สารบัญ


คูเมือง/ปราการ (Moat) ทางธุรกิจ คืออะไร ทำไมถึงสำคัญ?

เมื่อเกือบ 30 ปีก่อน Bill Gates มหาเศรษฐีผู้ปลุกปั้น Microsoft เคยยอมรับผ่านปลายปากกาในนิตยสาร Harvard Business Review ว่า สิ่งหนึ่งที่เขาได้เรียนรู้จาก Warren Buffett คือ การมองธุรกิจเป็นเหมือนปราสาท

และสิ่งที่ธุรกิจดี ๆ ทำกันคือ หมั่นตรวจว่าผู้บริหารได้ลงแรงขยับขยายคูเมือง (Moat) หรือปราการที่คอยโอบล้อมธุรกิจจากคู่แข่งและการแข่งขันอันดุเดือดหรือไม่ และแค่มีปราการยังไม่พอ คุณต้องขยับขยายมันด้วย

“ผมมองหาปราการธุรกิจซึ่งโอบล้อมด้วยคูเมือง
ที่ไม่อาจทะลวงฟันเข้ามาได้

– Warren Buffett

อันที่จริง ไม่ใช่ว่าทุกธุรกิจจะมีปราการล้อมกันไปหมด Bill Gates อธิบายต่อว่า การหาข้อได้เปรียบของธุรกิจที่สามารถกำบังตัวเองจากคู่แข่งเป็นเรื่องยาก บ่อยครั้งคูเมืองที่แน่นหนาเกิดจากปัจจัยไม่ธรรมดาหลายข้อหลอมรวมกัน (เช่น แบรนด์ สิทธิบัตร จำนวนผู้ใช้มหาศาล หรือ ความใหญ่โตของธุรกิจ) อันจะนำมาซึ่งการเติบโตที่ยั่งยืน

5 รูปแบบของคูเมือง

คำถามสำคัญก็คือ มีข้อได้เปรียบแบบไหนบ้างที่เป็นเหมือนคูเมืองคอยป้องกันธุรกิจที่เราลงทุนจากคู่แข่ง นิยามของเรื่องนี้อาจจะหลากหลายกันไป แต่เราขอหยิบยกคูเมืองในนิยามของ Morningstar มาให้ดูกัน ดังนี้

  1. Switching Cost (ต้นทุนในการเปลี่ยนใจ) ที่ผู้บริโภคต้องเจอเมื่อตัดสินใจไปใช้เจ้าอื่น
  2. Intangible Assets (สินทรัพย์ไม่มีตัวตน) สินทรัพย์ต่าง ๆ ที่อาจจะจับต้องไม่ได้ เช่น สิทธิบัตร (Patent) แบรนด์ เครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์ ใบอนุญาตพิเศษ และอื่น ๆ
  3. Network Effect (ผลจากความเชื่อมโยง) เกิดจากการที่มูลค่าของสินค้าหรือบริการเพิ่มขึ้นต่อเนื่องหากจำนวนผู้ใช้งาน (Users) เติบโตขึ้นไปด้วย
  4. Cost Advantage (ความได้เปรียบทางราคา) ข้อได้เปรียบทางด้านราคาผ่านต้นทุนที่ต่ำกว่าคู่แข่ง
  5. Efficient Scale Leads to Natural Monopoly (การประหยัดต่อขนาดซึ่งนำไปสู่การผูกขาดโดยธรรมชาติ) หรือการอยู่ในวงการที่เข้ามาแข่งขันได้ยาก (เช่น สายการบิน) เพราะถ้าเข้ามาแข่งแล้วอาจจะสู้เรื่องต้นทุนไม่ได้

 

และกองทุน AFMOAT-HA ที่กำลังจะรีวิวต่อจากนี้ก็เป็นช่องทางในการลงทุนในธุรกิจที่พรั่งพร้อมไปด้วยคูเมืองโอบล้อม เพื่อสร้างผลตอบแทนที่ยั่งยืนในทุกภาวะตลาด

กองทุน AFMOAT-HA ลงทุนในธุรกิจปราการแกร่ง

AFMOAT-HA หรือ กองทุนเปิด เอ เอฟ ยูเอส ไวด์ โมท เฮดจ์ ชนิดสะสมมูลค่า คือ

  • กองทุนหุ้นสหรัฐฯ แบบ Passive
  • เน้นเคลื่อนไหวตามดัชนี Morningstar® Wide Moat Focus Index 
  • ดัชนีนี้เน้นการลงทุนในหุ้นที่มีความได้เปรียบในการแข่งขันสูง (ปราการ) เพื่อการเติบโตอย่างมั่นคงในระยะยาว
  • มีกองทุนหลักคือ VanEck Morningstar Wide Moat ETF

 

กองทุน AFMOAT-HA ได้รับเรตติ้งระดับ 5 ดาวจาก Morningstar ทั้งในส่วนของภาพรวม การดำเนินงาน 3 ปี และการดำเนินงาน 5 ปี

เรตติ้งของกองทุน VanEck Morningstar Wide Moat ETF โดย Morningstar | Source: vaneck.com as of 10/2023

สัดส่วนการลงทุนของ AFMOAT-HA

ถ้ากางข้อมูลกองทุนหุ้นสหรัฐฯ ส่วนใหญ่ออกมาดู โดยทั่วไปเรามักจะเห็นหุ้นอย่าง Tesla หรือ Microsoft แวะเวียนกันมาอยู่บนหน้า Top Holdings อยู่เสมอ 

