเคราะห์ยังปรับประมาณการทั้งรายได้และกำไรเพิ่มขึ้นอีก

จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ มูลค่าและการขยายตัวของกำไร ประกอบกับมุมมองการจัดสัดส่วนการลงทุนของกองทุน ทำให้ FINNOMENA Investment Team มีมุมมองเชิงบวกต่อภูมิภาคดังกล่าว

ลดสัดส่วนการลงทุนในกองทุน KFAFIX

แม้จะยังมีแนวโน้มการปรับลดอัตราดอกเบี้ยแต่ด้วยผลเชิงบวกของนโยบายกระตุ้นต่อสภาพเศรษฐกิจและสถิติผลตอบแทนในอดีต ประกอบกับคำแนะนำเพิ่มสัดส่วนการลงทุนกองทุนตราสารหนี้ระยะยาวในพอร์ตการลงทุนเมื่อเดือนกันยายน ทำให้ FINNOMENA Investment Team แนะนำลดสัดส่วนการลงทุนในกองทุน KFAFIX ซึ่งเป็นกองทุนตราสารหนี้ไทย และเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในกองทุนหุ้นโลกและภูมิภาคเอเชียยกเว้นญี่ปุ่น เพื่อรับผลดีจากมาตรการกระตุ้นและการปรับเพิ่มประมาณการ

FINNOMENA Recommended

Global Income Focus (GIF)

แนะนำลดสัดส่วน KFAFIX 10%, เพิ่มสัดส่วน TMBGQG 10%

ด้วยแนวโน้มการกระตุ้นเศรษฐกิจที่เพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับตลาดการลงทุนเริ่มตอบรับต่อความเสี่ยงทางด้านการเมืองระหว่างประเทศที่ลดลง ประมาณการรายได้และกำไรของตลาดหุ้นของไตรมาสที่ 3 รวมไปถึงปี 2020 เริ่มถูกปรับขึ้น ขณะที่สถิติผลตอบแทนของตลาดหุ้นย้อนหลัง 20 ปี พบว่าทั้งไตรมาสที่ 4 และ 1 ของปี ตลาดหุ้นทั่วโลกมีโอกาสสร้างผลตอบแทนเป็นบวกประมาณ 60-80% สะท้อนศักยภาพในการสร้างผลตอบแทนที่สูง FINNOMENA Investment Team จึงแนะนำเพิ่มน้ำหนักการลงทุนใน TMBGQG

Global Conservative Portfolio (GCP)

แนะนำลดสัดส่วน KFAFIX 10%, เพิ่มสัดส่วน TMBGQG 10%

ด้วยแนวโน้มการกระตุ้นเศรษฐกิจที่เพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับตลาดการลงทุนเริ่มตอบรับต่อความเสี่ยงทางด้านการเมืองระหว่างประเทศที่ลดลง ประมาณการรายได้และกำไรของตลาดหุ้นของไตรมาสที่ 3 รวมไปถึงปี 2020 เริ่มถูกปรับขึ้น ขณะที่สถิติผลตอบแทนของตลาดหุ้นย้อนหลัง 20 ปี พบว่าทั้งไตรมาสที่ 4 และ 1 ของปี ตลาดหุ้นทั่วโลกมีโอกาสสร้างผลตอบแทนเป็นบวกประมาณ 60-80% สะท้อนศักยภาพในการสร้างผลตอบแทนที่สูง FINNOMENA Investment Team จึงแนะนำเพิ่มน้ำหนักการลงทุนใน TMBGQG 

Global Absolute Return (GAR)

แนะนำลดสัดส่วน KFAFIX 30%, เพิ่มสัดส่วน TMBGQG 20%, เพิ่มสัดส่วน PRINCIPAL APDI 10%

ด้วยแนวโน้มการกระตุ้นเศรษฐกิจที่เพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับตลาดการลงทุนเริ่มตอบรับต่อความเสี่ยงทางด้านการเมืองระหว่างประเทศที่ลดลง ประมาณการรายได้และกำไรของตลาดหุ้นของไตรมาสที่ 3 รวมไปถึงปี 2020 เริ่มถูกปรับขึ้น ขณะที่สถิติผลตอบแทนของตลาดหุ้นย้อนหลัง 20 ปี พบว่าทั้งไตรมาสที่ 4 และ 1 ของปี ตลาดหุ้นทั่วโลกมีโอกาสสร้างผลตอบแทนเป็นบวกประมาณ 60-80% สะท้อนศักยภาพในการสร้างผลตอบแทนที่สูง FINNOMENA Investment Team จึงแนะนำเพิ่มน้ำหนักการลงทุนใน TMBGQG และ PRINCIPAL APDI

TOP5

แนะนำลดสัดส่วน KFAFIX 20%, เพิ่มสัดส่วน TMBGQG 20%

ด้วยแนวโน้มการกระตุ้นเศรษฐกิจที่เพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับตลาดการลงทุนเริ่มตอบรับต่อความเสี่ยงทางด้านการเมืองระหว่างประเทศที่ลดลง ประมาณการรายได้และกำไรของตลาดหุ้นของไตรมาสที่ 3 รวมไปถึงปี 2020 เริ่มถูกปรับขึ้น ขณะที่สถิติผลตอบแทนของตลาดหุ้นย้อนหลัง 20 ปี พบว่าทั้งไตรมาสที่ 4 และ 1 ของปี ตลาดหุ้นทั่วโลกมีโอกาสสร้างผลตอบแทนเป็นบวกประมาณ 60-80% สะท้อนศักยภาพในการสร้างผลตอบแทนที่สูง FINNOMENA Investment Team จึงแนะนำเพิ่มน้ำหนักการลงทุนใน TMBGQG

FINNOMENA Investment Team


คำเตือน

ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต| ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน