รู้ผลตอบแทนที่แท้จริง! ด้วยการวัดผลตอบแทนเฉลี่ยแบบ TWRR

คุณอยากรู้ไหมว่าตั้งแต่ลงทุนมา ได้ผลตอบแทนจากการลงทุนจริงๆ เท่าไหร่?

ปกติผลตอบแทนจากการลงทุนที่แสดงใน Application ทางการเงินต่างๆ เช่น ใน Streaming จะเป็นผลตอบแทนแบบเลขคณิต คือ มูลค่าพอร์ต ลบด้วย เงินลงทุน และหารเงินลงทุน:

( ผลตอบแทน = (มูลค่าพอร์ต – เงินลงทุน)/เงินลงทุน ) )

ซึ่งมีการคิดผลตอบแทนจากส่วนที่มีการซื้อและถืออยู่เท่านั้น ไม่ได้เป็นการวัดผลตอบแทนสะสมตั้งแต่เริ่มต้นลงทุน

การวัดผลตอบแทนเฉลี่ยจากการลงทุนมี 2 แบบ

นั่นก็คือ ผลตอบแทนแบบเลขคณิต (Arithmetic Average Rate of Return ขอเรียกสั้นๆ ว่า AM นะครับ) และ แบบเรขาคณิต (Geometric Average Rate of Return ขอเรียกสั้นๆ ว่า GM นะครับ) โดยการคำนวณ AM และ GM ทำได้โดยใช้สมการดังนี้

AM = ∑ HPR/n

AM จะแสดงผลรวมของผลตอบแทนแต่ละช่วงเวลา หารด้วยจำนวนช่วงเวลาที่ลงทุน ซึ่งเป็นการคิดผลตอบแทนเฉลี่ยแบบไม่ทบต้น

GM = ∏ (1+HPR)^(1/n)-1

ส่วน GM จะเป็นวิธีคิดผลตอบแทนแบบเฉลี่ยทบต้น

โดย HPR (Holding Period Return) คืออัตราผลตอบแทนที่ทำได้ในช่วงเวลาหนึ่ง ซึ่งปกติจะคิดที่ 1 ปี

HPR = (มูลค่าเงินลงทุนปลายงวด – มูลค่าเงินลงทุนต้นงวด) + กระแสเงินสดที่ได้ระหว่างงวด

ส่วนมากเราจะคิด HPR เป็นรายปี โดยมูลค่าปลายงวด คือ มูลค่าเงินลงทุนปลายปี และ มูลค่าต้นงวดคือมูลค่าเงินลงทุนตอนต้นปี

สำหรับผลตอบแทนระยะยาว เช่น 3 ปี 5 ปี หรือ 10 ปี เราจะนำ HPR มาคิดเฉลี่ยว่าเฉลี่ยต่อปีทำผลตอบแทนได้เท่าไหร่ การคิดผลตอบแทนแบบทบต้นจะทำให้เราวัดผลตอบแทนการลงทุนได้ถูกต้องมากกว่า

ยกตัวอย่าง เช่น ถ้าเราลงทุนเป็นระยะเวลา 3 ปี ผลตอบแทนในแต่ละปี คือ ปีที่ 1 กำไร 50% ปีที่ 2 ขาดทุน 50% ปีที่ 3 กำไร 50% ถ้าเราคำนวณอัตราผลตอบแทนทั้ง 2 แบบจะได้ผลลัพธ์ แบบนี้

AM = (0.5 – 0.5 + 0.5) /3 = 16.67%

GM = (1.5 x 0.5 x 1.5 )^1/3 -1 = 4%

เงินลงทุนของเรา ถ้าเริ่มต้นที่ 100

ปีที่ 1 กำไร 50% เงินจะเพิ่มเป็น 150 บาท

ปีที่ 2 ขาดทุน 50% เงินจะลดลงเป็น 75 บาท

ปีที่ 1 กำไร 50% เงินจะเพิ่มเป็น 112.5 บาท

เห็นตัวเลขนี้แล้วสังเกตอะไรไหมครับ จากบทความเรื่องกฏแห่งเวลา เราบอกวิธีประมาณมูลค่าเงินลงทุนในอนาคตตามหลักการ Time Value of Money ไปแล้ว คือ

มูลค่าเงินในอนาคต = เงินลงทุน x (1+r)^n

r คือผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปี , n คือ จำนวนปีที่ลงทุน  และ ^ คือยกกำลัง

ถ้าเราใช้สมการนี้ คำนวณมูลค่าเงินลงทุน ณ สิ้นปีที่ 3 เราจะได้ตามนี้

AM = 16.67%  มูลค่าเงินในอนาคต = 100 x (1+0.1667)^3 = 158.79

GM = 4%  มูลค่าเงินในอนาคต = 100 x (1+0.04)^3 = 112.5

เห็นแล้วใช่ไหมครับ ว่าการใช้ GM ประมาณมูลค่าเงินลงทุนทำให้ได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องกว่า เพราะว่าเป็นการคิดผลตอบแทนจากฐานของปีก่อนทบต้นมาปีนี้  นั่นก็คือ มีการคิดว่ามูลค่าเงินลงทุนแต่ละปีเพิ่มหรือลดอย่างไรแบบทบต้น แต่วิธีแบบเลขคณิตจะใช้วิธีเฉลี่ยแต่ละปีเลย