แต่ข้อแตกต่างของกองทุน AFMOAT-HA ที่เลือกลงทุนในหุ้นปราการแกร่งโดยเฉพาะ ทำให้เราได้เห็นการลงทุนในบริษัท เช่น Salesforce ผู้ให้บริการระบบจัดการความสัมพันธ์ลูกค้า (CRM) ผ่านระบบคลาวด์ซึ่งต้องใช้เวลาในการวางระบบทำให้มี Switching Cost สูงมาก

ทรัพย์สินที่กองทุนหลักของ AFMOAT-HA ลงทุน 10 อันดับแรก | Source: Fund Factsheet ของ VanEck Morningstar Wide Moat ETF as of 10/2023

สัดส่วนการลงทุนตามอุตสาหกรรมของ VanEck Morningstar Wide Moat ETF | Source: Fund Factsheet ของ VanEck Morningstar Wide Moat ETF as of 10/2023

เจาะลึกนโยบายการลงทุน: AFMOAT-HA มีจุดเด่นอย่างไร?

  1. ลงทุนในธุรกิจที่มีปราการแน่นหนา

คัดเลือกเฉพาะบริษัทที่มีปราการอย่างน้อย 1 ใน 5 แบบ ตามที่เคยกล่าวไปข้างต้น คือ ต้นทุนการเปลี่ยนใจ สินทรัพย์ไม่มีตัวตน ผลจากความเชื่อมโยง ความได้เปรียบทางราคา หรือความได้เปรียบจากขนาด เพื่อรับประกันว่าบริษัทนั้น ๆ จะมีความสามารถในการแข่งขันซึ่งจะนำไปสู่การสร้างผลตอบแทนได้อย่างแท้จริง

  1. ลงทุนแบบมองกันยาว ๆ

กองทุนแบ่งบริษัทออกเป็น 3 แบบ คือ ไร้ปราการ (none) ปราการเปราะบาง (narrow moat) และ ปราการแน่นหนา (wide moat) และธุรกิจแบบสุดท้ายคือธุรกิจที่กองทุนนี้ให้ความสนใจโดยประเมินแล้วว่าด้วยความแข็งแกร่งของปราการที่บริษัท wide moat มี จะทำให้บริษัทสามารถรักษาความได้เปรียบในการแข่งขัน (ปราการ) ไปได้ยาวนานถึง 20 ปี ซึ่งจะสร้างผลตอบแทนให้กับนักลงทุนได้ในระยะยาว โดยบริษัทแบบนี้คิดเป็นเพียง 10-15% เท่านั้นในจักรวาลหุ้นของ Morningstar

  1. ลงทุนหุ้นแกร่งในเวลาที่ใช่

กองทุนลงทุนก็ต่อเมื่อธุรกิจนั้นอยู่ในราคาที่น่าดึงดูด โดยจะมองไปที่ธุรกิจที่มีมูลค่าต่ำกว่าตามการประมาณการของดัชนีจาก Morningstar พูดง่าย ๆ คือลงทุนใน fair value

  1. ลงทุนแบบไม่ยึดติด

ที่ผ่านมากองทุนปรับเปลี่ยนคาแรกเตอร์หุ้นที่ลงทุนระหว่างหุ้นเติบโตและหุ้นคุณค่าอยู่เสมอ โดยเป็นผลมาจากวิธีการคัดหุ้นโดยมองที่ปราการเป็นหลักมากกว่าการมองสไตล์ของหุ้น การไม่ยึดติดตรงนี้ทำให้กองทุนสามารถเลือกธุรกิจที่น่าสนใจโดยไม่โดนจำกัดความเป็นไปได้

ผลตอบแทนย้อนหลังของ VanEck Morningstar Wide Moat ETF | Source: Fund Factsheet ของ VanEck Morningstar Wide Moat ETF as of 10/2023

กองทุนนี้เหมาะกับใคร?

  • นักลงทุนที่ต้องการสร้างผลตอบแทนในระยะยาว สอดคล้องนโยบายการลงทุนในหุ้นที่มีความสามารถในการแข่งขันอันยั่งยืน
  • นักลงทุนที่ต้องการเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในตลาดสหรัฐฯ
  • นักลงทุนที่สามารถยอมรับความเสี่ยงการลงทุนในตราสารทุนต่างประเทศที่มีความผันผวนในการขึ้นลงของราคา

รายละเอียดอื่น ๆ ของกองทุน AFMOAT-HA (ข้อมูลจากหนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสำคัญ ณ วันที่ 28/12/2023

  • เป็นกองทุนรวมตราสารทุน ในกลุ่ม US Equity
  • กองทุนมีความเสี่ยงอยู่ที่ระดับ 6
  • ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน VanEck Morningstar Wide Moat ETF (กองทุนหลัก) เพียงกองทุนเดียว 
  • มีการป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนไม่น้อยกว่า 90%
  • มุ่งหวังให้ผลประกอบการเคลื่อนไหวตามกองทุนหลัก โดยกองทุนหลักใช้กลยุทธ์การบริหารกองทุนเชิงรับ (Passive management strategy)
  • ไม่มีนโยบายการจ่ายปันผล
  • ค่าธรรมเนียมซื้อ 1.0% ของมูลค่าที่ซื้อ
  • ค่าธรรมเนียมขาย ยกเว้น
  • ลงทุนขั้นต่ำครั้งแรก 1,000 บาท
  • ลงทุนขั้นต่ำครั้งถัดไป 1 บาท

 

สามารถศึกษารายละเอียดของกองทุนเพิ่มเติมได้ที่ https://www.finnomena.com/fund/


อ้างอิง

คำเตือน

การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | กองทุนมีการลงทุนกระจุกตัวในประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT” | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299