พูดถึงมหาอำนาจหลายคนอาจจะนึกภาพของชาติตะวันตกอย่างสหรัฐฯ หรือประเทศอื่น ๆ ในยุโรป แต่เอาเข้าจริงยังมีประเทศอีกมากที่ถือว่าแข็งแกร่งไม่น้อยเลย โดยเฉพาะเมื่อพูดถึงเรื่องเศรษฐกิจ และที่สำคัญคือไม่จำเป็นต้องเป็นชาติตะวันตกเสมอไป

“คุณพูดไม่ได้หรอกว่าคุณเป็นบริษัทที่ประสบความสำเร็จระดับโลก หากคุณยังไม่ได้ฝากรอยเท้าที่ยิ่งใหญ่ไว้ในเอเชีย”

Parag Khanna ผู้เขียนหนังสือ The Future Is Asian ให้สัมภาษณ์กับ McKinsey & Company

อนาคตคือเอเชีย

แม้จีนจะเป็นประเทศถัดมาที่หลายคนน่าจะนึกถึง หากเราพูดถึงอำนาจหรือเศรษฐกิจ แต่ Khanna ย้ำว่าเอเชียเป็นทวีปที่กว้างขวางที่สุด และเป็นที่อยู่ของผู้คนเกือบ 3 ใน 5 ของโลก พูดง่าย ๆ ก็คือ ถึงจีนจะเป็นมหาอำนาจในเอเชีย แต่ทวีปที่กว้างใหญ่แห่งนี้ก็ไม่ได้มีแค่จีน

ยกตัวอย่างให้เห็นภาพมากขึ้น เอเชียยังมี เกาหลีใต้ เจ้าของบริษัทระดับโลกและมีการส่งออกวัฒนธรรมที่แข็งแกร่ง, ฮ่องกง ศูนย์กลางการเงินที่แม้แต่บริษัทดัง ๆ จากจีนก็ต้องมาจดทะเบียนในตลาดนี้, อินเดีย ที่ปัจจุบันกลายเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลกแทนจีนและแข็งแกร่งมากในด้าน STEM, อินโดนีเซีย ซึ่งมีประชากรมากที่สุดในภูมิภาคอาเซียนและในบรรดาประเทศมุสลิมทั้งหมด ไปจนถึงสิงคโปร์ ที่เป็นศูนย์กลางการเงินอีกแห่งในเอเชียและผลิตสตาร์ทอัพออกมามากมาย

โอกาสแห่งอนาคตของเอเชียถูกเน้นย้ำให้ชัดเจนขึ้นไปอีกจากเรื่องราวการเติบโตที่กำลังจะมาถึง เพราะสหรัฐฯ และยุโรปจะโตได้ไม่เกิน 2% ต่อปี ในปี 2023 และ 2024 จากการคาดการณ์ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) สวนทางจีนและอินเดียที่โตได้มากกว่า 4.5% ต่อปีในช่วง 2 ปีข้างหน้า

นอกจากนี้ ถ้ามองภาพให้ใกล้กับปัจจุบันมากขึ้น เศรษฐกิจในฝั่งตะวันออกเดินหน้าฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะหลังจากที่จีนประกาศเปิดประเทศ ซึ่งเป็นแรงหนุนสำคัญต่อการเติบโตของตลาดหุ้นเอเชีย (ยกเว้นญี่ปุ่น) ในปีนี้ หลังจากได้ปรับฐานลงจากจุดสูงสุดก่อนการระบาดของ Covid-19 จนมีมูลค่าที่น่าสนใจ ในขณะที่ตลาดหุ้นฝั่งตะวันตกยังเผชิญกับปัญหาเงินเฟ้อสูง แนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ชะลอตัวลง และการเข้าสู่ภาวะถดถอยของเศรษฐกิจยุโรป

กองทุน B-ASIA คืออะไร ลงทุนที่ไหน มีกลยุทธ์อย่างไร

กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นเอเชีย หรือ B-ASIA เปิดโอกาสการลงทุนในตลาดเอเชียอันร้อนแรงผ่านหน่วยลงทุนของ Invesco Funds – Invesco Asian Equity Fund, Class C (AD) USD (กองทุนหลัก) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV โดยกองทุน B-ASIA มุ่งหวังให้ผลประกอบการเคลื่อนไหวตามกองทุนหลักที่มีนโยบายการดำเนินงานแบบ Active Management