แล้วถ้าลองคำนวณอัตราผลตอบแทนสะสมของ GM โดยไม่เฉลี่ยต่อช่วงเวลา (ไม่ต้องถอดรากที่ 3) คือ 1.5 x 0.5 x 1.5 = 1.125 ถ้าเราลองเอา 100 คูณตัวเลขนี้ ซึ่งก็คือผลคูณของผลตอบแทนแต่ละช่วงเวลา เราจะได้ค่าออกมาเป็น 112.5 ซึ่งก็คือมูลค่าเงินลงทุนเมื่อสิ้นสุดปีที่ 3 นั่นเอง

นั่นหมายความว่า   เราลงทุน 100 บาท และทำผลตอบแทนสะสมใน 3 ปี ได้ 1.125 มูลค่าเงิน ณ ปลายปีที่ 3 จะเท่ากับ 112.5 บาท

ถ้าจะให้พูดจริงๆ การคำนวณแบบนี้ คือการเอา (100*1.5) * 0.5 *1.5 ซึ่งก็คือวิธีการคำนวณแบบง่ายๆ ที่เอาเงินลงทุนต้นปีบวกด้วยกำไรของปีนี้ แล้วพอปีต่อไปก็เอาเงินลงทุนปลายปีที่ 1 มาบวกผลกำไรปีที่ 2 ได้เป็นมูลค่าเงินลงทุน 2 ปี พอปีที่สามก็คำนวณแบบเดิม

โดยสรุปคือ การคิดผลตอบแทนแบบเรขาคณิตเป็นวิธีที่ทำให้เราทราบผลตอบแทนจาการลงทุนที่แท้จริงนั่นเอง

การคำนวณผลตอบแทนแบบ TWRR (Time-Weighted Rate of Return)

TWRR เป็นวิธีที่ใช้คำนวณผลตอบแทนการลงทุนของผู้จัดการกองทุน จะใช้หลักการคำนวณผลตอบแทนแบบ GM แต่เป็นการคิดผลตอบแทนทุกๆ ช่วงเวลา เช่น ทุกๆ 1 เดือน หรือ 1 วัน ไม่รวมผลกำไรขาดทุนจาก การเพิ่มหรือว่าลดเงินลงทุน และมีการนำกระแสเงินสดที่ได้รับมาคำนวณด้วย (กระแสเงินสด เช่น เงินปันผล)

โดยตัวอย่างการคำนวณ TWRR เช่น เราลงทุนด้วยเงินลงทุน 100 บาท ตอน เดือน ม.ค. 61 ถึงเดือน พ.ค.61 มีกำไร 20% เงินลงทุนเพิ่มมาเป็น 120 บาท เราเลยลงทุนเพิ่ม 100 ทำให้มูลค่าเงินลงทุนเรากลายเป็น 220 บาท

พอถึงเดือน มิ.ย. 61 ขาดทุน 10% จากเดือน พ.ค. ทำให้มูลค่าเงินเราลดลงเหลือ 198 บาท เราเลยถอนเงินลงทุนออกมา 50 บาท เหลือเงินลงทุน 148 บาท

พอถึงเดือน ธ.ค. 61 ตลาดปรับตัวขึ้นทำให้เราได้กำไร 50% มูลค่าเงินลงทุนกลายเป็น 222 บาท และหุ้นที่เราลงทุนมีการจ่ายเงินปันผลออกมาในเดือน มี.ค. 61 จำนวน 10 บาท

เราสามารถใช้ TWRR คำนวณผลตอบแทนจากการลงทุนได้ ดังนี้

TWRR = (1+0.035) x (1+0.035) x (1+0.129) x (1+0.035) x  (1+0.035) x (1-0.139) x (1+0.5)  = 67.89%

นั่นคือผลตอบแทนจากการลงทุนจริงๆ ของเรา โดยไม่นับการนำเงินเข้ามาลงทุนเพิ่มหรือถอนเงินออกมารวมด้วย คือ 67.89%

แต่ถ้าเราลองเอากำไร/ขาดทุน จากการเพิ่มหรือถอนเงินลงทุนมาคำนวณด้วย จะได้ตัวเลขออกมาค่าหนึ่ง คือ   (1+0.035) x (1+0.035) x (1+0.129) x (1+0.035) x  (1+0.035) x (1-0.139) x (1+0.5) ) x (1-0.769) x (1-0.252)  = 2.22 และถ้าเราลองเอา 2.22 คูณกับเงินต้น คือ 100 บาท จะได้มูลค่าเงินที่เดือน มิ.ย. ที่ 222 พอดี

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการคำนวณมูลค่าเงินลงทุนแบบ TWRR เป็นการคำนวณกำไร/ขาดทุน จากการลงทุนได้อย่างแม่นยำจริงๆ ครับ

เพิ่มเติมอีกซักนิด สำหรับนักลงทุนที่ต้องการคำนวณผลตอบแทนของการลงทุน หรือ จะคำนวณอัตราการเติบโตแบบทบต้นแบบง่ายๆ เราอาจจะใช้ CAGR หรือ Compound Annual Growth Rate ตามสมการง่ายๆ ดังนี้

โดย n คือจำนวนปีที่ลงทุน

ถ้าลองใช้เงินลงทุนเริ่มต้น 100 บาท ระยะเวลาลงทุน 3 ปี (เช่น เริ่มลงทุนปี 2559 – 2561 โดยเริ่มลงทุนต้นปี 59 และวัดผลตอบแทนตอนปลายปี  61)  ปลายปีที่ 3 มีเงินลงทุน 112.5 บาท มาคำนวณดู

ซึ่งจะเห็นได้ว่าได้คำตอบออกมาเหมือนกับการคิดแบบ GM แต่คำนวณได้ง่ายกว่าครับ

SaveSave

SaveSave

SaveSave

SaveSave