Best-in-Class กองทุนที่ดีที่สุด เราดูได้จากอะไร?

หนึ่งในเป้าหมายของนักลงทุนในกองทุนรวมที่ทุกคนใฝ่ฝัน และพยายามค้นหา ก็คือ “กองทุนอะไรที่ให้ผลตอบแทนดีที่สุดในอนาคต?”

นักลงทุนส่วนใหญ่ พยายามไปหากองทุนเหล่านี้จากอะไร?
จากผลตอบแทนย้อนหลังไง กองทุนไหนให้ผลตอบแทนย้อนหลังดีที่สุด 3 ปี 5 ปี 10 ปี ก็ว่ากันไป

แล้วมันใช่ไหม? วัดได้จริงหรือเปล่า?

เรากำลังพยายามค้นหาสิ่งที่น่าจะดีในอนาคต ด้วยการดูหลักฐานที่เกิดขึ้นไปแล้วในอดีต ในขณะที่ มีคำเตือนอยู่ข้างท้ายของ Fund Fact Sheet กองทุนทุกกองเลย เขียนบอกเราว่า “ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวม มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต” สิ่งนี้ก็แสดงให้เห็นแล้วว่า แม้แต่ตัวกองผู้ออกกองทุนรวมเอง ก็ไม่ต้องการให้เราในฐานะนักลงทุน คัดเลือกกองทุนรวมจากองค์ประกอบเรื่องผลตอบแทนในอดีตเพียงแค่เพียงปัจจัยเดีย

ทบทวน ต้นตอของการลงทุนที่ดีเกิดจากอะไร?

รถที่ดีที่สุด อาจไม่ใช่รถที่เร็วที่สุด

บ้านที่น่าอยู่ที่สุด อาจไม่ใช่บ้านที่ใหญ่ที่สุด

ดังนั้น กองทุนที่ดีที่สุด จึงไม่จำเป็นต้องเป็นกองทุนที่มีผลตอบแทนย้อนหลังดีที่สุดเสมอไป…

ที่ FINNOMENA เพราะเรารู้ว่า เพื่อที่จะหากองทุนรวมที่เหมาะกับแผนการลงทุนในแต่ละแผนมากที่สุด เราต้องคัดเลือกและพิจารณาปัจจัยต่างๆให้ครอบคลุม นั้นจึงเป็นที่มาที่ เราสร้างกระบวนการคัดเลือกกองทุนที่เรียก “Best-in-Class Process” เพื่อให้มั่นใจว่า ในทุกๆช่วงเวลาที่เราเดินทางบนเส้นทางแห่งการลงทุนไปพร้อมๆกับคุณเราได้คัดเลือกสิ่งที่ดีที่สุด และเหมาะสมที่สุดกับทุกๆพอร์ตการลงทุนภายใต้คำแนะนำของเรา

เราคัดเลือกกองทุนใน Best-in-Class Process อย่างไร?

0011

เราแบ่งการวิเคราะห์กองทุนออกเป็น 2 หมวดใหญ่ๆ คือ

1. Quantitative Analysis (การวิเคราะห์เชิงปริมาณ)

ซึ่งหมายถึง การวิเคราะห์ข้อมูลที่สามารถแปลงเป็นตัวเลข วัดผลได้ ติดตามและตรวจสอบได้ ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่ได้หลังจากที่กองทุนรวมนั้นๆดำเนินการ หรือเริ่มต้นลงทุนมาแล้วระยะเวลาหนึ่ง ทำให้เราเห็นพฤติกรรมในอดีตของกองทุน เช่น ผลการดำเนินงานย้อนหลัง, ความผันผวนในอดีต, Portfolio Turnover Ratio เพื่อดูว่ากองทุนรวมมีการบริหารพอร์ตลงทุนอย่างไร ปรับพอร์ตบ่อยแค่ไหน รวมถึง ขนาดของกองทุนรวมในอดีตจนถึงปัจจุบัน

2. Qualitative Analysis (การวิเคราะห์เชิงคุณภาพ)

ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ที่ไม่เกี่ยวกับการคำนวนตัวเลข โดยมองผ่านปัจจัยอื่นๆที่เป็นคุณสมบัติเฉพาะของกองทุน เช่น ความสามารถของผู้จัดการกองทุน , สไตล์การบริหารพอร์ต หลักการและแนวคิดการลงทุนของ บลจ.

การวิเคราะห์เชิงปริมาณ จะทำให้เรามั่นใจได้กับอดีตที่ผ่านมาของกองทุนมากขึ้น ในขณะที่การวิเคราะห์เชิงคุณภาพ จะบอกว่า ที่มาของผลตอบแทนในอดีตของกองทุนคือสิ่งใด และสิ่งนี้จะสามารถคงอยู่และสร้างผลตอบแทนให้เราในอนาคตได้หรือไม่

ทั้งนี้ในฝั่งของการวิเคราะห์เชิงปริมาณ ในฐานะนักลงทุน เราควรมี Criteria หรือ ตะแกรงร่อนกองทุนรวมที่ชัดเจน และเป็นระบบ โดยคำนึงทั้งในมุมมองของผลตอบแทน ความผันผวน และความเสี่ยงขาลง และตั้งเป็นกฏในการคัดเลือกไว้ใช้ เพื่อขจัดอคติ หรือ Bias ในใจออกไป

เพราะธรรมชาติของมนุษย์ ซึ่งไม่ได้ถูกออกแบบมาให้ประสบความสำเร็จในการลงทุนทุกคน เนื่องจาก นักลงทุนส่วนใหญ่ จะกล้าตัดสินใจลงทุนเมื่อรู้สึกดี และเราจะรู้สึกดีกับการลงทุน ก็ต่อเมื่อ ตลาดหุ้นขึ้นมาแล้ว กองทุนรวมนั้นๆวิ่งมาแล้ว และถ้ามันขึ้นมาแล้ว ก็แปลว่า ถ้าเราตัดสินใจซื้อ เรามีโอกาสซื้อในจุดที่ “แพงเกินไป”

ด้วยเหตุนี้ ทาง FINNOMENA จึงได้ตั้งกฏ 3D Diagram เพื่อใช้ในการวิเคราะห์เชิงปริมาณ กองทุนรวมทั้งหมดที่อยู่ในเรดาห์ของเรา และมุ่งมั่นเข้าไปศึกษาและใช้การวิเคราะห์เชิงคุณภาพ ด้วยแนวคิดเช่นเดียวกับการเลือกหุ้นที่มีคุณภาพซักตัวเข้าพอร์ต

ก่อนที่เราจะให้คำแนะนำออกไป เพื่อให้มั่นใจว่า เราได้ทำการเลือกกองทุนรวมที่เหมาะกับพอร์ตการลงทุนในแต่ละช่วงเวลาที่สุด ขอให้มั่นใจครับ ว่าเราทำงานอย่างหนัก และอย่างต่อเนื่องจริงๆ