ทั้งนี้ กองทุนหลักมีนโยบายเน้นลงทุนในหุ้นของบริษัทหรือนิติบุคคลอื่นใดที่มีลักษณะ ดังนี้

  1. จดทะเบียนในประเทศภูมิภาคเอเชีย
  2. จดทะเบียนในประเทศที่อยู่นอกภูมิภาคเอเชียแต่ดำเนินธุรกิจหลักในประเทศภูมิภาคเอเชีย
  3. บริษัทโฮลดิ้งที่มีการลงทุนหลักในบริษัทที่จดทะเบียนในประเทศภูมิภาคเอเชีย ทั้งนี้ การลงทุนในแถบภูมิภาคเอเชียดังกล่าวไม่รวมถึงประเทศ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์

กลยุทธ์ของกองทุนหลักซึ่งบริหารจัดการโดย Invesco Management SA คือ การสร้างผลตอบแทนระยะยาวในตลาดเอเชียด้วยการเสาะหาบริษัทที่มีรูปแบบธุรกิจที่ยั่งยืน สร้างเงินสดเก่ง มีงบดุลแข็งแกร่ง แต่อาจอยู่นอกความสนใจของตลาดชั่วครั้งชั่วคราว แล้วเข้าซื้อในราคาต่ำกว่าที่ควรจะเป็น เพื่อสร้างผลตอบแทนที่สูงที่สุด

ชนะขาดด้วยผลงานจับต้องได้

Invesco Asian Equity Fund เป็นกองทุนที่มีผลงานน่าประทับใจ ได้เรตติ้งระดับ 5 ดาวจาก Morningstar นอกจากนี้ กองทุนหลักยังสามารถให้ผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีสูงกว่าดัชนี MSCI AC Asia ex Japan ซึ่งเป็น benchmark ของกองทุนมาได้อย่างต่อเนื่อง

รูปที่ 1: Invesco Asian Equity Fund Cumulative Performance, Source: Invesco Asian Equity Fund Factsheet as of 30/4/2023

ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต

Top 10 Holdings Asian Equity Fund (ข้อมูล ณ วันที่ 30 เม.ย. 66)

รูปที่ 2: Invesco Asian Equity Fund Top 10 Holdings, Source: Invesco Asian Equity Fund Factsheet as of 30/4/2023

คว้าโอกาสจากบริษัทชั้นนำทั่วเอเชีย

การปรับสัดส่วนการถือหุ้นของกองทุนหลักสะท้อนให้เราเห็นได้ชัดเจนว่ากองทุนนี้คือกองทุนที่พร้อมรับทุกโอกาสในเอเชีย ไม่จำกัดอยู่ในประเทศใดประเทศหนึ่งมากเกินไป อย่างล่าสุด Invesco Asian Equity Fund มีการปรับสัดส่วนหุ้นจีนลงจากเมื่อสิ้นเดือนมกราคม 1.6% และให้น้ำหนักในตลาดอินเดียเพิ่มขึ้นผ่านการลงทุนเพิ่มเติมในบริษัท Housing Development Finance Corp (HDFC) ซึ่งเป็นสถาบันการเงินที่ปล่อยสินเชื่อด้านการเคหะของอินเดีย

ในบรรดา 5 บริษัทที่ทางกองทุนหลักถือหุ้นเอาไว้มากที่สุด ก็มีเพียงกองทุนเดียวที่เป็นบริษัทจีน คือ Tencent บริษัทอินเทอร์เน็ตที่มีทั้งแพลตฟอร์มสื่อสาร (WeChat และ QQ) ดิจิทัลคอนเทนต์ (WeTV) และธุรกิจฟินเทค ส่วนบริษัทอื่น ๆ ได้แก่ TSMC ซึ่งเป็นเจ้าตลาดเซมิคอนดักเตอร์จากไต้หวัน และ Samsung Electronics ของเกาหลีใต้

นอกจากนี้ ยังมีบริษัทชั้นนำอีกหลายบริษัทที่ทางกองทุนเข้าไปลงทุน เช่น AIA Group บริษัทประกันภัยชั้นนำจากฮ่องกง Alibaba บริษัทอีคอมเมิร์ซจากจีนที่ยังมีธุรกิจคลาวด์และมีเดียในมือ Ping An Insurance แบรนด์ประกันจีนที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลก NetEase ผู้ผลิตเกมจากจีนเจ้าของเกม Identity V และเกมอื่น ๆ Samsung Fire & Marine Insurance บริษัทประกันอัคคีภัยและประกันทางทะเลของ Samsung บริษัทยักษ์ใหญ่จากเกาหลีใต้ และ ICICI Bank อีกหนึ่งธนาคารชั้นนำจากอินเดีย

รูปที่ 3: เปรียบเทียบการจัดสรรการลงทุนในต่างประเทศของกองทุนหลัก Invesco Asian Equity Fund เมื่อสิ้นสุดเดือนมกราคมและมีนาคม, Source: หนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสำคัญกองทุนรวมบัวหลวงหุ้นเอเชีย (B-ASIA) รอบกุมภาพันธ์ 2566 และรอบเมษายน 2566

รายละเอียดอื่น ๆ ของ B-ASIA (ข้อมูลจากหนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสำคัญ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2566)

  • กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นเอเชีย (B-ASIA) เป็นกองทุนรวมตราสารทุน เน้นลงทุนแบบมีความเสี่ยงต่างประเทศในกลุ่ม Asia Pacific ex Japan
  • ลงทุนในหน่วยลงทุนของ Invesco Funds – Invesco Asian Equity Fund, Class C (AD) USD (กองทุนหลัก) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV
  • กองทุนมุ่งหวังให้ผลประกอบการเคลื่อนไหวตามกองทุนหลัก โดยกองทุนหลักมุ่งหวังให้ผลประกอบการสูงกว่าดัชนีชี้วัด (Active Management)
  • กองทุนหลักมีนโยบายเน้นลงทุนในหุ้นของบริษัทหรือนิติบุคคลอื่นใดที่มีลักษณะ ดังนี้ (1) จดทะเบียนในประเทศภูมิภาคเอเชีย หรือ (2) จดทะเบียนในประเทศที่อยู่นอกภูมิภาคเอเชียแต่ดำเนินธุรกิจหลักในประเทศภูมิภาคเอเชีย หรือ (3) บริษัทโฮลดิ้งที่มีการลงทุนหลักในบริษัทที่จดทะเบียนในประเทศภูมิภาคเอเชีย ทั้งนี้ การลงทุนในแถบภูมิภาคเอเชียดังกล่าวไม่รวมถึงประเทศ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์
  • มีการลงทุนใน Derivatives เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนไม่น้อยกว่า 75% ของเงินลงทุนในต่างประเทศ
  • กองทุนมีความเสี่ยงอยู่ที่ระดับ 6
  • ไม่มีนโยบายการจ่ายปันผล
  • ค่าธรรมเนียมซื้อ 1.0% ของมูลค่าที่ซื้อ
  • ค่าธรรมเนียมขาย ยกเว้น
  • ลงทุนขั้นต่ำครั้งแรก 500 บาท
  • ลงทุนขั้นต่ำครั้งถัดไป 500 บาท

สรุปจุดเด่นของกองทุน B-ASIA

กองทุน B-ASIA เป็นกองทุนในกลุ่ม Asia Pacific ex Japan ที่มีนโยบายการลงทุนในบริษัทเอเชีย บริษัทที่มีธุรกิจหลักในเอเชีย หรือบริษัทโฮลดิ้งที่มีการลงทุนหลักในบริษัทเอเชีย ที่มีความได้เปรียบในการแข่งขันอันยั่งยืน เน้นการเติบโตระยะยาวสอดคล้องไปกับโอกาสการเติบโตในอนาคตของภูมิภาค สำหรับใครที่สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมของกองทุนดังกล่าว สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  https://finno.me/fund-b-asia

แหล่งอ้างอิง

https://www.invesco.ch/en-ch/fund-centre/invesco-asian-equity-fund?audienceType=investor
https://www.bblam.co.th/products/mutual-funds/foreign-investment-fund/b-asia/summary
https://www.bblam.co.th/products/mutual-funds/foreign-investment-fund/b-asia/asia#content
https://www.imf.org/en/Publications/WEO/Issues/2023/04/11/world-economic-outlook-april-2023
https://www.worldometers.info/geography/7-continents/
https://www.mckinsey.com/featured-insights/asia-pacific/why-the-future-is-asian
https://www.bot.or.th/App/BTWS_STAT/statistics/BOTWEBSTAT.aspx?reportID=904&language=ENG

คำเตือน

ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”